การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

ภารกิจ 10 ขั้น ของ Top Trader นักเทรดมืออาชีพ

\

ภารกิจ 10  ขั้น ของ Top Trader
นักเทรดมืออาชีพ

เนื้อหาแปลจากบท Trader Psychology and Mental Disciplines
 หนังสือ The three skills of top trading
โดย Van K. Tharp, PHD และ Henry O. Preden, Ph.D.


เป้าหมายของไอเดียนี้คือ การสร้างต้นแบบ หรือ คัดลอกการเทรดที่ประสบความสำเร็จ
สิ่งแรกและสำคัญที่สุดในแง่มุมของการสร้างต้นแบบคือ การจำแนกภารกิจ เพื่อกำหนดงานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่คุณต้องการสร้างให้เป็นต้นแบบ
ถ้าคุณทำมันได้ซ้ำๆและต่อเนื่อง มันจะกลายเป็นนิสัยเดียวกับที่ Top trader เขามีกัน
ซึ่งคุณมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จแบบขาได้แน่

อย่างไรก็ตาม, ก็ไม่น่าเชื่อเลยว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่หรือแม้แต่กูรูออนไลน์บางคน, ไม่รู้ว่างานเหล่านั้นคืออะไรบ้าง เมื่อคุณมีโอกาสถามพวกเขา ก็จะได้คำตอบประมาณนี้:
- ฉันไม่รู้หรอก ฉันเทรดเมื่อรู้สึกว่ามันถูกต้อง มันเป็นกึ๋นล้วนๆ
- อืม..ฉันตื่นขึ้นมาตอนเช้า, ทำสิ่งอื่นๆจนกระทั่งตลาดปิด, แล้วก็เปิดคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็เข้ามาผ่านโมเด็ม คอมฯก็วิเคราะห์ให้, ออร์เดอร์ออกไปยังเน็ทเวิร์คของโบรคเกอร์, แล้วฉันก็ทำสิ่งอื่นๆต่อ มันจะมีผลตามที่ฉันทำ, คือการวิเคราะห์งาน
- สูตรที่ฉันทำก็คือการมองหา x, y และ z เมื่อฉันเห็นรูปแบบที่ใช่, หากตลาดวิ่งมาถึงจุดเข้า, ก็ลงมือทันที



การตอบสนองเหล่านี้เป็นเพียงรายละเอียดของงานที่เกี่ยวข้องกับการเทรดเท่านั้น....
ต้นแบบต่อไปนี้คือจุดเริ่มต้นของการขึ้นโมเดลสำหรับการทำความเข้าใจการเทรดที่ประสบความสำเร็จ

ภารกิจสิบขั้น
ภารกิจทั้งสิบในโมเดลนี้, จะเป็นดังรูปข้างล่าง ทั้งหมดนี้เปรียบได้กับพราน,นักล่า หรือนักรบ ตัวอย่างเช่น, ในหนังสือ The art of war “ซุนวู” ชี้ว่า ในการรบนั้น-ผลชนะเกิดก่อนที่จะเริ่มรบกันเสียอีก

ลองคิดถึงนัยของประโยคนี้ให้ดี ในเคสของการเทรดนั้น, มันหมายถึงสภาวะทางใจของคุณและการเตรียมตัวตัดสินใจล่วงหน้า ไม่ว่าคุณจะกำไรหรือขาดทุนในการเทรด "ก่อนที่คุณจะลงเงินจริงด้วยซ้ำ"

บางทีประโยคนั้นมันดูทื่อนิดหน่อย แต่ผมเชื่อว่าสภาพจิตใจของคุณ และการเตรียมตัวไม่ว่าคุณจะกำไรหรือขาดทุน ประโยคนั้นก็ยังชี้ความสำคัญสำหรับช่วงแรกของการเทรดที่ประสบความสำเร็จ,
ภารกิจที่เรียกว่า การวิเคราะห์ตัวเองรายวัน


The Ten Task of Top Trading
Daily Self-Analysis

วิเคราะห์ตัวเองรายวัน, ในการเทรดให้ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วย
๑) การจำกัดความเสี่ยง 40% และ
๒) การควบคุมตนเองอีก 60%
การจำกัดความเสี่ยง แบ่งเป็น Money management กับ market analysis ซึ่ง market analysis จะมีผลแค่ 20% ของความสำเร็จแท่านั้นเอง

แต่กระนั้น, เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่กระบวนการของ market analysis แล้วมองข้ามเรื่องราวการควบคุมความเสี่ยง รวมถึงควบคุมตนเองไปเสีย

หากท่านต้องการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ ต้องพลิกกลับมาให้ความสำคัญกับการควบคุมความเสี่ยงรวมถึงควบคุมตนเองมาไว้เป็นอันดับแรก

ในการเทรดนั้นมันครอบคลุมถึงสมรรถนะของมนุษย์, ซึ่งมันสามารถวัดได้ในรูปแบบของกำไรและขาดทุน คุณไม่สามารถปกปิดแร็คคอร์ดได้หรอกนะ สมรรถนะของคุณคือกำไร, จุดคุ้มทุน, หรือขาดทุน

นับตั้งแต่ "ตัวคุณ" คือปัจจัยที่สำคัญสุดในการสร้างสมรรถนะของตัวคุณเอง, มันไม่เมคเซนส์มากพอที่จะใช้เวลาส่วนหนึ่งเพื่อวิเคราะห์ตัวเองหรอกหรือ?
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเขาจะทำสิ่งนี้ในจิตใต้สำนึกเลยล่ะ ดังนั้นหากเราอยากก้าวหน้าเหนือคู่แข่ง ก็ต้องเริ่มทำการวิเคราะห์ตัวเองให้ได้ทุกวัน

อาจเนื่องด้วยความเครียด หรืออะไรก็ตามที่มันฉุดดึงประสิทธิภาพการเทรดของคุณ มันอาจส่งผลต่อความสูญเสียเงินของคุณ ถ้าคุณไม่ได้แบ่งเวลาวิเคราะห์ตัวเองก่อนจะเข้าเทรด ว่าพร้อมหรือไม่ จึงไม่ต้องสงสัยเลยทำไมถึงขาดทุนกันได้ง่ายดายนัก

วิธีวิเคราะห์ตัวเองแบบง่ายๆคือ ให้คะแนนตัวเองจาก 1 (เลว) - 8  (ดีที่สุด) ก่อนเริ่มเทรดในแต่ละวันควรทำสมาธิสัก 30 วินาทีเพื่อเข้าไปถึงภายในของตัวเองและวัดความรู้สึกในวันนี้ แล้วให้คะแนน เชื่อเถอะถ้าคุณได้ทำมันไปสักระยะคุณจะแปลกใจที่ได้เห็นพัฒนาการของตัวเอง


Daily Mental Rehearsal
หมั่นฝึกซ้อมการเทรดในใจทุกๆวัน หนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญสุดเพื่อพัฒนาสมรรถนะของมนุษย์คือฝึกซ้อมในใจ(Mental rehearsal)

การเทรดก็ไม่มีข้อยกเว้น   นึกภาพนักแม่นปืนระดับท็อปสิ เขาต้องฝึกยิงในใจนับไม่ถ้วนก่อนแข่งจริง
นักกีฬาระดับหัวกระทิก็ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นนักกรีฑา มืออาชีพถึงนักกัฬาโอลิมปิค ล้วนก็มีกระบวนการนี้ทั้งสิ้น การฝึกซ้อมในใจจะอนุญาติให้คุณวางแผนล่วงหน้าถึงวิธีการที่คุณจะนำมันไปช่วยในการเทรดอันจะช่วยให้การเทรดเป็นไปอย่างอัตโนมัติ มันจะช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับปัญหาและพัฒนาวิธีการแก้ไขข้อยุ่งยากนั้น

เทรดเดอร์ชั้นยอดบางคนถึงกับใช้เวลา 60 นาทีเพื่อฟังเทปที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเนื้องานและปรับสภาพจิตใจที่เหมาะสม บางคนก็ฟังเพลงหรือดนตรีเพื่อทำสมาธิ ก่อนเข้าเทรด




Developing a Low-Risk Idea
พัฒนาไอเดีย(การเข้าเทรด)ให้เสี่ยงน้อยลงกว่าเดิม “นักล่า” จำ เป็น ต้องรู้ตำแหน่งของ “เหยื่อ” แหล่งน้ำที่เหยื่อใช้ดื่มกิน และนิสัยของพวกมัน เมื่อนักล่ามีข้อมูลนั้น เขาสามารถผ่อนคลายจนกระทั่งเหยื่อปรากฎตัว

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ จะเริ่มต้นจากการสะสมข้อมูลของตลาด มองดูแพทเทิร์นที่แตกต่างของชาร์ทและอินดิเคเตอร์ที่เจาะจง จากนั้นก็มีการคาดเดาทิศทางของราคาในอนาคต แล้วเฝ้าดูและภาวนาให้ตลาดวิ่งไปตามทิศทางที่มองไว้

อย่างไรก็ตาม, พวกเขาไม่ได้คิดถึงความน่าจะเป็นของชัยชนะและแพ้ หรือจำนวนเงินที่เกิดจากผลนั้น
พูดง่ายๆคือ, เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้เวลาส่วนใหญไปกับ “การวิเคราะห์ตลาด” โดยไม่ได้สนใจเรื่อง “การเทรดที่เสี่ยงน้อย” เลย
ใช่...พวกเขาให้ความสำคัญผิดจุด

เมื่อเทรดเดอร์ผู้ประสบความสำเร็จวิเคราะห์ตลาดในทิศทางที่แตกต่างกัน ลักษณะของการวิเคราะห์นั้นจะไม่สำคัญเลยกระทั่งมันช่วยลดความเสี่ยงลง ถ้าการวิเคราะห์ตลาดนั้นได้โฟกัสที่การพัฒนาไอเดียอันจะลดความเสี่ยงได้ งานของคุณถึงมีประโยชน์ในภาคของการทำเงินแบบเทรดเดอร์
นักค้าหุ้นส่วนใหญ่วิเคราะห์ตลาดเพื่อคาดคะเนราคาเป้าหมาย แต่เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จจะใช้เวลากับการคาดเดาราคาน้อยมาก,  มันจะมีความจำเป็นอะไรถ้าหาราคาเป้าหมายได้, แต่ทว่าความเสี่ยงมันปกคลุมความต้องการของคุณไปหมด
มีหลายภารกิจที่จะพัฒนาไอเดียการเข้าเทรดที่เสี่ยงต่ำ

งานแรกคือ รวบรวมข้อมูล (เช่น บันทึกจุดสูงสุด-ต่ำสุด ราคาเปิด-ปิด วอลุ่ม อัตราส่วนการเพิ่มขึ้นและลดลงของราคา อินดิเคเตอร์ ฯลฯ) มันรวมถึงการโยกย้ายข้อมูลไปใส่ในชาร์ท ในคอมพิวเตอร์ หรืออืนๆ
งานที่เหลือรวมถึงการ Brainstorm อย่างสร้างสรรค์ และ ความเสี่ยงที่อยู่เบื้องหลังไอเดียนั้น
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะรวบรวมข้อมูลและกระโดดไปสรุปในเวลาเดียวกัน นั่นอาจจะทำให้คุณมีอคติได้ จึงควรรวบรวมข้อมูลของการวิเคราะห์ตลาดให้หมดก่อน-แล้วจึงค่อย brainstorm

ทุกครั้งที่คุณสร้างไอเดียขึ้นมาก็ให้ระบุความเสี่ยงที่อยู่เบื้องหลังไอเดียนั้น อย่ารีบสรุปจนกว่าจะจบขั้นตอน

อย่าให้ความเห็นของคนอื่นมารบกวนขณะพัฒนาไอเดียที่เสี่ยงต่ำ ความคิดของคนอื่นอาจเร่งให้คุณกระโดดข้ามขั้นตอนไปสรุปทันที

อย่าลืมบันทึกไอเดียนั้นทันที มันจะให้ข้อมูลที่มีค่าในอนาคต เมื่อมีไอเดียที่เสี่ยงต่ำงานต่อไปคือการติดตามไอเดียนั้น



Stalking(แกะรอย)
การแอบตามรอย, ลองนึกภาพว่าหลังจากที่คุณได้พัฒนาจุดเข้าที่เสี่ยงต่ำและต้องการเข้าเทรด คุณมีสองทางเลือกคือ กระโจนเข้าตลาด หรือพยายามหาราคาที่ดีสุดเท่าที่จะทำได้โดยทำตัวเป็นนักเดย์เทรด

ความสำคัญของการตามรอยคือหาราคาที่ดีที่สุดเพื่อเข้าเทรด พูดอีกอย่างว่าการตามรอยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมความเสี่ยง ชนิดหนึ่งนั่นเอง

คิดถึงภาพนักล่า(Predator) ที่ตามรอยเหยื่อของมัน คุณเคยเฝ้าดูแมวทารกไล่ล่านกมั้ย? พอมันมองเห็นนกแล้วก็วิ่งไล่ตาม นั่นทำให้นกตระหนักภัยอย่างมาก ดังนั้นแมวจึงมีโอกาสจับนกได้น้อยมากนอกจากนกจะบินมาหามันโดยตรง

ในทางตรงกันข้ามกับแมวผู้ใหญ่ เมื่อมันตามรอยนก, มันจะรอจนกระทั่งนกเข้ามาอยู่ไกล้มันมากพอที่การฆ่าให้ตายหรือทำให้สลบได้ในครั้งเดียว แมวผู้ใหญ่จะใช้พลังงานน้อยกระทั่งมันรู้ว่ามีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ

ท็อปเทรดเดอร์ก็ชอบที่จะอุปมาการล่าสัตว์เพื่ออธิบายสิ่งที่เขาทำ หนึ่งในนั้นอ้างว่าตัวเองเป็นเสือชีตาร์ แม้เสือชนิดนี้จะวิ่งเร็วกว่าสัตว์ทั้งหลาย กระนั้นก็ยังคงแอบตามรอยเหยื่อของมัน มันจะไม่ยอมโจมตีหากไม่ได้มีเปรียบเหนือเหยื่อ

อีกอย่าง, ชีตาร์มักจะชอบรอสัตว์ที่อ่อนแอหรือขากะเผลกเพื่อเข้าถึงตัว เทรดเดอร์ระดับท็อปบางคนบอกว่าเขาเทรดเหมือนสิงโต ที่เฝ้าติดตามฝูงสัตว์เป็นสัปดาห์กระทั่งมีบางสิ่งที่นอกเหนือจากการอยู่ของมันเป็นเหตุให้ฝูงสัตว์ตื่นตระหนก เมื่อสัตว์ตกใจสิงโตจะวิ่งไล่เหยื่อที่อ่อนแอหรือขากะเผลกซึ่งแสดงออกอย่างสับสน

ไม่มีความแตกต่างระหว่างพรานที่เก่งกาจกับสัตว์ที่มีทักษะสูงอย่างชีตาร์หรือสิงห์โตผู้ฉลาดแกมโกง นั่นคือพรานทักษะสูงจะเฝ้ารอจนกระทั่งมีความได้เปรียบตามความต้องการก่อนลงมือ

Stalking หมายถึงการสร้างความมั่นใจว่ามีความได้เปรียบโดยมาจากการใส่ใจในไทม์เฟรมระยะสั้นที่เป็นไปได้สำหรับคุณ มันหมาย ความถึงคุณต้องจำกัดวงโฟกัสให้แคบเพื่อหาจุดเข้าที่ดีสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในวันนั้น

Stalking มีความแตกต่างสำหรับคนส่วนใหญ่เพราะมันต้องการสภาพจิตใจที่แตกต่างอย่างมากมายกับสภาพจิตใจที่ต้องการในกิจข้อถัดไปคือช่วงของการฝึกฝน

สภาพจิตใจสำหรับการแอบตามรอยของคุณนั้น, มันรวมถึงขอบเขตของการโฟกัส,ไทม์เฟรมที่เคลื่อนตัวช้ากว่า, การเอาจริงเอาจัง คุณภาพเหล่านี้แตกต่างกันอย่างตรงกันข้ามกับสภาพจิตใจของคนที่ต้องใช้เพื่อพัฒนาไอเดียอันเสี่ยงต่ำเกี่ยวกับตลาด

หลังจากได้วิเคราะห์ตลาดไปแล้ว, เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะคึกและพร้อมเข้าเทรดทันทีเพราะกลัวตกรถ แต่การทำแบบนั้น, พวกเขาไม่ได้พลาดโอกาสเลย แต่กลับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงเนื่องจากพวกเขากำลังฝึกซ้อมมากกว่าการตอบสนองต่อสภาพตลาดที่แท้จริง

เมื่อคุณทำการ Stalking คุณต้องเข้าไปอยู่ในกระแสการไหลของตลาด ต้องรู้สึกไวต่อพิสัยการชี้นำ ตลาดส่งสัญญาณให้คุณอย่างมาก มาย หากคุณใส่ใจ เรียนรู้วิธีการอ่านและตีความการชี้นำเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด



Action(เข้าทำ)
ระยะนี้เป็นแค่การลงมือทำทันที แต่ต้องแม่นยำ คุณต้องแข็งขัน, กล้า และคึกคัก ...คุณแค่ทำมัน เทรดเดอร์ต้องมีความเร็ว, แม่นยำ, และโฟกัส - ต้องทำเร็วหรือไม่ก็พลาดโอกาส
ระยะการเข้าทำนี้ต้องแข็งแกร่งและเข้มข้น ผลสะท้อนที่อ่อนแอจะไม่ทำให้งานลุล่วงไปได้ เพราะมันขาดความมุ่งมั่นที่จำเป็น นึกภาพสิ่งที่เกิดขึ้นถ้าสิงโตหรือเสือโจมตีเหยื่อล้มเหลว-คำตอบนั้นง่ายมากคือมันยังคงหิวต่อไปอีกวัน

การลงมือนั้นยังรวมถึงความมุ่งมั่นในการเข้าตลาดเพื่อทำการเทรด ถ้าเทรดเดอร์ทำภาระสามลำดับแรก(Daily Self-Analysis, Daily Mental Rehearsal, Developing a Low-Risk Idea) สำเร็จ แล้วเขาจะรู้ผลพวงของความมุ่งมั่น รู้ว่าพร้อมแล้ว รู้ว่าจะขาดทุนได้สูงสุดเท่าไหร่และกำไรที่มีศักยภาพอันควรได้  เขารู้ว่าความเสี่ยงเป็นตัวครอบงำสิ่งที่เขาโปรดปราน, และผลที่ตามมาคือ-ความมุ่งมั่นนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมาก

Action ต้องการความแม่นยำสุดๆ ทั้งคุณและเหยื่อของคุณนั้นเคลื่อนที่รวดเร็วมากถ้าคุณไม่แม่นยำสุดๆแล้วคุณมีโอกาสแพ้ คุณอาจมีโอกาสบาดเจ็บ ความแม่นยำอาจจะไม่ใช่ปัญหา, แต่อย่างไรก็ตาม,ถ้ามันเป็นการฝึกฝนที่ระมัดระวังและฝึกฝนเพื่อความก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น,เขียนลำดับขั้นตอนล่วงหน้า อ่านมันให้โบรคเกอร์ฟังด้วยสำเนียงที่ชัดเจน ให้โบรคเกอร์อ่านมันกลับให้คุณฟังหลังจากคุณจบและถึงเวลาที่จะคอนเฟิร์ม

ความขัดแย้งระหว่างความต้องการสำหรับการตามรอยและการลงมือทำ คือการเร้าอารมณ์ที่เทรดเดอร์ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างฉับพลัน พวกเขาทั้งกระตุ้นและเตรียมตัวเพื่อลงมือ หรือพวกเขาระมัดระวังและคอยเฝ้าดูทุกพฤติกรรม ผลที่ตามมาคือพวกเขาแต่ละคนลงมือเทรดอย่างทันทีและเพิ่มความเสี่ยงในสถานการณ์, หรือพวกเขาเพ่งความสนใจในการเข้าถึงการเทรดที่ดีสุดเท่าที่จะทำได้ และจบลงด้วยการคว้าน้ำเหลว



Monitoring(เฝ้าติดตาม)
เมื่อเทรดเดอร์มี position ในตลาดแล้ว เขาต้องมีการเฝ้าสังเกตุการณ์ โดยธรรมชาติของขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับไทม์เฟรมที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อดูแล position นั้น สำหรับเดย์เทรดเดอร์ระดับท็อป ช่วงของการตามรอย, เฝ้าสังเกตุการณ์, ทำกำไร, และยกเลิก ค่อนข้างเป็นวงรอบ เดย์เทรดเดอร์อาจมีหลาย position ในแต่ละวันและอาจทำหลายภารกิจร่วมกัน ทว่าแต่ละภาระต้องมีการเปลี่ยนสถานะทางจิตใจจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ขาดทุน

ในทางตรงข้าม, โพสิชั่นเทรดเดอร์ระดับหัวกระทิ จะรอโอกาสที่เป็นพิเศษและและอนุญาติให้พวกเขามั่นใจ ผลที่ตามมาคือกระบวน การเฝ้าสังเกตุจะมีความผ่อนคลายกว่า แม้กระนั้นก็ตาม,ความใจเย็นก็สามารถทำลายกระทั่งเทรดเดอร์ที่ถือระยะยาวได้

การเฝ้าสังเกตุประกอบด้วย 2 ภารกิจย่อย ซึงจำเป็นสำหรับเทรดเดอร์ที่มีไทม์เฟรมที่ยาวกว่า
ภารกิจแรก คือ Detailed monitoring การการเฝ้าสังเกตุในรายละเอียด, ซึ่งคล้ายกับการแกะรอย มันครอบคลุมถึงการใส่ใจในรายละเอียดในการกระตุกของตลาดเพื่อให้พร้อมสำหรับการลงมือโดยการเพิ่ม position , ยกเลิก หรือทำกำไร โดยในอีกมุม,เมื่อตลาดเคลื่อนที่ไปตามความต้องการในไทม์เฟรมระยะยาว, เทรดเดอร์ก็จะถอยออกมาจากตลาดไปยังภาพรวม ดังนั้นภาระที่สองก็จะเรียกว่า overview monitoring การเฝ้าสังเกตุภาพรวม

Detailed Monitoring เริ่มหลังจากการเปิด position, เมื่อตลาดเคลื่อนที่ในทิศทางที่ตั้งใจไว้ แต่หากตลาดวิ่งสวนทางคุณก็ไม่ควรถือมันต่อ ด้วยเหตุผลนี้, เทรดเดอร์ต้องการความสนใจอย่างไกล้ชิดต่อสภาพตลาด เขาควรเตรียมพร้อม, ตื่นตัว และมีความระแวง

Overview Monitoring ในขณะที่ overview monitoring เทรดเดอร์ควรโฟกัสแบบกว้างๆและถอยห่างออกจากตลาด มองป่าทั้งป่าแทนที่จะมองรายละเอียดของต้นไม้ ใช้ความอดทนและใจเย็น

ความผิดพลาดที่เกิดในช่วงนี้คือการมองข้อมูลที่เข้าข้างตัวเองและบิดเบือนตามความคาดหวัง เป้าหมายของการเฝ้าดูคือการหาสัญญาณของตลาด เทรดเดอร์ที่ตีความสัญญาณให้เป็นไปตามความคาดหวังของตัวจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากช่วงนี้ได้

ตลอดช่วงของ Overview monitoring นี้ถือเป็นการสำรวจ เป็นการเปรียบเทียบภาวะตลาดกับสิ่งที่เขาได้วางแผนเอาไว้ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนก็จะเป็นภาวะที่ผ่อนคลาย

ระยะของการเฝ้าดูถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมความเสี่ยง ถ้ามันดูดีก็ถือต่อแบบสบายๆเพราะมันเป็นไปตามที่ต้องการ แต่หากตลาดลงไปถึงแนวรับของ position เทรดเดอร์ควรเปลี่ยนระดับ stop เพื่อลดความเสี่ยงหรือล็อกกำไร ในอีกด้าน,ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น, ถ้าพฤติกรรมตลาดไม่สามารถคาดการณ์ได้ หรือถ้าเทรดเดอร์ไม่แน่ใจ , เวลานั้นก็ควรออกจากตลาด, รีบตัดการสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด


Abort(เลิกภารกิจ)
มีสองระยะที่เกิดขึ้นหลังจากการเฝ้าดู คือ ระยะที่คล้ายกับการลงมือทำ(action) และคล้ายกันมากกับภาระของการเปิด position ระยะที่ว่านี้คือ การล้มเลิก(abort) หรือทำกำไร(take profit) บางคนอาจแย้งว่าระยะเหล่านี้ควรรวมถึง "การค้นหาโอกาสที่ถูกต้องเพื่อลงมือทำ(acting)อะไรสักอย่าง

การพัฒนาไอเดียที่มีความเสี่ยงต่ำและหาทางวางแผนเกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงของตัวคุณเอง ในการดำเนินการเทรดนั้น,กฎทองของมันก็คือ "ตัดขาดทุนให้ไวที่สุดและปล่อยให้กำไรโต" การควบคุมความเสี่ยงมันรวมถึงการล้มเลิกและการทำกำไรภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะทำตามความเชื่อหนึ่งในสามหรือทั้งหมดเกี่ยวกับการยกเลิก position

ความเชื่อ 1) ถ้าตลาดวิ่งสวนทางแผนของคุณ, คุณต้องรีบออกทันที ต้องไม่เสียเยอะ เทรดเดอร์บางคนเข้าเทรดพร้อมกับตั้ง stop ใว้และออกเมื่อมันชน stop นั้น แต่ก็ยังมีเทรดเดอร์คนอื่นๆที่คาดหวังว่าตลาดจะกลับมาวิ่งในทิศทางที่ตัวเองเปิด position ไว้ ถ้ามันไม่เป็นไปตามคาด,แล้วพวกเขาก็ออก ประเด็นของจังหวะเวลาที่ออกขึ้นอยู่กับปริมาณความสูญเสียมากสุดที่คุณทนได้

อย่างไรก็ตาม, ถ้าการเทรดที่ดีสุดของคุณได้วิ่งไปตามทางที่คุณต้องการอย่างทันควัน, แล้วเมื่อคุณเปิด position แต่จากนั้นตลาดกลับเริ่มวิ่งสวนทางของคุณ, อย่ารอให้มันลงไปถึง stop เพราะถ้ามันไม่เป็นไปตามคาด, มันก็ไม่ใช่เทรดที่ดีสำหรับคุณ ควรรีบออกเพื่อจำกัดความเสี่ยง

ความเชื่อ 2) เมื่อเหตุผลเริ่มต้นสำหรับเทรดใช้ไม่ได้อีกต่อแล้ว, ให้ออกจากตลาด และเมื่อคุณไม่แน่ใจก็ให้ออกจากตลาด 

ความเชื่อที่ 3) เมื่อเวลาไม่เป็นใจ, คุณอาจต้องอยู่ใน position ที่ดีกว่าให้มากที่สุดแล้วก็ออกจากตลาดไปซะ อีกอย่าง, การจะเทรดให้ได้ผลดีที่สุดต้องใช้เวลาและสมาธิอย่างมาก ถ้าคุณไม่มีเวลาก็ไม่ควรเข้าไปซื้อขาย



Take profit(ทำกำไร)
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะวางแผนการเทรดโดยเน้นที่จุดเข้าแต่ไม่สนจุดออก ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงไม่ค่อยพอใจในจำนวนกำไรที่ตัวควรจะได้มากเท่าที่ควร เพราะถ้าไม่ได้วางจุดออกก็จะคำนวน Risk ratio ไม่ได้เลย

ในส่วนของแผนการเทรดเสี่ยงต่ำนั้น ถ้าแผนนั้นให้ผลตอบแทน 50% ต่อครั้งได้  หากคุณสามารถรักษาระดับนั้นได้หลายๆปีต่อเนื่อง ด้วยกำไรทบต้น คุณจะกลายเป็นเทรดเดอร์ที่ดีสุดของโลกได้เลย
ท็อปเทรดเดอร์มีความเชื่อ 4 อย่างเกี่ยวกับการ take profit ซึ่งการขายทำกำไรนั้นมันเปรียบเสมือนทักษะการล่าเหยื่อ เมื่อนักล่าลงมือ-ต้องเร็วและแม่นยำ

ความเชื่อแรก - เมื่อตลาดเปลี่ยนสถานะ ส่งผลให้การเทรดของคุณไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป ก็ได้เวลาขายทำกำไร เลี่ยงความโลภ แค่ทำตามสัญญาณที่ตลาดบอก

ความเชื่อที่สอง - ขายเมื่อตลาดไปถึงเป้าหมาย แต่หากราคาไปไม่ถึงหลักชัยแต่ว่าสถานะเกิดเปลี่ยน-ก็ต้องทำกำไรทันที ถ้าตลาดขึ้นไปถึงเป้า-แนะนำให้ยก stop ตามไปใกล้ๆเป้าหมาย จากนั้นก็ถือรอไปจนกว่าตลาดจะส่งสัญญาณให้ออก

ความเชื่อที่สาม - ขายทำกำไรเมื่อราคาสวิงแรงเปลี่ยนแปลงไว อันเป็นสัญญาณของความหวาดผวาของตลาด แม้โอกาสกำไรจะมีเยอะเพราะราคาวิ่งขึ้นแรง แต่ความเสี่ยงก็แยะเพราะราคาก็ลงแรงเช่นกัน
ความเชื่อที่สี่ - การเคลื่อนที่ของตลาดหมีมักจะลงหนักแบบสุดหยั่ง และส่วนหนึ่งของความไคลแมกซ์นั้นอาจลงไปทะลุพื้นที่ของเป้าหมายคุณได้ อย่างไรก็ตาม, หากคุณรอจนกระทั่งมันลงจนจบคุณอาจถูกเขย่าขึ้นลงๆจนกว่ามันจบ ด้วยเหตุนี้เอง, เมื่อการเคลื่อนที่แบบนี้ได้เกิดขึ้น คุณควรทำกำไรทันที




Daily Debriefing
บรรยายสรุปผลการเทรดประจำวัน เทรดเดอร์ที่ดีส่วนใหญ่จะทำมันทุกวัน,ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ สิ่งนี้มีความจำเป็นมากสำหรับความคงเส้นคงวา เพราะเป็นระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญระหว่างการเทรดและการก้าวออกจากตลาด

ไอเดียที่อยู่เบื้องหลังการบรรยายสรุปประจำวันคือ เพื่อเป็นกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ ไม่ว่าคุณจะทำผิดพลาดหรือไม่ก็ตามจากการเทรดทั้งวันนั้น ความผิดพลาดหรือหรือแม้แต่ไม่ได้ทำอะไรสักอย่างต่อการขาดทุน การเทรดพลาดนั้นมันมาจากการไม่ทำตามกฎการเทรดและแผนที่วางเอาไว้
ในความเป็นจริง, เทรดเดอร์ควรให้ความสนใจอย่างมากที่สุดต่อความผิดพลาดที่ได้ทำเอาไว้ขณะกำลังทำเงิน

กลับไปอ่านกฎการเทรดของคุณและโน๊ตที่คุณเขียนเอาไว้ตอนที่คุณได้พัฒนาไอเดียที่เสี่ยงต่ำเอาไว้ สิ่งที่คุณควรทำถ้าหากเกิดความผิดพลาดเนื่องจากไม่ได้ทำตามกฎ ก็คือ
- ลำดับแรก, ไม่กล่าวหาตัวเอง-ให้บอกตัวเองว่าคุณ "ควร" จัดการสิ่งนี้ให้เสร็จ หรือคุณ "ต้อง" จัดการสิ่งนั้น แก้ไขไม่ให้ทำสิ่งนั้นซ้ำอีก
- ลำดับที่สอง, ลำดับการเทรดครั้งนั้นในใจอีกรอบ ก่อนที่จะทำผิดพลาด, แล้วคุณก็เข้าถึงจุดที่ต้องเลือกทาง-คุณได้ตัวเลือกทางที่คิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับคุณ
- ลำดับที่สาม, คิดย้อนเวลากลับไปหาจุดที่ต้องเลือกทางและทบทวนทางเลือก
- ลำดับที่สี่, รวบรวมทุกทางเลือกที่เป็นไปได้, กำหนดว่าผลอะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณเลือกทางนั้น ให้แน่ใจว่าคุณมีอย่างน้อยสามทางเลือกและฝึกซ้อมทำในใจไปทั้งหมด คุณจะได้ไม่ติดอยู่ในทางเลือกที่จำกัดหรือทางเลือกที่ถูกบังคับให้ทำ
- ลำดับที่ห้า, เมื่อคุณพบทางเลือกอย่างน้อยสามทางพร้อมกับผลที่พอใจ, การฝึกซ้อมในใจจะเป็นผลดีต่ออนาคตเมื่อคุณพบกับสถานการณ์ที่คล้ายกัน

เมื่อคุณได้วิเคราะห์การเทรดในแต่ละวันของตัวเอง, สรุปมันด้วยการเขียน เขียนความผิดพลาดและทางเลือกใหม่ของคุณสำหรับสถาน การณ์นั้น ข้อมูลที่ถูกเขียนเหล่านั้นจะมีความสำคัญเมื่อคุณเริ่มภารกิจลำดับต่อไปคือ periodic review ของตัวคุณเองและวางแผนเกมเพื่อการเทรด

การบรรยายสรุปประจำวันไม่ควรใช้เวลาเกิน 5 หรือ 10 นาที  เพราะฉะนั้นจึงต้องทำทุกวัน มันเป็นหนึ่งในภาระที่สำคัญที่สุดของสิบภารกิจ ทำมันให้เสร็จ แล้วอย่าไปใส่ใจมันอีก เพราะวันพรุ่งนี้คือวันซื้อขายใหม่หมดจด



Periodic Review
ทบทวนเป็นช่วงๆถึงสิ่งที่คุณทำ เมื่อตลาดเปลี่ยนคุณก็ต้องเปลี่ยนตาม ด้วยเหตุผลนี้, คุณต้องการความมั่นใจว่ากฎของคุณเองยังคงเหมาะสมสำหรับคุณและตลาด  เมื่อคุณพัฒนาแผนธุรกิจที่สมบูรณ์, ไม่แนะนำให้คุณเปลี่ยนกฎเพื่อเร่งโอกาสหรือไม่ได้ทบทวนอย่างทั่วถึง

ในวันที่คุณทำ Periodic Review คือมันถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนกฎ ต้องเป็นเวลาที่ไม่ได้อยู่ในตลาด เพราะไม่ควรทำในเวลาเดียวกัน

ความถี่ในการทำ Periodic Review ขึ้นอยู่กับไทม์เฟรมของคุณที่ใช้ในการเทรด  ถ้าคุณเทรดหลายรอบในหนึ่งวัน ก็ควรรีวิวกฎทุก 3-4 สัปดาห์ ถ้าคุณเทรด 3 หรือ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็ควรรีวิวทุก 3-4 เดือน
เมื่อคุณทำ Periodic Review, อย่างแรกคือคุณต้องเขียน Daily Debriefing เสร็จเสียก่อน เมื่อข้อมูลนั้นยังสดใหม่อยู่ในใจคุณ ให้เข้าถึงแผนธุรกิจของคุณอย่างเป็นขั้นตอน คุณต้องการทบทวนบันทึกการเทรดและระบุจุดแข็งจุดอ่อน ใช้เวลาทั้งวันเพื่อทำ Periodic Review มันเป็นส่วนสำคัญของการรักษาความคงเส้นคงวา


(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ



www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่