การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

ขั้นตอนการเทรดหุ้น Breakout (วิธีการเทรดหุ้นเบรคไฮ)


นี่คือขั้นตอนการเทรดหุ้นเบรคไฮ หรือ breakout แบบย่อๆ
ผมเอาแนวทางจากเว็บ investopedia.com ครับ




จึงเอาหัวข้อมา แล้วเสริมรายละเอียดเข้าไปตั้งแต่การทำการบ้านหาหุ้นจ่อเบรคเก็บเอาไว้ การวางแผน การเตรียมตัว stop loss ถ้าคิดผิด และการ take profit ครับ





คัดหุ้นที่เข้าข่ายจะเบรคไฮ
หาหุ้นที่มีระดับแนวรับหรือแนวต้านที่แข็งแรง เก็บเอาไว้ในลิสต์ นั่นก็คือ "หุ้นจ่อเบรค" นั่นเอง
ซึ่งรูปแบบราคาที่น่าเชื่อถือมีดังนี้



นี่คือตัวอย่างที่ผมทำการบ้านเก็บเอาไว้













ซึ่งผมตั้งใจเอาไว้ว่าจะหมั่นทำการบ้านเก็บหุ้นที่น่าสนใจเอาไว้ ภายใต้หัวข้อ "หุ้นจ่อเบรค" ท่านคลิกเข้าไปดูได้เลยครับ

เมื่อได้หุ้นเข้าลิสต์แล้ว ก็ให้อดทนรอการเบรกเอาท์
เมื่อได้หุ้นที่เข้าสูตรแล้ว ก็ให้รอ รอ และรอ อย่างอดทน
รอจนกว่ามันจะ breakout โดยถ้าจะให้ชัวร์คือต้องให้มันยืนเหนือระดับที่เพิ่ง breakout ได้อย่างมั่นคง จึงค่อยเข้าซื้อ ถ้ายังไม่แน่ใจก็รอให้ปิดตลาดจึงเข้าก็ได้



ตั้งระดับ stop loss เอาไว้ล่วงหน้า
การระบุจุดตัดขาดทุนเพื่อดักทางเอาไว้หากเกิดความผิดพลาด เพราะตลาดหุ้นไม่แน่นอน หุ้นที่มันเบรคขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องวิ่งต่อก็ได้ ถ้าตลาดไม่ดี หรือคนทำราคาไม่จริงจัง อาจจะดันราคาไปปล่อยของให้รายย่อยที่หลงตามการไล่ราคา แล้วทิ้งหุ้นไปเลยก็ได้ ดังนั้น คุณต้องรู้ให้ทันและรีบออกจากหุ้นให้ไวก่อนคนอื่น ท่านต้องไม่ใช่คนสุดท้ายที่ขาย เพราะฉะนั้นต้องตามการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอย่างกระชั้นชิดเท่าที่สามารถทำได้ เพราะในช่วงที่ breakout นี่แหละคือจุดเปราะบางที่สุด มีความผันผวนที่สุด หากท่านไม่มีเวลาเฝ้า โดยเฉพาะหุ้นที่ถูกปั่นราคาก็อาจจะโดนหลอกให้ไล่ราคาเพื่อรับของจากรายใหญ่ได้ครับ

แนวทางการตั้งระดับ stop loss

(1) จุดต่ำสุดของการย่อครั้งล่าสุด 
สำหรับคนที่ใจเย็น เชื่อมั่นในพื้นฐานและสตอรี่มาก ไม่อยากรีบขาย อยากวัดกันเลยว่าหมู่หรือจ่า แค่หลอกหรือจบรอบ ถ้าโชคดี ราคาก็ย่อไม่ถึงระดับ stop loss มีแรงซื้อกลับเข้ามายันไว้ได้ก่อน แบบนี้สามารถยื้อเวลาต่อไปได้อีก แต่ถ้าเลวร้ายคือราคาร่วงแรงหลุด stop loss แล้วจบเลยก็มีบ่อย

โดยปกติแล้ว การตั้งระดับ stop loss แบบนี้จะต้องวางให้อยู่ต่ำกว่าโลว์ของการย่อครั้งก่อนสักสองช่อง เผื่อเขย่า คือเป็นวิธีคิดของการต่อสู้กับตลาด ชิงไหวชิงพริบกัน เราไม่อยากโดนตลาดหลอกก็ต้องยอมเสียเงินมากหน่อย

เมื่อยอมเสียเงินเพื่อต้องแลกกับการโดนหลอก
คุณต้องคำนวนเปอร์เซ็นต์ระหว่างระดับราคาที่ breakout ที่คุณตั้งจะซื้อ กับระดับที่คุณจะขายเพื่อ stop loss ว่าห่างกันกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าอยู่ในกรอบไม่เกิน 7% ก็พอไหวนะ แต่หากเกินกว่านี้ท่านควรเลิกสนใจมันไปซะ หรือหาหนทางอื่น

(2) ตัดขาดทุนเมื่อราคาร่วงกลับมาอยู่ไต้ระดับแนวต้าน(เบรคหลอก)
ผมชอบใช้ คือถ้าราคาทะลุแนวต้านขึ้นไปแล้ว เราเข้าตามไปแล้วกลายเป็นว่าจากนั้นมันไม่ไปต่อ โดนขายใหม่หนักๆให้ร่วงกลับลงไปอยู่ใต้ระดับแนวต้านเหมือนเดิม

เจอแบบนี้ผมขายทิ้งไปก่อน เพราะมันผิดเจตนาที่เราต้องการ

คือเราคาดหวังให้มันวิ่งต่อไปแรงๆ ห่างจากต้นทุนเรามากพอสมควร จะได้วางแผนต่อแบบคนได้เปรียบ แต่ถ้ามันไม่ยอมทำตามแบบที่เราคาดหวัง ก็ถือว่ามันไม่ได้เกิดมาเพื่อเราเสียแล้ว ผมขอตัดใจจากมัน
วิธีนี้ท่านจะสามารถตัดขาดทุนให้เสียหายแค่ 1-3% เท่านั้น แต่ปัญหาคือคุณจะต้องตัดขาดทุนบ่อยมาก ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ที่วิจารณญาณของคุณเอง แต่โดยหลักการผมคือ ผมยอมขาดทุนเล็กๆน้อยๆไปก่อน เพื่อรักษาเงินต้น เก็บเงินสดเอาไว้ลงทุนกับหุ้นตัวสดๆใหม่ที่มีโอกาสวิ่งแรงกว่า ซึ่งมันต้องมีมาแน่ ถ้าเรามีเงินสดและอยู่ในสถานะได้เปรียบ ก็มีโอกาสเข้าเกาะกระแสทำเงินกับมัน ถ้ามันวิ่งดี เรารันกำไรได้ บางทีแค่ตัวเดียวก็ครอบคลุมที่เราตัดขาดทุนยิบย่อยไปได้หมด

ปล. แนวคิดนี้เป็นหลักการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองก่อน ไม่เถียงตลาด ถ้าไม่ใช่ ผมขอหมอบ เก็บเงินไว้สู้กับตาที่เราได้เปรียบที่สุดครับ



วางแผนการเข้าซื้อ
แผนการเข้าซื้อก็สำคัญ ผมแนะแนวทางดังนี้

๑) ถ้าคุณเฝ้าหุ้นตัวนั้นและทันระดับซื้อที่ breakout พอดีแบบเป๊ะๆ ให้ซื้อมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ตามแผนของการบริหารเงินทุนนะครับ ไม่ all in) เป็นผมจะเอาให้ได้อย่างน้อย 75% ของที่ตั้งใจไว้

๒) ถ้าไม่ทัน คือราคาห่างจากระดับ breakout เกิน 3%
อย่าไปไล่ราคาครับ ให้ตั้งรอที่ระดับ breakout โดยปกติแล้วมันจะมีย่อลงมาหาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ถ้าท่านตั้งรอสองสามช่องเลยจาก breakout ก็มีโอกาสได้หุ้นเช่นกัน
แต่ต้องเตือนอีกนิดคือ ถ้าหุ้นมันย่อลงมาหาระดับ breakout หลายครั้งมาก 2-3 ครั้ง ให้ท่านเตรียมขายให้ดี เพราะมันมีโอกาสกลับตัวมากกว่าไปต่อ


ตั้งราคาเป้าหมายที่สมเหตุสมผล
การมีราคาเป้าหมายช่วยให้ท่านมีหลักยึดในการทำกำไรขั้นต้น
แนวทางก็คือ ถ้าซื้อเพราะราคาทะลุฐานราคาขึ้นไป ท่านสามารถหาเป้าของการวิ่งต่อได้
อย่างน้อยคือ แนวต้านหรือจุดสูงสุดล่าสุดที่มันย่อ
หรือเป็นระดับราคาเป้าหมายตาม price pattern
หรือ Fibonacci Projection ก้แล้วแต่ถนัด
ถ้าอยากรันเทรนด์ระยะสั้นก็ใช้เส้นค่าเฉลี่ย 10 วันช่วยได้
อ่านบทความเพิ่ม เทคนิคการหาราคาเป้าหมายหุ้น (Exit strategy 101 - Target Price)


หลังจากที่ราคาเบรคไฮได้แล้วก็ควรปล่อยให้ราคาพักตัวบ้าง
การพักตัวคือขั้นตอนที่บีบหัวใจเทรดเดอร์มาก เพราะเราปรารถนาให้ราคาวิ่งไปไกลจากต้นทุนให้มากที่ทุดเพื่อที่จะได้ขายทำกำไรอย่างสบายใจและมีสุข
แต่ตลาดไม่ยอมให้ท่านได้กำไรง่ายๆหรอก มันต้องมีการเขย่าเพื่อให้ท่านอึดอัดจนถึงที่สุด
ในทางทฤษฎีแล้ว ระดับแนวต้านที่ราคาเพิ่ง breakout ขึ้นไปได้ มันจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ คือเมื่อราคาพักตัว มันจะลงไปหยุดที่ระดับแนวรับใหม่นั้น
แต่ในความเป็นจริงก็คือ แนวรับใหม่ที่ว่านั้นมักจะรับไม่อยู่หรอก มันจะหลุดทะลุลงไปแช่ใต้ระดับนั้นสักวันสองวัน ทำให้คนถือใจเสียและอึดอัด แล้วค่อยดีดกลับขึ้นไปใหม่


รู้ว่าตอนไหนสิ่งที่เราคิดผิด
คือตลาดหุ้นมันไม่มีอะไรที่แน่นอนเลยแม้แต่อย่างเดียว
สัญญาณคิดผิดคือพอราคาทะลุแนวรับแล้วกลับขึ้นไปไม่ได้ นี่คือสัญญาณเตือนแรกที่คุณต้องตระหนัก ซึ่งท่านควรตัดสินใจขายหุ้นออกไปอย่างน้อยครึ่งนึงเพื่อลดความเสี่ยง
หรือทถ้าหากท่านไม่ไว้ใจ การขายออกไปทั้งหมดเพื่อออกมาดูสถานการณ์ถือเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย
เพราะถ้ามัน false breakout ทำให้คนในตลาดหมดความเชื่อถือ ราคาอาจร่วงแรง จนกลับตัวเป็นขาลงได้ ซึ่งมันจะลงไปหาระดับ limit loss ของคุณ นั่นแหละคือสัญญาณบอกว่า "เราคิดผิด" ที่ชัดเจนตลาดไม่ให้ตังค์คุณจากหุ้นตัวนี้(อย่างน้อยก็ตอนนี้) ต้องตัดใจขายออกให้หมด



เนื่องจากตลาดหุ้นมีแต่ความไม่แน่นอนครับ
ทรงของหุ้นที่ breakout ไปแล้ว มีอยู่ ๒ ทางเลือกของการเคลื่อนที่ คือ

คือมันจะมีทั้งแบบ..
(1) ราคาทะลุได้แล้วก็ไปต่อไม่เหลียวหลัง แบบนี้คือการเคลื่อนไหวในฝัน เพราะเราซื้อแล้วกำไร นั่นแสดงว่า เรา "คิดถูก" ก็สามารถรันกำไรไปเรื่อยๆ หรือจะทยอยขายเพื่อล็อกกำไรตามรายทางก็แล้วแต่สูตรใครสูตรมันครับ
(2) เป็นสิ่งที่เราไม่อยากเจอ คือ "เบรคหลอก" หรือ false breakout ซื้อแล้วกำไรทันทีเช่นกัน แต่ราคามันดันยืนไม่ได้ เจอขายให้ราคาร่วงลงไปวิ่งใต้ระดับแนวต้าน ซึ่งทำให้เราขาดทุน เมื่อเจอแบบนี้แสดงว่า เรา "คิดผิด" ครับ คือท่านไม่ต้องไปต่อว่าตลาด ว่ามันเลวทราม เพราะเหมือนท่านยืนด่ากำแพง ด่าทำไม มันไม่รู้เรื่อง ฉะนั้น สิ่งที่ท่านต้องทำคือ หาทางป้องกันเงินต้นของท่านทันที
- จะขายออกไปก่อน 50% เพราะมันทำตัวไม่น่าไว้ใจ ก็ได้ แบบนี้เซียนเค้าทำกัน
- หรือทนดูว่าแนวรับเอาอยู่มั้ย แบบนี้มือใหม่ชอบคิดแบบวัดใจ คือกลัวโดนหลอก ซึ่งท่านต้องแลกด้วยเงินต้นของท่านที่จะต้องหายไปอย่างน้อยก็ถึง limit loss แล้วแต่จะตั้ง 5%, 7% หรือ 10% ซึ่งไม่ว่าจะเท่าไหร่ก็คือความเสียหายทั้งนั้น แต่ถ้าท่านไม่อยากโดนหลอกก็ต้องยอมแลกหมัดกับตลาด ซึ่งคนที่แพ้ไม่ใช่ใครคือตัวท่านเอง
ดังนั้น ถ้าเจอเคส 2 ผมแนะนำเลยว่ายอมถอยออกมาก่อน ดีที่สุด เพราะมันชักจะไม่เข้าท่าแล้ว

ดูเคสล่าสุดกันเลย
หุ้น SIAM เพิ่ง breakout ราคา 2.26 ขึ้นไปได้


แต่ปัญหาคือ มันไม่ยอมไปไกลน่ะสิ
หากท่านซื้อที่ สมมุติ 2.28
ซื้อแล้วราคาก็วิ่งแรงไปเลย ท่านดีใจมาก
แต่ๆๆๆ ท่านลืมไปว่า หุ้นบางตัวมันถูกเก็งกำไรสนุกๆในวันเท่านั้น
ซึ่ง SIAM มันขึ้นไปชนแนวต้านเส้นกดเท่านั้นเอง
แล้วก็กลับตัวลงต่อเนื่อง


และในที่สุดก็กลับไปอยู่ที่เดิม ที่เริ่มต้น

ท่านทำยังไงครับ?
ขอทนดูต่อ แล้วภาวนาให้ราคาเด้งกลับขึ้นไปคืนทุน
หรือจะตัดขาดทุน ชักเงินสดออกมาก่อน เพื่อดูสถานการณ์?
หรือยอมขายเมื่อราคาหุ้นหลุดระดับ breakout เพื่อให้ตัวเองเสียหายน้อย
หรือจะยอมวัดที่ stop loss 7% - 10% เผื่อเด้ง?
หรือยอมปล่อยให้ตัวเองต้องขาดทุนแล้วเป็นเบี้ยล่างของหุ้นตัวนั้น ภาวนาให้ราคาหุ้นกลับไปคืนทุน?
เคสนี้สอนให้รู้ว่า ก่อนเทรด ต้องดูทางหนทางหนีทีไล่ให้ดีเสียก่อน แนวต้านอยู่ตรงไหนบ้าง ถ้าไม่ผ่านคุณจะทำยังไง ล็อกกำไรเพื่อรักษาความได้เปรียบมั้ย?


ออกจากการเทรดก่อนตลาดปิด
หากท่านเป็นคนขี้นะแวงกลัวโดนตลาดหลอก การรอจนกว่าตลาดหุ้นไกล้ปิดสิ้นวันก็เป็นทางเลือกที่ดี
แต่ถ้ามันร่วงหนักจนเลย limit loss ก็ควรตัดสินใจก่อนปิดตลาดจะดีกว่านะ
เพราะการยื้อและต่อเวลา เพื่อให้ราคากลับมาที่เดิม มันคือการพนันดีๆนี่เอง


จงมีความอดทน
กลยุทธ์นี้มันต้องอาศัยความอดทนที่สูงมาก
คุณต้องลดสัญญาณรบกวนอันเกิดจากอารมณ์ให้ได้มากที่สุด
อดทนจนกว่าคุณจะไปถึงเป้าหมายที่วางไว้


ขายเมื่อราคาถึงเป้าที่เล็งเอาไว้
ถ้าคุณโชคดี หุ้นตัวนั้นวิ่งทำกำไรให้ คุณต้องอึด ทนถือจนราคาวิ่งไปถึงเป้า แล้วค่อยขายออก แต่ถ้าหากท่านคิดมากกลัวว่ามันจะไปต่อ การชายออกไปครึ่งหนึ่งก็เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะท่านไม่รู้อนาคตการเทรดแบบวัดใจ ถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ฉลาดนักถ้าท่านอยากให้ผลประกอบการเป็นบวก แม้ไม่เยอะ แต่ก็เป็นการเก็บเล็กผสมน้อย

ที่มา investopedia.com/articles/trading/08/trading-breakouts.asp


(แนะนำ)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่