ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

SOS (Sign of Strength) สัญญาณต้นเทรนด์แนวโน้มขาขึ้น


SOS (Sign of Strength) เป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของทฤษฎี Wyckoff accumulation
มันคือสัญญาณกระทิง หรือสัญญาณต้นเทรนด์ ก็ว่าได้ ความทรงพลังของแรงซื้อที่สามารถเอาชนะแรงขาย(ที่หมดแรงไปแล้ว)ได้อย่างราบคาบ หากท่านต้องการหาจังหวะเข้าซื้อหุ้น สัญณาณนี้ควรให้ความสำคัญมากกว่าทั้งหมดเลย




SOS (Sign of Strength) มักจะเกิดหลังจากที่
- ช่วงพักตัว sideway ทั้งสั้นและยาว แท่งราคาสั้นวอลุ่มแห้งมากๆ
- ราคาลงไปเทสโลว์ด้วยวอลุ่มที่แห้ง หรือ เบาบาง
- ตลาดร่วงติดต่อกันหลายวัน แล้ววันต่อมามันดีดเขียว หุ้นบางส่วนจะดีดตามแบบแรงๆ







แท่งราคาที่เป็น SOS คือแบบไหน
- แท่งเขียวยาวที่มาพร้อมกับวอลุ่มสูงกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมายิ่งมากยิ่งดี
- gap up พร้อมกับวอลุ่มสูงกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมายิ่งมากยิ่งดี
เหล่านี้เป็นการยืนยันว่า แรงซื้อ(demand)ก้าวออกมาแสดงตัวยึดพื้นที่ในโซนนี้ได้อย่างราบคาบแล้ว (เพราะก่อนที่จะแสดงตัว ก็ปล่อยให้แรงขาย(supply)แสดงกำลัง จนกระทั่งไม่มีการสนับสนุนต่อแรงขายแล้ว แรงซื้อก็เข้ามายึดพื้นที่เลย)







เกิด SOS แล้วต้องดูพฤติกรรมต่อว่าแรงขายยังมีกองกำลังแทรกซึมอยู่หรือไม่ นั่นคือสัญญาณ LPS(last point of support) อันหมายถึงช่วงปล่อยให้แรงขายแสดงตัวหลังจากเกิด SOS ไปแล้ว
การย่อของราคาครั้งนี้ อาจเกิดจากการจงใจของคนทำราคาส่วนหนึ่งที่ต้องการทดสอบ หรือเป็นการแสดงตัวของฝ่ายอยากขาย(supply)เอง
เมื่อเกิดแรงขายที่มีนัยยะ ฝั่งซื้อก็จะหยุดดู ว่าจะออกอาการได้มากมายแค่ไหน ถ้ามากก็แสดงว่ายังไม่ถึงเวลา ต้องลงไปสะสม ย่อยแรงขายใหม่
แต่ถ้าแรงขายมีแค่หยิบมือ (วอลุ่มน้อยนิด) ก็จะเจอการแสดงตนเป็นใหญ่กว่าด้วยแท่งเขียวยาวกว่าวอลุ่มสูงกว่า ขึ้นต่อไปได้อีก





SOS Price pattern





ทำการบ้านหาหุ้นจ่อเบรค





หุ้นซิ่ง
แต่ใช่ว่าทุก SOS จะเป็นต้นเทรนด์เสมอไป
ถ้าอะไรเป็นไปตามทฤษฎี คงไม่มีใครขาดทุนอีกแล้วล่ะ
มันก็มีทั้งตัวจริงและหลอกปะปนกันครับ โดยของปลอมมีเยอะกว่าอยู่แล้ว
สืบเนื่องมาจากเจตนาของคนไล่ราคา หรือแม้แต่ตลาดเองก็ตาม
ทำให้หุ้นที่ส่งสัญญาณ SOS ที่น่าเชื่อถือเมื่อวาน วันนี้กลับอ่อนแอไม่ไปต่อ ก็มีให้เห็นบ่อย
ดังนั้น อย่าเชื่อมาก ว่าทฤษฎีนี้มันจะครอบจักรวาล
ท่านต้องมี stop loss รอไว้เสมอ ถ้าราคาทำร้ายคุณ ก็ต้องตัดใจครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด