ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

Swing Trade Success Case : UREKA



ผมเคยเขียนแนะนำแนวทางการสวิงเทรดทำกำไรระยะสั้นให้ท่านได้อ่าน ในบทความที่ชื่อว่า หาหุ้น Swing Trade ด้วยหุ้นมีเจ้าที่ หรือ Demand คุ้มครอง ซึ่งตอนนี้ผมเองก็ยึดแนวทางเล่นแบบนี้ในการตอดทำเงินไปพลางๆก่อน เพราะยังมีอารมณ์กล้าๆกลัวๆ
วันนี้ขายหุ้นออกไปแล้ว เลยเอาเคสของมันมาให้ท่านดูกันเป็นกรณีศึกษาว่าผมคิดยังไง
ย้ำนะครับว่าบทความนี้ทำเพื่อเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น ผมไม่มีหุ้นอยู่อีกแล้ว

หุ้นที่ว่านั้นคือ UREKA

ด้วยความที่ผมมีบันทึกการเทรดเก็บไว้ทุกวัน เลยเอามาให้อธิบายและชี้ให้ท่านดูเลย

เริ่มต้นจากกราฟ,ผมชอบสแกนหาหุุ้นแข็งแกร่งเพื่อดูทรงมัน แม้เราจะเข้าไม่ทันแค่ได้เห็นก็พอใจแล้ว ซึ่พบว่า UREKA มี demand สนับสนุนแข็งแรงดีมาก มีแรงซื้อไล่ราคาขึ้นมาตลอด แถมตอนที่ SET ร่วงแรง มันก็ยืนแข็งไม่ร่วงตาม จึงคิดถ้า SET กลับมาดี ก็น่าจะมีการเก็งกำไรไล่ราคาต่อไปอีกแน่

แต่ด้วยความที่มันวิ่งขึ้นมาไกลมากแล้ว คือจาก 0.50 ถึง 1.89 ก็หลายเด้งแล้วนะ การจะรันเทนด์ ไม่น่าจะเป็นเรื่องดี ผมจึงวางแผนว่า "ขอเทรดแบบ swing trade ตีหัวเข้าบ้าน" ดีกว่า คือซื้อตอนที่ราคา breakout ขึ้นไป แล้วถ้าโชคดีมันไปต่อ ผมขอขายที่โซนจุดสูงสุดของมันก็พอ

ซึ่งอย่างที่บอกว่า มันวิ่งมาไกลแล้ว มีความเสี่ยงสูง ผมก็เลยขอวางเงินเข้าซื้อแค่ 5% ของพอร์ตก็พอ

ส่วนเรื่องพื้นฐานนั้น ผมไม่ได้สนใจเลยนะครับ คือเรากะจะสวิงเทรดตามโมเมนตัม ระยะสั้นก็พอ


นี่คือสิ่งที่ผมเห็น และตีความจากกราฟ
เริ่มจาก การที่มันเป็นขาขึ้นที่แข็งแรงมาก แสดงว่ามี demand แข็งแกร่ง มีเจ้าที่คุ้มครอง
แม้ SET ร่วงแรง ไปทำนิวโลว์ แต่ UREKA ย่อลงไปหยุดที่เส้นค่าเฉลี่ย 10 วันเท่านั้นเอง
ถือว่าเป็นหุ้นที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอย่างแท้จริง

ยิ่งจากนั้นมันเด้งแล้วไปพักในโซนยอดของแท่งเขียวที่ทิ้งไส้ แล้วทำแท่งโดจิสองวันติด ยิ่งทำให้น่าสนใจ คือผมชอบทรงแบบนี้นะ มันพักตัวได้สวยมากในสายตาผม

พออีกวันมีเปิดกระโดด และวอลุ่มก็สูงกว่าช่วงพักตัว ผมก็เข้าซื้อ เพราะเป็นสัญญาณสื่อว่า demand เขาพร้อมดันราคาไปต่อแล้ว นี่คือลักษณะของ pocket pivot buy point
ใครสนก็อ่านบทความ สรุปกฎ Pocket Pivot Buy Point 10 ข้อ ได้ครับ

คือสิ่งที่ผมเอามาเขียนให้ท่านอ่าน ทั้งหมดมันเป็นสิ่งที่ผมสนใจอยู่แล้ว คือผมชอบหาความรู้ และการเอามาแชร์ก็เหมือนเป็นการตอกย้ำให้ตัวเองต้องทำความเข้าใจหลายรอบ เพราะต้องผ่านกระบวนการทำซ้ำหลายครั้ง มันก็จะเป็นผลดีต่อผมมากเท่านั้น คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือผมเองนี่แหละ

การหาความรู้ก็เป็นเหมือนเราเอามาสร้างฐานให้แน่นขึ้น จะได้มั่นใจมากขึ้น เมื่อรู้แล้ว การจะพิสูจน์ว่าเราเข้าใจจริงหรือเปล่า ก็ต้องลงมือทำดูครับ ถ้าใช่มันก็จะเป็นเครื่องมือทำกินของเราต่อไป คือมันเป็นกระบวนการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ทำเงินสไตล์เซียว จับอิดนึ้ง

พูดง่ายๆคือ ผมหาความรู้ + เอามาแชร์ + เทรดเองจริง + เรียนรู้เพิ่มและพัฒนา = เซียว สไตล์


ซึ่งมันก็มีทั้งสำเร็จและล้มเหลวครับ เดี๋ยวผมจะเอามาแชร์ให้ท่านได้อ่านกันเรื่อยๆ
งานนี้ "ไม่มีกั๊ก" กันอยู่แล้ว รู้อะไรบอกหมด (ยกเว้นใบ้หุ้นนะ เพราะไม่ชอบ)


กลับมาที่ UREKA
จากนั้นมันก็วิ่งต่อครับ ถือว่าโชคดีไป



วันต่อมา มันก็วิ่งขึ้นอีก และก็ถึงเป้าแล้ว เลยแบ่งขายออกไปครึ่งนึง กำไรประมาณ 7%
ถือเป็น 2 เท่าของความเสี่ยงที่ผมให้ไว้ 3% ซึ่งเหมาะเจาะเหลือเกิน
แต่ด้วยความที่เราเองก็กลัวขายหมู(โลภ) แต่ก็ยังอยาก play safe (รักษาผลประโยชน์ของตัวเอง) จึงขอแบ่งขายครึ่งนึงเพื่อรักษาผลประโยชน์ และเหลืออีกครึ่งรันเทรนด์ไปขำๆ

จนมาวันนี้ ราคาชักจะยืนไม่อยู่ และผมเองก็ตั้งใจจะสวิงเทรดระยะสั้น ขายที่แนวต้านเท่านั้น จึงขายที่เหลือออกที่ช่วงราคา 1.93 ถือว่าได้กำไรรวมๆ 8% ก็พอไหวอยู่สำหรับการถือ 3 วัน

ซึ่งต้องออกตัวก่อนเลยว่าผมก็ไม่รู้ว่ามันจะไปต่อหรือเปล่านะ เพราะเดาอนาคตไม่ได้
แต่ผมทำตามแผนที่วางเอาไว้ คือตั้งใจจะสวิงเทรดเอากำไรเท่านี้
เมื่อมันถึงเป้าที่ต้องการก็ขายครับ

นี่เป็นเคสที่ประสบความสำเร็จครับ
เดี๋ยววันต่อไป ผมจะเอาเคสที่ล้มเหลวและขาดทุนให้ดูกันครับ จะได้เป็นอุทาหรณ์

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด