การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

สรุปหนังสือ "ยิ่งเสี่ยงยิ่งไม่พลาด"


ผมคิดว่า "ความเสี่ยง" มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพการเทรดของเรามหาศาลเลยนะครับ
เพราะว่าการเทรดก็คือความเสี่ยง
ถ้าเราสามารถหาวิธีทำความเข้าใจความเสี่ยงและอยู่ร่วมกับมันได้
ก็น่าจะทำให้เราเป็นนักเทรดที่ดีได้เช่นกัน

ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้เริ่มตั้งแต่ปกที่เขาโปรยว่า
"ทำไมคนที่ตัดสินใจทันทีจึงประสบความสำเร็จ?"
ทำให้อยากรู้ตะหงิดๆ อดพลิกเข้าไปดูไม่ได้

พอได้พลิกเข้าไป ก็โดนจนได้
.....จ่ายเงินซื้อสิครับ

ตั้งแต่คำนำก็มีบางประโยคน่าสนใจ...
"...ที่จริงแล้วปัญหาอุปสรรคความไม่ราบรื่นจากต่างที่พบเจอมักจะตามมาหลัง "ความพะวักพะวงในการตัดสินใจ"... จึงเกิดความกังวลสุดท้ายสิ่งนั้นก็กลายเป็นปัญหา

สิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจไม่ใช่ความถูกต้องแม่นยำแต่เป็นความรวดเร็ว
ทำยังไงให้รวดเร็วและแม่นยำต้องใช้ 4 วิธีคือ
1. Trade off
2. แผนภูมิต้นไม้
3. การคัดกรอง
และ 4. ทฤษฎีเกม
ซึ่งแต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

คนที่มีความสามารถในการตัดสินใจชั้นเยี่ยมติดตัวจะดำเนินการโดยไม่กลัวความผิดพลาด แต่คนที่ไม่มีสิ่งนี้จะดำเนินการเพื่อไม่ให้พลาด

โดยทั่วไปแล้วการประเมินตัวเองจะเป็นการประเมินที่มากกว่าความสามารถที่แท้จริงอยู่ 25% ส่วนการประเมินใดคนอื่นนั้นจะเป็นการประเมินที่ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงอยู่ 25%

ประสบการณ์ คือ การสั่งสม "การตัดสินใจ"
"การตัดสินใจ" ก็คือการเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกหลายๆตัวเลือก เพื่อที่จะทำสิ่งที่ตั้งใจมุ่งหวังเอาไว้ให้สำเร็จ

2 ปัจจัย ที่เป็นสาเหตุให้การตัดสินใจยากมากขึ้น
1. สภาพสังคมที่มีตัวเลือกมากขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปัจจัยภายนอก)
2. ความรู้สึกวิตกกังวลต่อความผิดพลาดที่เพิ่มขึ้น (ปัจจัยภายใน)

ความเสี่ยงมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- ความเสี่ยงที่ควรเสี่ยง
และ ความเสี่ยงที่ควรทิ้งไป

แท้จริงแล้วความเสี่ยงคืออะไร?
ถ้าแปลตรงตัวก็คือ "อันตราย"

ความเสี่ยงมีอยู่ 2 ชนิดคือ ความเสี่ยงที่จะทำ" และ "ความเสี่ยงที่จะไม่ทำ"
ความเสี่ยงที่จะทำ = ความเสี่ยงที่จะทิ้งตัวเรื่องอื่นไปโดยไม่ตรวจสอบ
ความเสี่ยงที่จะไม่ทำ = ความเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสที่อยู่ข้างหน้า
โดยผู้เขียนบอกว่า "ความเสี่ยงที่จะไม่ทำ"
นั้นเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่กว่า "ความเสี่ยงที่จะทำ"

เนื่องจากคนที่มี "ความเสี่ยงที่จะทำ" เร็วกว่าใครนั้นมีข้อดีคือ
๑. สามารถได้รับกำไรของผู้มาก่อนที่ผู้ลงมาก่อนเท่านั้นจะได้รับ
๒. แม้จะผิดพลาดแต่ก็ยังมีเวลาเหลือจึงสามารถที่จะแก้ไขปรับปรุงได้
๓. ด้วยการสั่งสมการตัดสินใจข้อมูลที่มีน้อยทำให้เกิดความสามารถในการตัดสินใจและความสามารถในการลงมือทำติดตัว

ยิ่งคนที่กลัวความเสี่ยง ก็จะยิ่งตกอยู่ในสภาพที่เสี่ยงที่สุด ที่ไม่มีทั้งผลงานและไม่ถูกประเมิน
แต่คนที่ลองเสี่ยงจะทำให้ความเสี่ยงนั้นกลายเป็นความเสี่ยงที่เล็กที่สุด

แม้ว่า การตัดสินใจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าท่านลองแบ่งมันออกแล้วหาวิธีการที่เหมาะสม มันจะทำให้การตัดสินใจง่ายขึ้น
โดยเริ่มต้นจากพื้นฐานการตัดสินใจ
ที่มีเพียง ๒ อย่าง คือดูว่า...
๑) หนึ่งความยิ่งใหญ่ของผลลัพธ์มีมากน้อยแค่ไหน?
- ความมากน้อยของผลกำไร
- ความมากน้อยของสิ่งตอบแทนที่จะกลับมาสู่ตัวเอง
- ความมากน้อยของความประทับใจ
ก็ถือเป็นผลลัพธ์ได้เช่นกัน
๒) มีองค์ประกอบในการต่อรองหรือไม่ (ความมากน้อยของความเสี่ยง)
พูดง่ายๆก็คือมีคู่แข่งอยู่หรือไม่นั่นเอง
เพราะการมีคู่แข่ง หรือความเห็นที่ต่างกันก็ทำให้การตัดสินใจยากขึ้นทันที

๔ พื้นฐานในการเปรียบเทียบที่ควรมีติดตัว
วิธีคิดที่เป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับการตัดสินใจก็คือ "การเปรียบเทียบ"
สิ่งที่ควรนำมาเปรียบเทียบนั้นมีเพียง ๔ อย่างคือ
๑. ลำดับเวลา
๒.มาตรฐาน
๓. คนอื่น(บริษัทอื่น)
๔. ความแตกต่างกับอุดมคติ
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดถ้าใช้มาตรฐานนี้ก็จะได้คำตอบ
หลักการของทั้ง ๔ อย่างในการเปรียบเทียบคือ การเปรียบเทียบแบบไหนที่จะ "ทำให้เห็นถึงจุดประสงค์ในการตัดสินใจได้อย่างชัดเจนและไม่เข้าข้างตัวเอง"
การเปรียบเทียบที่ทำให้เห็นข้อเท็จจริงภายนอก เป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจที่ดีและรวดเร็วขึ้น

การตัดสินใจแบบ Trade off
เป็นการตัดสินใจแบบเลือกอย่างหนึ่ง แล้วต้องสูญเสียอีกอย่างหนึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงแล้วเลือก "ความเสี่ยงที่ควรเลือก" เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง
ทิ้งความแน่นอน(ความระมัดระวัง)ที่เป็นการเหลือตัวเลือก แล้วตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญกับ "เวลา" จะช่วยเพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจได้

สิ่งสำคัญของการตัดสินใจแบบนี้ คือการรู้ว่า "ควรจะทิ้งอะไร"
การคิดว่าจะทิ้งอะไรคือแก่นแท้ของการเลือกหนึ่งในสองตัวเลือก
อย่าคิดว่าจะต้องเหลืออะไร แต่จงคิดว่า "ควรจะทิ้งอะไร"
การเลือกสิ่งที่จะทิ้งไปมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสิ่งที่คงเหลือไว้มากเท่านั้น

การตัดสินใจด้วยแผนภูมิต้นไม้
ใช้เมื่อมีตัวเลือกมากกว่าสอง โดยให้ท่านตั้งปรากฏการณ์หรือปัญหาเป็นแกนหลัก
และค่อยๆเจาะลึกลงไปในปัญหานั้น เพื่อขยายกิ่งก้านลงมาข้างล่าง เป็นวิธีการตัดสินใจโดยการนำเอาภาพต้นไม้เข้ามาใช้
การแผ่กิ่งก้านลงมา ทำให้มองเห็นตัวเลือกได้ชัดเจนขึ้น โดยมุ่งไปยังจุดประสงค์หรือวิธีการแก้ปัญหา
มันจะทำให้เราขุดค้นหาความเป็นไปได้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ จึงเป็นวิธีที่สะดวกในการค้นหาหัวข้อที่จำเป็นโดยไม่เกิดการซ้ำซ้อนกัน

คนที่มีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จะทำการตัดสินใจในครั้งต่อไปและทำการแก้ไขได้ง่าย
ฉะนั้น,แม้จะเป็นการตัดสินใจในแบบเดียวกัน แต่ความยิ่งใหญ่ของผลตอบแทนนั้นจะแตกต่างกันไป

ดังนั้นการเพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจด้วยการสะสมความรู้ความสามารถในการเลือก "ความเสี่ยงที่ควรเลือกเสี่ยง = กำหนดสิ่งที่จะทิ้งไป" จึงเป็นสิ่งสำคัญ


สุดท้าย, มันมีบท "คนเก่งจะให้ความสำคัญกับกำไรในระดับหนึ่งมากกว่ากำไรมากที่สุด"
ที่ผมเห็นว่ามันเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ และทำให้อยากซื้อ
เลยพยายามหารายละเอียดจากมัน
พบว่าไม่มีอะไรเลย
คือเขาเอาไปเปรียบกับทฤษฎีเกมว่า ถ้าเรามุ่งเน้นไปที่เค้กให้กำไรมากสุดก็จะมีการแข่งขันมากตาม ซึ่งโอกาสที่จะได้เป็นผู้ชนะก็ยาก จึงแนะว่า "ไม่สร้างการต่อสู้อย่างดุเดือดกับคู่แข่งและครอบครองเพียงผลตอบแทนในระดับหนึ่งเป็นมุมมองที่นักธุรกิจแนวหน้าส่วนใหญ่มีติดตัว"
พูดง่ายๆคือ ไม่แข่งขันในตลาดที่แข่งขันรุนแรง ยอมฮั้วกันดีกว่า อะไรประมาณนี้

ประเด็นที่น่าสนใจในหนังสือก็มีเท่านี้นะ
ความจริงยังมีรายละเอียดมีอีกเยอะ แต่เป็นเคสที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจในภาพใหญ่ และความสำเร็จของคนญี่ปุ่นซึ่งมันก็ไม่ค่อยตรงกับสายงานของเรานัก ผมเลยข้ามไป
ใครสนใจก็หาซื้อในร้านซีเอ็ดได้ครับ ร้านนายอินทร์ก็น่าจะมีนะ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่