แนะนำอีบุ๊กเล่มใหม่ "สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน"

Image
(ลดราคา 20% จากราคาปก)  อีบุ๊ก สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด : เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน จำหน่ายแล้วที่ https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=319842   "สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน"   หนังสือเล่มนี้จะนำคุณเข้าสู่โลกของปรัชญาสโตอิก ผสานกับการเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูง สอนให้คุณรู้จักควบคุมอารมณ์และมีวินัยในทุกการตัดสินใจ ยืนหยัดอยู่ในเกมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ด้วยหลักคิดที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง คุณจะได้เรียนรู้วิธีสร้างกำไรอย่างยั่งยืน พร้อมกับรักษาความสงบเยือกเย็นในทุกสภาวะตลาด เปลี่ยนการเทรดให้เป็นศาสตร์ของจิตใจที่แข็งแกร่งและมั่นคง อีบุ๊ก - สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน เหมาะกับใคร? อีบุ๊กเล่มนี้เหมาะสำหรับนักเทรดทุกระดับ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นในตลาดการเงิน หรือเป็นนักเทรดมืออาชีพที่มีประสบการณ์มาหลายปี หากคุณเคยรู้สึกว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการเทรดไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคหรือการวิเคราะห์ข้อมูล แต่คือการควบคุมอารมณ์ ความกลัว และความกดดันในการตัดสินใจ อี

สรุปหนังสือ "ว่างงาน แต่ไม่ว่างเงิน"


"ว่างงาน แต่ไม่ว่างเงิน" เป็นอีกเล่มที่ผมซื้อมาพร้อมกับหนังสือ "ยิ่งเสี่ยง ยิ่งไม่พลาด"

ผมมองว่าอาชีพนักเทรดของเรา มันออกจะมีความผันผวนอยู่มากนะครับ ในช่วงตลาดดีเราก็สามารถทำเงินได้เยอะแต่พอตลาดไม่ดีหากเราเทรดมั่วซั่วก็จะคืนกำไรให้กับตลาดไปเสียหมดแถมบางทีก็ต้องขาดทุนเพิ่มอีก ถ้าหากเราสามารถหาอาชีพเสริมที่มีรายได้ประจำให้เราได้มันน่าจะทำให้เราสามารถเทรดหุ้นได้อย่างมีสติมากขึ้นนะผมว่า

อีกอย่าง, การทำธุรกิจยังมีสิ่งแวดล้อมที่เราสามารถควบคุมได้มากกว่าตลาดหุ้นอีกนะครับ
เมื่อเรายังควบคุมได้ โอกาสทำเงินมันก็จะง่ายกว่านะครับ
นี่เป็นความเห็นส่วนตัวนะ
หากท่านใดคิดว่าการเล่นหุ้นคือหนทางแห่งการปลดปล่อย ก็แล้วแต่ท่าน

คือแต่ก่อนผมเคยคิดว่าจะเป็น full time trader เทรดหุ้นให้รวยไปเลย แต่พอเทรดเข้าจริงๆแล้วกลับรู้สึกว่าตัวเองโง่เกินกว่าที่จะเทรสสจดแล้วรวยได้ในเวลาอันสั้น มันจึงทำให้ผมคิดหาช่องทางหารายได้อื่นเพื่อที่จะเอามาเป็นแบ็คอัพให้กับตัวผมใช้ชีวิตได้อย่างไม่แร้นแค้นมากนัก และยังมีความสนุกในการหาความรู้และเทรดไปด้วย

ซึ่งมันก็เป็นที่มาของการทำหนังสือของผมนั่นเอง และผมคิดว่ามันเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก เลยอยากจะชวนท่านคิดถึงเรื่องนี้กันบ้าง

คือผมไม่คิดจะเลิกล้มความต้องการรวยจากการเทรดหรอกครับ เพียงแต่ว่าเมื่อระยะเวลามันยาวเกินกว่าที่เราคิด และเราเองก็ต้องกินต้องใช้ ทำไมต้องเลือกหาเงินด้วยวิธีเดียวด้วยล่ะ? ทำไมไม่กันเงินส่วนที่เทรดเอาไว้เทรดอย่างเดียว และหาวิธีการอื่นเพื่อที่จะหาเงินก้อนใหม่เข้ามาเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เราจะได้ใช้เงินกำไรจากการเทรดให้มาทบต้นทำให้เงินโตไวมากกว่าเดิม พูดง่ายๆคือเงินส่วนเทรดก็ใช้เทรด ส่วนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายก็หาจากแหล่งอื่นไป

นี่เป็นต้นตอที่ทำให้ผมกลับไปคิดถึงเรื่อง affiliate ที่เคยเป็นแหล่งทำเงินในอดีต แต่เมื่อกรุงโรมมันพังทลายไปแล้ว ก็ต้องหาทางสร้างเมืองใหม่

และหนังสือ "ว่างงาน แต่ไม่ว่างเงิน" น่าจะชี้ทาง
โดยเล่มนี้มันน่าสนใจตั้งแต่ประเด็นที่เขาโปรยไว้ในปกหลัง
เขาบอกว่า
"อิสรภาพทางการเงิน" คำนี้คุณนึกถึงอะไร?
"ได้ทำงานอย่างมีอิสระตามแต่ใจต้องการ"
"ไร้ความเครียด" "สนุกกับชีวิต"
แต่ความจริงแล้วเป็นเช่นไรหรือ
ถ้าทำตามใจชอบจริงๆไม่มีงานเข้ามาหรอกครับ
ไม่มีเงินด้วยเหมือนกัน แถมพอมีงานเข้ามาจนยุ่ง
ก็พาลหวาดหวั่นว่า "เดือนหน้าจะไหวไหมนะ" "หลังจากนี้เอาไงดี"
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าวิธีการและวิธีคิด
เพื่อให้คุณไม่ต้องลำบากเรื่องงานอีกตลอดชีวิต

บทที่ 1 กฎเพื่อจะได้มีกินตลอดชีวิต 8 ข้อ
บทที่ 2 สร้างงานที่มีเพียงคุณเท่านั้นทำได้ขึ้นมาเยอะๆกันเถอะ
บทที่ 3 แผนการต่อสู้ผ่านสื่อของตัวเอง เรียกงานที่อยากทำ ให้ลอยมาหา
บทที่ 4 วิธีใช้เงินให้เกิดประโยชน์อย่างมืออาชีพ

เห็นตรงกันไหมครับว่ามันน่าสนใจมาก?

เดี๋ยวผมจะไล่อ่านและสรุปให้ท่านละเลียดกันนะครับ....

วัตถุประสงค์ของผู้เขียนก็คือ เขาจะบอกเล่าวิธีการที่จะทำให้ฟรีแลนซ์ไม่เดือดร้อนกับเรื่องงานไปอีกตลอดชีวิต

หลักการของเขาคือ "ขัดเกลาสินค้าชื่อว่าตัวเอง" คือ "ใช้ตัวเองเป็นแบนแบรนด์" นั่นเอง
โดยใช้หลักคิดที่ว่า "ทำอย่างไรให้ลูกค้าดีใจมากขึ้น?"
ผู้เขียนเริ่มจากเขาได้ทำบล็อกสำหรับเป็นงานอดิเรกเพื่อใช้ประโยชน์จากความถนัด ว่าตนเข้าใจเรื่องภาษีเป็นอย่างดี เขียนบทความโดยมุ่งเน้นความต้องการของผู้อ่านคิดว่า "ทุกคนน่าจะลำบากกับเรื่องนี้กันบ้างหรือเปล่า?" พอทำแล้วพบว่ายอดเข้าชมเข้าบล็อกก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสามารถจัดสัมมนาแบบมีค่าใช้จ่ายโดยอิงเนื้อหาจากบล็อกได้เลย
ถือว่าเป็นรายได้ที่นอกเหนือจากค่าปรึกษาเป็นครั้งแรก
ตรงนี้แหละที่เป็นจุดเปลี่ยนทำให้เขาเห็นโอกาส

จากนั้นเขาเริ่มลดงานกิจการที่ปรึกษาด้านภาษี ซึ่งเป็นงานหลักของเขาลงไปทีละน้อย แล้วสร้างงานใหม่โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตัวเอง ผลลัพธ์ก็คือ ตอนนี้เขามีงานเข้ามาสม่ำเสมอจากหลายแห่ง และก็สามารถ "เลือกงานที่อยากทำ ปฏิเสธงานที่ไม่ชอบ" ได้ด้วย
ช่างเป็นชีวิตการทำงานที่น่าอิจฉา ว่าไหมครับ?

จากความสำเร็จอันนี้เองทำให้เขาเขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อบอกเล่าวิธีทำและวิธีคิดเพื่อ "สร้างงานที่เราสามารถแสดงจุดแข็งของตัวเอง ได้บอกเล่าถึงสิ่งนั้นพร้อมๆกับขัดเกลาตัวเองอยู่เสมอ"

ถ้าไม่อยากลำบากเรื่องงานไปอีกตลอดชีวิต กุญแจก็คือ "ขยายอิทธิพลให้กว้างขึ้น"
ซึ่งในปัจจุบันคุณมีช่องทางให้ขยายอิทธิพลมากมายเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็น blog, Facebook, YouTube ฯลฯ เราอยู่ในยุคที่สามารถส่งสารออกไปทั่วโลกได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย
เมื่อขยายอิทธิพลได้ก็สามารถตรวจสอบ feedback ลูกค้าตรงหน้าได้ แถมมีงานใหม่ลอยเข้ามาด้วย

คุณต้องสร้างพลังที่จำเป็นสำหรับฟรีแลนซ์ 3 อย่างเอาไว้คือ
พลังอย่างที่ 1 : พลังสร้างงาน
คุณต้องแบ่งกิจการหลักออกแบบกิจกรรมย่อยๆคือพยายามขยายตลาดออกไปให้กว้างที่สุดเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการทักษะความรู้ของเราอย่าทำงานเพียงอย่างเดียวเพราะงานประเภทเดียวจะมีความเสี่ยงสูง
ประโยชน์ของการแบ่งกิจการหลักออกมันทำให้มีข้อดีอยู่ ๔ ประการคือ
๑. ไม่จำเป็นต้องรวบรวมลูกค้า
๒. ก่อให้เกิดผลลัพธ์แบบทวีคูณ
๓. ขัดเกลาตนเอง
๔. ป้องกันความเสี่ยง

ปัญหาต่อไปที่เราเจอกัน ก็คือ "ไม่รู้ว่าตัวเองเก่งเรื่องอะไร" เขาแนะนำวิธีการหาจุดแข็งของตัวเองแบบง่ายๆ
โดยให้ใช้หลักการสังเกตตัวเอง ดังนี้
- ถ้าหากคุยกับใครแล้วเขาบอกว่า "นั่นแหละยอดไปเลยนะ"
- หรือเขาบอกว่า "เล่าให้ละเอียดกว่านี้หน่อย"
ให้ท่านรีบจดเอาไว้ทันทีเลย เพราะสิ่งนี้แหละคือจุดแข็งของตัวคุณเอง
พูดง่ายๆคือ "เรื่องอะไรที่มีคนมาขอคำปรึกษาคุณบ่อยๆ" หรือ "เรื่องที่คุณมักถูกถามบ่อยๆ" คือจุดแข็งของคุณยังไงล่ะครับ

จากนั้นก็ให้ลองเขียนจุดแข็งของตัวเองออกมาสักร้อยข้อ แยกเขียนออกมาเป็นข้อย่อยๆ เป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อยขนาดไหนก็ได้ เน้นเรื่องที่ถนัด, เรื่องที่ชอบ, เรื่องที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น

รวมมันให้กลายเป็นงานที่คุณทำได้เพียงผู้เดียว
โดยวิธีการง่ายๆก็คือ แค่นำจุดแข็งที่เขียนไว้มากกว่าสองข้อ เอามาจับเข้าด้วยกันเท่านั้นเอง แค่นี้มันจะกลายเป็นงานที่มีแต่เราเท่านั้นที่ทำได้!
หรือถ้าพบว่ามีคนอื่นที่เขาทำได้เหมือนกับเรา ท่านต้องไปศึกษาเขาให้ละเอียด แล้วจะเห็นความต่าง จากนั้นก็สร้างความแตกต่างออกไปให้คุณเกิดความโดดเด่น

คุณต้องกล้าเลือกงานอย่างมีแผนการ
เขาแนะนำว่างานที่ควรเลือกมี ๖ อันดับ คือ
๑. งานที่มีอิทธิพลสูง
ให้ความสำคัญกับงานแบบนี้ก่อน
งานที่สามารถนำไปใส่พอร์ตเป็นผลงานได้ยังไงล่ะ ตัวอย่างเช่น งานสิ่งพิมพ์ เขียนบทความ บรรยาย บล็อก ซึ่งสามารถอัพข้อมูลขึ้นไปบนอินเตอร์เน็ตได้ ส่งข้อมูลทางอีเมล์ได้งานพวกนี้แหละขั้นสุด
๒. งานที่ค่าตอบแทนต่อชิ้นสูง
๓. งานที่ทำให้ลูกค้าดีใจ
๔. งานที่มีเพียงตัวเราเท่านั้นที่ทำได้
๕. งานที่ทำแล้วสนุก
๖. งานที่ทำให้ตัวเองเติบโตขึ้น

พลังอย่างที่ 2 พลังในการบอกเล่าเรื่องตัวเองออกไป
การทำให้ลูกค้ารู้จักและทำให้ลูกค้าเลือก เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คุณสามารถในการส่งข้อมูลเพื่อให้ลูกค้าเลือกได้

พูดง่ายๆ คือ คุณต้องรู้จัก "โปรโมทตัวเอง"

ฉะนั้นคุณจำเป็นต้องมี "สื่อ" ของตัวเองถึงจะสร้างแบรนด์ได้
ถ้าคุณมีแบรนด์ คุณก็สามารถเลือกงานและปฏิเสธงานได้

"สื่อ" ที่ว่านี้ก็คือสื่อทางอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
คุณต้องพยายามนำเสนอตัวเอง โดยเฉพาะ จุดแข็ง,ผลงานจริง, งานใหม่(ลิสต์รายการที่เคยทำ) โชว์มันออกมาให้หมด จนทำให้คนชมสื่อของท่านรู้สึกว่า
"คนนี้ทำอะไรอย่างนี้ได้นี่เอง อยากจ้างจัง"
"คิดอะไรน่าสนใจจัง ทำงานอะไรร่วมกันได้ไหมนะ"
และติดต่องานเข้ามา โดยไม่ต้องแนะนำตัวหรือแลกเปลี่ยนนามบัตรกันเลย

ใช้ "บล็อก" ในฐานะสินทรัพย์
จริงอยู่ที่บล็อกมีภาพลักษณ์เก่าคร่ำครึ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับสื่ออย่างอื่น มันมีจุดแข็งเหนือกว่านั้น คือมันจะกลายเป็นสินทรัพย์ได้ บทความที่เขียนสั่งสมกันไว้ จะค้นได้จากอินเตอร์เน็ต บล็อกจึงเป็นสื่อที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับฟรีแลนซ์

ประโยชน์ของการทำบล็อก คือ
- สามารถสื่อสารสิ่งที่เราสังเกตเห็นออกไปได้
- มีพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล
- ทำให้เราได้ฝึกฝนรับสายตามุมมองของตัวเอง
- ทำให้เราได้เจอกับผู้คน
- สามารถจัดการกับเวลาได้ดีขึ้นแทนที่จะต้องใช้เวลาในแต่ละวันนานๆ

ทั้งนี้ท่านต้องทราบตรงกันว่าพื้นฐานของบล็อกก็คือมันเป็น "พื้นที่ในการนำเสนอคุณค่า"
ดังนั้นท่านจะเขียนแบบไดอะรี่ไม่ได้เป็นอันขาด
ให้ท่านนึกถึงภาพบล็อกในฐานะ "กิจการที่มันสามารถสร้างยอดขายให้ท่านได้"
ให้ท่านจินตนาการภาพผู้อ่านให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วเขียนบทความเพื่อผู้อ่านเหล่านั้น เมื่อเขียนถึงผู้อ่านที่มีจริงอยู่อย่างเป็นรูปธรรม โดยมากมักทำให้บทความนั้นมีคนอ่านกันเยอะครับ ยิ่งคิดเรื่องผู้อ่านละเอียดเท่าไหร่ ตัวเราก็ยิ่งได้ประโยชน์เท่านั้น มันจะกลายเป็นการฝึกฝนสรุปความคิดของตัวเองได้เป็นอย่างดี ทั้งยังส่งผลที่ดีต่องานอีกมากด้วย

ท่านต้องนำเสนอวิธีคิดผ่านบล็อก เพราะวิธีคิดนั้นแหละที่เป็นส่วนสร้างความแตกต่าง คือมันเป็นแบรนด์ เป็นสำนวนของคุณไปเลย
พยายามใส่เอกลักษณ์ความเป็นตัวเราลงไปในข้อมูลด้วย ไม่ใช่แค่เผยแพร่ข้อมูล แต่เขียนวิธีคิดผลลัพธ์จากการนำไปใช้จริงในแบบของตัวเองไปด้วย เพราะใครๆก็เผยแพร่ข้อมูลออกมาได้ แต่หากนำเสนอข้อมูลโดยเสริมเอกลักษณ์ไปด้วย ย่อมเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่าง ที่เลียนแบบกันไม่ได้ง่ายๆ

วิธีการก็คือ
๑. เขียนเนื้อหาให้ลึกที่สุด
ไม่ต้องเขียนเนื้อหาใหม่ก็ได้ แต่คุณต้องตั้งเป้าหมายให้ลงรายละเอียดลึกที่สุด
๒. วิธีแก้ปัญหาเรื่องที่ตัวเองเคยลำบากมาก่อน
๓. คำถามที่เคยมีคนถาม
๔. สิ่งที่เราเคยอ่านเคยสัมมนาเคยสนทนากับคนอื่นก็มาเป็นเนื้อหาได้
๕. เรื่องที่เคยมีประสบการณ์มา

พลังอย่างที่ 3 พลังในการหมุนเงิน
คือเราต้องใช้เงินไปกับการพัฒนาตัวเองโดยตรง มันเป็นการลงทุนกับตัวเองเพื่อให้ได้ความสามารถอะไรใหม่ติดตัว แล้วสร้างกิจการจากสิ่งนั้น หรือสามารถเริ่มเปิดสัมมนาได้
ให้ใช้เงินที่ได้มาอย่างสร้างสรรค์เพื่อทำให้ตัวเองเติบโตขึ้นสร้างงานใหม่
พลังในการหมุนเงินเช่นนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับฟรีแลนซ์

เท่าที่ผมสนใจก็มีเท่านี้ครับ
ซึ่งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมหาศาลเลยนะครับในเล่มนี้
ใครสนใจก็หาซื้อตามร้านหนังสือหรือออนไลน์ได้เลยครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่