สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

โครงสร้างตลาดปรับฐาน (Anatomy of Market Correction)


บทความนี้ได้แรงบันดาลใจจากบทความ ‘Crash’ – แนวคิดการเทรดช่วงตลาดปรับฐานรุนแรง ของเพจ sarut-homesite ผู้แปลหนังสือ "โมเมนตัมมาสเตอร์ครับ
พออ่านแล้วก็ปิ๊งเลย เพราะมันตรงกับช่วงเวลานี้มาก โดยเฉพาะความเป็น choppy ของมัน เพราะเล่นยากมาก ทำให้เราต้องเปลี่ยนแผนการเทรดใหม่ ถ้าอยากได้ตังค์(บ้าง) คือแทนที่จะรันเทรนด์ก็ต้องเล่นแบบตีหัวเข้าบ้าน เล่นสั้นๆ ล็อกกำไรตามไปเรื่อย ถ้าซื้อแล้วราคาไม่ไปก็ต้องรีบหนีให้ไวที่สุด จะได้ขาดทุนน้อยๆไว้ก่อน ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับการเรียนรู้ใจและสไตล์ของตัวเอง

ด้วยเหตุนี้เอง จึงอยากเอาเรื่อง Correction Stage หรือโครงสร้างของการปรับฐาน ที่แอดมินเพจ sarut ทำไว้คร่าวๆ มาแผ่ขยายความเป็นรูปให้ดูกันเข้าใจมากขึ้น

ในบทความ เขาว่าไว้แบบนี้
โดยทั่วไปการปรับฐาน Correction จะมี 5 stage หลัก ได้แก่
1. ช่วงเริ่มต้นการปรับฐาน ตลาดจะเกิดการร่วงลงอย่างเร็วแรง ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ ทำให้ตลาดเริ่มติดลบประมาณ 5-10% หรือมากกว่านั้น เกิดภาวะ oversold และตลาดปิดต่ำกว่า MA 200 วัน
2. การเด้งแรงๆในช่วงแรกหลังจากตลาด oversold โดยการเด้งในช่วงนี้ตลาดมักจะไปชนแนวต้านที่เส้น MA หลักๆ คือ MA 20 , 50 หรือ 200 วัน แล้วเริ่มลงต่อ
3. ภาวะตลาด choppy คือช่วงที่ตลาดผันผวนขึ้นลงรุนแรงสลับกัน โดยตลาดและราคาหุ้นรายตัวจะเหวี่ยงมากในแต่ละวัน เป็นช่วงที่เทรดได้ยากมาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซื้อหรือขายก็ตาม
ถ้าตลาดยังผันผวนรุนแรงหรือ choppy อยู่ เราสามารถเลือกได้ว่า จะหยุดพักรอดูสถานการณ์ , เทรด size เล็กลง หรือเทรดระยะสั้นลง (ขายตามแนวต้าน – lock กำไรเร็ว) เพื่อรอให้เห็น trend ตลาดชัดขึ้นก่อน
4. การทดสอบ low เดิมของตลาดที่เกิดขึ้นในข้อ 1 (retest of the momentum low) โดยมีจุดสังเกตที่สำคัญ ดังนี้
4.1 เริ่มเกิด divergence ในเชิงบวก เช่น ตลาดทำ new low แต่มีหุ้นทำ new low น้อยลง , ตลาด new low แต่มีหุ้น breakout หรือมีหุ้น setup ทำ base ดีๆมากกว่าเดิม (หุ้นส่วนใหญ่เริ่มไม่ลงตามตลาด) เป็นต้น
4.2 ถ้าตลาดเด้งแล้วไม่สามารถยืนได้ หลังจากการ retest low แสดงว่าเรามีโอกาสอยู่ในภาวะตลาดหมี (bear market) หรืออย่างน้อยก็น่าจะต้องเจอการปรับฐานที่ยาวนานกว่าปกติ
5. recovery – ช่วงการฟื้นตัวของจริง ช่วงนี้ตลาดและหุ้นส่วนใหญ่จะเริ่มมีทิศทางเดียวกัน แรงซื้อจะมากจนตลาดและหุ้นพุ่งแรงๆโดยเฉพาะกลุ่มหุ้นนำตลาด แม้จะเกิดภาวะ overbought แต่ตลาดก็จะไม่ลงแรงมากนัก
ในช่วง recovery นี้คนที่มัวรอตลาดย่อแรงๆหรือยังกลัวตลาดขาลงอยู่ ก็อาจจะพลาดการฟื้นตัวในระยะแรกได้

มาดูกราฟ SET กัน

เมื่อเอากราฟไปเปรียบกับลักษณะของโครงสร้างการปรับฐาน ก็จะพบว่ามันคล้ายกับ ช่วงที่ 1 คือ "เริ่มต้นปรับฐาน" เพราะราคาวิ่งอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน


พอได้ดีดตัวจากการลงแรงต่อเนื่องจน oversold เด้งขึ้นไปก็ชน EMA50 แล้วกลับตัวลง
ภาวะตลาดช่วงนี้จึงเป็นแบบ choppy คือ สวิงขึ้นลงแรง บวกนิดแต่ลบเยอะ
สภาพตลาดแบบนี้เองที่เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การเทรด ให้เทรด size เล็กลง หรือเทรดระยะสั้นลง (ขายตามแนวต้าน – lock กำไรเร็ว) เพื่อรอให้เห็น trend ตลาดชัดขึ้นก่อนเท่านั้น
ดังนั้นแม้เราจะชอบรันเทรนด์ แต่ถ้าตลาดมันไม่ให้เงิน เราต้องหยุดเล่น หรือไม่ก็ต้องปรับตัวตามตลาด อย่าได้ฝืน เล่นสไตล์เดียวตลอด เพราะถ้าคุณดันทุรัง เงินกำไรที่ได้มาก่อนหน้านี้ มันจะหายไปหมด

Update 20/11/2018 ช่วงบ่ายสอง



โดยแนวคิดที่พอจะอธิบายได้ง่ายๆคือ Wyckoff Logic อีกแล้วครับ


ช่วงนี้ผมว่ามันอาจจะเข้าสูตรปรับฐานต่อและมีโอกาสเป็น Markdown ต่อก็ได้

ก็ภาวนาให้ไม่หลุด 1600 มากนัก แล้วออกข้าง ซึมๆแล้วดีดขึ้นเหมือนภาพล่างนี้


คือถ้าไม่ร่วงต่อ มันก็อาจจะเข้าสูตรของทวด Weinstine คือสะสมแล้วดีดขึ้นไปใหม่
การแกว่งออกข้าง สะสมในกรอบ trading range แบบรูปนี้แหละครับคือช่วง Recovery
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราอยากเห็นมากที่สุด เพราะจากนั้นมันจะกลับตัวเป็นขาขึ้นรอบใหม่

แต่เราไม่รู้อนาคตหรอก เวลาเท่านั้นที่ให้คำตอบเราได้

ถ้าหากดูกราฟ month

ก็พบว่าการร่วงลงของราคาในช่วงนี้มัน "ไม่เท่าไหร่"
แต่อย่างว่าแหละคนเล่นหุ้นเขาไม่สนภาพใหญ่กัน ถ้าวันไหนดาวโจนส์ร่วงแรง มันก็ลงแรงตาม
ดังนั้นกราฟรายเดือนก็ไม่เหมาะกับคนเล่นหุ้นระยะสั้น กับระยะกลาง เพราะทุนสูง จึงต้องยึด daily chart เป็นหลัก ขืนไปรอการยืนยันกราฟรายเดือนก็หมดตัวพอดี
ประโยชน์ของ monthly chart จึงแค่ใช้เป็นหัวข้อสนทนาฆ่าเวลา และอวดความรู้กันเท่านั้นเอง



ต่อไปควรทำยังไง?
๑) ก็ภาวนาให้สภาวะตลาดมันปรับฐานแค่นี้พอ ลงไปเด้งที่ 1600 จุด จะได้มีหุ้นดีๆแรงๆให้เล่นอีก
๒) ถ้ามันไม่เด้งก็ต้องรอดูว่าเหตุการณ์จะเป็นตามขั้นตอนของวัฎจักรขาลงหรือเปล่า
๓) ใช้ช่วงเวลานี้เรียนรู้จากการเคลื่อนไหวของตลาดให้มากที่สุด เช่น
- การบริหารความเสี่ยง
- คุณค่าของเงินสด
- การหาหุ้น demand แข้งแกร่ง หรือหุ้นแข็งกว่าตลาด
- เทคนิคการ daytrade และ swing trade ตั้งแต่การซื้อและการขาย
โอกาสแบบนี้หายากมากครับ เพราะความผิดพลาด และภาวะอึมครึมจะช่วยลับคมความคิด การอ่านเกมส์ การวางแผน และการลงมือทำให้เฉียบคมมากขึ้นครับ

อุปสรรคทำให้เราเติบโตครับ ดังนั้นอย่าได้หันหลังให้มัน ช่วงนี้แหละที่แผลต่างๆ อันเกิดจากความไม่รอบคอบของคุณ สิ่งที่คุณคยเชื่อว่าใช่และใช้ดี ในเวลานี้มันอาจจะเปิดเผยช่องโหว่ให้ชัดเจนขึ้น
ถ้าเรารู้เราเห็น จะได้มีมาตรการ สร้างกฎขึ้นมาเพิ่มเพื่อเป็นตัวช่วยกรองแนวทางการเทรดของเราให้ดีกว่าเดิมได้

ถ้าคุณมีทักษะในการเทรดในภาวะตลาดผันผวนได้ดี เมื่อตลาดกลับมาเป็นขาขึ้นหรือขางลงที่เป็นแนวโน้ม การเข้าทำและตัดสินใจของคุณจะคมกว่าคนอื่นที่ประสบการณ์น้อยกว่าอย่างคนละเรื่องกันเลย

อ้างอิง sarut-homesite.net/blog-58-crash-book-corrections

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks