จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

(มือใหม่เล่นหุ้น) Earnings Gap คืออะไร? โอกาสและความเสี่ยง

โดยเซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit

ช่วงนี้ เป็นเทศกาลหุ้นประกาศงบกัน เลยอยากนำเสนอการเคลื่อนไหวของราคาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้อ่านกัน เพื่อจะได้มีแนวทางรับมือ หรือใช้ประโยชน์จากมันครับ

ผมเรียกมันว่า "Earnings Gap" ครับ

ความจริงแล้ว Gap ก็เป็นลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาที่สื่อว่ามีโอกาสเป็นต้นเทรนด์ได้เลยครับ โดยเงื่อนไขของมันคือต้องเป็น breakaway gap ที่มาพร้อมวอลุ่มมหาศาล และที่สำคัญคือ "ราคาก็ต้องไม่ย่อลงไปถมช่องว่างที่กระโดดขึ้นไปได้"


ส่วน Earnings Gap เป็นการเปิดกระโดดของราคาหุ้นเนื่องจากตลาดประหลาดใจกับผลประกอบการที่เกินคาด ถ้ากำไรโตเว่อร์พวกเขาก็จะเข้ามาตั้งซื้อตั้งแต่ ATO แต่ถ้าขาดทุนบักโกรก พวกเขาก็จะแย่งกันตั้งขาย เช่นกัน

Gap แบบนี้ คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือ smart money ผู้ทำการบ้านในเรื่องของการคำนวนงบล่วงหน้า บางคนเขาทำงบจำลองของบริษัทหนึ่งๆได้อย่างเพี้ยนน้อยมาก เมื่อรู้ว่าหุ้นตัวนี้น่าจะกำไรโตแบบเซอร์ไพรส์ตลาด จึงเข้าซื้อดักไว้ก่อน พองบออกมาทำให้ตลาดตื่นเต้นกันใหญ่ พวกเขาก็เอาหุ้นที่สะสมในราคาถูกมา sell on fact ให้เม่า

ก็ถือเป็นแนวทางการทำเงินที่ยอดเยี่ยมเลยครับ




ซึ่งท่านจะไปว่าเขาไม่ได้ เพราะกว่าที่เขาจะหาเบาะแสเจอหุ้นสักตัว ที่งบออกมาดีแน่ๆ เขาต้องสละเวลาหาข้อมูล ทำการบ้านคำนวนงบ เรียกว่าทุ่มเทอย่างยิ่ง
แถมจังหวะซื้อก็ต้องค่อยๆสะสม เดี๋ยวกลัวเกิดกระโตกกระตาก ราคาวิ่งแรง
เราควรดีใจกับความพยายามและความสำเร็จของพวกเขานะครับ
และถ้าเป็นไปได้ก็ให้ลองศึกษาไอเดียของพวกเขาดีกว่า

จากที่ผมเคยทำเคสย้อนหลังเอาไว้หลายตัว ซึ่งอยู่ในหนังสือเล่มเขียวหน้า 106-109  ก็พบว่า ส่วนใหญ่ มักจะเป็น gap ที่ล้มเหลว คือไม่ใช่ breakaway gap แต่เป็นแค่ common gap เท่านั้นเอง

นี่เป็นเคสใหม่ ที่อยากเพิ่มเติมนอกจากหนังสือ

คือมันมีความเสี่ยง ที่ราคาจะกลับตัวแรงและหมดรอบไปเลยหลังจากที่ราคาเปิด gap
ท่านต้องระวังในเรื่องนี้ให้ดี อย่ามัวแต่เงยหน้าฝันหากำไร แต่จงก้มหน้ามองลงดูความเสี่ยงด้วย

ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ เม่าอย่างเรา ก็อย่าเพิ่งไปตื่นเต้นกับการเคลื่อนไหวราคาในช่วงนี้มากนัก
(ยกเว้นว่าท่านซื้อมาก่อนแล้ว และคิดว่าต่อไปมันจะดีได้อีก)
ถ้าหากท่านไม่อยากเป็นเหยื่อเข้าไปรับหุ้นของ smart money กลุ่มนี้ ก็อย่าไปหลงกับกำไรในช่วงนั้น ให้สติตัวเองว่าคนเค้าเห่อได้แค่ไม่กี่วันหรอก เดี๋ยวคนก็ลืม ให้คุณรอดูตอนตลาดวายว่าราคายังยืนระดับได้มั้ย ถ้ามันสร้างฐานดีๆสวยๆ ก็ให้เฝ้ารอตามตอนที่ราคา breakout ขึ้นไปทำนิวไฮก็ยังไม่สายครับ เพราะตอนนั้นมันมีโอกาสเป็นการขึ้นที่แท้จริง มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนอย่างมีนัยยะแล้ว

แล้วจะทำยังไง? อ่านแนวทางของพี่มาร์คดูสิครับ
พี่ Mark Minervini ให้คำแนะนำไว้ในหนังสือ "เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ" หน้า 174 ไว้ว่า
คุณต้องคอยดูปฏิกริยาตอบสนอง ๓ อย่าง เพื่อพิสูจน์ว่า ตลาดมีความเห็นต่อกำไรยังไง

๑) แรงตอบรับในช่วงแรก
หุ้นดีดแรง หรือโดนทุบ?
ถ้าเปิดกระโดด ก็ให้ความสนใจ เพราะตลาดตื่นเต้นกับกำไร
แต่ถ้ามันจะไปไกลๆ ต้องดูเกมส์ยาวในข้อต่อไปครับ

๒) ดูแรงต้านต่อเนื่อง
ข้อนี้แหละสำคัญ ว่าราคาจะยืนรักษาทรงของขาขึ้นได้หรือเปล่า?
ผมแนะนำวิธีดูง่ายๆคือ ทำเป็นกล่อง ตั้งแต่ระดับที่เปิด gap ขึ้นไป แล้วดูการย่อยแรงขายว่าเอาอยู่มั้ย เพราะช่วงนี้จะเป็นตอนที่คนที่ได้กำไรเขาขายกัน ถ้าอยู่ก็แสดงว่ามีโอกาสไปต่อสูง ท่านก็รอให้เกิด pivot buy point แล้วค่อยตาม

๓) แรงยืดหยุ่น
คือดูทรงของการย่อยแรงขาย มีการต่อสู้กันดุเดือดแค่ไหน
ต้องลุ้นให้ demand เอาชนะและรับแรงขายให้อยู่
(ถ้าใครมีหนังสือเล่มดำ ให้ลองเปิดอ่านบทที่ 7 กับบทที่ 9 นะครับ ผมลงรายละเอียดไว้ให้แล้ว)

เคสในช่วงนี้จะมีอยู่ ๒ แบบ
- การย่อยแรงขาย คือราคาจะแกว่งแคบลง แล้วก็ค่อยๆ ยกตัวขึ้นด้วย pivot point
- มีการเขย่ารุนแรง โดนขายโหด ให้ราคาร่วงแรง พี่มาร์คบอกว่าถ้าราคาลงห่างจากยอดเกิน 15% ถือว่าไม่สวยแล้ว ให้หาที่ราคาร่วงเบากว่านั้น และที่สำคัญคือ เมื่อโดนขายแท่งแดง วันต่อไปก็ควรดีดกลับทันที แบบนี้มันเป็นทรงของหุ้นที่มีพลังเหลือพอที่จะไปต่อได้


ก็ลองเอาไปปรับใช้กันดูครับ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กันไม่น้อยเลย

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)