การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

กิจวัตรประจำวันของ Swing Trader

"ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ 
ข้าพเจ้าจะใช้ 4 ชั่วโมงแรกไว้ลับขวาน" 
- อับราฮัม ลินคอล์น


แปลจากงานของต่างประเทศนะ
ก็ไม่ได้เป๊ะๆตามทุกตัวอักษรหรอกนะครับ ผมได้ปรับเนื้อหาบางส่วนให้สอดคล้องกับบ้านเรานิดหน่อย
ใครเก่งอังกฤษแนะนำให้เข้าไปอ่านต้นฉบับดีกว่าครับ (ลิงค์อยู่ข้างล่างนะครับ)

คลิปนี้มาจากคนละเจ้ากันนะ แต่ผมเห็นว่ามันมีหัวข้อตรงกัน จึงเอามาแนมให้ดูด้วย




ก่อนเปิดตลาด
๖ โมงเช้า พวกเขาเริ่มทำงานแล้ว ก่อนตลาดเปิดต้องเริ่มงานด้วยการ คาดเดาอารมณ์ตลาดที่อาจจะเกิดขึ้น(มาจากการอ่านข่าว), หาหุ้นที่ให้โอกาสทำเงินสวยๆ, สร้าง watch list และสุดท้ายคือดูทรงของหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ว่ายังดูดี หรือเริ่มเสี่ยง

๑) ดูภาพรวมตลาด (Market Overview)
เป็นสิ่งแรกที่พวกเขาต้องทำ คืออ่านข่าว ดูทีวี เช็คข่าวจากโซเชียล ฯลฯ
เพื่อหาเบาะแสดังนี้
๑.๑) อารมณ์ตลาด (กล้า/กลัว, รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจ, เงินเฟ้อ, ค่าเงิน, การค้าระหว่างประเทศ)
๑.๒) อารมณ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ (กลุ่มที่มีความร้อนแรง, กลุ่มที่เติบโต, ฯลฯ)
๑.๓) Current holdings (ข่าว, กำไร, การเข้าจดทะเบียน, ฯลฯ)



๒) หาโอกาสทำเงิน (Special opportunities)
ต่อมาคือการสแกนหาโอกาส โดยทั่วไปแล้วนักสวิงเทรดจะเข้าเมื่อเห็นตัวเร่งทางปัจจัยพื้นฐาน แต่จุดออกจะดูกราฟแทน
ซึ่งการหาตัวเร่งทางปัจจัยพื้นฐานมีอยู่ ๒ ทาง
๒.๑) โอกาสพิเศษ (Find Potential Trades)
จากการหาข้อมูล filing, อ่านข่าวจากตลาดหุ้น, ดูทีวี, อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ซึ่งมันอาจรวมถึงการนำเสนอขาย IPO, การล้มละลาย, การซื้อหุ้นของคนวงใน, การขายหุ้นของคนวงใน, การเทคโอเวอร์, การควบรวมกิจการ, การเปลี่ยนโครงสร้าง, การเข้าซื้อกิจการ
โดยโอกาสประเภทนี้มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงสูง แต่ถ้าทำการบ้าน ค้นคว้าให้ดี ละเอียดรอบคอบ ก็จะได้เจอช้างเผือกที่ให้ผลตอบแทนสูงได้ ซึ่งคนที่เทรดตามข้อมูลพื้นฐานแบบนี้มักจะคิดสวนทางกับคนส่วนใหญ่ คือซื้อเมื่อคนส่วนใหญ่ขาย ขายเมื่อคนส่วนใหญ่ซื้อ



๒.๒) โอกาสจากอุตสาหกรรมที่ตลาดสนใจ (sector play)
ส่วนใหญ่จะได้หุ้นจากจากการวิเคราะห์ข่าว หรือข้อมูลที่มาจากบทวิเคราะห์ของโบรคเกอร์ หรือเว็บไซต์ ที่ได้เบาะแสว่ากลุ่มไหนมีการเคลื่อนไหวที่ให้ผลตอบแทนดี

๒.๓) โอกาสจากกราฟ (chart breaks)
เป็นการหาโอกาสทางสุดท้าย พวกเขามักจะมองไปแนวรับแนวต้าน บางคนก็ดู price pattern ที่มีโอกาส breakout หรือ breakdown เช่น triangles, channels, Wolfe Waves, Fibonacci levels, Gann levels, ฯลฯ



ทำ watch list 
ขั้นตอนต่อมาคือการทำ watch list หุ้นที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นผลมาจากขั้นตอนข้อที่แล้ว โดยขั้นนตอนนั้พวกเขาจะมีการระบุจุดเข้าทำเสี่ยงต่ำ(entry) พร้อมจุดตัดขาดทุน(stop loss)เอาไว้ล่วงหน้า รวมถึงราคาเป้าหมาย(exit)ที่ควรขายเก็บกำไร


เช็คสุขภาพของหุ้นที่ตัวเองถือ
ขั้นตอนสุดท้ายของช่วงก่อนเปิดตลาดคือการดู position ของตัวเองที่ถือค้างไว้ ตั้งแต่เช็คข่าวเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นว่ามีอะไรใหม่ๆบ้าง มีการซื้อ หรือขายของผู้ถือหุ้นบ้างหรือไม่ มีข่าวที่ส่งผลต่อพัฒนาการของกิจการหรือไม่ สุดท้ายคือดูทรงของกราฟว่ามีการสะท้อนข่าวเหล่านั้นหรือยัง


ชั่วโมงตลาดเปิดทำการ
เป็นช่วงที่พวกเขาใช้ดูทรงและทำการเทรดหุ้น ไม่ว่าจะดูกราฟ ดู bid-offer เพื่อเช็คโอกาสและความเสี่ยง

เมื่อพวกเขาหาจุดเข้าซื้อได้แล้ว โอยอัตโนมัตินั้น,เขาจะรู้ทันทีว่าจุดออกควรอยู่ตรงไหน ซึ่งกราฟหุ้นคือตัวช่วยที่ดีที่สุด สวิงเทรดเดอร์บางส่วนใช้ระดับ fibonacci, ระดับแนวต้าน, หรือดู Price By Volume ซึ่งในทางทฤษฎีคือจุดขายออกนั้นควรรู้ตั้งแต่ก่อนเข้าเทรดแล้ว แต่ถ้าหากพวกเขาพบว่าแนวโน้มนั้นมีความแข็งแกร่ง การปรับจุดขายทำกำไรคือสิ่งที่เขาต้องทำ เพราะถ้ามัวแต่ยึดติด ก็อาจได้ขายหมูตัวใหญ่
แต่ทั้งนี้ พวกเขาจะไม่ปรับระดับ stop loss แต่อย่างใด



อย่างไรก็ตาม การเข้าเทรดนั้น มันไม่ใช่วิทยาศาสตร์ไปเสียทีเดียว มันเป็นศิลปะมากกว่า เพราะตลาดมันอยู่นอกเหนือการคาดเดาได้ตลอด ดังนั้นพวกเขาจึงมีความยืดหยุ่น(ใช้ศิลปะ)ทางด้านการขายทำกำไร แต่จะยึดกฎ(วิทยาศาสตร์)ในส่วนของการบริหารจัดกาความเสี่ยง


ชั่วโมงหลังตลาดปิด
ช่วงนี้เป็นการทบทวนผลงานของตัวเอง บันทึกกิจกรรมการเทรดของตัวเองลงในบันทึกการเทรด บันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเทรด วิเคราะห์ความผิดพลาดและหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงให้ได้ผลการเทรดที่ดีขึ้น  นอกจากนี้ พวกเขาจะตามข่าวของบริษัทที่ออกมาหลังปิดตลาด เช่นการประกาสผลกำไร, หรือข่าวอะไรก็ตามที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทนั้นๆ


สรุป
เมื่อดูภาพรวมทั้งหมด ก็จะพบว่า ชั่วโมงก่อนเปิดตลาดนั้นจะมีความสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จในการเทรด เพราะมันเป็นช่วงแห่งการหาเบาะแสแห่งโอกาสและความเสี่ยง รวมถึงการวางแผนล่วงหน้า ถ้าใครทำช่วงนี้ได้ดี ก็มีความได้เปรียบคนอื่นที่ไม่ทำอะไรเลย
ชั่วโมงตลาดเปิดนั้น เป็นช่วงแห่งการลงมือเข้าเทรด/ออกจากการเทรดและทำตามแผนเท่านั้น
ส่วนชั่วโมงหลังตลาดปิด เป็นช่วงแห่งการรีวิวผลงานตัวเอง

ถ้าคุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้ มันจะช่วยพัฒนาการเทรดของท่านให้ดีขึ้นได้ และอาจจะส่งผลให้ท่านมีผลงานเอาชนะตลาดได้ดีขึ้น เพราะคนที่มีการเตรียมพร้อมมากกว่า ก็จะเห็นโอกาสและควมเสี่ยงได้มากกว่าคนอื่นแน่นอนครับ

ที่มา https://www.investopedia.com/articles/trading/06/dayofswingtrader.asp



(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่