Posts

Showing posts from July, 2018

แนะนำฟรีอีบุ๊ก "สโตอิกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลับ"

Image
  (อ่านฟรี) e-book : สโตอิกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย https://mebmarket.com/?action=book_details&book_id=327348 สโตอิกช่วยนักศึกษาได้อย่างไรบ้าง สโตอิกเป็นปรัชญาที่ช่วยให้เรารับมือกับความกดดัน ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องเจออยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การสอบ หรือการปรับตัวกับชีวิตในมหาวิทยาลัย ผมอยากอธิบายว่าทำไมสโตอิกถึงเป็นแนวคิดที่สามารถช่วยคุณได้ครับ หลักสำคัญของสโตอิกคือ การแยกแยะสิ่งที่เราควบคุมได้กับสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้  การฝึกให้เข้าใจเรื่องนี้จะช่วยลดความเครียดได้มาก ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณกังวลเกี่ยวกับการสอบ สิ่งที่คุณควบคุมได้คือการเตรียมตัวให้ดี อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน แต่ผลการสอบหรือความคิดเห็นของอาจารย์ เป็นสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ การโฟกัสเฉพาะสิ่งที่คุณทำได้จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกเครียดกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมครับ นอกจากนี้ สโตอิกยังสอนเรื่อง การควบคุมอารมณ์  และ การมองโลกอย่างเป็นกลาง  ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อคุณเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ที่ท้าทาย เช่น หากคุณเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ผลสอบไม่เป็นไปตา

(มือใหม่เล่นหุ้น) เส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ เทียบได้กับกี่วัน?

Image
วันก่อนทีมงาน zyobook ขอร้องให้ผมไปตอบคำถามจากแฟนหนังสือเล่มดำ เขาถามมาแบบนี้  "รบกวนหน่อยครับ พอดีกำลังอ่านหนังสือหุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ ของคุณ zyo ได้กล่าวถึงเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ เทียบได้กับกี่วันครับ ขอบคุณครับ" จริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้ก็มีคนถามแบบนี้กันหลายคน คือถ้าเราใช้เซนส์ตามหลักการคณิตศาสตร์ ก็เอา 5 คูณ 30 = 150 วัน เลข 5 ก็คือ จำนวนวันทำการในหนึ่งสับดาห์ ส่วน 30 ก็เป็นจำนวนสัปดาห์ มันก็คือ 150 วัน ครับ ท่านสามารถใช้เส้นนี้ได้เลยครับ ไม่ผิดกติกาครับ ตำรวจไม่จับ คุณครูไม่ตีมือ ที่มาก็เอามาจากงานของพี่มาร์ค มิเนอร์วินี แกบอกว่า ลักษณะของขาขึ้น ๑) ราคาวิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 150 วัน(30 สัปดาห์) ซึ่งมันวิ่งเหนือเส้น 200 วัน (40 สัปดาห์) ๒) เส้นค่าเฉลี่ยทั้งสอง ยกเฉียงขึ้น ๓) ราคายกไฮยกโลว์ เป็นขั้นบันได ๔) ตอนที่ราคาวิ่งขึ้น และทำจุดสูงสุดใหม่ วอลุ่มจะสูงกว่า ตอนที่ราคาย่อ ที่คิดแบบนี้ ต้องดูเจตนาของการใช้งานกันเป็นหลักครับ โดยปกติแล้ว เราจะใช้เส้นค่าเฉลี่ย เป็นแนวรับ หรือแนวต้านกัน ต้นฉบับของไอเดียนี้ คือ ทวด Stan Weinstine เขาเขียนไว้ ว่ามันเป

แกะเคส KTC ส่วนประกอบของแนวโน้มขาขึ้น

Image
เพิ่งได้เห็น เพจอาจารย์โอ๊ค โพสต์เกี่ยวกับหุ้น KTC ผมชอบงานแกนะ เก่งเลยคนนี้ สามารถเล่าเรื่องยากๆ ให้ฟังเข้าใจได้อย่าง่ายๆ เท่มากๆ เมื่อคืนแกแกะงบหุ้นตัวนี้แบบลงลึก  https://www.facebook.com/stocktold/videos/2314336335251126/ ทำให้ผมยิ่งศรัทธา ว่า smart money เขาคิดแบบนี้นี่เอง มืออาชีพและละเอียดยิบจริงๆ และผมเกิดไปสะดุดตอนที่แกบอกว่า ปีก่อนราคามันอยู่ที่ 9.5 บาท(ราคาหลังแตกพาร์) แล้วก็วิ่งรวดเดียวเป็น ๓ เด้ง!! นี่มันเป็น ขาขึ้นรอบใหญ่ ชัดๆ ก็เลยเกิดความสนใจกราฟหุ้นตัวนี้ จึงลองกลับไปดูกราฟของมันอีกครั้ง ปล. ต้องออกตัวก่อนว่า เป็นงานวิเคราะห์ย้อนหลังนะครับ จะเขียนยังไง จะชี้ตรงไหน ยังไงก็ถูก นี่เป็นกราฟ 3 ปีย้อนหลัง ท่านเห็นจุดร่วมอะไรบ้างมั้ยครับ? ที่ผมเห็นนะครับ คือมันวิ่งรอบใหญ่ จากกราฟกรอบ ๓ ปี สองปีก่อนหน้านั้น มันขึ้นแบบซึมๆ ในรูปแบบการสร้างฐาน ก็มี ๑ ปีล่าสุดนี่แหละที่ราคายกไฮยกโลว์ ดีดขึ้นแรง บวก ๓ เด้ง!! ถ้าเราจะหาสัญญาณเปลี่ยนเทรนด์ ก่อนที่จะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ มีอะไรที่น่าสังเกตบ้าง? ดูรูปต่อไปครับ ๑) จุดสังเกตแรกคือราคาทำ All time high ครับ ๒)

รู้จริง รวยจริง อย่างเซียนหุ้น (ภาค Mindset) - จิม โรเจอร์ส

Image
หนังสือเรื่องรู้จริงรวยจริงอย่างเซียนหุ้น โดย จิม โรเจอร์ส เท่าที่ผมอ่านดูอย่างผ่านๆนะครับ เนื่องจากเขาเป็นคนชอบท่องเที่ยวและซอกแซกตลาดมืด จึงมีมุมมองทางด้านภาพใหญ่ของแต่ละประเทศว่ามันมีความสัมพันธ์อย่างกันยังไง  ประเทศไหนจะยิ่งใหญ่ ประเทศไหนจะเสื่อมถอย ซึ่งเขาบอกว่าต่อไปเอเชียจะเป็นภูมิภาคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งนำโดยประเทศจีน แล้วตอนนี้เขาก็ย้ายมาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์แล้ว - ใครที่สนใจเรื่องการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ ผมว่าคนนี้ให้ข้อมูลได้อย่างน่าสนใจมากๆเลย - ใครชอบชอร์ต ก็น่าอ่าน เพราะเขาเซียน - ความสัมพัทธ์ระหว่างประเทศ ก็มีมุมมองที่น่าสนใจ ฯลฯ มีหลายประโยคหลายตอนที่ผมอ่านแล้วประทับใจเลยขอคัดเอามาไว้ในที่นี้สักเล็กน้อย ๑) มีสองสิ่งเท่านั้นที่ไม่มีที่สิ้นสุด นั่นคือจักรวาลและความโง่ของมนุษย์ และผมก็ไม่แน่ใจนักเกี่ยวกับสิ่งแรก - ไอน์สไตน์ ๒) วิธีการของผมคือผมต้องศึกษาให้มากที่สุดเท่าที่จำเป็น จนกระทั่งผมเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องนั้นๆ และศึกษาต่อไปอีกเพื่อความมั่นใจ นี่เป็นวิธีการของผมในการเรียนรู้ทุกเรื่อง ๓) ที่วอลสตรีท, เป็นครั้งแรกในชีวิตคือการไ

หุ้นตั้งเสาสัญญาณ?

Image
เป็นงานเก่าที่ทำไว้เมื่อ February 14, 2017 นะครับ หุ้นคู่แฝด SYMC กับ AMANAH ผมไม่มีนะ และก็ไม่ได้เชียร์ด้วย แต่เห็นว่ามันทำทรงน่าสนใจดี เลยเอามาเป็นเคสให้ดูสนุกๆ ทั้งคู่ เริ่มต้นด้วยการลากแรงๆ ทิ้งไส้ยาว วอลุ่มสูงโด่เด่เอาไว้ก่อน ไฮนั้นสูงมาก จนรู้สึกว่า ไม่น่าจะวิ่งขึ้นไปข้ามได้ในเวลาสั้นๆ จากนั้นก็ปล่อยทิ้งให้ขายจนหนำใจ ราคาก็ลงลึกไปอีก ใครดอยอยู่ก็ต้องมีถอดใจกันเกินครึ่งแน่ๆ ต่อมา เขาก็ค่อยๆซื้อทีละนิด ทีละช่อง ค่อยๆยกไฮยกโลว์ขึ้น วอลุ่มก็แสนจะเบาบาง จนดูไม่น่าเชื่อว่าจะไปต่อได้ไกลๆ แต่มันก็ปีนขึ้นไปได้เรื่อยๆ จนข้ามไฮสัญญาณสูงได้แบบไม่ต้องใช้วอลุ่มมากมายอะไร ซึ่งถ้าใช้หลักวอลุ่มจับ-ก็ต้องรู้สึกไม่ปลอดภัยสักเท่าไหร่ เพราะขึ้นแบบไม่มีวอลุ่มสนับสนุนแบบจริงจัง แต่เมื่อผ่านไฮนั้นไปได้แล้วสิ พี่เค้าก็ลากโชว์เลย วอลุ่มก็ออกสูงปรี๊ด อารมณ์เหมือนนักวิ่งที่ออมแรงเอาไว้สปรินท์ไกล้เส้นชัย ยังไง ยังงั้นเลยแฮะ นายแน่มาก เคส อื่นๆ เพจ หุ้นยนต์เอาไปต่อยอดกับหุ้น VNT https://www.facebook.com/RoboBullish/posts/398042627221288 และการบ้านเก่าของผมอีกนิดหน่อย

(สรุปหนังสือ) The Power of Less : ทำน้อยให้ได้มาก

Image
The Power of Less ทำน้อยให้ได้มาก สาเหตุที่ทำให้ผมสนใจเล่มนี้ ก็เพราะอยากรู้แนวทางของการเลือกทำในสิ่งที่สำคัญที่สุด  โฟกัสแค่ไม่กี่อย่าง ไม่ต้องทำอะไรจับฉ่าย หัวเรื่องทำน้อยได้มาก  จึงน่าจะช่วยตอบคำถามและสนองความต้องการของผมได้  อีกทั้งยังอยากรู้ว่าเขามีวิธีการเลือกและรอคอยที่น่าสนใจอยู่ภายในเล่มบ้างหรือไม่ ก็ได้ข้อมูลหลายอย่างที่มีประโยชน์ ดังนี้... ความเรียบง่าย ผมเชื่อในความเรียบง่ายอย่างหมดใจ เมื่อทำชีวิตให้เรียบง่ายขึ้น ชีวิตผมก็ดีขึ้น เมื่อลดจำนวนสิ่งรบกวน ผมก็สามารถเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ผมรัก เมื่อกำจัดสิ่งที่ทำให้ไขว้เขว ผมก็ทำงานได้ดีขึ้นและจดจ่อได้มากขึ้น ความเรียบง่ายที่ผมตามหาในชีวิต ก็คือความเรียบง่ายในทุกสิ่งที่ผมทำ ผมอยากทำสิ่งต่างๆให้น้อยลง ไม่ใช่มากขึ้น ผมอยากประสบความสำเร็จมากขึ้น จากสิ่งที่ผมเลือกที่จะทำ ความเรียบง่าย สามารถสรุปเหลือเพียง ๒ ขั้นตอนดังนี้ ๑) มองหาสิ่งสำคัญ ๒) กำจัดส่วนที่เหลือ พูดง่ายๆคือ "จดจ่อกับสิ่งสำคัญ และลดทอนส่วนอื่นๆที่ไม่จำเป็น" หลักการ ๖ ข้อ ในการทำน้อยให้ได้มาก ๑) สร้างข้อจำกัด ๒) เลือกแต่ส

หุ้นนำตลาด 26/7/2018

Image
เห็นหยุดยาว เลยลองเช็คหุ้นนำตลาดมาให้ดูกันครับ กราฟของ SET แท่งเทียน ข้าม EMA50 สูตรที่สแกนก็คือ ราคา > EMA20 ซึ่ง EMA20>EMA50 โดย EMA50>EMA100 ก็เจอบางส่วนออกมาดังนี้ นี่เป็นข้อมูลดิบเท่านั้นนะครับ ท่านต้องเอาไปเวิร์คต่ออีกเยอะเลย โดยท่านต้องคิดต่อว่า ๑) จะซื้ออะไร (ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นในนี้ก็ได้) ๒) จะซื้อเมื่อไหร่? ๓) จะขายตรงไหน? อย่างน้อยที่สุดท่านต้องรู้ว่าถ้าราคาวิ่งสวนทาง ทำให้ท่านขาดทุน ต้องขายที่ราคาเท่าไหร่? ภายใต้เงื่อนไขที่ท่านเสียหายน้อยที่สุดตาม limit loss ที่ตั้งเอาไว้ ๔) จะซื้อเท่าไหร่? กี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต แนะนำว่าอย่าเกิน 20% ของพอร์ตเลย ๕) อย่าเพิ่งสนใจกำไร แต่จงโฟกัสไปที่การป้องกันไม่ให้ขาดทุนก่อนเสมอ แถม ๖) ให้ความสำคัญกับพื้นฐานความสามารถในการทำกำไรของบริษัทนั้นๆด้วยครับ หากมันมีพื้นฐานความสามารถในการทำกำไรที่ดี แถมทรงของกราฟก็เป็นขาขึ้นด้วย = เยี่ยมยอด แต่ถ้าบริษัทนั้น ทำธุรกิจที่ไม่ม

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo