ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

Self Coaching ดูแลและพัฒนาตัวเองด้วย "บันทึกการเทรด"


โค้ชหรือพี่เลี้ยงมีหน้าที่แนะนำหรือวางแนวให้คุณเดินในเส้นทางทางที่ถูกต้อง, ชี้จุดบกพร่อง, คอยจดจำในสิ่งที่คุณทำได้ดี ควบคุมให้ตัวคุณอยู่ในระเบียบวินัยและรักษาประสิทธิผลของการเทรด

แต่การจะจ้างโค้ชสักคนให้มาดูแลได้ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่หนักหนาสำหรับมือใหม่ส่วนใหญ่ ดังนั้นการเขียนบันทึกการเทรดจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีสุดในการเป็นโค้ชให้กับตัวเอง เพราะเอาจริงๆแล้วไม่มีใครเข้าใจเราได้ลึกซึ้งเท่าตัวเราเอง เรานี่แหละคือครูที่ดีที่สุดสำหรับตัวเราเอง

ยิ่งถ้าคุณเป็นคนที่มีวินัยต่อตัวเองอยู่แล้ว แค่การบันทึกการเทรดและหาความรู้ด้วยตัวเองจากสื่อออนไลน์ก็เพียงพอที่จะอยู่รอดในตลาดได้โดยที่ไม่ต้องไปสัมนาหรือจ้างคนอื่นให้มาควบคุมให้เปลืองเงินโดยเปล่าประโยชน์เลย

การลงรายละเอียดในบันทึกกการเทรดอย่างสุจริตและละเอียดยิบทุกจุดอย่างมีที่มาที่ไป ถือเป็นกระบวนการโค้ชตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และตรวจสอบตัวเองไปในตัว

จึงไม่แปลกที่นักลงทุนระดับโลกอย่าง Gerald Loeb บอกว่า "ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์เป็นหนึ่งในนิสัยที่แยก นักเก็งกำไรประสบความสำเร็จ ออกจากคนทั่วไป"
ประสบการณ์ที่ว่านั้นก็เกิดจากการจดจำและจะจำได้ดีก็ต้องมีการบันทึกเอาไว้นั่นเอง


จริงอยู่ที่การเขียนบันทึกการเทรดทุกวันออกจะเป็นเรื่องน่าเบื่ออยู่เหมือนกัน(สำหรับคนที่ไม่มีความรู้สึกหลงไหลในการลงทุน) แต่สิ่งที่คุณได้บันทึกนี้แหละจะเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถรีวิวการเทรดย้อนหลัง

ซึ่งบางทีมันอาจจะมีประโยชน์มากกว่าการอ่านหนังสือหรือแม้กระทั่งการเข้าสัมนาด้วยซ้ำ

เมื่อคุณเขียนบันทึกการเทรดต่อเนื่อง เป็นเดือน เป็นปี สิ่งที่คุณเขียน, ประสบการณ์และความรู้มันจะโตไปกับคุณ และถ้าคุณลงรายละเอียดทุกสิ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นจิตวิทยามวลชน, ตลาด, การปรับแต่งระบบการเทรด ฯลฯ เหล่านี้จะช่วยให้คุณได้บทเรียนและจดจำได้ว่า
- ข่าวแบบไหนที่คุณควรไม่ให้ความสนใจ
- ความเสี่ยงแค่ไหนที่คุณยอมรับได้ต่อการเทรกแต่ละครั้ง
- จังหวะไหนที่ควรเทรด ช่วงไหนที่อยู่เฉยๆ

ดังนั้นการจะดูว่าใครมีวินัยก็ดูได้จากความสม่ำเสมอในการบันทึกการเทรดอนี่แหละ และมันอาจจะเป็นส่วนทำนายว่าอนาคตสดใสได้หรือไม่

คลิปแนวทางการทำ บันทึกการเทรด




บันทึกการเทรดถือเป็นตัววัดความรู้สึกหลงไหลต่อการลงทุนหุ้นได้ดีเลยว่าคุณมี passion กับมันมากแค่ไหน
มันก็คล้ายกับคุณเขียนไดอารี่หรือสะสมเกี่ยวกับคนที่คุณหลงรักตอนวัยรุ่นนั่นแหละ ยิ่งปลื้มมากก็เขียนมากบันทึกมาก กับการลงทุนก็ไม่ต่างกัน
บันทึกการเทรด
ในบันทึกการเทรดจะต้องเขียนทุกอย่างที่คุณรู้สึกและสิ่งที่ควรทำก่อนเทรด, ระหว่างการเทรด, หลังจากการเทรดเสร็จสิ้นแล้ว

การเทรดถือเป็นทักษะการทำงานโดยขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดหรือวิธีการ
ผลของการบันทึกจะช่วยตรวจสอบความสามารถในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของตลาด, ความสามารถในการสร้างแผนเทรดหรือวิธีการเทรด, รวมถึงวินัยของการทำตามแผนนั้น และโชค
ในการเทรดนั้น มีหลายร้อยพันวิธีที่จะทำให้คุณได้ชัย
ดังนั้นคุณต้องเขียนทุกอย่างลงไปเพื่อแจกแจงจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณ เช่น
- แจงว่าคุณเป็นใครและอะไรที่เป้นแรงบันดาลใจให้คุณเข้ามาเทรด เพื่อหาวิธีการเทรดที่เหมาะกับตัวคุณ, คุณต้องรู้ว่าคุณเป็นใคร, ไลฟ์สไตล์ และทำไมคุณต้องทำในสิ่งนั้น
- มุมมองและปรัชญาตลาด สภาวะแบบไหนที่คุณเข้าใจและโฟกัส และการตัดสินใจเพื่อจัดการกับความเสี่ยง
- สังเกตุความเคลื่อนไหวของตลาด ตลาดนั้นมีความเป็นพิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในแต่ะวัน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะใช้ประโยชน์จาก แนวโน้ม หรือ พฤติกรรม เหล่านั้นได้ทุกช็อต แต่จากการสังเกตุอย่างระมัดระวังจะช่วยให้คุณค้นพบแนวโน้มหรือพฤติกรรมแบบไหนที่เข้าทางกับสไตล์หรือแนวทางที่คุณถนัด


- ความผิดพลาดจากการเทรดและโอกาสที่เราพลาด ทั้งสองสิ่งนี้ถือเป็นตัวสร้างความเครียดให้กับเทรดเดอร์เป็นอย่างมาก การเขียนบันทึกจะช่วยให้คุณจดจำได้ว่าควรเลี่ยงหรือควรเข้า
- นิยามความเป็นตัวคุณเองและสถานการณ์ปัจจุบัน
- ติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายตามที่ได้ตั้งเอาไว้ในแผนการเทรด
- แจกแจงรายละเอียดของจุดอ่อนและจุดแข็งในความสามารถในการดำเนินงานและการจัดการกับความกดดัน
- ปูเส้นทางในการเป็นโค้ชให้ตัวเองเพือพัฒนาตนเอง
โค้ชหรือพี่เลี้ยงมีหน้าที่แนะนำหรือวางให้คุณเดินในเส้นทางทางที่ถูกต้อง, ชี้จุดบกพร่อง, จดจำในสิ่งที่คุณทำได้ดี ควบคุมให้ตัวคุณอยู่ในระเบียบวินัยและรักษาประสิทธิผล
แต่การจะจ้างโค้ชสักคนให้มาดูแลได้ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ส่วนใหญ่ ดังนั้นการเขียนบันทึกการเทรดจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีสุดในการเป็นโค้ชให้กับตัวเอง เพราะเอาจริงๆแล้วไม่มีใครเข้าใจเราได้ลึกซึ้งเท่าตัวเราเอง

การลงรายละเอียดในบันทุกกการเทรดอย่างสุจริตถือเป็นการโคช้ตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้

การเขียนบันทึกการเทรดทุกวันออกจะเป็นเรื่องน่าเบื่ออยู่เหมือนกัน(ถ้าคุณไม่มีความรู้สึกหลงไหลในการลงทุน) แต่จากการบันทึกนี้จะช่วยให้คุณสามารถรีวิวการเทรดย้อนหลัง ซึ่งบางทีมันอาจจะมีประโยชน์มากกว่าการอ่านหนังสือหรือแม้กระทั่งการเข้าสัมนาด้วยซ้ำ

เมื่อคุณเขียนบันทึกการเทรดต่อเนื่องเป็นปี
สิ่งที่คุณเขียน, ประสบการณ์และความรู้มันจะโตไปกับคุณ และถ้าคุณลงรายละเอียดทุกสิ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นจิตวิทยามวลชน, ตลาด, การปรับแต่งระบบการเทรด ฯลฯ เหล่านี้จะช่วยให้คุณได้บทเรียนและจดจำได้ว่า
- ข่าวแบบไหนที่คุณควรไม่ให้ความสนใจ
- ความเสี่ยงแค่ไหนที่คุณยอมรับได้ต่อการเทรกแต่ละครั้ง
- จังหวะไหนที่ควรเทรด ช่วงไหนที่อยู่เฉยๆ
ดังนั้นการจะดูว่าใครมีวินัยก็ดูได้จากความสม่ำเสมอในการบันทึกการเทรดอนี่แหละ และมันอาจจะเป็นส่วนทำนายว่าอนาคตสดใสได้หรือไม่

สิ่งที่ต้องมีในบันทึกการเทรด
1. พื้นที่การเทรดแบบไหนที่มีโอกาสชนะ
2. จุดเข้าทำที่ใช่
3. จำนวนเงินที่เหทาะสมสำหรับเข้าเทรดในแต่ละครั้ง
4. กฎการจัดการการเทรด
5. ตรวจสอบการเทรดย้อนหลัง


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด