จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

สรุปกฎ Pocket Pivot Buy Point 10 ข้อ


บทความที่แล้ว "ตลาดผันผวนสูง" คืออะไร? จะรับมือกับมันยังไง? มีการพาดพิงถึง pocket pivot buy point ว่าถ้าเจอตลาดผันผวนสูงควรมองหาตัวนี้ ผมจึงเอาเนื้อหามานำเสนอให้ท่านได้อ่านต่อกันไปเลย

เจ้าของทฤษฎีนี้คือ น้า Gil Morales และ Dr. Chris Kacher เจ้าของหนังสือ Trade Like an O'Neil Disciple: How We Made Over 18,000% in the Stock Market นั่นเองครับ



ซึ่งไอเดียนี้ ถือเป็นส่วนประกอบของการ สวิงเทรด ที่ทั้งคู่ใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินจนทำกำไรได้มหาศาล 8,000% ตามที่อ้างไว้ในหนังสือของพวกเขาเองนั่นเองครับ


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Pocket Pivot
- ก่อนหน้านี้เรารู้ว่าการเข้าซื้อของนักลงทุนสถาบัน(หรือเจ้ามือ) มักทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปทำนิวไฮ แต่แท้จริงแล้วพวกเขาแอบเข้าซื้อก่อนที่ราคาทำนิวไฮเสียอีก โดยการเข้าไปซื้อตอนที่ราคาพักตัวในระหว่างขาขึ้น
- สัญลักษณ์ที่เป็นเบาะแสว่าสถาบัน(หรือเจ้ามือ)กำลังซื้อหุ้นคือ การเคลื่อนไหวของราคาและวอลุ่มที่โดดเด่นเป็นเหมือน "ลายเซ็น"
- "ลายเซ็น" ที่ว่านั้นคือ "Pivot point" ที่โดดเด่นเห็นชัด หรือ "pocket pivot buy point"
- โดย pocket pivot นี่เองที่เป็นสัญญาณซื้อหุ้นนำตลาด ที่กำลังขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่หลังจากที่ราคาพักฐานในขาขึ้น

เขาเปรียบ pivot point ก็เหมือนรอยเท้าของเจ้ามือนั่นเอง (ช่างคิดจริงๆ)



กฎ 10 ข้อของ Pocket Pivot Buy Point
๑) ช่วงที่ราคาทะลุฐานขึ้นไป, pocket pivot ที่สมบูรณ์มักจะแอบเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในฐาน(ยังไม่เบรก) หรือนอกฐานก็ได้
๒) ถ้าจะให้สมบูรณ์แบบ, พื้นฐานของหุ้นตัวนั้นต้องยอดเยี่ยมด้วย เช่น มีผลกำไรที่ยอดเยี่ยม, ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น, ROE, กำไรก่อนหักภาษีที่เติบโต, เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม, ฯลฯ
๓) วอลุ่มในวันที่เกิดแท่ง pivot ต้องสูงกว่าวอลุ่มในช่วงที่พักฐาน 10 วันที่ผ่านมา



๔) ถ้า pocket pivot เกิดหลังจากการ breakout จากฐานไปแล้ว, มันควรเกิดบริเวณเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน โดยแท่งราคาไม่จำเป็นต้องอยู่เหนือเส้นสิบวัน อยู่ใต้ก็ได้ เพียงแต่ตอนที่ราคาเกิด pocket pivot ต้องมีวอลุ่มสูงกว่าสิบวันที่ผ่านมา



๕) Pocket pivot ที่ทรงพลัง ก็คือแท่งเดียวกันที่ breakout ฐานราคาขึ้นไปได้นั่นเอง หรือมันจะเป็นแท่งเปิด gap ก็ได้เช่นกัน ขอแค่มันแสดงออกว่าราคาอยากวิ่งขึ้นเต็มที่แล้ว



๖) อย่าซื้อ ถ้า pocket pivot เกิดในตอนที่ราคาเป็นขาลงเกิน 5 เดือนเป็นต้นไป ขอให้รอจนกว่ามันฟื้นตัวยยกไฮยกโลว์ ยืนยันขาขึ้นได้ก่อน ค่อยเข้าซื้อ
๗) อย่าซื้อ ถ้า pocket pivot เกิดใต้เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน หรือ 200 วัน แต่ถ้ามันเกิดใต้เส้น 50 วัน โดยไปสร้างฐานไกล้ๆเส้น 200 วัน(เส้นสองร้อยรับอยู่) ให้ซื้อได้ถ้าการสร้างฐานนั้นสมบูรณ์พอ


๘) อย่าซื้อ ถ้า pocket pivot ทำทรงตัว V ที่เกิดจากราคาถูกขายแรงให้หลุดเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน หรือ 50 วันลงไป แล้วจากนั้นถูกไล่ซื้อให้ราคาดีดขึ้นแรง จนดูเป็นทรง v เพราะมันเป็นการสร้างฐานที่หลวม มีโอกาสล้มเหลว




๙) อย่าซื้อ ถ้า pocket pivot เกิดในฐานราคารูปแบบ wedging pattern



๑๐) บาง pocket pivot อาจเกิดหลังจากราคาวิ่งห่างจากฐานราคาไปแล้ว ถ้ามันเกิดไกล้เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน ก็ซื้อได้ แต่ถ้าวิ่งไปไกลกว่านี้ก็อย่าได้ซื้อ ให้ท่านใช้เส้น 10 วัน เป็นตัวช่วยในการตัดสินหุ้น


การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 10 วันและ 50 วัน ร่วมกับ Pocket Pivot เพื่อสร้างกฎ 7 สัปดาห์
- เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน : ราคาหุ้นควรแสดงออกถึงแนวโน้มที่จะเคารพเส้น 10 วัน ใในรอบ 7 สัปดาห์ของการวิ่งขึ้น
- เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน : ถ้าราคาหุ้นไม่ทำตามกฎ 7 สัปดาห์ ก็ให้ใช้การละเมิดเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน เป็นสัญญาณขาย
- กฎนี้จะช่วยปกป้องท่านไม่ให้ขายหุ้นก่อนเวลาอันควร เพียงแค่ราคาหลุดเส้น 10 วันลงไป โดยท่านต้องดูต่อว่ามันยังเคารพเส้นนี้อยู่หรือไม่ก่อน
ให้รอจนมันละเมิดจริงจัง หลัง 7 สัปดาห์ค่อยขาย


ดูตัวอย่างกันครับ



สองกราฟล่าสุด เขาให้จุดสังเกตที่น่าสนใจ คือ ถ้าราคาวิ่งห่างจากเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันมากๆ แล้วต่อมาเกิดการเปิด gap ลง พร้อมวอลุ่มสูง มันคือ "สัญญาณขายหุ้น"

สำหรับเคสไทย ผมเคยเขียนเป็นบทความ ชื่อ Pocket Pivot Buy Point กับเคสหุ้นไทย
ลองอ่านเพิ่มได้ครับ

ที่มา http://www.aaiilosangeles.org/SkirballPresentations/Morales&Kacher091110.pdf




(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ



www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)