จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

สรุปรายบทในหนังสือหุ้นซิ่ง สวิงเทรด

จากโพสต์ที่แล้ว ผมได้ทำบทความ สรุปหนังสือ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด ที่เขียนถึงที่มาของหนังสือ
ก็ยังมีอีกบทความที่ผมอยากนำเสนอคือ เนื้อหาสรุปของแต่ละบท ว่ามีที่มายังไง ทำเพื่ออะไร มีตอนย่อยเขียนถึงอะไรบ้างแทรกอยู่ เนื่องจากพบว่าหนังสือแต่ละเล่มเขาอุทิศหน้ากระดาษเพื่อใส่รายละเอียดของสารบัญไว้ละเอียดมาก คือเขาจัดเต็มและให้ความสำคัญกับสารบัญมาก เพราะมันเป็นหน้าตา เป็นหนังตัวอย่างที่บอกภาพรวมของเล่มนี้ว่ามีดีตรงไหนบ้าง

 แต่มาดูตัวเองใส่แค่หน้าเดียว ก็เลยอยากเอาอย่างเขาบ้างครับ จึงขอนำเสนอรายละเอียดที่เป็นตอนย่อยแต่ละบทให้ท่านทราบว่าหนังสือที่หนาเกือบๆ 400 หน้า ผมได้ใส่ข้อมูลอะไรเข้าไปให้ท่านอ่านบ้าง


ที่มาของการเขียนเล่มเขียวนี้ ก็มาจากความต้องการเจาะลึกขั้นตอนในการดูจังหวะซื้อและขายครับ
เพราะผมเองตอนแรกๆที่เข้ามาเล่นหุ้นนั้น อ่านหนังเทคนิคอลหรือบทความแนะนำการเทรดทำเงินแล้วทำตามแบบผิดๆ เพราะรายละเอียดไม่ลงลึก ผู้เขียนอธิบายเป็นภาพกว้างๆ ยกเฉพาะเคสที่สำเร็จ (ซึ่งมีน้อยมาก) ส่วนเคสที่ล้มเหลวนั้นไม่เอามาให้ดู ทำให้เราผู้เป็นมือใหม่หลงคิดไปว่าทุกสูตรที่ได้จากหนังสือหรือบทความนั้นต้องเป๊ะ เกิดอคติไม่ยอมตัดขายขาดทุนตั้งแต่เนิ่นๆ กว่าจะตัดใจขายได้ ก็เกิดความเสียหายไปมากมายแล้ว

พอผมได้มาเขียนหนังสือเอง จากความผิดพลาดที่ตัวเองเจอและเจ็บมามากมาย
จึงตั้งใจที่จะเขียนหนังสือเทคนิคอลแนวใหม่ คือบอกให้ท่านรู้ว่ามีทั้งเคสที่ตรงสูตร และหลอก ท่านต้องระวัง เอามาให้ท่านดูโดยไม่หวงหน้ากระดาษ

เพราะแท้จริงแล้วท่านสังเกตมั้ย ว่าหนังสือเทคนิคอลมันก็มีเนื้อหาวนๆเวียนๆ เขียนถึงแต่เรื่องเดิมๆ
ความต่างก็คือการนำเสนอของผู้เขียน ว่าเขามีประสบการณ์จริงมากน้อยแค่ไหน
ซึ่ง เซียว จับอิดนึ้ง คนนี้ ผ่านมาทั้งการเทรดที่ล้มเหลว และได้ชัยชนะครับ เจ็บหนักมาเยอะ
จึงมีแนงทางการเขียนที่ต่างออกไป คือบอกท่านหมด ว่ามีข้อดี ข้อเสียตรงไหน ให้ท่านระวัง
เป็นการปล่อยของไม่มีกั๊กจริงๆ เพื่อให้ท่านได้ข้อมูลที่รอบด้านที่สุดครับ

ต่อไปนี้คือสารบัญ ในหนังสือครับ เป็นการบอกว่าในบทนั้นเขียนถึงเรื่องอะไร


ซึ่งตอนนั้นผมทำแค่หัวข้อเอาไว้เท่านั้น เพราะตั้งใจจะอัดเนื้อหาให้อ่านแบบจัดหนัก ทำให้ละเลยตอนย่อยในหนังสือที่น่าสนใจไปมากมาย ด้วยความที่เสียดาย อุตส่าห์เขียนเพิ่มเสียมากมายก็เลยขอถือโอกาสนี้บอกให้โลกรู้ ว่าผมแอบหยอดอะไรลงไปบ้าง

เดี๋ยวจากนี้ ผมจะเผยเนื้อหาสรุปของแต่ละบทให้อ่านกัน
บทที่ 00 : Swing Trade
เป็นการเกริ่นสรุปใจความทั้งหมดของหนังสือครับ




ก็ออกจะตัวเล็กไปหน่อยนะ เพราะอยากให้ท่านเห็นเต็มๆหน้า ก็เลยต้องย่อส่วนจากหน้าจริง

เริ่มที่บทแรก : Swing Trade
เป็นการให้คำจำกัดความ การเล่นหุ้นแบบ swing trade ที่ผมอยากนำเสนอให้อ่านในเล่มนี้ครับ
ก็เป็นการเริ่มต้นตั้งแต่

๑) Swing Trade คืออะไร เล่นยังไง
๒) วิธีการเล่นสวิงเทรดแบบคลาสสิค คือซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน
๓) สูตรการ Swing trade แบบ IBD (สำนักปู่โอนีล)
๔) สูตรการ swing trade ของลุง Oliver Velez
๕) สูตรการ swing trade ของลุง Dave Laundry
๖) สูตรการ swing trade ของลุงโฉลก
๗) สูตรการ swing trade ของโมเมนตัม มาสเตอร์


บทที่ 2 : EMA Swing Trade
เป็นการเอาเส้นค่าเฉลี่ยมาใช้รันเทรนด์ระยะสั้น เพื่อสวิงเทรดครับ คือเราจะไม่เล่นสั้นจบในวันแบบ day trade แต่จะถือไปจนราคาหมดแนวโน้มระยะสั้น ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันจะจบเมื่อไหร่ หากเห็นแท่งราคาหลุดทะลุเส้น EMA ลงไป ก็ขายเมื่อนั้น วิธีการนี้จะดีกว่า day trade เพราะว่าเรามีโอกาสได้กำไรมากขึ้นครับ คือไม่เน้นเอากำไรช่องสองช่อง แต่จะเอาหลายเปอร์เซ็นต์ 
ดังนั้น แนวทางที่จะทำให้เรารันเทรนด์ได้กำไรอย่างสบายๆก็คือ เน้นเล้นหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยก็ทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างดีเยี่ยมครับ เพราะมันจะใช้ได้ประโยชน์ที่สุดก็ต่อเมื่อมีแนวโน้มที่เด่นชัดเท่านั้น

 ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยที่จะใช้รันเทรนด์ก็จะมีตั้งแต่ EMA5, 10, 20 เป็นหลักครับ

บทที่ 3 : Moving Average คืออะไร
ก็เป็นการให้ข้อมูลที่มาของเส้นค่าเฉลี่ยครับ ซึ่งจะเน้นที่ EMA เป็นหลัก
จากนั้นก็จะเป็นการเอาเส้นค่าเฉลี่ยไปใช้กับการเคลื่อนไหวของราคาครับ คือใช้แบ่งแนวโน้มให้ท่านเห็นภาพชัดขึ้น ตั้งแต่
๑) แบ่งแนวโน้ม
๒) บ่งบอกสุขภาพของแนวโน้ม
๓) ใช้เป็นแนวรับแนวต้าน
๔) ใช้กับนักลงทุนต่างประเภท เล่นสั้นใช้เส้น 5,10, 20 กลาง 50, 100 ยาวก็ใช้ 200
๕) เป็นเส้นแบ่งนรกสวรรค์ ยังไง? ต้องไปอ่าน

บทที่ 4 : The Trend is Your Friend
แนวโน้มคือเพื่อคุณ , เล่นตามแนวโน้ม คุณถึงจะทำเงินได้ง่าย เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเขาบอกตรงกันเป็นเสียงเดียว แล้ววิธีการดูแนวโน้มอย่างง่ายๆ เขาทำยังไงกัน?
ก็อาศัยเส้นค่าเฉลี่ยนี่แหละครับ
๑) ลักษณะของแนวโน้มขาขึ้น ดูยังไง?
๒) ลักษณะของแนวโน้มขาลง ดูยังไง?
๓) การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเพื่อเช็คแนวโน้มขาขึ้น
๔) การเช็คแนวโน้มด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเส้นเดียว ทำยังไง? บอกเลยว่าตอนนี้แหละที่เส้นค่าเฉลี่ยเกิดมาเพื่อการสวิงเทรดโดยแท้เลยครับ เส้นเดียวเอาอยู่


บทที่ 5 : Market Leader
ว่าด้วยหุ้นนำตลาดครับ มันก็คือหุ้นที่เป็นขาขึ้นหรือหุ้นซิ่ง นั่นแหละครับ เป็นหุ้นที่วิ่งเป็นขาขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าตลาดจะดูไร้ทิศทาง

 แต่หุ้นนำตลาดก็จะแสดงออกถึงความเหนือชั้นกว่าด้วยบุคลิกที่โดดเด่น โดยท่านสามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยเทียบกันได้เลย


บทที่ 6 : Buying Strength - Price Pattern
เป็นแนวทางการซื้อหุ้นเมื่อราคาแสดงออกถึงความแข็งแกร่งครับ ซึ่งมันก็คือตอนที่ราคาได้ breakout ข้ามฐานราคา หรือ continuation pattern นั่นเองครับ ก็จะมีเคสของฐานราคาดังนี้
- flat base
- cup with handle
- inverse head and shoulders
นอกจากนั้นก็จะมีการเอ่ยถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการ buying strength ด้วยว่า
๑) แนวโน้มตลาดและหุ้นต้องแข็งแกร่ง
๒) พื้นฐานต้องแข็งแรงด้วย
๓) แนวทางการเล่นหุ้นจาก top gainer


บทที่ 7 : Buying Strength - Breakout & Gap
เป็นอีกตอนที่แยกออกมาเพื่อให้เห็นการ breakout ด้วยแท่งเทียนเขียวยาว ที่มาพร้อมกับวอลุ่ม ซึ่งเป็นลักษณะของหุ้นซิ่ง หรือ Momentum stocks ซึ่งมันต้องมีส่วนประกอบสองอย่างที่มาคู่กัน คือ
๑) แท่งเทียนเขียวยาว ที่บ่งบอกว่ามีแรงซื้อจากรายใหญ่เข้ามา
๒) จะบอกว่าเป็นรายใหญ่จริง วอลุ่มต้องสูงโดดเด่นด้วย
๒) อีกเรื่องคือวอลุ่มที่เป็น signature ของหุ้นซิ่งคือ เวล่ราคาดีดเขียวขึ้น วอลุ่มต้องพุ่งโดดครับ แต่พอราคาย่อวอลุ่มต้องลดลง ซึ่งถ้ามันจะไปต่อจริง ต้องไม่ออกข้างนาน พักไม่กี่วันก็จะดีดขึ้นไปต่อได้อีก ซึ่งตอนพักตัววอลุ่มก็จะแห้ง แบบชัดเจน
และอีกประเด็นที่ผมอยากนำเสนอให้ท่านได้ระวังมากๆ โดยยกเคสให้ท่านดูก็คือ อย่าเพลินกับหุ้นซิ่งครับ หุ้นบางตัวดีดขึ้นพรวดจบรอบเลย ดังนั้น ท่านต้องเฝ้าระวังรอดูสัญญาณกลับตัวให้ดี ซึ่งในบทนี้จะมีเคสให้ท่านเห็นเป็นตัวอย่างว่า แท่งเทียนจบรอบหน้าตาเป็นยังไง
ก็จะมีเคสทั้งหุ้นราคาแพงและหุ้นต่ำบาทให้ท่านดูด้วย ซึ่งก็จะมีแนวทางการดูที่แตกต่างไป แต่บอกตรงๆว่าเล่นยากเอาการ เพราะโอกาสกับความเสี่ยงนั้นมันไม่ค่อยคุ้มครับ
๓) Breakout Pivot Point เป็นการดูลักษณะการ breakout ที่ฟื้นจากการพักตัวอย่างทรงพลัง
๔) IPO Pivot Point เป็นการดูลักษณะฟื้นตัวพร้อมขึ้นของหุ้น IPO ที่ก่อนหน้านั้นถูกขายแล้วทิ้งให้แช่ออกข้างเป็นเวลานาน ถ้าใครต้องการต้นเทรนด์ของหุ้นชนิดนี้ก็อ่านดูได้
๕) Gap ก็จะเน้น breakaway gap ว่าหน้าตาเป็นยังไง ซึ่งก็จะเป็นเคสใหม่ ไม่ซ้ำจากเล่มก่อน
๖) Earning gap เป็นตอนแถมครับ ทำเพื่อไม่ให้ท่านตกเป็นเหยื่อของการเปิด gap ที่เกิดในช่วงประกาศงบ โดยผมจะยกเคสที่โดน sell on fact ให้ท่านดู มีทั้งล้มเหลว และสำเร็จ

บทที่ 8 : Buying Weakness
สำหรับใครที่สนใจเรื่อง buy on dip, buy pullback บทนี้ผมขอจัดเต็มเพื่อท่านเลย ซึ่งจะเริ่มปูให้ท่านเห็นแนวคิดและจะใส่เคสให้ท่านเห็นในบทต่อไปอย่างมากมาย โดยในบทจะมีตอนย่อยๆดังนี้
๑) Top trader ท่านไหนที่ buying weakness บ้าง เขาใช้เส้นระยะไหนกัน?
๒) แบบไหนจึงเรียกว่าแนวรับ แบบไหนที่เรียกว่าเอาอยู่?
๓) ลักษณะของแท่งเทียนกลับตัวที่น่าสนใจ ที่เราเห็นบ่อยตรงแนวรับหรือเส้นค่าเฉลี่ย
๔) ซื้อตรงไหนดีที่สุด?


บทที่ 9 : เคส buying strength & buying weakness เพิ่มเติม 
ขอจัดเคสให้ท่านได้ดูเพิ่มอย่างสาสมครับ คือยิ่งทำยิ่งเจอ ก็เลยเพิ่มบทนี้เติมให้ท่านอีก
ที่ผมนำเสนอแนวทางการซื้อให้ท่านอ่านสองแบบก็เพราะว่าหุ้นขาขึ้นมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑) ขึ้นแบบฟันปลา คือวิ่งไม่ขาดน่ะครับ พูดง่ายๆ ทรงแบบนี้ follow buy แบบ breakout มีแต่เสียหายครับ ดังนั้นการซื้อแบบ buy weakness จะได้เปรียบ และสบายใจมากกว่า ซึ่งจะเหมาะสำหรับช่วงนี้มาก เพราะ SET กำลัง sideway หุ้นส่วนใหญ่จึงวิ่งขึ้นแบบเขย่า คือเป็นขาขึ้นอยู่ ทรงได้ แต่ไม่วิ่งแรง เพราะคนไม่แน่ใจในสภาพตลาดไง พวกเขาจึงเล่นแบบสวิง ย่อซื้อ เด้งขาย ดังนั้น buy weakness จึงเหมาะมาก
๒) ขึ้นแบบซิ่ง ก็วิ่งขึ้นแบบแข็งแกร่ง ดีดขึ้นแรง พอย่อก็พักออกข้าง วอลุ่มลด แบบนี้ buying strength ได้ประโยชน์ที่สุด แต่ก็สามารถ buy weakness ได้เช่นกัน


บทที่ 10 : Selling into Strength
บทนี้ผมตั้งใจทำให้ท่านที่อีตอนหุ้นขึ้นดีๆไม่กล้าขาย ต้องรอให้เท่าทุนหรือขาดทุนเสียก่อนจึงรู้สึกตัว
ซึ่งจริงๆบอกไว้เลยว่าทำใจยากมาก เพราะมันค้านความรู้สึก แต่เชื่อมั้ยว่า top trader ที่ประสบความสำเร็จเขาทำได้ เขาทำกันจนเป็นนิสัย ซึ่งถ้าท่านทำตามหลักการนี้ได้ ท่านก็จะไม่บ่นให้ได้ยินอีกว่า ซื้อเป็น-แต่ขายไม่เป็น เพราะผมจะยกไอเดียมาให้ท่านดู ตั้งแต่
๑) Selling into strength แบบปู่โอนีล ซึ่งท่านใช้หลักการดู climax run ครับ ซึ่งจะโฟกัสไปที่ลักษณะการเคลื่อนไหวที่รุนแรงผิดปกติ ซึ่งเราสามารถดูลักษณะแท่งเทียนได้


๒) กฎการขายที่ +20% ของปู่โอนีล และพี่มาร์ค
ตรงนี้แหละที่ผมคิดว่ามันเวิร์คมากครับ เพราะหุ้นในตลาดบ้านเรามี superperformance stocks น้อยมาก ส่วนใหญ่จะวิ่งขึ้นแบบชั่วคราวน่ะ คือวิ่งเดี๋ยวเดียวก็จบรอบ ดังนั้นถ้าเราเอาไอเดียนี้เป็นฐาน ก็น่าจะได้เป้าขายอย่างน้อยที่ระดับราคานี้ เพราะนอกจากปู่โอนีลจะใช้ พี่มาร์คก็เอาด้วยครับ นี่เป็นหลักการสวิงเทรดของแกเลย คือจะไม่เน้นรันเทรนด์ระยะยาว ยกเว้นว่าหุ้นตัวนั้นจะมีพื้นฐานและการเคลื่อนไหวที่โดดเด้งจริงๆ คือหุ้นที่จะทำกำไรให้เรา มีอยู่แค่ ๒ ประเภท คือ
- ขาขึ้นแบบธรรมดา มีเกิน 90% ซึ่งเราเล่นเอากำไรระดับ 5-20% พอไหว
- ขาขึ้นแบบยอดหุ้น มีไม่ถึง 10% คือปีนึง มีไม่กี่ตัวหรอก ถ้าเจอทรงสวยก็รันไปให้สุดเทรนด์
๓) สวิงเทรดแบบ IBD ที่เขาเน้นเอากำไรแค่ 5% พอ
๔) Buying wekness & Selling into strength ก็เป็นแนวทางคลาสสิคที่เรารู้จักกัน ซื้อตอนย่อ-ขายตอนเด้ง ซึ่งมันใช้การได้ดีกับแนวทาง +5% ของ IBD อย่างเป๊ะครับ
ใครที่อยากเล่นเก็งกำไรสั้นมาก ผมว่าแนวทางนี้เหมาะกับท่านมากครับ
๔) Most powerful candlesticks reversal เป็นการเอาทรงแท่งเทียนกลับตัวมารีรันให้ดูอีก
๕) Excess phase นี่คือทฤษฎีที่ผมคิดว่ามันเอามาอธิบายแนวทางการ selling into strength ได้ดีที่สุดครับ ก็มาจาก Dow theory นั่นเอง ซึ่งผมจะชี้ให้ท่านดูว่าในระยะนี้ทรงของแท่งเทียนจะเป็นยังไง เพื่อต่อไปท่านจะได้เอาไปสังเกตและลองทดสอบดูครับ
๖) สรุปข้อดีและข้อเสียของแนวทางนี้ ก็แน่นอนล่ะว่ามันก็ไม่ได้เป๊ะ 100% หรอก ผมบอกกับท่านไว้อย่างนั้น ท่านอาจได้ขายหมู แต่ก็กำไรนะ อย่าเสียดายกำไรจนปล่อยให้มันขาดทุนค่อยคิดได้สิ แม้มันจะทำใจยาก แต่ก็ลองทำดูเถอะ ตอนแรกอาจจับจังหวะยาก แต่พยายามลองให้เข้ามือ เดี๋ยวท่านก็จะเทพเอง

บทที่ 11 : Selling wekness - EMA trailing stop
เป็นแนวทางการขายเมื่อหุ้นแสดงออกถึงความอ่อนแอสุดขีดก่อนจบรอบครับ
แนวทางที่ผมแนะนำคือใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นตัวช่วยครับ โดยใช้เป็น trailing stop
ซึ่ง trailing stop ก็มีหลายแบบ
๑) Support trailing stop เอาแนวรับเป็นจุดตัดขาย
๒) Trendline trailing stop เอาเส้นเทรนด์ไลน์เป็นจุดตัดขาย
๓) EMA trailing stop ใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นจุดตัดขาย
ซึ่งผมพบว่าแบบ หนึ่งกับสาม ใช้งานง่ายสุด โดยแบบท้ายน่ะ ง่ายกว่าใคร เพราะเส้นค่าเฉลี่ย ระบบมันทำมาให้ท่านอยู่แล้ว ไม่ต้องไปลากให้เสียเวลา
แต่ปัญหาก็มีนะ คือท่านเถียงอินดิเคเตอร์ ตัดลงแล้วก็ต่อราคา รอดูอีกนิด กว่าจะได้ขายก็โน่น ขาดทุนเป็นสิบเปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้ก็ว่าใครไม่ได้ ปัญหาอยู่ที่ตัวท่านเองแล้วล่ะ


บทที่ 12 : Candlestick Emotion
เป็นบทส่งท้ายในภาคทฤษฎีครับ ก็เป็นการสรุปรวบยอดเรื่องแท่งเทียนอีกรอบ
๑) เทคนิคการอ่านสัญญาณแท่งเทียน
๒) แท่งเทียนกับวัฏจักรราคา แต่ละระยะแต่ละ stage แท่งเทียนควรมีลักษณะยังไง ผมก็จะมโนลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ให้ท่านได้ดูครับ
๓) Big white จิตวิทยาเบื้องหลังของมันคืออะไร
๔) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับการ buying strength
๕) Pocket Pivot Buy Point คือแท่งเทียนแบบไหน
๖) Pivot breakout คือแท่งไหน
๗) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับ buying weakness
๘) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับ selling into strength
๙) Onday reversal = blending candlesticks เป็นการแตกสมการแท่งเทียนครับ ว่าแท่งเดี่ยวนั้นมันมาจากการรวมแท่งเทียนไหนกับตัวไหน จึงได้ออกมาเป็นหน้าตาดังกล่าว
๑๐) Two & three day reversal เอาหน้าตามาให้ดูอีกครั้ง
๑๑) แท่งเทียนที่เหมาะสำหรับ selling weakness เป็นยังไง แท่งไหนที่เป็นพระเอก เห็นหน้าตาแบบนี้แหละออกอาการแน่ๆ เหมือนมวยโดนหมัดน็อค
๑๒) Candlestick entry & sell signal จุดซื้อขายโดยใช้แท่งเทียนประกอบ


บทที่ 13 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA5
ใครชอบหุ้นซิ่ง ผมมีเคสการรันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ยนี้ให้ดูครับ ประกอบด้วยหลายตอน
๑) EMA5 เส้นค่าเฉลี่ยสำหรับ super bullish trend
๒) สาเหตุที่ทำให้ราคาวิ่งแรงเกาะ EMA5 ได้ต่อเนื่อง
๓) เคส Buying weakness ที่โซน EMA5 
๔) แนวทางการขายหุ้นด้วยการใช้ EMA5 ช่วย


บทที่ 14 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA10
เส้นนี้ก็เป็นหุ้นซิ่ง ประกอบด้วยหลายตอนเช่นกัน
๑) ประโยชน์ของเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน
๒) การทนรวยด้วย EMA10
๓) การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 10 วันเพื่อช่วยขายหุ้นของศิษย์ปู่โอนีล 
๔) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA10 กับหุ้นซิ่ง IPO
๕) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA10 กับหุ้นซิ่งในตำนาน
๖) ตอนเสริม ว่าด้วยการเป็นแนวต้านในขาลงของ EMA10


บทที่ 15 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA20
เส้นนี้ก็ยังซิ่งอยู่นะครับ ซึ่งก็มีบางตัวที่วิ่งยาว ก็มักจะเป็นหุ้นพื้นฐานดีขึ้น มักจะเกาะเส้นนี้ขึ้น ซึ่งยิ่งเส้นยาวขึ้นก็จะให้ตัวมากขึ้น ช่วงพักตัวก็จะนานขึ้น อึดอัดมากกว่า แต่ถ้ามันไม่จบรอบง่ายๆ ก็จะกำไรมากกว่า
๑) Top trader ท่านไหนที่ใช้ประโยชน์จากเส้นนี้
๒) แนวทางการใช้ประโยชน์จาก EMA20
๓) Price pattern ในโซน EMA20 
๔) จุดซื้อที่ EMA20 สไตล์พี่มาร์ค(ผมมโนเอานะ)
๕) เคส parabolic move (การซิ่งแหลก)เหนือ EMA20
๖) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA20 กับหุ้นซิ่งในตำนาน


บทที่ 16 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA50
เส้นนี้เป็นกรอบแนวรับของหุ้น superstocks ครับ ปู่โอนีลใช้เส้นนี้แหละ ที่ท่านเห็นในหนังสือเล่มส้มของแก ที่เป็นเส้น 10 week ก็คือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันนี้เอง ซึ่งในบทนี้ประกอบด้วย
๑) Top trader ท่านไหนที่ใช้ประโยชน์จากเส้นนี้
๒) นัยยะของ EMA50
๓) การเป็นแนวรับที่มีนัยยะของ EMA50
๔) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA50


บทที่ 17 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA100
เส้นนี้ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญหรอกนะ แต่ผมเห็นประโยชน์ของมัน
๑) EMA100 กับ bear trap เป็นลักษณะการเขย่าครั้งสุดท้ายก่อนซิ่งแหลก
๒) EMA100 dip แล้วเด้ง เคสหุ้นที่กลับตัวบนเส้นนี้
๓) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA100
๔) EMA100 แนวด้านหุ้นที่ดีดแรงจากขาลง
๕) ย้อนรอยหุ้น PTT ตั้งแต่ IPO ตามรอยเสี่ยยักษ์


บทที่ 18 : เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA200
เส้นนี้เป็นจุดเข้าทำของนักลงทุนระยะยาวครับ ถ้าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานที่ดีเด่นของประเทศ ให้ท่านดูนัยยะของการเด้งที่เส้นนี้เลยครับ ซึ่งมีตอนย่อยดังนี้
๑) EMA200 กับการเป็นแนวรับกับแนวต้านที่มีนัยยะ
๒) ซื้อที่ EMA200 ขายที่ EMA10
๓) เคสการรันเทรนด์ด้วย EMA200

ก็มีเท่านี้และครับที่เป็นหัวข้อหลักๆทั้งหมดในเล่มนี้
ซึ่งก็มีรายละเอียดยิบย่อยมากมายเลย เพราะยิ่งเขียนยิ่งสนุก ยิ่งอยากเอามาบอกท่านให้มากขึ้น
ก็ตั้งใจทำให้ท่านได้เห็นภาพที่หลากหลายครับ จะได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในภายหน้าด้วย
แม้ในอนาคตจากนี้ไปหลายปี เคสจะล้าหลัง แต่ผมว่าแนวคิดนี้น่าจะยังใช้ได้ดีเสมอ

ท่านกษมาถึงกับชมว่า 
ก็มีหลายท่านสอบถามมาว่ามีเปิดคอร์สหรือไม่ ผมก็ตอบปฏิเสธไป เพราะไม่อยากคิดท่านแพง แค่ท่านอุดหนุนหนังสือของผม แล้วอ่านอย่างตั้งใจ เอาไปทำการบ้าน ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการทำเงินแล้วครับ จะไปจ่ายอะไรอีกมากมายให้เสียเงินเล่น ลงคอร์สถ้าไม่เอาไปทำการบ้าน ไม่กี่วันก็ลืมครับ แต่ซื้อหนังสือ ถือเล่มเดียว ลืมก็เปิดอ่านซ้ำได้ ราคาก็ไม่กี่ร้อย คุ้มเกินคุ้มครับ

ปล่อยของแบบไม่กั๊ก


ปล่อยของแบบไม่กั๊ก
ขอบคุณทุกคำชมหนังสือและคำฝากมาถึงผู้เขียนนะครับ
พอดีคุณแป๋มเธอบ้ายอมาก พอแฟนหนังสือคุยชมที่เพจ Zyo Books :  facebook.com/zyobooks หน่อยก็รีบแค็ปหน้าจอมาให้ผมทันที
ว่างๆก็เลยลองไล่เรียงอ่านรีวิวจากผู้อ่าน จึงไปสะดุดกับคำหนึงที่อยากเอามาอธิบายเหตุผลให้ทราบทั่วกัน
คือประโยคทำนองว่า "ปล่อยของแบบไม่กั๊กเลย"

เออนั่นสิ...ทำไมผมถึงไม่กั๊กความรู้กับท่าน?
๑) ผมคิดว่าท่านมีน้ำใจกับผมมากน่ะสิครับ
ท่านกล้าสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ที่ facebook.com/zyobooks กับคนที่ท่านไม่รู้จัก หนังสือที่ท่านไม่เคยแม้แต่จะพลิกอ่าน แล้วยอมจ่ายเงินไปก่อน เพื่อรอลุ้นว่าของจะได้หรือเปล่า (แต่คุณแป๋มก็ทำหน้าที่ได้ดี เป็นมืออาชีพ ไม่มีตกบกพร่องเลยนะครับ ไว้ใจเธอได้)

แบบนี้ ผมว่าหัวจิตหัวใจของท่านยิ่งใหญ่มาก
ท่านคิดดู...คนติดตามเฟสผมเกือบสองหมื่น แต่ท่านเป็นคนส่วนน้อย ไม่ถึง 10% ที่ยอมเสียตังค์สนับสนุนผลงานของผมแบบไม่คิดมากเนี่ย น้ำใจท่านท่านสุดยอดมาก ขอกราบคารวะมา ณ ที่นี้

ด้วยเหตุนี้ผมจึงต้องตอบแทนท่านด้วยการแชร์ความรู้ทั้งหมดเท่าที่ผมทุ่มศึกษามาส่งต่อไปให้ท่านมากที่สุดเท่าที่จะสามารถให้ได้
จะกั๊กทำไมกับคนที่มีน้ำใจกับเราแบบนี้

ปล. แค่ท่านแวะเข้ามาชมเฟส อ่านบล็อก แชร์งาน ผมก็นึกนิยมท่านอยู่ในใจเช่นกันนะครับ ถ้าไม่มีท่านคอยสนับสนุน like share ผมก็คงไม่มีวันนี้เช่นกัน

๒) ผมเชื่อว่าในโลกของการเทรด มันไม่มีสูตรสำเร็จ หรือ holy grail 
คือความรู้ที่ผมแชร์ไป ไม่ว่าจะผ่านหนังสือเล่ม หรือบทความออนไลน์ มันเป็นแค่ Data สำหรับท่านเท่านั้นเอง ซึ่งมันไม่มีทางเอาไปใส่ถ้วยเติมน้ำร้อนแล้วเทรดรวยเลยแบบบะหมี่กึงสำเร็จรูปหรอกนะ

ท่านยังต้องมีงาน ยังมีขั้นตอนที่คุณต้องเอาไปเวิร์คต่ออีกหลายสเต็ป
ดังนั้นเนื้อหาที่ผมเอาไปใส่ในหนังสือ จึงมีทั้งภาคที่เป็นทฤษฎี และเผื่อทางหนีให้ท่านด้วย(ซึ่งตรงนี้แหละที่ท่านบอกว่าผมไม่กั๊ก)
เพราะจากประสบการณ์เทรดจริงเจ็บจริงของผม มันไม่มีอะไรสำเร็จรูปจริงๆ ตอนนี้ผมเชื่อว่าการเทรดคือการบริหารจัดการกับ "#ความน่าจะเป็น" เราคาดอนาคตไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องใช้อดีตมาเป็นข้อมูลอย่างมี bias ซึ่งอนาคตก็อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่เราคิดก็ได้
ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำก็คือ มี scenario ดักเอาไว้หลายๆทาง เพื่อที่เราจะได้ลงมือถูกต้องตามแผนเมื่อเหตุการณ์เลือกทางแล้ว

ดังนั้น ผมคิดว่าถ้าให้ต้องฟันธงว่าไอเดียผมมันเป๊ะสุดยอด ไม่ผิดเลย ไม่เผื่อทางหนีให้บ้าง ก็ถือว่าผมได้ทรยศตัวเอง และเอาเปรียบท่านอย่างแรง
ในหนังสือผมจะออกตัวเสมอว่า อย่าเชื่อผมมาก ท่านต้องคิดต่อนะ นี่เป็นแค่ไอเดีย อาจจะไม่เป็นไปในทางบวกก็ได้ ผิดทางก็หนีก่อน

ที่สำคัญเลย ผมต้องสารภาพกับท่านตรงๆเลยว่า การวิเคราะห์หลังเกมส์น่ะ จะลาก จะชี้ จะเฉลยอะไร มันก็ถูก มันเทพไปหมดแหละ
ซึ่งคนละเรื่องกับหน้างานเลย เพราะว่าท่านลงเงินจริงไปแล้ว ก็ต้องพะวงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเดาไม่ถูก
ตรงนี้แหละครับ ที่ scenario และ การมองเรื่องเทรดเป็นเกมความน่าจะเป็น จึงสำคัญกว่าการจำเพื่อนำไปใช้ทั้งดุ้น

๓) ผมก็เม่า
นี่สำคัญ หากท่านอ่านงานผม ก็น่าจะจับสังเกตได้ว่า มันอ่านง่าย เข้าใจง่าย เพราะผมเป็นเม่าไง ผมยังเดินดินกินข้าวแกงเหมือนๆท่าน ดังนั้นภาษาที่ผมใช้ มุมมองที่ผมฉาย มันก็เลยเป็นภาษาเดียวกับพวกท่าน ผมเจออะไรก็บอกท่านไปในภาษาที่ท่านไม่ต้องตีความมากมาย

เม่าคุยกับเม่า มันย่อมเข้าใจกันง่ายกว่ากูรูสอนเม่าอยู่แล้วครับ

แต่ก็นั่นแหละ จุดอ่อนของผมก็คือมี focus group ที่แน่นอนก็คือคนที่มีพื้นฐานเทคนิคอลมาบ้าง
ผิดกับกูรูที่เขาต้องหว่านให้ได้ทุกกลุ่ม ซึ่งก็อาจจะทำให้เขาต้องใช้ภาษาที่ไม่เหมือนเม่า(ผมคิดว่านะ) เพราะต้องรักษาภาพของตัวเองไว้

-------------------------
 -----(สุดท้าย...ขอโฆษณาแบบเต็มๆ) -----
หนังสือผลงานของผู้เขียนเองครับ
มีสองเล่ม พี่น้อง ดำ - เขียว
ถ้าท่านชอบบทความที่ผมเขียน อยากมีหนังสืออ้างอิงเก็บไว้
อยากอ่านเนื้อหา+เคส เพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น


"หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" (เล่มดำ) แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้น ด้วย กราฟวีค ก็จะเน้นการดูแนวโน้มขาขึ้นด้วย price pattern จากนั้นก็รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย จบลงที่การขายด้วย price pattern เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ซื้อยันขายเลยครับ อ่านเล่มเดียวจบ

ส่วน "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" (เล่มเขียว) แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้นด้วยกราฟรายวัน เล่มนี้จะเน้นการดูแท่งเทียน เอามาใช้ในการหาสัญญาณต้นเทรนด์ของขาขึ้น ซื้อหุ้นแบบ buying strength, buy weakness รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 10,20,50, 100, 200 วัน ขายหุ้นออกด้วย selling into strength, selling weakness ครบวงจรเช่นกัน

ถ้าให้เทียบความต่างของทั้งสองเล่มนะ
เล่มดำเป็นการเขียนถึงภาพรวม ภาคทฤษฎี
ส่วนเล่มเขียว เป็นการเจาะลึก เน้นเคส เป็นภาคปฏิบัติ

อ่านจบสองเล่ม ท่านสามารถเดาใจผมได้หมด ว่าเทรดยังไง
เพราะมันเป็นการกลั่นออกมาจากประสบการณ์และมุมมองของผมเอง

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ส่งข้อความไปที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


ส่วน eBook มีขายที่เว็บ mebmarket.com เท่านั้นครับ
รายละเอียด คลิกที่ชื่อหนังสือเลยครับ
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่

------(ขอบคุณครับ)-----

ตัวช่วยในการค้นหา : หนังสือหุ้น 2018, แนะนำหนังสือหุ้น 2561, หนังสือหุ้นเทคนิค, รีวิวหนังสือหุ้น, หนังสือ กราฟหุ้น, หนังสือ technical analysis, หนังสือแท่งเทียน, หนังสือวิเคราะห์แท่งเทียน, หนังสือ candlestick, สูตร ema, เส้น ema 50, เส้น ema 200, เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่, หนังสือ swing trade, swing trade หุ้น, swing trade ลุงโฉลก, swing trade สอน, การเทรดแบบ swing

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)