20 หลักการ MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด

Image
สรุป MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด (ไม่ทราบที่มาของหนังสือ โหลดจากทวิตเตอร์) รายการต่อไปนี้เป็นการรวบรวมองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของการจัดการเงินและการเทรดไว้ด้วยกัน 1. เทรดตามทิศทางของแนวโน้มระดับกลาง 2. ในแนวโน้มขาขึ้น-ให้ซื้อตอนย่อ  ส่วนในแนวโน้มขาลง-ให้ขายชอร์ตเมื่อราคาเด้ง 3. จงทนรวยให้ให้ผลกำไรเติบโต ตัดการขาดทุนให้เสียน้อย 4. ใช้การตัดขาดทุนที่วิ่งตามราคาเพื่อจำกัดขนาดการสูญเสีย 5. อย่าซื้อขายอย่างหุนหันพลันแล่น 6. วางแผนการซื้อและขายและทำตามแผนของคุณ 7. ใช้หลักการบริหารเงิน 8. กระจายความเสี่ยง แต่อย่ากระจายมากเกินไป 9. ใช้อัตราส่วนรางวัลต่อความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ต่อ 1 10. เมื่อพีระมิด (ซื้อเพิ่ม) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ก. ไม้ต่อไปควรมีขนาดเงินที่เล็กกว่าเดิม ข. เพิ่มเฉพาะตำแหน่งที่ชนะเท่านั้น ค. อย่าเพิ่มตำแหน่งที่ขาดทุน ง. ยกระดับตัดขาดทุนไปวางที่จุดคุ้มทุน 11. อย่าเทรดประมาทจนถึงขั้น Marfin call;  อย่าเสียเงินเพิ่มหลังจากเคยเสียหนักมาแล้วครั้งหนึ่ง(อย่ารีบเทรดเอาคืนหลังจากที่แพ้ยับเยินสด ๆ ร้อน ๆ) 12. ขายหุ้นที่คุณคิดผิด(ขาดทุน) ก่อนหุ้นที่คุณคิดถูก(ได้กำไร) 13. ถ้า

หุ้นเข้าใหม่ 5 Class และแนวทางการเทรด

หุ้นเข้าใหม่ 5 Class และแนวทางการเทรด

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบหุ้นเข้าใหม่หรือ IPO มาก เพราะมองว่าเป็นหุ้นที่รายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมน้อยมากๆ หากธุรกิจนั้นมีความสามารถในการแข่งขันและทำกำไร และคนทำราคาตั้งใจจริงก็จะวิ่งแรงๆได้เป็นเด้งภายในเวลาไม่นานเลย

ดังนั้นหุ้น IPO ที่มีความโดดเด่นทั้งพื้นฐานและราคา จึงเป็นหุ้น Superstocks ได้อย่างไม่ต้องสงสัย
ยิ่งชวงนี้ หุ้นที่เข้าใหม่ๆเริ่มมีความหลากหลายทางธุรกิจมากขึ้น มีความเป็น niche มากขึ้น ยิ่งทำให้เรามีตัวเลือกหุ้นดีๆ ทำกำไรดีๆ การดำเนินกิจการที่โดดเด่น ได้หลายตัวเลือกมากขึ้น

แต่ก็อย่างว่าแหละในตลาดหุ้นหรือในชีวิตจริงของเราน่ะ ของจริงนั้นมีน้อยยิ่งกว่าน้อยเสียอีก ส่วนใหญ่ก็มีแต่ตัวหลอกกันทั้งนั้น

ความท้าทาย หรือด่านที่ทดสอบใครสักคนกำไรหุ้นได้อย่างเป็นกอบเป็นกำคือ ความสามารถในการคัดเอาหุ้นดาวรุ่งมาอยู่ในพอร์ด และต้องทนรวยให้ได้ ใครตาดีและอึดก็รวยไป ใครมองไม่ออกก็ซวยไป(ถ้าตัดขาดทุนไม่เป็น)

จากประสบการณ์ของผมจะแบ่งแนวทางเป็น 2 ส่วนนะ คือ
๑) ลักษณะของการทำราคาหุ้น 5 Class(ซึ่งจะยาวหน่อยเพราะรูปประกอบเยอะ)
๒) และอีกส่วนสั้นๆคือวิธีการเล่น จะแทรกในรูปแบบ Class และอยู่ในช่วงท้าย

(เครดิตกราฟจากเว็บ siamchart.com) อยากดูภาพใหญ่ให้คลิกที่รูปนะ


Class A ดีหนึ่งประเภทหนึ่ง

หุ้นประเภทนี้ พอเข้ามาซื้อขายก็มีคนยินดีต้อนรับ มี demand ต่อคิวซื้อมากมาย ราคาทยอยขึ้นไปเรื่อยๆ มีย่อบ้างแต่ไม่แรง ตลาดลงหนักก็ sideway ชอบสะสมข้างบน แล้วไปต่อได้ตามผลกำไรที่ออกมา ประเภทนี้มีน้อยยิ่งกว่าน้อยปีละตัวหรือบางปีก็ไม่มีเลย เช่น TKN


แต่ก็ยังมีอีกแบบที่เปิดตลาดมาโดนกระหน่ำขายไปสองสามวัน จากนั้นก็ดีดแรงทำ All time high และวิ่งขึ้นทำนิวไฮได้อย่างต่อเนื่องกระทั่งวันนี้ เช่น TACC กับ FSMART ที่หน้าตาเหมือนกันมาก

TACC


FSMART ตู้บุญเติม นี่ก็ดีดขึ้นมาสะสมข้างบน


SPA นี่ก็ช่วงแรกๆวิ่งขึ้นลงแบบไร้ทิศทาง แต่ก็ไม่ทำนิวโลว์ จากนั้นพอ breakout ได้ก็ยาวเลย


PTG ปั๊มน้ำมันทองคำ ยอดหุ้นในตำนาน เข้าตลาดมาก็ทรงเดียวกับ SPA คือย่อก่อน หลังจากฟื้นตัวได้ก็ยาวเลย มากกว่า 6 เด้ง


ถ้าดูกราฟเราจะเห็นจุดร่วมของหุ้น Class A ที่ 3 ตัว ดังนี้

เทคนิคอล
1) เริ่มซื้อขายที่ราคา 5 บาท หรือน้อยกว่า
2) ราคาทำ All time high ได้ทันที หรือภายในสัปดาห์
3) มีการสะสมที่ข้างบน หรือในหนังสือ "เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ" เรียกว่า "ฐานเบื้องต้น" คือราคาหุ้นสามารถยืนแข็งอยู่ข้างบน(all time high ได้แล้ว) ผ่านการสร้างฐานราคา(sideway สะสมข้างบน) แล้วสักพักต่อไปก็ขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้(all time high ได้อีกครั้ง)
4) เมื่อขึ้นมาแล้ว การปรับฐานไม่ควรเกิน 1 เดือน และลงไม่ควรลึกเกิน 50% และถ้าจะให้แกร่งสุดๆ ระยะเวลาที่ย่อก็ไม่ควรเกิน 3 วีค และลงไม่เกิน 25% จะยอดมาก

พื้นฐาน
1) เป็นธุรกิจที่ขายสินค้าถึงมือผู้บริโภค(Mass)โดยตรง และเป็นของที่ซื้อ/ใช้บริการซ้ำ
2) สามารถเพิ่มยอดขายได้ด้วยจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น เช่น TACC โตตาามจำนวนสาขาร้านเซเว่น, FSMART จำนวนตู้ก็โตตามสาขาเซเว่นและยังเพิ่มไปตามหอพัก,โรงเรียน หรือชุมชน
3) ขยายตลาดใหม่ๆได้ เช่น TKN โตต่างประเทศ
4) มีศักยภาพทางการผลิต คือทำสินค้าได้เยอะจึงมี economy of scale (ต้นทุนต่ำลง) อีกทั้งขายได้เยอะตามไปด้วย ผลคือกำไรโต ราคาก็ต้องพุ่งตาม
6) กำไรเติบโตต่อเนื่อง ถ้าก้าวกระโดดได้ยิ่งดี มักมีบทวิเคราะห์ออกมาบ่อย และจะปรับราคาที่เหมาะสมขึ้นไปเรื่อยๆ

ถ้าเจอหุ้นที่มีแผนธุรกิจ และกราฟออกทรงนี้ ก็ให้คัดไว้เลยว่านี่แหละคือตัวจริงที่เราต้องมี
แต่ก็มีข้อยกเว้นในเรื่องของราคาหุ้นนะ เช่น CBG นี่ก็ sideway มาเป็นปี กว่าจะเบรคขึ้นด้วยผลประกอบการที่เติบโตจากการไปขยายตลาดในต่างประเทศ


คลิปแนะนำ





Class B ต้นร้ายปลายดี

เข้าตลาดมาก็โดนถล่มขายซะเสียรูปมวย supply เยอะมาก ลง ลง ลง จนหยุด ค่อยๆสะสมจากข้างล่าง ฟื้นตัวอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สะสมไล่ราคาขึ้นมาเรื่อยๆ จนทำ all time high และบินสูงต่อไปได้อย่างมั่นคง พวกนี้งบจะมีพัฒนาการที่น่าตื่นเต้น เติบโตดี เช่น BIG, TFG, COM7, KOOL, TNP














จุดร่วมที่น่าสนใจ

เทคนิคอล
1) เข้าตลาดมาก็โดนถล่มขายซะเสียรูปมวย supply เยอะมาก ลง ลง ลง ต่อเนื่อง เป็นเดือน จนหยุด
2) ราคาที่ลงไปมักจะอยู่ในโซนต่ำกว่า 2 บาท
3) ค่อยๆสะสมจากข้างล่าง ใช้เวลาเป็นเดือน เช่นกัน
บางตัวก็ย่อย supply ออกด้วยการบีบการแกว่งให้ค่อยๆแคบลงๆ จนไม่มีใครอยากเล่นแล้ว จึงค่อยดีดแรง เหมือน PIMO
4) ฟื้นตัวอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สะสมไล่ราคาขึ้นมาเรื่อยๆเอื่ยๆ ถ้าทำกรอบราคาแบบ Darvas box จะเห็นภาพการสะสมขึ้นเป็นช่วงๆอย่างชัดเจน
5) จนทำ all time high ได้แล้ว อาจยังสะสมต่อ หรือวิ่งแรงๆแท่งยาวๆได้เลย

พื้นฐาน
1) ถ้าดูงบจะเห็นว่ามีกำไรเพิ่ม เติบโตขึ้นเรื่อยๆ บางบริษัทก็ก้าวกระโดดทำ all time high เลยก็มี
2) เป็นผู้เชี่ยวชาญฉพาะด้าน niche market สินค้าขายให้รายย่อยโดยตรง
เอาเป็นว่า ให้ดูที่งบกำไรเป็นหลัก ถ้ากำไรโตชัดเจน แต่ราคาไม่ยอมไปก็ให้รอจังหวะที่มีการ breakout ข้ามกรอบค่อยเข้าก็ได้

แนะนำคลิปเสริมความรู้



Class C ท่าดีทีเหลว

พวกนี้ถือเป็น "ตัวหลอก" ของ Class A เพราะช่วงแรกก็เขียวดีไล่ราคาขึ้นไปเร็วและแรงรวดเดียว ทำเป็นขาขึ้นที่แข็งแรงมากๆ แต่จากนั้นก็ถล่มขายซะ อารมณ์เหมือนไล่ราคาขึ้นไปเชือด จากนั้นก็ sideway เหมือนรอข่าวดีซึ่งไม่รู้จะมาเมื่อไหร่

พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่ขาย IPO ราคาแพงๆเกิน 10 บาท ปั่นยากถ้าไม่มีข่าวดีแบบ surprise จริงๆ
ซึ่งจะตรงกับข้อเขียนของ Mark Minervini ไว้เลยว่า "หุ้นที่เข้าใหม่มักจะวิ่งแรงตั้งแต่วันเริ่มเสนอขายและอาจวิ่งต่ออีกหลายอาทิตย์หรือหลายเดือนด้วยซ้ำ ต่อมาอาจโดนขายทำกำไรจนหุ้นปรับลง เพราะมีบางคนอยากได้เงินง่ายๆเร็วๆ"

นิสัยถาวรของมันคือสวิงแรงมากๆ ทำราคาไม่เป็นระบบเหมือน 2 Class แรก
ถ้าสนใจก็รอให้มีการสะสมและยกกรอบแบบ SCN ก่อนก็ได้ ถ้างบออกมาดีก็มีโอกาสเป็น Class B ได้เช่นกัน


HPT เข้าตลาดวันแรกเปิดเขียวยาวเลย ดูดีมากๆ แต่แล้วจากนั้น ปีกหักร่วงลงมา sideway บาทกว่าๆ




MEGA ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการสะสมด้านล่างสำเร็จ แต่ที่สำคัญคืองบเขาก็ดีขึ้นมาก มีโอกาสโตต่างประเทศได้อีก


หรือสะสมด้านบนแบบ ORI ก็น่าสนใจ แต่ต้องไปดูงบว่าดีขึ้นมั้ย และจะโตต่อเนื่องได้ยังไงสำหรับธุรกิจอสังหา


แต่สวิงโหดสะเปะสะปะแบบ SCI กับ TPCH ก็ไม่ไหวนะ คุณต้องเชื่อมั่นพื้นฐานมากๆ หรือเล่นแบบเทรดดิ้งเข้าไวออกไวเท่านั้น






ICHI นี่ก็ถือเป็นความด่างพร้อยของวงการอีกตัว ถ้าช่วงแรกไม่เด้งแรงจะเข้ากลุ่ม Class E ว่าเข้ามาทำไม


RWI นี่ก็คล้ายๆกัน เปิดตัวหรูมาก แต่จากนั้นก็จมบาดาลไปเลย


สรุปสำหรับกลุ่มนี้ คือเราก็ไม่รู้หรอกว่ามันจะขึ้นลงยังไง บทจะดีก็ดีแบบใจหาย แต่พอเขาจะโหดก็ลงแบบเอาตาย

ซึ่งถ้าเราดูย้อนหลังแบบนี้จะอธิบายยังไงก็ได้ แต่หน้างานจริงๆเราไม่รู้อนาคตว่าจะไปยังไง ดังนั้นการตั้ง stop loss หรือ trailing stop เพื่อรักษาเงินต้นหรือกำไรให้ได้มากที่สุด คือสิ่งที่ต้องยึดเอาไว้และต้องทำอย่างจริงจังเคร่งครัด ถ้าสวิงแรงจนหลุดแนวราคาที่เราตั้งไว้ต้องออกก่อน อย่าไปหวังอะไรกับหุ้นที่คนทำราคาไม่ support เลยครับ หนีก่อน ไม่มีเงินเขาไม่ให้เก็งกำไรนะ

ถ้ารักชอบจริงๆก็ให้ตามดูงบ อ่านการอธิบายงบ อ่านบทวิเคราะห์ และรอดูการเปลี่ยนพฤติกรรมของกราฟ เช่นถ้าลงหนักก็รอให้เขาสะสมจนครบก่อน เมื่อขึ้นยกกรอบทำนิวไฮขึ้นมาแบบชัดเจน ก็ follow buy ไป แบบ Class B เพราะถ้าพื้นฐานดี สะสมเสร็จ ก็จะวิ่งขึ้นไปได้เอง จำไว้เลยว่า "กำไรต่อหุ้นคือเจ้ามือตัวจริง"

คลิปแนะนำ


Class D สะสมเป็นชาติ

เข้ามาก็โดนขายลงมาอย่างต่อเนื่อง สักพักก็หยุดลง แต่ก็ไม่ยอมไปไหน sideway ออกข้างอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย พอราคาขึ้นจะกระชากแรงแต่ก็จะโดนตบลงทันที ส่วนใหญ่งบจะไม่ดีเอาเสียเลย แต่ก็มีบางตัวงบจะออกทรงๆ และบางตัวก็ดีขึ้นมาก แต่ก็เหมือนมีคนไม่ยอมให้ไป(เจอพวกนี้ก็ให้เล็งเอาไว้ คุณมีโอกาสเจอเพชรในตม แล้วล่ะ)

กลุ่มนี้มีโอกาสกลายเป็น CLASS B ได้ ถ้าถึงเวลา
















TVT เอาเข้ากลุ่มนี้ก็แล้วกันนะ คือจะเป็น C ก็ได้ ตอนนี้ก็ sideway แต่ทำไมยิ่งมายิ่งลง


OTO นี่ก็ดีดเป็นพีกๆ แต่ไม่ยอมไปไหน




วิธีเล่นหุ้น Class D คือเฝ้าดูทุกวัน แม้จะ sideway ก็ต้องติดตาม เพื่อรอให้มันเบรคขึ้นไปทำนิวไฮแล้วค่อย follow buy ตาม อย่าซื้อดักเด็ดขาด(เช่นลงมาต่ำแล้วซื้อไว้ก่อน)เพราะคุณจะโดนแช่อยู่ในกรอบจนอึดอัด เชื่อเถอะเดี๋ยวก็ขายออกจนได้ แต่บอกตรงๆว่าแม้จะ follow ก็ตามเถอะ-ถ้าดูพฤติกรรมจากอดีตแล้วหวาดเสียวมากว่าพี่แกจะเขย่าแรงๆให้เราต้องหนีได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราควรเลือกหุ้นที่งบเป็นหลักก่อนว่ามันดูดีมั้ย อย่างน้อยก็ไม่ขาดทุนล่ะอันดับแรก ต่อมาก็ให้ดูนิสัยการทำราคา ถ้ายกกรอบขึ้นแบบมีระเบียบก็ตามได้ เพราะพวกนี้มีโอกาสเป็น Class B ได้ทุกตัว แต่หากเข้าไปแล้วเจอแบบสวิงโหดๆก็ต้องระวัง แต่ถ้าใครได้ทุนต่ำก็จะได้เปรียบ

ตัวอย่างเช่น ATP30 TNP ถ้าใครเข้าตอนที่มันเปิด gap ได้ก็สบายไป ตอนนี้จะเขย่าแค่ไหนก็ชิลล์





Class E เข้าตลาดมาทำไม?

ตั้งแต่เข้าตลาดมาก็โดนถล่มขายอย่างไม่ลืมหูลืมตา supply ไม่มีวันหมด ราคาทำนิวโลว์ได้อย่างต่อเนื่อง พวกนี้งบจะเน่าอย่างแรงขาดทุนต่อเนื่องเพราะลงทุนใหม่หนักมาก เช่น LDC พวกนี้ต้องรอให้เข้ากระบวนการสะสมให้ได้ก่อน ถ้างบออกมา surprise ก็อาจดีดตัวแรงอย่างคาดไม่ถึงได้เช่นกัน ตัวนี้ก็มีโอกาสเป็น Class B ได้เช่นกัน ดังนั้นอย่าสาปส่ง


SR นี่ก็เข้ามาลงตลอด มาอยู่่ๆก็เด้งแบบเปิด gap เลย แถมยืนได้ด้วย ต้องคอยดูพัฒนาการต่อไปว่าจะยังไง


RICHY นี่ก็เกือบโดนด่า ถ้าไม่มีเด้งต้นปี


HOTPOT เข้าตลาดมาแรกๆก็เหมือนจะดูดีมีความหวังย่อแล้วเด้งแรง(ซึ่งเข้าข่าย Class C) แต่จากนั้นก็ไม่ยอมไปต่อ เอาแต่ลงๆๆ

นิวโลว์แล้วโลว์อีก อาจเป็นเพราะธุรกิจสู้เขาไม่ได้จริงๆ เพิ่งมีเด้งไม่นานมานี้เอง แต่ด้วยการเก็งกำไรล้วนๆ ดูเหมือนว่ามีข่าวจะโดนเทคโอเวอร์อะไรนี่แหละ


CHEWA ตั้งหน้าตั้งตา sideway แล้วเบรคลงนิวโลว์ซะงั้น


NOK นี่ก็ปีกหักร่วงลงตลอด 2 ปี ก็เพิ่งได้เข้าระยะสะสมเมื่อไม่นานนี้เอง



สรุปวิธีเล่นหุ้นใหม่เข้าตลาด

1) ถ้าคุณจะเอาจริงกับหุ้นประเภทนี้ คุณก็ต้องตามมันทุกตัว ทำลิสต์ไว้เลย เก็บข้อมูลทั้งพื้นฐานว่าทำกิจการอะไร แข่งขันได้มัย จะโตได้ยังไง คัดเอาตัวเด่นๆที่เราเห็นแววเอาไว้

2) ต่อมาก็เช็คกราฟทุกวัน ดูพฤคิกรรมมัน คัดเอาตัวที่พื้นฐานดีจากข้อแรก มาดูการทำราคา พยายามทำกรอบการขึ้นไว้ดู ถ้าเห็นการขึ้นที่เป็นระเบียบ สุภาพๆ(หุ้นดีจริงๆ เขาไม่เขย่าแรงหรอก บอกไว้เลย) ง่ายสุดคือใช้หลักการกล่องราคา(อย่างที่ทำให้ดูข้างบน) ก็เลือกเอาตัวนั้นมาเล่น

ผมชอบวิธีของพี่ Mark Minervini จากนังสือ "เทรดแบบเซียนหุ้นให้ได้กำไรขั้นเทพ" ที่ให้แนวคิดในการลงทุนหุ้น IPO ว่า

"ผมจะสนใจหุ้นใหม่เข้าตลาดก็ต่อเมื่อราคาหุ้นยืนแข็งได้อย่างน้อย 2-3 เดือนหลังจากเข้าเทรดในตลาด โดยประเมินจากการ "สร้างฐานเบื้องต้น" ในช่วงปรับฐานอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และต่อมาพุ่งขึ้นทำนิวไฮ หรือปรับฐานแบบสร้างสรรค์ไกล้ all time high" ถ้าเราดูหุ้น Class A กับ B เราจะเห็นการทำตัวของหุ้นที่สนับสนุนแนวคิดนี้อย่างชัดเจน
คือหุ้นตัวไหนที่เข้าตลาดแล้ววิ่งแรงเลย ให้ระวังปรับฐานแรงเพราะคนดันขึ้นไปเพื่อปล่อยของ

ให้สนใจตัวที่ขึ้นไป(หรือลงก็ได้) แล้วมีการปรับฐานหรือ sideway หรือจะเรียกว่า VCP หรือ cup and handle ก็แล้วแต่ เพราะมันเป็นความตั้งใจของคนทำราคาที่ไม่หักหาญ และมีเจตนาในการทำราคาแบบคนมองการณ์ไกล (ดูรูปประกอบ)

 

หรือ breakway gap ก็น่าสนใจ ผมเคยได้กำไรจากหุ้นอย่าง MEGA กับ KOOL มาด้วยทรงนี้แล้ว
ซึ่งผมก็อวดให้ท่านอ่านทั้งในบทความ
หุ้นเด้งของผม KOOL
MEGA การขายหมูครั้งใหญ่ของผม
เดี๋ยวผมจะแตกเคสให้ท่านได้อ่านเรื่อยๆครับ เพราะใช้ประจำ

3) เมื่อเห็นการทำราคาในลักษณะที่ว่ามา ก็ซื้อในจุดที่คุณมั่นใจว่ามันไปต่อแน่ เช่น follow buy เมื่อทำนิวไฮ(แบบรูปข้างบน) แล้วทนถือไป ดูงบไป ไม่ถึงปีหรอกคุณได้เด้งแน่นอน

ก็ให้ท่านพยายามสแกน คัดตัวที่เพิ่งเข้ามาไม่นาน แล้วเอาไปทำการบ้านหาจุดเข้าที่ปลอดภัยต่อไป แล้วก็อย่าลืมวางจุดหนีด้วยล่ะ เผื่อมันจบรอบตอนนั้นพอดี เพราะต้องยอมรับนะว่าคุณมางานเลี้ยงสาย ซึงมีโอกาสจ่ายรอบวงสูงมาก

คลิปแนะนำให้ชม เสริมความรู้






(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ศาสตร์และศิลปะของการปั้นพอร์ต ให้เติบโตสม่ำเสมอ Art & Science of Trading