เทรดผิดบ่อย แต่ก็รวยมหาศาล ด้วย 3 หลักการนี้

Image
เทรดผิดบ่อย แต่ก็รวยมหาศาล ด้วย 3 หลักการนี้ แปลจาก  https://x.com/markminervini/status/1854232072610525389 เล่นหุ้นขาดทุน : ความเข้าใจผิดของมือใหม่  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=240758 "ในการเทรดของผม  ผมทำพลาดพอ ๆ กับที่ทำถูก  แต่ความสำเร็จในระยะยาวของผมนั้นมาจากสามสิ่งนี้: 1. "เมื่อผมทำพลาด ผมจะรีบปรับเปลี่ยนสถานะของตัวเอง แม้ว่าความคิดของผมอาจยังไม่เปลี่ยนไปตามก็ตาม" นักเทรดที่ประสบความสำเร็จต้องยอมรับว่าความคิดแรกอาจไม่ถูกเสมอไป ดังนั้นหากตลาดไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ก็ต้องพร้อมที่จะปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ทันที การยึดติดกับความคิดเดิมอาจทำให้พลาดโอกาสที่ดีกว่า และอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนหนักในระยะยาว วินัย:ผลพลอยได้ของ Edge... ในรูปแบบ ebook   https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=327917 2. "ผมไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่กับความผิดพลาดนาน" ข้อดีของการเทรดคือเราสามารถออกจากสถานะที่ขาดทุนได้ทันทีที่เห็นสัญญาณว่าไม่ดี การเทรดไม่จำเป็นต้องยึดติดกับความคิดผิดพลาด ถ้ารู้ว่าตัวเองพลาด ให้รีบออกมาอย่ารอช้า เพราะย

รอซื้อเมื่อ All Time High ก็สายไปเสียแล้ว?


ก่อนหน้านี้ ผมเคยเขียนบทความเชิดชู all time high เสียยกใหญ่ ประมาณว่า มันเป็นจุดวิ่งต่อของแนวโน้มขาขึ้นรอบใหญ่ และจำได้ว่าเคยแนะนำให้ท่านซื้อเมื่อราคาทะลุ all time high ด้วย

บางคนหลงเชื่อแล้วไปใช้สูตรนี้ ก็น่าจะมีบาดเจ็บกันบ้างไม่มากก็น้อย
ผมเองแรกๆก็ใช้นะครับ แต่พอโดนหลายครั้งก็เริ่มเห็นความเสี่ยง
ความเสี่ยงของมันก็คือ ถ้า all time high แล้วเกิด  false breakout ก็ควรเฝ้าระวัง  เพราะราคาอาจจะกลับตัวแรง จบรอบ ทำให้ขาดทุนหนักได้

เนื่องจากระดับ all time high เป็นเหมือนจุดหมุน(pivot) ที่มันเป็นแนวต้านใหญ่สุด นักเล่นหุ้นที่ play safe เน้นปลอดภัย มักจะเลือกขายหุ้นออกที่ระดับนี้กัน เพื่อล็อกกำไร เพื่อล็อกกำไร supply จึงออกมามหาศาล

ถ้ามองผ่านทฤษฎีคลื่น มันก็คือ เวฟ 5 ที่วิ่งขึ้นไปทำท่าจบรอบนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ระดับ all time high จึงมักจะเกิด false breakout หรือเบรกหลอก
หรือบางตัว ข้ามได้ แต่ยืนไม่อยู ไปต่อไม้ได้ไกลก ก็ร่วงกลับมาที่เดิม

การเบรกหลอกแล้วกลับตัวแรงให้ขาดทุนหนักนี่แหละ คือข้อเสียของการซื้อเมื่อราคา breakout all time high แล้วราคาร่วงหนักแบบเกิดการกลับตัวอย่างรุนแรง นี่แหละที่ทำให้หลายท่านเกลียดการซื้อแบบ breakout เข็ดขยาดมันไปเลย

ผมเองก็เจอบ่อยครับ ซื้อวันแรกๆ ก็เพลินกับกำไร แต่ไม่กี่วันต่อมา มันกลับตัวแรง หนีแทบไม่ทัน
ดังนั้น เมื่อเจ็บแล้วก็ต้องจำครับ โดยผมไม่โทษการซื้อแบบ breakout หรอกนะ แต่ขอกลับไปปรับที่จุดซื้อใหม่ของตัวเอง คือ "ดักไว้ก่อน" all time high



ที่ว่า "ดัก" หมายความว่า
๑) ราคาย่อหลังจากเขี่ย all time high ไม่ผ่าน แล้วมันสร้างฐานน่าสนใจ
๒) เมื่อราคาทะลุฐาน(ที่ระดับต่ำกว่า all time high) ก็เข้าซื้อ

แต่ถ้าหากหุ้นตัวใดไม่มีการสร้างฐานที่น่าเชื่อถือ
ก็ต้องลุ้นเอาล่ะครับ วัดกันที่ all time high กันเลย

โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ค่อยชอบหุ้นที่ราคาทำแท่งเขียวยาวมากๆ แล้วทะลุ all time high
เพราะมันน่ากลัว เนื่องจากมันเป็นทรงของการปั่นราคาขึ้นไปเพื่อจบรอบ
แบบนี้ แทนที่จะเป็นจุดซื้อก็ควรเปลี่ยนเป็นจุดขายเสียดีกว่าครับ

ความจริงแล้ว นักเทรดระดับไอดอลที่เรารู้จักส่วนใหญ่ เขาก็ไม่ได้ซื้อที่ all time high หรอกนะครับ
เขาใช้ดูเป็นตัวยืนยัน หรือเป็นจุดเฝ้าระวังเสียมากกว่า
เพราะเขารู้ว่าระดับ all time high มันเป็น "จุดได้เสีย" ถ้าไม่แน่จริง ก็ไม่ควรเข้าไปตะลุมบอนให้เสี่ยงเจ็บตัวแบบไม่จำเป็น

แล้วเขาซื้อกันตรงไหน?
ปู่โอนีล ใช้รูปแบบ Cup with Handle

นี่เป็นการรวมเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นหลังจากที่ราคา ทะลุ all time high ได้แล้ว
A) ราคาวิ่งขึ้นไปเลยแบบหุ้นเทพ ถ้าเจอแบบนี้คุณก็โชคดีไป
B) บางตัวก็วิ่งทะลุขึ้นไปได้จริงครับ แต่ ขึ้นไปได้พักนึงแล้วกลับตัวลงมาทดสอบระดับ all time high ซึ่งบ่อยครั้งมักมีการปล่อยให้หลุดลงไปได้ ทำให้คนกลัว แล้วจึงค่อยๆขึ้นไปทำนิวไฮได้อีก
C) บางตัวก็แสบกว่า คือดันราคาให้วิ่งทะลุขึ้นไปได้ครับ ภาพดูดีมาก แต่กลายเป็นว่ามันดันราคาขึ้นไปปล่อยหุ้นที่เหนือระดับเดิม แล้วทุบแรงวอลุ่มสูงให้ราคาหลุดทุกแนวรับลงไป กลายเป็นขาลงอย่างโหด ทรงนี้แหละที่ทำให้หลายคนเกลียดคำว่า all time high ไปเลย


ดังนั้น ในมุมมองผมจึงคิดว่า "ไม่ปลอดภัย" ถ้าให้ต้องไปดักรอซื้อเมื่อราคา all time high
ถ้าเป็นไปได้จริงๆ ผมจะมองมันให้เข้าทรง cup with handle เสมอ
คือถ้าราคามันกลับตัวขึ้นไปไกล้ๆโซน all time high ได้แล้ว จะชิงเข้าไปก่อน
ซึ่งมีจังหวะให้เข้าเยอะมาก

เพราะว่าสภาพแวดล้อมของการฟื้นตัวจากการพักฐานแรงนั้น ราคาจะขึ้นไปได้อย่างช้ามาก เพราะต้องเจอการขายต่อต้านจากคนติดดอยตลอดเวลา ราคาจึงขึ้นไป พักไป เป็นฟันปลา
ถ้าคุณเห็นหุ้นตัวนั้น พื้นฐานดี การย่อไม่ลึกมาก มีการดันราคาขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป วอลุ่มเข้าสวยๆ ก็สามารถซื้อตอนที่ราคายกไฮยกโลว์ขึ้นไปได้


ดูเคสของ THANI นะครับ
ผมว่ามันเข้าข่าย VCP หรือย่อยแรงขาย(Wyckoff accumulation) แบบเป๊ะๆเลย
ทรงนี้พี่มาร์ค มิเนอร์วินี ชอบมาก
หน้าตาตามทฤษฎีของมันแบบนี้
แทนที่เราจะไปรอซื้อตอนราคา breakout all time high ให้ใจสั่น ระแวง false breakout ก็ เข้าไปตั้งแต่มันทะลุ apex ขึ้นไป จะได้เปรียบกว่า และสบายใจกว่า เพราะตอนนั้น เป็นช่วงแนวต้านยังไม่รุนแรงมาก หรือที่เรียกว่า the line at least resistance นั่นเองครับ คือช่วงนี้คนขายหุ้นออกมีแคาคนติดดอยไง

แต่ถ้าราคาขึ้นไปถึงระดับ all time high แล้ว พวกขายเพียบเลย มาจากทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะเป็นคนติดดอย ยังมีคนเล่รอบที่เก็บหุ้นได้ที่ราคาต่ำ ไหนจะเป็นคนทำราคาที่ลดความเสี่ยง หลายกลุ่มมาก มันจึงเกิดภาวะการเขย่าแรงให้แดงต่อเนื่องอย่างที่เห็น ถ้าเกิดว่าท่านขี้ตกใจ เพราะทุนสูงด้วย ก็ยิ่งเกิดความเครียดกินไม่ได้นอนไม่หลับกันพอดี
บางคนอึดอัดมาก็ได้ขายหุ้นออกไปตอนนี้แหละ


Bullish Flag Pattern ก็เป็นอีกทรงหนึ่งที่เซียนเค้าชอบ
โดยเฉพาะ พี่ Dan Zanger
เพราะได้จุดเข้าก่อนชาวบ้านรู้ เนื่องจากถ้าไม่ทำการบ้าน จะไม่เจอเด็ดขาด
ซึ่งถ้าคุณคุ้นเคยกับมัน ตอนที่ราคาทะลุเส้นกดขึ้นไปได้ วอลุ่มมักจะพุ่งเสมอ

ถ้าทุนคุณต่ำ หากเจอราคา false breakout หรือท่านต้องการเล่นรอบขายที่ระดับ all time high ก็ได้ทางเลือกมากขึ้นครับ

ดังนั้นนะครับ ถ้าเป็นไปได้ อย่ารอไปเสี่ยงที่ all time high ให้หาโอกาสเข้าก่อนตอนที่ราคามันยกไฮยกโลว์ หรือถ้าเห็นมันกลับตัวจากขาลง สร้างฐานสวยๆ ก็สามารถเสี่ยงเข้าไปก่อนได้

ข้อดีของการซื้อก่อน All Time High คือ
๑) เราสามารถขายออกได้ ถ้าเห็นราคายืนไม่อยู่ โดยที่ยังมีกำไรติดมือ
๒) ถ้าเห็นราคายืน all time high ได้ แล้วขึ้นต่อ ท่านยังเหลือเงินไว่รันเทรนด์ต่อ หรือไม่ได้ขาย ท่านสามารถใช้ระดับ all time high ขายล็อกกำไรได้
ซึ่งทั้งหมดนี้คือความได้เปรียบที่ท่านมีมากกว่าทนอื่นครับ

ข้อเสีย
๑) ราคาอาจจะจบรอบไปแล้ว การทะลุฐานขึ้นไปอาจเป็นแค่รีบาวนด์แล้วกลับตัวแรง
ตลาดหุ้นอะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ ดังนั้นต้องยอมรับสภาพและหนีให้ไวที่สุด

ลองเอาไปปรับใช้ดูครับ


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ