แนะนำอีบุ๊กเล่มใหม่ "สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน"

Image
(ลดราคา 20% จากราคาปก)  อีบุ๊ก สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด : เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน จำหน่ายแล้วที่ https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=319842   "สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน"   หนังสือเล่มนี้จะนำคุณเข้าสู่โลกของปรัชญาสโตอิก ผสานกับการเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูง สอนให้คุณรู้จักควบคุมอารมณ์และมีวินัยในทุกการตัดสินใจ ยืนหยัดอยู่ในเกมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ด้วยหลักคิดที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง คุณจะได้เรียนรู้วิธีสร้างกำไรอย่างยั่งยืน พร้อมกับรักษาความสงบเยือกเย็นในทุกสภาวะตลาด เปลี่ยนการเทรดให้เป็นศาสตร์ของจิตใจที่แข็งแกร่งและมั่นคง อีบุ๊ก - สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน เหมาะกับใคร? อีบุ๊กเล่มนี้เหมาะสำหรับนักเทรดทุกระดับ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นในตลาดการเงิน หรือเป็นนักเทรดมืออาชีพที่มีประสบการณ์มาหลายปี หากคุณเคยรู้สึกว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการเทรดไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคหรือการวิเคราะห์ข้อมูล แต่คือการควบคุมอารมณ์ ความกลัว และความกดดันในการตัดสินใจ อี

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)

(แนะนำงานเขียนใหม่ล่าสุดครับ)

๑. เล่มนี้จะเปิดเผยอีกด้านของการเทรดแนวเทคนิคอล
จากมุมมองของนักเทรดประสบการณ์ 10-40 ปี
มือใหม่ควรอ่านนะครับ จะได้ใช้เทคนิคอลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผมขอบอกเลยว่า แค่รู้เทคนิคอล ยังไม่พอจริง ๆ
เล่มนี้จะบอกความจริงให้คุณ แบบที่ไม่เคยมีใครบอกมาก่อน
มือโปรเขามองการวิเคราะห์ทางเทคนิคว่ายังไงบ้าง มีจุดแข็งอยู่ตรงไหน?
อะไรคือจุดอ่อนของเทคนิคอล แล้วจะใช้งานมันยังไงเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด?
๒. ทำไมทั้งที่ใช้อินดิเคเตอร์ตัวเดียวกัน หรือใช้ Price Pattern ก็ตัวเดียวกัน
...แต่ทำไมนักเทรดมือโปรได้กำไรสม่ำเสมอ?
...ทว่ามือใหม่กลับเอาตัวไม่รอด...ขาดทุนซ้ำซาก?
ปัญหามาจากเทคนิคอล? หรือมาจากส่วนอื่นกันแน่?
๓. นำเสนออีกมุมของเทคนิคอล ที่ไม่มีใครบอกคุณตรง ๆ ว่าแท้จริงแล้วเทคนิคอล
...เทคนิคอลไม่ได้สวยหรู ไม่ได้มหัศจรรย์หรือเป็นสูตรวิเศษอะไรเลย?!
... มือโปรไม่ได้มองแบบที่มือสมัครเล่นมองเลยแม้แต่น้อย!!
๔. ไม่เหมาะสำหรับคนที่บูชาเทคนิคอลแบบงมงาย
...ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรวยเร็ว ๆ จากการเทรด
... แต่เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้เทคนิคอลให้ถูกต้องแบบที่มือโปรเขาใช้กันเป็นบรรทัดฐานครับ
eBook :  การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่นักเทคนิคอลมือโปร ประสบการณ์ 10 ปี++ อยากบอกมือใหม่ รู้ก่อน...รอดก่อน มีขายที่ mebmarket นะครับ  ตามลิงค์นี้นะ http://bit.ly/436mRyO
+++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++


(ตอนที่ผมเริ่มเขียนบทความนี้คือปลายปี 2559) พอดีมีโอกาสดูคลิป Oppday ของ EFORL ก็เลยกลับไปดูกราฟ พบว่ามีความน่าสนใจในแง่ของการศึกษาวงจรชีวิตของหุ้นได้ดีมาก เริ่มต้นเรามาดูภาพใหญ่ในรอบ 5 ปี กันก่อน (เครดิตกราฟจากเว็บ siamchart.com ครับ)

ก็เหมือนกับเราเห็นภูเขาลูกใหญ่ๆลูกหนึ่งเลยนะ ราคาเริ่มต้นจาก 0.08 ไปพีคที่ 1.98 = 24 เท่า ภายในเวลา 2 ปีนิดๆ สุดยอดเลย

จากนั้นมันก็ดิ่งลงจาก 1.98 ลงไปถึง 0.21 ร่วมๆ 89% และเด้งขึ้นมาอยู่ที่ 0.28 ในปัจจุบัน ใช้เวลา 2 ปีกว่าเช่นกัน และถึงเวลานี้ก็ไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนแต่อย่างใด

สมมุตินะว่าถ้าใครสักคนถือตั้งแต่เริ่ม 0.08 แล้วทนถือไปจนถึงจุดสูงสุดก็เป็นเศรษฐีรวยปลิ้น และหากใครอีกคนซื้อที่ 1.98 และทนถือมาจนวันนี้ก็จะขาดทุนแบบไกล้สินเนื้อประดาตัวไปเลย เรียกว่าแตกต่างกันสุดๆ อย่่างกับสวรรค์กับนรก
(แต่ก็น่าจะเป็นแค่การยกตัวอย่างเฉยๆนะ เพราะในโลกแห่งความจริงไม่น่าจะมีคนทนถือได้เหมือนตัวอย่างหรอก)


ประโยชน์ของการรู้จัก วัฏจักรตลาด Market Cycle

มาถึงประเด็น Cycle ของตลาด กันบ้าง ผมจะยกเอาหลายๆมุมมองมาแชร์ให้ดูกันนะ เผื่อจะได้มุมมองรอบด้าน

ก่อนที่จะรู้จักแต่ละแบบ บางคนอาจผุดคำถามขึ้นมาว่า "ฉันจะรู้ Cycle ของตลาดไปทำไม มันจะมีประโยชน์แค่ไหนเชียว?"

ผมคิดว่ามันจำเป็นเลยล่ะ ถ้าใครอยากเล่นรอบใหญ่ๆ เพราะผมคิดว่า Cycle หรือภาพใหญ่นี่น่ะ มันเป็นเสมือน "ลายแทง" การเดินทางของหุ้นเลย

ที่ว่าเป็นลายแทง ไม่ใช่แผนที่ ก็เพราะว่า เราไม่รู้อนาคตของมันไง ถ้าบอกว่าเป็นแผนที่น่ะ มันเผยเส้นทางชัดเจนไปหมดแล้ว ซึ่งสำหรับหุ้นนั้นน่ะ มันไม่มีใครรู้อนาคตได้หรอก อนาคตมันมืดสนิท สิ่งที่เราต้องทำคือตีความคำบอกไบ้ที่ตลาดทิ้งไว้ให้เท่านั้น ถ้าเรามองว่ามันยังดูดีก็ถือต่อ แต่หากทำท่าไม่น่าไว้ใจก็ต้องหนีไปตั้งหลักก่อน

ประโยชน์ที่ผมพอจะมองเห็นมี 3 ข้อ
1. เราจะรู้อารมณ์ตลาด(นักลงทุน) ว่าแต่ละช่วงนักลงทุนเขาคิดหรือรู้สึกยังไง
2. เราจะรู้ว่าตอนนี้ราคาอยู่ในช่วง(stage)ไหนของรอบหรือ Cycle ใหญ่ ซึ่งตอนนี้การรู้จักเทคนิคอลจะช่วยได้มาก
3. เรามีทางเลือกในการคาดเดา "ทิศทาง" หรือ "โอกาส" ที่ราคาจะวิ่งไป (เรื่องอีเลียตเวฟ จะช่วยได้)
เดี๋ยวผมจะทยอยอธิบายทีละหัวข้อนะ ก็ค่อนข้างยาวพอสมควร

(1)อารมณ์ของนักลงทุน

เริ่มที่ภาพรวมแบบง่ายๆก่อน ที่อารมณ์ของนักลงทุน อยากให้ดูภาพ และจำให้ดี

เห็นภาพแล้วนึกถึงคำพูดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มั้ย ที่ว่า "จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า จงกล้าเมื่อคนอื่นกลัว"
ซึ่ง "คนอื่น" ในมุมมองของบัฟเฟตต์ ก็คือ Mass นั่นเอง
ยามใดที่ Mass กลัว จนถึงขั้นตระหนก คือจังหวะที่ตลาดลงไปไกล้จุดต่ำสุดแล้ว
ตรงกันข้ามกับ ยามใดที่ Mass กล้า มีความสุข อวดกำไรไปทั่ว แสดงว่าตลาดขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้ว



แนวคิดเรื่องมูลค่า

มาดูอีกไอเดีย ที่เอาประเด็นของมูลค่า, กลุ่มคนที่เข้าซื้อ และ อารมณ์ตลาด มามัดเข้ารวมกัน

"สะสมแบบลับๆ" คือช่วงที่ Smart Money จะเข้าซื้อตอนที่ราคาต่ำกว่ามูลค่า (ผมตีความว่า Mean น่าจะหมายความถึงมูลค่าที่แท้จริง) เหล่า Smart money ก็น่าจะหมายความถึง นักลงทุนวีไอพันธ์แท้ คนวงใน และนักลงทุนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

"เริ่มมีคนสังเกตุเห็น" จากนั้นก็เริ่มมีสถาบันมองเห็นความน่าสนใจของหุ้นตัวนี้ก็เข้ามาเก็บด้วย แน่นอนด้วยสภาพคล่องที่น้อยลง ราคาก็เลยเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
ช่วง "เขย่าเม่า" หลังจากที่ราคาวิ่งขึ้นแรงๆ ก็ทำให้ Smart money บางส่วนขายหุ้นออกเพื่อทำกำไร ทำให้ราคาร่วงลงหนัก แต่ก็ไม่ได้ลงไปทำนิวโลว์ เพราะมี Smart money หรือสถาบัน หรือกนะทั่งนักเทคนิคอลที่ชอบ Buy on dip เข้ามาผสมโรงซื้อหุ้นดันราคาเอาไว้

"บ้าคลั่ง" เริ่มต้นจาก "สื่อ" ที่ให้ความสนใจกับหุ้นตัวนี้ ได้ยกเอาเรื่องราว สตอรี่มาเผยแพร่ ผสมโรงกับบทวิเคราะห์จากโบรคเกอร์ที่ให้เป้าหมายราคาใหม่ ก็ส่งให้ข้อมูลของหุ้นตัวนั้นถูกเผยแพร่ให้ Mass ได้รับรู้ ก็กลายเป็นการจุดกระแสปลุกเร้าให้เกิดการเข้าซื้อกันในวงกว้าง ราคาก็วิ่งขึ้นอย่างบ้าคลั่งสมชื่อ ตลอดช่วงนี้จะมีข่าวทยอยออกมานำเสนอให้ประชาชนรับรู้อย่างต่อเนื่อง ชักชวนให้ใครคนอื่นๆที่ไม่ทันรับรู้ก็เข้ามาต่อคิวซื้อ แน่นอนคนที่มางานเลี่ยงช้าก็จะได้ซื้อของที่ดอย

"ระเบิดออก" เกิดหลังจากที่ราคาขึนไปถึงจุดสูงสุดแล้ว (เราจะรู้ก็ต่อเมื่อการเด้งขึ้น ไม่สามารถขึ้นไปทำนิวไฮได้) เมื่อราคาเด้งไปไม่ทำนิวไฮได้ ก็จะเป็นจังหวะที่รายใหญ่ Smart money, สถาบัน รวมทั้งนักเทคนิคอลที่เจนจัดรอดูอยู่แล้วว่าถึงเวลาที่ดีสุดที่จะขายหุ้นออก พวกนี้ก็กระหน่ำชิงจังหวะขายกันใหญ่
ช่วงต้นของระยะระเบิดออกนั้น จะมีตอนที่เรียกว่า "ล่อเม่า" อันเป็นจังหวะที่คนตกรถไม่กล้าซื้อตอนที่ราคาขึ้นมาแรงๆ พอเห็นย่อก็เข้าซื้อเพราะคิดว่ามันจะไปต่อ

แต่พอเด้งไม่ทำนิวไฮอย่างที่บอกไว้เมื่อกี้ งการเด้งครั้งนี้อาจจะมาจากข่าวที่ออกมาอันเนื่องมาจากบทวิเคราะห์ที่สื่อว่าราคายังมีอัพไซด์อยู่พอสมควร อันเนื่องมาจากการทำกำไรยังดีอยู่(แท้ๆ) แต่ก็ไม่มีรายใหญ่เข้าซื้อกันอีก คงมีแต่รายย่อยเข้าสะสมตามข่าวที่ออกมา ส่งให้วอลุ่มการซื้อน้อยลง ราคาวิ่งไม่แรงตามข่าวที่ออกมา

เมื่อเห็นการขึ้นของราคาที่อ่อนแอเหล่า Smart money กระหน่ำขายหุ้นออก ราคาก็ลงแบบหนักหน่วงสิ ไอ้คนที่เพิ่งเข้าในตอน "ล่อเม่า" ก็ยังยืนงงในดงตีนกันอยู่เลยไง เลยพากันคิดเข้าข้างตัวเองว่า "ฉันจะเป็นวีไอ" เพราะตอนนั้นบทวิเคราะห์ก็ยังออกมาดีอยู่เลย ราคาต้องไปต่อสิ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าช่วงนี้รายย่อยจะเข้ารับซื้อตลอดทางเพราะยังยึดติดกับข่าว กับบทวิเคราะห์ที่ออกราคาเป้าหมายสูง(เช่นราคาเป้าหมาย 50 บาท แต่ตอนนี้ราคาลงมาถึง 30 บาท) อันหมายความว่าพวกเขาจะได้อัพไซด์ที่มากขึ้น จึงถัวกันใหญ่

ด้วยแรงซื้อของรายย่อยอันน้อยนิด มีรึจะสู้แรงขายของรายใหญ่+นักเทคนิคอล ที่หนีตายกัน ราคาก็ร่วงลงหนักสิ หนักมากลงไปเรื่อยๆ จนถึงระดับราคาที่รายย่อยขาดทุนเกินครึ่งกันหมด พวกเขาก็ถอดใจขายทิ้งในช่วงราคาที่อยู่ในภาวะสิ้นหวัง อันเป็น Selling Climax พอดี แล้วจากนั้นาคาก็เด้งกลับตัวไปซะงั้น รายย่อยที่ขายไปก็เงิบสิ



(2)เทคนิคอล

เทคนิคอลคือการเอาสิ่งที่เป็นอารมณ์ เอามาแปลความเป็นตัวเลขและพล็อตออกมาเป็นกราฟครับ
ในส่วนนี้จะช่วยให้เราสามารถระบุตำแหน่งของราคาหุ้นว่าอยู่ในช่วงไหนแล้วซึ่งมันจะช่วยให้เราตั้งสมมุติฐานหรือมองความน่าจะเป็นว่า โอกาสขึ้นต่อหรือลงต่อมีมากน้อยแค่ไหน

Dow Theory

จุดเริ่มต้น คือ Dow Theory มาก่อนใครเลย
ผมจะไม่เจาะเนื้อหาของทฤษฏีมันนะ เพราะจะยาวมาก เอารูปมาโชว์เลยดีกว่า

 ปู่(หรือทวด)ดาวของเรา, เขาบอกว่าตลาดมีช่วงชีวิต 3 ช่วงใหญ่ๆ

Accumulation ช่วงเก็บของ : ยิ่งขาย แต่ราคายิ่งขึ้นทีละเล็กละน้อย (ระยะนี้จะถูกอธิบายอย่างละเอียดผ่านทฤษฎี Wyckoff)
เป็นจังหวะที่นักลงทุนที่เล็งเห็นการณ์ไกลเข้ามาช้อนซื้อหุ้น เพราะเห็นว่าข่าวเชิงลบได้ถูกดูดซับไปหมดแล้ว ซึ่งมีโอกาสที่ข่าวสารเชิงบวกเริ่มปรากฎออกมา (ช่วงคนส่วนน้อยกำลัง เก็บของ)

Public Participation : ราคาปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป็นจังหวะที่ผู้ลงทุนที่เน้นการลงทุนตามแนวโน้มตลาดจะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น มีแรงหนุนจากข้อมูลข่างสารเชิงบวก ส่งผลให้ราคาโดยรวมมีการปรับตัวสูงขึ้น (ช่วงนี้คนส่วนน้อย และส่วนใหญ๋เริ่มเข้ามา)

Distribution ช่วงปล่อยของ : ยังขึ้นเรื่อยๆ แต่เริ่มปล่อยของให้ไหล่ลงเรื่อยๆ เพื่อเปลี่ยนแนวโน้ม
เป็นจังหวะที่มีผู้เล่นอยู่ในตลาดมากยิ่งขึ้น ข่างสารเชิงบวกหลั่งไหลออกมามากมาย การเก็งกำไรมีมากขึ้น นักลงทุนในช่วงเก็บของจะทยอยปล่อยของออกมาเพื่อทำกำไร ก่อนจะมีแรงขายปรากฏออกมา

ประโยชน์ที่คุณจะได้จากการรู้จักช่วงชีวิตตลาดคืออะไรบ้าง?
เขาบอกที่มาของการวิ่งราคาว่ามันเริ่มมาจากการสะสม-ไล่ราคา-และจบด้วยทุบ
ตรงนี้หากเราดูกราฟภาพใหญ่เป็น ก็พอจะนึกภาพตัวเองออกว่าถ้าเข้าไปเล่นตอนนั้นๆจะเป็นยังไง
ถ้าอยู่ในช่วงสะสม คุณก็จะรู้สึกเบื่อเพราะราคาไม่ยอมไปไหน กำไรนิดหน่อย แถมมีโอกาสขาดทุนได้
ถ้าอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือไล่ราคา คุณก็มีโอกาสได้กำไรมากกว่าขาดทุน นึกภาพอะไรสักอย่างที่ขายดีไว้นะครับ คือใครๆก็ต้องการซื้อสินค้าตัวนั้นน่ะ ถ้าคุณเป็นพ่อค้าเมื่อเห็นว่าของนั้นมันขายดี คุณก็ไปรับมาขายต่อเอากำไรสิ เพราะมันมีส่วนต่างแน่ๆ ขายหมดแน่ๆ กำไรเน้นๆ
แต่หากเป็นขาลงหรือปล่อยของ(เน่าๆ) โอกาสขาดทุนก็จะมากกว่าได้กำไร มีแต่เสียกับเสีย นึกภาพออกนะครับ ช่วงนี้ใครๆก็อยากขายหุ้นทิ้ง แสดงว่าหุ้นตัวนั้นมันแน่าแน่ๆ มีโอกาสราคาถูกได้อีก คุณจะซื้อทำไมของที่ใครๆก็ไม่อยากได้ แถมยิ่งมายิ่งราคาถูก จะขายออกก็ขาดทุน

ดังนั้นต่อเมื่อคุณได้หุ้นจากกูรูที่เขาบอกว่าชอบตัวโน้นตัวนี้ หรือข่าวจากหนังสือพิมพ์หุ้น หรือแม้กระทั่งเพื่อนบอก ก็เอามาเปิดกราฟดูกันเลยว่า "พวกมันหวังดีหรือแค่หลอกคุณให้ไปซื้อของเน่าๆกันแน่"



แนวโน้ม
ซึ่งมันจะอธิบายเป็นแนวโน้มได้ดังนี้


แนวโน้มขาขึ้น คือ ราคาหุ้นวิ่งทำราคาสูงขึ้นไปได้เรื่อยๆ ต่อเนื่องกันเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน กระทั่งเป็นปี เช่น วีคนี้ 10 บาท สัปดาห์ต่อไป 13 บาท อาทิตย์ต่อไป 20 บาท โอโหสุดยอด ยิ่งคุณถือนาน ก็ยิ่งกำไร แบบนี้คือราคาหุ้นมันเป็นขาขึ้น
แนวโน้มขาลง คือ ราคายิ่งลง ยิ่งมายิ่งถูก สัปดาห์ที่แล้ว 10 บาท พอมาวีคนี้เหลือ 6 บาท อาทิตย์ถัดไป เหลือแค่ 4 บาท นี่แหละคือภาพสะท้อนของขาลง คือยิ่งคุณถือนาน ยิ่งขาดทุน
แต่สำหรับช่วง sideway ก็หมายความว่า วีคนี้ 10 บาท สัปดาห์ถัดไป 8 บาท แล้วอาทิตย์ต่อมา กลับไป 10 บาทอีกแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้ คุณก็ไม่ได้ไม่เสียเงินอะไร แต่เสียเวลาแน่

ประโยชน์ที่ท่านจะได้จากเรื่องนี้ก็คือ คุณสามารถรอจังหวะที่เหมาะสมเพื่อเข้าไปเล่นได้
ยังไง?
เช่นในแนวโน้มขาขึ้น คุณซื้อไม่ทัน เพราะมันบวกแรงเหลือเกินไม่กล้าเข้า แต่คุณรู้ว่าหุ้นเป็นขาขึ้นนั้นมันสามารถไปต่อได้อีก ก็รอตอนมันย่อสิ เพราะย่อแล้วเดี๋ยวก็กลับขึ้นไปต่ออีก เมื่อซื้อแล้วคุณก็ได้ทุนต่ำที่ปลอดภัยเพราะมันไม่ลงไปมากกว่านั้น ถ้ามันวิ่งขึ้นไป คุณก็กำไร
ส่วนแนวโน้มขาลง หากคุณติดหุ้นอยู่ ก็ให้จำไว้ว่า อีกไม่นานมันก็จะเด้งขึ้นเพื่อลงต่อ ก็รอสิ เมื่อมันดีดขึ้นไกล้ๆทุนหรือขาดทุนน้อยลงก็ให้ขายออกไปซะ

เมื่อคุณเข้าใจการกระทำของตลาด ก็จะช่วยให้จิตคุณนิ่งขึ้น ไม่หวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น
เช่น เมื่อคุณซื้อหุ้นในแนวโน้มขาขึ้นไปแล้ว ทุนก็ค่อนข้างต่ำ พอมาวันหนึ่งหุ้นตัวนั้นมันย่อลงมา คุณก็ไม่ตกใจเพราะมองว่ามันเป็นการพักฐานระยะสั้น เดี๋ยวก็ไปต่อ
ส่วนคนที่ไม่มีหุ้นก็จะอาศัยจังหวะพักฐานนี้ซื้อหุ้นในทุนต่ำและเสี่ยงน้อยกว่าไล่ราคา


การเคลื่อนไหวตลาด
และท่านก็ยังบอกอีกว่าในแต่ะช่วงของตลาด ก็ยังมีการเคลื่อนไหว 3 ระยะ ซ่อนอยู่ในนั้น

ระยะยาว Primary Trends เปรียบได้กับ มวลคลื่นก้อนใหญ่ เรียกว่าช่วง Primary ซึ่งจะจะกินเวลายาวนานอย่างน้อย 1 ปี หรือมากกว่า 1 ปีขึ้นไป จะเป็นการบ่งบอกถึง bullish และ bearish

ระยะกลาง Intermediate Trends จะเป็นส่วนประกอบย่อยในมวลคลื่น คือเกลียวคลื่น จะกินเวลา 10 วัน ถึง 3 เดือน

ระยะสั้น Minor Trends เปรียบได้กับ ฟองคลื่น จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 1 ชั่วโมง ถึง 1 เดือน จะเป็นเพียงแค่การแกว่งตัวของราคาเท่านั้น

ประโยชน์คือ มันจะช่วยให้นักลงทุนเลือก timeframe ที่จะเล่นได้
ถ้าเล่นเก็งกำไรระยะสั้น คุณก็ดู รายนาที หรือรายวันไป
ถ้าซื้อแล้วถือเล่นรอบระยะกลาง ก็ดูกราฟรายวัน รายสัปดาห์
หากลงทุนรอบใหญ่ ก็ดูรายสัปดาห์ หรือรายเดือนไปเลยครับ


วอลุ่มหรือปริมาณการซื้อขาย
อีกประเด็นที่เขาพูดถึงคือวอลุ่มหรือปริมาณซื้อขายครับ
ปู่บอกเลยว่าวอลุ่มนี้น่ะถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการยืนยันแนวโน้มเลย


ในแนวโน้มขาขึ้น เมื่อราคาวิ่งขึ้น วอลุ่มต้องเพิ่มขึ้น เพราะเทรดเดอร์ต้องการหุ้นมากกว่าอยากขาย ด้วยความเชื่อว่าราคาจะไปได้สูงกว่านี้ได้อีก

ตัววอลุ่มนี้ ถือเป็นข้อมูลที่มีระดับความยากขึ้นมาอีกนิดนึงสำหรับมือใหม่นะครับ  แต่มันก็ตัวช่วยคัดกรองให้ท่านเป็นอย่างดีเลยว่าขึ้นแบบไหนหลอก แบบไหนจริง
ปู่ดาวจึงให้หลักที่สำคัญว่า หากมันจะเป็นขาขึ้นจริง วอลุ่มต้องเพิ่มมากว่าเดิม และราคาก็ต้องเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วย
ตรงนี้ให้นึกภาพตลาดนัดไว้นะครับ ตลาดนัดที่ขายดีมันเป็นยังไงครับ? คนเดินเยอะใช่มั้ย แล้วไงต่อ เงินต้องสะพัดด้วยใช่มั้ย
แต่ถ้ามีใครชวนคุณให้ไปเปิดร้านในตลาดนัด โดยให้การันตีว่าคุณขายดีแน่ แต่พอไปดูแล้ว คนเดินน้อยมาก แถมร้านก็โหรงเหรง แบบนี้ก็ไม่น่าเชื่อใช่มั้ย
วอลุ่มก็เหมือนกัน ถ้ามันจะไปต่อแรงๆไกลๆ วอลุ่มต้องเข้ามาสูงขึ้น สูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาก็เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เจอแบบนี้น่าเล่น


และไฮไลท์คือนี่ครับ การยืนยันแนวโน้ม
คิดว่าบางท่านคงเคยได้ยินกูรูใช้คำว่า "หุ้นตัวนี้มัน breakout Dow theory" กันมาก่อนบ้างนะ
หน้าตามันเป็นอย่างนี้ครับ มันคือการ "ทะลุไฮเดิม" ขึ้นไป โดยถ้ามันสามารถทำนิวไฮได้เรื่อยๆ นั่นคือภาพระยะนั้น มันเป็นขาขึ้น

กลับกัน, ถ้ามันยืนยันว่าเป็นขาลงแล้ว (คือราคาทะลุลงไปทำนิวโลว์) มันมีแนวโน้มที่จะลงไปได้อีก

และสิ่งที่จะเกิดต่อไปก็คือ "โมเมนตัม" หรือ "แรงเฉื่อย" ครับ
คือ ถ้าหุ้นมันได้วิ่งขึ้นแล้ว-ก็ยังวิ่งต่อได้อีกจนกว่าจะหมดแรงหรือมีอะไรมาตบหรือขวางให้วิ่งกลับทิศ

โดยสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรลืมก็คือ วันที่ราคาได้ทะลุขึ้นไปทำนิวไฮ วอลุ่มต้องมากกว่าที่ผ่านมาอย่างมีนัยยะ

ตรงนี้อยากให้คุณนึกถึงละครหรือนังสงครามย้อนยุคไว้นะ
เอาของบ้านเรานี่แหละ ไทยรบพม่าน่ะ
แต่ก่อนบ้านเมืองเราจะมีกำแพงกั้นอาณาเขตเมืองกันนะ กำแพงก่อปูนสูงๆ ทหารข้าศึกอยากเข้ามาทะลวงโจมตีเพื่อเอาชนะ หรือตียึดเมืองได้ พวกมันต้องทะลายประตูหรือกำแพงให้ได้
จุดสูงสุดก่อนหน้านี้(หรือจุด B กับจุด D ในรูป) ก็เหมือนกำแพงเมือง
ถ้ามีวันใดที่กำแพงถูกทำลาย ทหารข้าศึกเข้าไปได้ ก็ถือว่าเมืองนั้นแพ้ ไพร่ฟ้ามีอันต้องแตกพ่ายหนีตาย
ทหารข้าศึกก็ยึดได้ และสามารถรุกคืบไปข้าหน้าได้อีก
ก็เหมือนกับแนวต้านของราคาหุ้นนั่นแหละครับ เมื่อมันถูกทำลายไปได้แล้ว ราคาหุ้นก็สามารถไปต่อสูงขึ้นได้อีก

แต่ทีนี้ ลองนึกถึงสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลต่ออีกนิดนะ
สมมุติมีวันหนึ่ง, เอาภาพกองทัพก่อนนะ จู่ๆประตูเมืองก็แง้ม ให้ทหารข้าศึกเข้าไปได้แบบสบายๆ ไอ้พลพรรคอริก็พากันเฮโลเข้ามากันยกใหญ่ จากนั้นประตูเมืองก็ค่อยๆปิดงับ แล้วทหารที่หลบซ่อนก็พากันเฮออกมาจากที่ซ่อนเข้ามาใช้อาวุธเข้าทำร้ายทหารผู้หลงกลล้มตามหมดสิ้น
ตรงนี้มันอุปมาเหมือนกับ "การเบรคหลอก" น่ะครับ คือถ้าเห็นว่าหุ้นตัวหนึ่งมันทะลุขึ้นไปทำนิวไฮได้ แต่วอลุ่มน้อยมาก น้อยกว่าค่าเฉลี่ยอีก แบบนี้ต้องนึกสงสัยไว้ก่อนว่า "มันหลอกตีหัวกูแน่ๆ"

เอาล่ะ ถือว่าจบแนวคิดของ Dow Theory กันแล้วนะครับ
ต่อไปเรามาดูทฤษฏีลูกๆหลานๆของปู่ดาวกันบ้าง ว่าเขาประยุกต์และตีความ Dow Theory ไปในแนวทางไหนบ้าง



เริ่มจาก Wyckoff Market Analysis ครับ
กฎพื้นฐาน 3 ข้อ ของ Wyckoff
1. กฎของ Demand และ Supply เพื่อบอกทิศทางของราคา ถือเป็นหัวใจของทฤษฎีนี้
ทิศทางที่ว่านี้ก็คือ
ราคาขึ้นหมายความว่า Dmand > Supply ความต้องการซื้อมากกว่าความต้องการขาย
หากราคาลงก็หมายความว่า Supply > Demand ความต้องการขายสูงกว่าความต้องการซื้อ

2. กฎของเหตุและผล (Cause & Effect) ช่วยให้เทรดเดอร์วัดเป้าหมายราคาได้(โดยการใช้ point & figure chart -อันนี้ไม่ขออธิบายเพิ่มเพราะไม่เคยใช้) รวมถึงการประเมินศักยภาพของแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต
กฎนี้จะช่วยให้มองเห็นพลังของการสะสมหุ้น(accumulation) หรือแจกจ่ายหุ้น(Distribution) ที่เกิดในกรอบราคา (TR) และการทำงานของพลังที่ว่านี้ออกไปเพื่อให้เกิดแนวโน้มการเคลื่อนไวของราคาให้เป็นขาขึ้นหรือลง

3. กฎของความพยายามเทียบกับผลงาน (effort versus result) เพื่อช่วยเตือนภัยล่วงหน้าว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มอันไกล้
ซึ่งความแตกต่างของราคากับวอลุ่มมักจะส่งสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มได้ ตัวอย่างเช่น  เมื่อมีวอลุ่มการซื้อขายสูงมากๆ(ความพยายามสูง)แต่ได้แท่งราคาที่แคบมาก หากเหตุการณ์แบบนี้เกิดหลังจากที่ราคาวิ่งขึ้นมาพักใหญ่ๆจากนั้นราคาก็มีการย่อ-แต่ไม่สามารถเด้งขึ้นไปทำนิวไฮได้ หลังจากนั้นเกิดแท่งราคาแคบแต่วอลุ่มออกสูงปรี๊ด ก็อาจสื่อว่าแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยนทิศอีกในไม่ช้า

ซึ่งจุดเด่นที่ Wyckoff เสริมเข้าไปให้ทฤษฏีดาวมีความขลังมากขึ้นคือรายละเอียดช่วง Accumulation ครับ
ผมเคยทำชาร์ทนี้ไว้ ลองอ่านกันดูนะครับ



Elliott Wave
ต่อไป เรามาดู Elliott Wave กันบ้าง
ข้ามเรื่องประวัติไปนะ เอาสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องใช้ดีกว่า
ผมเคยทำแผนผัง อารมณ์/มุมมองของนักลงทุนเอาไว้ ลองคลิกที่ภาพจะได้ดูรูปขยาย
จะเห็นว่ามันอธิบายเรื่องเดียวกันกับ 2 รูปข้างบนเลย เพียงแต่ใส่รายละเอียดทางด้านการเคลื่อนที่ของราคาเข้ามาเท่านั้น ว่าขึ้นลงกี่ขยัก

ครับ....อีเลียต (หรือเอลเลียต อะไรก็แล้วแต่จะอ่าน) มันเป็นการเอากราฟอารมณ์ตลาดมาใส่สูตรคณิตศาสตร์เพื่อให้มันคำนวนอนาคตได้นั่นแหละครับ
ถ้าสงสัยว่าทำไมต้องทำแบบนี้ด้วย
คำตอบ คือคำถามกลับว่า ใครบ้างไม่อยากรู้อนาคต?
นักลงทุนหรือนักเก็งกำไรส่วนใหญ่ ก็มักจะอยากรู้อนาคตของราคาหุ้นกันทั้งนั้นแหละครับ
ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากคนเราชอบดูดวงกันน่ะ
เมื่อมันมี need แบบนี้กันมหาศาล แนวคิดนี้ก็เวิร์คสิครับ

ผมจะไม่ลงรายละเอียดนะว่ามันมีอะไรบ้าง เพราะไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง
แต่จะถือวิสาสะเดาว่าประโยชน์ที่ท่านจะได้จากแนวคิดนี้ มีอย่างน้อย ๒ ข้อ
๑) คุณจะรู้เป้าหมายของการลงหรือขึ้นของราคาในอนคตอันไกล้ครับ (แต่ คุณต้องนับให้แม่นที่สุดนะครับ ถ้ามองผิดก็ต้องยอมรับว่าพลาด หนีให้ไว)
๒) คุณพอจะเดาออกว่าราคาหุ้นตัวนั้นๆ มันขึ้นหรือลงจบคลื่นหรือยัง (แต่คุณต้องแม่นนะครับ หากมันไม่เป็นอย่างที่คิดก็ต้องรีบตัดไปแต่ต้นลม)
๓) บางท่านเทพขนาด สามารถบอกได้ว่ามันจะขึ้นไปได้เท่าไหร จากนั้นจะลงไปลึกแค่ไหน แล้วต่อไปจะวิ่งไปได้ไกลเท่าไหร่ (สุดยอดเลยครับ เซียนเหยียบเมฆชัดๆ)
สรุปคือคุณรู้อนาคตครับ แต่จะแม่นไม่แม่นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะมันขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิเคราะห์ของคุณว่าจะเป๊ะแค่ไหน

(แนะนำ)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่