"ให้ตลาดเป็นคนบอกคุณว่าจะเอาเงินไปวางไว้ตรงไหน" อย่าใช้ ความคิดเห็นส่วนตัว ตัดสินใจลงทุน

Image
เคล็ดลึกเทรดหุ้น True Market Leader จำหน่ายที่ https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM2MTk3ODt9 "ให้ตลาดเป็นคนบอกคุณว่าจะเอาเงินไปวางไว้ตรงไหน" อย่าใช้ ความคิดเห็นส่วนตัว ตัดสินใจลงทุน เพราะมันแทนที่ ภูมิปัญญาของกลไกอุปสงค์/อุปทาน (supply/demand) ไม่ได้เลย หุ้นที่เริ่มพุ่งขึ้นมาเป็นกลุ่มแรก ๆ ในช่วงเริ่มต้นของตลาดขาขึ้น (Bull Market) มักจะเป็นหุ้นที่มีโอกาสทำผลงานได้โดดเด่น (Superperformance) — Mark Minervini https://x.com/markminervini/status/1257171144483975168 ข้อคิดแรงบันดาลใจสำหรับนักเทรดมือใหม่: 1. ฟังเสียงตลาด ไม่ใช่เสียงตัวเอง > ตลาดส่งสัญญาณเสมอผ่านราคาและปริมาณการซื้อขาย อย่ายึดติดกับความเห็นส่วนตัว จงตาม "ข้อเท็จจริง" ที่ตลาดกำลังบอก 2. เข้าใจพลังของอุปสงค์และอุปทาน > ราคาหุ้นขยับขึ้นหรือลง เพราะมีคน "แย่งซื้อ" หรือ "แย่งขาย" นั่นคือกฎธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องของความรู้สึก 3. จับตาหุ้นที่นำตลาดในช่วงต้น > เวลาตลาดเริ่มกลับตัวขึ้น หุ้นที่ ...

รูปแบบพฤติกรรมที่ทำร้ายนักเทรด และทางแก้ (Behavioral Patterns That Sabotage Traders)


แปลมาจากบทความชื่อ Behavioral Patterns That Sabotage Traders โดย  Brett N. Steenbarger, Ph.D.
ผมชอบประเด็นที่เขายกเรื่องของความกดดันระหว่างเทรด ว่ามันมีสาเหตุมาจากอะไร
และยังแนะวิธีแก้ให้ด้วย ซึ่งน่าสนใจไม่น้อย

เขาให้เราลองนึกถึงสถานการณ์เหล่านี้

- นักเรียนที่ต้องการสอบไฟนอลให้ผ่านวิชา anatomy มากๆ
เพื่อที่จะให้ตัวเองไม่โดนปรับตกชั้นปีที่หนึ่ง เพื่องจากผลสอบครั้งแรกของเขาคาบลูกคาบดอกระหว่างผ่านกับตก
ดังนั้นในตอนที่สอบ เขารู้สึกว่าตัวเองกังวลเกี่ยวกับผลการสอบมาก ส่งผลให้เกิดความระแวงและมักจะคิดเยอะเกินปกติในการตอบคำถามแต่ละข้อ

- เด็กสาวที่กลัวการพูดต่อหน้าสาธารธณะมาก
แต่ด้วยความที่เธอจำเป็นต้องออกไปพูดเพื่อให้ได้งาน
มันเป็นสถานการณ์ที่ชี้เป็นชี้ตายระหว่างได้งานกับไม่ได้งาน
ระหว่างการพูดนั้น เธอดันไปรู้สึกว่าคนที่เธออยากให้ชอบ กลับทำตัวไม่สนใจเลย
ความกังวลจึงพุ่งขึ้นสูง เธอรู้สึกหมดกำลังใจในการนำเสนอ มันจึงเป็นไปด้วยความลังเล

- นักเทรดที่มีผลงานการเทรดที่ชนะต่อเนื่องกัน รู้สึกมั่นใจมาก
จึงเพิ่มเงินเข้าเทรดให้มากขึ้น เพราะคิดว่ามือกำลังขึ้น ตอนแรกราคาก็วิ่งทำกำไรให้ แต่จากนั้นมันเริ่มกลับตัวและวิ่งสวนทาง ทำให้เริ่มขาดทุน และมากขึ้น จนในที่สุดก็ตัดสินใจขาย โดยความเสียหายมากกว่าที่ได้กำไรจากการเทรดชนะมาทั้งหมดก่อนหน้านี้
ด้วยความอยากเอาคืน จึงกลับไปเทรดอีก และก็แพ้อีก จิตตกสิ
ครั้งต่อไป เขาเริ่มเทรดด้วยจำนวนเงินที่ลดลง และลังเล

เหตุการณ์ตัวอย่างทั้งหมดนั้น เป็นลักษณะของการแบ่งโฟกัสแยกเป็นสอง
คือกังวลเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติมากไป โดยที่ไม่ได้คิดถึงปัจจุบันว่าควรทำให้ดีที่สุดไว้ก่อน แทนที่จะได้ผลงานดีก็กลายเป็นไม่ได้ดีดั่งใจอยาก


ในทางการเทรดก็มักจะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้บ่อย คือพวกเรามักจะเครียดกับประสิทธิภาพของตัวเอง ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองตกอยู่ในความยากลำบากก็ให้ลองทำแบบนี้

๑) โฟกัสไปที่กระบวนการเทรดเท่านั้น อย่าเพิ่งไปสนใจกับผลกำไรและขาดทุน
นักเทรดส่วนใหญ่มักตั้งเป้าหมายเป็นเปอร์เซ็นต์กำไร คือเน้นการทำเงิน ซึ่งมันไม่ดี เพราะเป็นการสร้างความกดดันต่อตัวเองเกินความจำเป็น
โดยแนวทางที่มีประโยชน์มากกว่าคือการโฟกัสไปที่การทำตามขั้นตอนการเทรดให้สมบูรณ์ที่สุดจะดีกว่า โดยเฉพาะการตัดขาดทุน, การทนรวยตามสไตล์ ให้คิดแบบนี้เสมอว่า "ถ้าฉันทำการเทรดตามระบบ ยังไงก็ต้องมีกำไร" การคิดแบบนี้จะช่วยลดความกดดันได้มหาศาลเลยครับ


๒) อย่าปล่อยให้ความเสี่ยงเพิ่มสูง
ยิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งเครียด ยิ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพให้ด้อยลง เพราะมันสร้างแรงกดดันมหาศาล
ไม่ว่าจะเป็นการเทรด หรือการแข่งขัน ยิ่งเสี่ยงมากยิ่งไม่ดี
ดังนั้นถ้าคุณรู้ตัวว่าการเทรดของตนเองเสี่ยงมากเกินไป ต้องลดลงจนกว่าคุณจะรู้สึกผ่อนคลาย


๓) ถอนตัวออกจากหน้าจอ
การทะเลาะกับตัวเองขณะเทรดนั้น มักจะไม่เป็นผลดีต่อประสิทธิ ภาพของการเทรดโดยรวม เพราะมันจะไปขัดขวางการประมวลผลที่เป็นกลาง
ถ้าพบว่าตัวเองกำลังบ้าบอ เถียงตัวเอง หงุดหงิดกับตลาด เพราะต้องการผลการเทรดที่ยอดเยี่ยมในเวลาเร่งด่วน ให้ลุกจากเก้าอี้ ออกไปห่างหน้าจอ การออกห่างจอทำให้เราได้ยืดเส้นยืดสาย สามารถปรับอารมณ์คุณให้กลับมามีสมดุลมากขึ้น



๔) ฝึกซ้อมในใจ เพื่อให้เคยชินกับสถานการณ์ที่น่ากลัว
ให้ท่านนึกภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้นเอาไว้ในหัว แล้วจินตนาการต่อว่าจะต้องแก้ไขยังไง
ท่านเชื่อมั้ยว่าวิธีการนี้มันเวิร์คมาก เพราะการคิดไว้ก่อนและหาวิธีแก้ไว้ก่อน มันสามารถช่วยลดความเครียดได้เยอะ เพราะอย่างน้อยเรารู้วิธีการรับมือและเตรียมไว้แล้ว


๕) ฝึกสมาธิ
ในระหว่างการเทรด คุณต้องเจอสถานการณ์ที่ผิดไปจากที่คาดอยู่แทบจะตลอดเวลา คุณต้องไม่หลงและเครียดไปกับมัน ต้องรู้จักดึงสติให้กลับมามีสมาธิ สมองโล่งผ่อนคลาย เพื่อที่จะมองและพิจารณาการเคลื่อนไหวตลาดด้วยความเป็นกลางมากที่สุด ตีวามตามสิ่งที่เป็น ไม่ใช่เราอยากให้เป็น
คุณต้องโฟกัส ต้องมีจิตใจที่สงบเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้คุณฝึกได้

๖) ทำเช็คลิสต์สภาพจิตใจก่อนการเทรด
ขจัดความคาดหวังอยากให้ผลออกมาสมบูรณ์แบบ เพราะมันจะเป็นการสร้างความกดดันให้กับตัวเองโดยใช่เหตุ เมื่อคุณเริ่มต้นคิดว่า "ราคาควรทำตัวแบบนั้น" มันเป็นสัญญาณให้คุณต้องหยุดและถอย ยิ่งคุณเทรดขาดทุนติดต่อกันแล้วพยายามรีบเอาคืนยิ่งเป็นเวลาที่คุณต้องหยุดและถอยออกมา เพราะว่าตอนนั้นความเครียดจะเพิ่งสูงกว่าปกติ อันจะส่งผลให้คุณคิดสั้น ตัดสินใจผิดพลาดได้ง่ายกว่า ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการเทรดด้อยลงไปอีก

๗) ใช้ชีวิตบ้าง
จริงอยู่ที่เราเทรดเพื่อเลี้ยงชีพ ถ้าไม่เทรดก็ไม่รู้จะหาเงินมาขากไหน แต่ถ้าหากว่าท่านเทรดด้วยความกดดัน แทนที่จะทำเงินก็กลายเป็นว่าต้องสูญเงินมากขึ้นไปอีก
เมื่อท่านรู้สึกว่าการเทรดมันตื้อตัน ให้ออกไปทำอย่างอื่นบ้าง หางานอดิเรกทำ เอาแบบให้ลืมการเทรดไปได้ยิ่งดี เมื่อสมองของคุณเคลียร์, การกลับมาเทรดครั้งใหม่ มันจะช่วยให้การเทรดของท่านมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอนครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

รวมบทความที่เกี่ยวกับ Gap หุ้น & ทฤษฎี Gap หุ้น

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่