การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

Pattern เจ้ามือเก็บของ : 1-2-1-2-1-2 ซิ่ง (เทคนิคการหาหุ้นซิ่ง)


วันนี้ขอแนะนำอีก price pattern ที่เป็นทรงหุ้นซิ่ง คือ  1-2-1-2-1-2 ซิ่ง
ต้นตำหรับของ price pattern นี้ ต้องยกเครดิตให้กับลุงโฉลกครับ
นี่คือคลิปที่ผมไปได้ความรู้มา ชื่อ "การหาหุ้นซิ่ง โดยลุงโฉลก"



แกบอกว่ามันเป็น 1-2 @ 1-2 @ 1-2 ซิ่ง
นี่แหละครับ หุ้นซิ่งในมุมมองของลุงโฉลก

Main idea คือภาพนี่ครับ

โดยกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินคือ Super grand cycle 1-2
สี่เหลี่ยมสีฟ้าคือ Grand cycle 1-2 อยู่ข้างใน
สี่เหลี่ยมขาวคือ Major wave ซ้อนอยู่ในนั้นอีกชั้น
ส่วนตัวเลข 1-2 เฉยๆ เป็น common wave อยู่ในสุด

พอมันเล็กลง เล็กลง เล็กลง (เราจะมองว่ามันเป็น apex คือสมดุล ก็น่าจะได้)
ในที่สุดก็ระเบิด เป็นหุ้นซิ่งโหด

หุ้นซิ่ง
(ถ้าท่านสนใจแนวทาง วิธีหาหุ้นซิ่ง, วิธีเล่นหุ้นซิ่ง และ วิธีสแกนหุ้นซิ่ง เล่มนี้แนะนำให้หามาอ่านครับ)



จิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังรูปแบบราคานี้คืออะไร?
ผมเองก็ไม่รู้แน่ชัดหรอกนะ เพราะไม่ใช่คนทำราคา
แต่ถ้ามองย้อนกลับจากผลที่ราคาซิ่งโหด
ต้องสันนิษฐานว่า ช่วง 1-2-1-2-1-2 นั้น เป็นกระบวนการ "เก็บของ" แน่ๆ
เพราะโซนที่ทำ 1-2-1-2-1-2 นั้น มันเป็นระดับที่ราคาอยู่ในระดับต่ำที่สุด
เรียกว่าเป็นการเก็บของที่ก้นเหว ก็ว่าได้

แต่ท่านต้องนึกต่อไปว่า ในช่วงที่ราคาซึมๆนั้น คนให้ความสนใจมันน้อยมาก
หุ้นที่ถูกเอามากระจายในตลาดจึงน้อยมากไง
แต่เมื่อเจ้ามือ หรือคนทำราคาเขาอยากได้หุ้นมาก ต้องทำไง?
ก็ต้องทำให้เกิดความคึกคัก ไล่ราคา ทำวอลุ่มให้เกิดความน่าสใน
มีคนเข้ามาเก็งกำไร เล่นรอบมากขึ้น
แต่คนทำราคาเองก็ไม่อยากได้หุ้นราคาแพงไง
จึงพยายามรักษาทรงของราคาเอาไว้ ไม่ให้มันแพงเกินไปนัก

เขาจะทำกระบวนการเขย่าขึ้นลง ขึ้นลง ไปเรื่อยๆ จนไม่มีคนอยากขายอีก
นั่นคือเข้าสู่ช่วง apex ราคาแกว่งน้อยมากแล้ว
จึงไล่ราคาแรงๆขึ้นไป เพื่อให้ได้หุ้นมากขึ้น
ช่วงแรกๆ(SOS) จะเป็นการเก็บหุ้นเพิ่ม มากกว่าขายหุ้นออก
การย่อจึงไม่แรงมาก (ถ้าแรงต้านไม่มีนะ แต่ถ้าเจอขายสวนหนักๆ จนหลุดกรอบ ก็ต้องกลับไปตั้งหลักใหม่) เมื่อแรงต้านน้อย จึงดันขึ้นไปอีก จนยืนยันแนวโน้มขาขึ้น ยกไฮยกโลว์ ต่อเนื่อง

ดันไปจนถึงเป้านั่นแหละ ถึงได้ขายหุ้นออก




เคสจริง
ผมก็เคยเจอทรงนี้มาก่อน จาก MEGA


ก่อนที่มันจะซิ่ง ทรงมันใช่มั้ยครับ? ผมว่าเป๊ะมากเลยนะ
(เคสนี้ผมเอาไปรวมไว้ในหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ใครอยากได้หุ้นซิ่ง อยากทำเงินกับมัน เล่มนี้มีบอกตั้งแต่จุดซื้อ ทนรวย และจุดขายครับ สนใจติดต่อเพจ Zyo Books ครับ)

ปีที่แล้วก็มีหุ้นซิ่งอีกตัว ที่ทำ 1-2-1-2-1-2 ซิ่ง
คือ KCM

หุ้นซิ่ง

ทรงคล้ายมั้ยครับ?
ผมว่านอกจากทฤษฎีอีเลียตเวฟแล้ว หุ้นซิ่งทรงนี้ก็สามารถอธิบายผ่านการย่อยแรงขายได้เช่นกัน
คือราคาแกว่งแคบลง แคบลง
จากนั้นก็ยกกรอบขึ้น ยกไฮยกโลว์ จุดเข้าซื้อตอนที่ราคาข้ามยอด SOS ขึ้นไปได้
โดย SOS มักจะเกิดหลังจาก apex ไปแล้ว


เมื่อราคาข้ามยอดของการดีดขยักแรก (แท่งที่ผมชี้ว่า SOS นั่นแหละครับ)

คือถ้าจะให้เข้าใจทรงนี้ ท่านจะต้องผสมผสาน ๒ แนวทางเข้าด้วยกัน
คือย่อยแรงขาย หรือ 1-2-1-2-1-2 รวมร่างกับ ยืนยันขาขึ้น ตามรูปนี้
หุ้นซิ่ง
จากหุ้นที่ผมเจอนะ
ในช่วงที่ราคาทำทรง 1-2-1-2-1-2 นั้น ไม่ควรมีจุดต่ำสุดใหม่อีก
เลวร้ายสุดคือราคาลงไปทดสอบโลว์เดิม แล้วหยุดลง ซึมออกข้างไป แล้วก็มีการกระตุกขึ้น
ยิ่งมีการค่อยๆ ยกโลว์ทำ higher low ขึ้นไปได้ด้วยยิ่งดี เพราะสื่อว่าคนอยากขายมีน้อยลง
เมื่อถึงเวลาจึงดีดแรง ยกไฮยกโลว์ ยืนยันขาขึ้นต่อไป

ถือเป็นแนวคิดหยาบๆนะครับ
อย่าเชื่อผมมาก ลองเอาไปต่อยอดกันเองครับ
ตาดีได้ ตาร้ายเสียนะ
การเทรดมีความเสี่ยง ให้ความเสี่ยงนำการเทรดเสมอ
ยิ่งหุ้นซิ่ง คุณต้องระวังมากกว่าปกติอีกเท่าตัว

อ่านบทความเพิ่มเติม
MEGA การขายหมูครั้งใหญ่ของผม
- หนังสือ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด สำหรับ วิธีหาหุ้นซิ่ง, วิธีเล่นหุ้นซิ่ง และ วิธีสแกนหุ้นซิ่ง


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่