20 หลักการ MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด

Image
สรุป MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด (ไม่ทราบที่มาของหนังสือ โหลดจากทวิตเตอร์) รายการต่อไปนี้เป็นการรวบรวมองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของการจัดการเงินและการเทรดไว้ด้วยกัน 1. เทรดตามทิศทางของแนวโน้มระดับกลาง 2. ในแนวโน้มขาขึ้น-ให้ซื้อตอนย่อ  ส่วนในแนวโน้มขาลง-ให้ขายชอร์ตเมื่อราคาเด้ง 3. จงทนรวยให้ให้ผลกำไรเติบโต ตัดการขาดทุนให้เสียน้อย 4. ใช้การตัดขาดทุนที่วิ่งตามราคาเพื่อจำกัดขนาดการสูญเสีย 5. อย่าซื้อขายอย่างหุนหันพลันแล่น 6. วางแผนการซื้อและขายและทำตามแผนของคุณ 7. ใช้หลักการบริหารเงิน 8. กระจายความเสี่ยง แต่อย่ากระจายมากเกินไป 9. ใช้อัตราส่วนรางวัลต่อความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ต่อ 1 10. เมื่อพีระมิด (ซื้อเพิ่ม) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ก. ไม้ต่อไปควรมีขนาดเงินที่เล็กกว่าเดิม ข. เพิ่มเฉพาะตำแหน่งที่ชนะเท่านั้น ค. อย่าเพิ่มตำแหน่งที่ขาดทุน ง. ยกระดับตัดขาดทุนไปวางที่จุดคุ้มทุน 11. อย่าเทรดประมาทจนถึงขั้น Marfin call;  อย่าเสียเงินเพิ่มหลังจากเคยเสียหนักมาแล้วครั้งหนึ่ง(อย่ารีบเทรดเอาคืนหลังจากที่แพ้ยับเยินสด ๆ ร้อน ๆ) 12. ขายหุ้นที่คุณคิดผิด(ขาดทุน) ก่อนหุ้นที่คุณคิดถูก(ได้กำไร) 13. ถ้า

ทำกำไร 1000% ด้วยหุ้นเทิร์นอะราวด์


หุ้น turnaround  หรือ หุ้นเทิร์นอะราวด์ หรือ หุ้นพลิกฟื้น มีหลายชื่อเรียกมาก นักลงทุนจะทำกำไรได้มากหากซื้อหุ้นช่วงบริษัทกำลังฟื้นตัว

หลักการพิจารณาหุ้นประเภทนี้จึงอยู่ที่การวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ และแนวโน้มพื้นฐานโดยรวม ซึ่งแนวคิดการพลิกฟื้นกิจการมักต้องอาศัยการพยุงระบบภายในให้เกิดความสมดุลเพียงพอที่กิจการจะดำเนินไปได้ พร้อมกันนั้นผู้บริหารต้องสามารถแก้ปัญหาของสิ่งรบกวนจากภายนอก หรือปรับตัวกิจการให้เข้ากับสิ่งรบกวนภายนอกนั้นให้ได้

สาเหตุที่บริษัทล้มเหลว มาจาก
สาเหตุภายนอก ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยน ภัยพิบัติ การเมือง
สาเหตุภายใน หลงทางออกนอกธุรกิจหลัก ขาดกลยุทธที่ชัดเจนและผิดพลาด ขยายธุรกิจใหม่มากเกินไป ระบบควบคุมคุณภาพล้มเหลว การบริหารงานไร้ประสิทธิภาพและการไร้ภาวะความเป็นผู้นำ


ลักษณะหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง 10  ประการ
- มีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย ดูจาก ยอดขาดทุนสะสมมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น
- ผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ยอมซื้อหุ้นเพิ่มทุนฃ
- ไม่มีสินค้าหรือบริการที่เด่นเหนือคู่แข่ง
- ขาดทรัพยากรที่ช่วยให้พลิกฟื้น
- มีประวัติที่เต็มไปด้วยเหตุร้ายที่คาดไม่ถึง
- เทคโนโลยีล้าสมัยหรือไร้ประสิทธิภาพ
- ขาดเจ้าภาพ(ผู้บริหาร)ที่มือถึง
- อุตสาหกรรมไร้อนาคต
- ประธานบริหารไม่ชอบออกสื่อ เอาแต่หลบหน้า
- ประธานบริหารของบริษัทไร้ฝีมือ


การพลิกฟื้นกิจการ
แก้ตามความรุนแรงของปัญหา
- ไม่รุนแรง  ลดทอนค่าใช้จ่ายก็เพียงพอ
- หนักหนา ตัดขายทรัพย์สินหรือธุรกิจที่ไม่จำเป็นออก
- รุนแรงสุดๆ ยกเครื่อง(เปลี่ยน)โมเดลธุรกิจและกลยุทธ
การพลิกฟื้นที่ได้ผลนั้น มักต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินและบุคลกร จึงต้องดูให้ออกว่าสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนนั้นมันเป็นการแก้ถูกจุดหรือเปล่า


จะฟื้นได้มั้ย? ให้เช็คปัจจัยดังนี้
- ดูความเป็นไปได้ของโมเดลธุรกิจ
- ศักยภาพของทรัพยากร ดูวิสัยทัศน์ของ CEO มุมมองธุรกิจที่ไม่ยึดกรอบเดิม
- ต้นทุนของเงินทุน เพิ่มทุนง่ายมั้ย ผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่หนี ต้นทุนเงินกู้ไม่สูง
- แผนการบริหารทรัพย์สินเพื่อให้บริษัทสามารถกลับมาแข่งขันและทำกำไรได้อีกครั้งหนึ่ง


นักลงทุนหุ้นควรลงรายละเอียดให้ได้ว่า
บริษัทที่ประกาศว่าจะพลิกฟื้นนั้น มีแผนธุรกิจที่ทำให้สามารถลดการลงทุนในส่วนของสินทรัพย์และยอดหนี้สิน เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันได้หรือไม่ โดยทำได้จากการเปรียบเทียบข้อมูลในเรื่องของ
- สัดส่วนตัวเลขทรัพย์สินถาวรต่อทรัพย์สินทั้งหมด
- อัตราการหมุนเวียนทรัพย์สิน
- และอัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน


กลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ
ดูว่าเขาแก้ตรงจุดมั้ย? ปัญหาเกิดจากกลยุทธ์ธุรกิจ หรือปฎิบัติการ ต้องแก้ตามเหตุ
- การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำองค์กรถือเป็นเงื่อนไขแรกที่ต้องทำในการฟื้นฟูกิจการ
- ต่อมาคือฟื้นฟูฐานะทางการเงิน คือการพยายามให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่ายอยู่ในระดับต่ำที่สุด และมีเงื่อนไขผูกพันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
จากนั้นถ้าพยายามเสริมความได้เปรียบเชิงแข่งขันได้จะถือว่ามีอนาคตที่น่าสนใจมาก

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ศาสตร์และศิลปะของการปั้นพอร์ต ให้เติบโตสม่ำเสมอ Art & Science of Trading