สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

Zyo กับ "เคสหุ้นปั่นหรรษา" : UKEM, PK (แถมเคสตัดขาดทุน DDD, TKN)


วันนี้เพิ่ง Take Profit UKEM กับ PK ออกไปครับ
ก็เลยทำบทความมาแชร์ให้ท่าอ่านกัน ว่าเข้าตรงไหนยังไง และขายตรงไหน

หลักการที่ผมใช้ เคยเขียนบอกไว้ชื่อ แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ
คลิกเข้าไปอ่านได้ครับ โดยแนวทางเพิ่มเติมคือ
๑) ถ้าเห็นว่าราคาไปไกล ห่างระดับ breakout มมากไปก็ไม่เล่น
๒) ถ้าไม่เห็นระดับแนวต้านที่มีการขึ้นไปยันไม่ผ่านสักสองครั้ง โดยราคาจู่ๆก็วิ่งพรวดจากก้นเลย ก็ไม่เอา
๓) หุ้นต่ำบาท ซื้อแบบขำๆ ไม่ควรเกิน 5% ของพอร์ต แม้จะหวังว่ามันน่าจะโดนปั่นก็ตาม แต่เราก็อย่าไปคิดรวยกับหุ้นปั่น เพราะถ้าเขาไม่ปั่น ก็ซวยไป ดังนั้น คิดถึงความเสี่ยงไว้ก่อนเสมอ

โดยหุ้นที่ผมได้บางส่วนก็มาจากที่ทำการบ้านไว้ในโพสเกี่ยวกับ "หุ้นจ่อเบรค" นั่นเอง


เคส PK

PK ผมเข้าแบบเสี่ยง คือ follow buy ที่ปลายไส้เลย
เนื่องจากไม่ทันตอนที่มันข้ามช่วงโดจิ
ซื้อวันแรกก็ไม่ยอมไปไหนครับ ยืนเหนือระดับแนวต้านไม่ได้
แต่ด้วยความที่ห่างทุนไม่มาก เลยขอทนถือต่อ


วันต่อมา ดีดขึ้นแรงเลย ฟลุคสิ กำไรแน่ๆล่ะ
แม้จะวิ่งดีมาก แต่เห็นข้าม 3 บาทแล้วยืนไม่อยู่ โดนกระหน่ำขายจนราคาหลุดลงไปวิ่งโซน 2 บาทหลายครั้ง ผมก็เลยเกิดอาการไม่แน่ใจ หรือว่ามันจะเป็นช่วงแจกจ่าย?
ก็เลยทยอยแบ่งขายที่ 3.08, 3.04, 3.00, 2.98
เพื่อล็อกกำไรไว้ก่อนครึ่งนึง


วันต่อมา ช่วงเช้า มันยังมีแรงขายให้ร่วงต่อ
จึงขายที่เหลือออกหมด ได้กำไรประมาณ 15%



เคส UKEM
UKEM เข้า ที่ 0.66 เพราะเห็นว่ามันพยายามเบรคข้าม 0.65
แม้ยังไม่ไปต่อ แต่ราคาก็สามารถยืนบนแนวต้านได้ จึงทนถือ
ตัวนี้เข้าเพียงแค่ 5% ของพอร์ตเท่านั้น เพราะต่ำบาท จึงต้องเผื่อใจกับความเสี่ยงที่มันจะกลับตัวแรงให้ขาดทุน เพราะถ้าหากร่วงช่องหนึ่งก็ขาดทุนเปอร์เซ็นต์กว่าแล้ว

ซึ่งจะว่าไปแล้ว ผมเข้าเยอะไปเสียด้วยซ้ำ หุ้นประเภทนี้ เล่นแค่ 1% ขำๆก็พอแล้ว

นี่เป็นกราฟ 120 นาที

นี่เป็นกราฟรายวัน

ปิดสิ้นวัน 0.65 ลบหนึ่งช่อง ก็ขอทนต่ออีกสักนิด


วันต่อมา มันพยายามไปต่อครับ ปิดสูงกว่าเดิม หนึ่งช่อง ก็ต้องทนถือต่อไป

อีกวัน มันทำโดจิ ก็ทนดูต่อ


แล้วจู่ๆ ก็ปุบปับรับโชค มันดีดขึ้นแรง
เมื่อลากจุดสุดยอดของแท่งเขียว ก็พบว่าดีดไปเจอแนวต้านพอดี
วันนี้ผมไม่ได้ขาย เพราะขอรอดูก่อน

วันต่อมา พักตัว ก็ถือว่ายังมีสัญญาณดี ทนถือต่อ

มาวันนี้ ราคาร่วงลงไปทำนิวโลว์ เริ่มกลัว จึงขอ take profit ดีกว่า
กำไรประมาณ 15% ภายใน 5 วัน ถือว่าฟลุคใช้ได้

แต่ช่วงบ่าย มันมีการซื้อดันราคาให้กลับไปยืนโดจิ
ไม่รู้ว่าขายหมูหรือเปล่านะ แต่ไม่ซีเรียส เพราะยังไงก็ได้กำไร


เคสตัดขาดทุน
เดี๋ยวจะหาว่าผม ได้กำไรอย่างเดียว มีสองตัวที่เสียหายครับ

เคส DDD
7/1/2018 ผมบ่นกับตัวเองแบบนี้ครับ
DDD ติดปัญหาอีกแล้ว ซื้อถัว ตั้งแต่ 19.70 19.60 20.10 แล้วร่วงลง 19.40 ปิด 19.20 ไม่ดีเลย โดจิ เราเข้าผิดจังหวะ พอราคาร่วงแรงจาก false breakout ก็ไม่รีบขาย จึงต้องขาดทุนไปแล้ว 1270 แล้ว คิดผิดนะ นึกว่าเป็น DOD มั่วจริงๆ
(5555 ผมคิดว่ามันเป็นหุ้น DOD ที่รับจ้างผลิตเครื่องสำอาง โคตรโง่)


8/1/2018 ตัดใจขายครับ ผมเขียนด่าตัวเองไว้ว่า
"ขาดทุน DDD โดยไม่จำเป็น เพราะไม่ยอมรีบตัดขาดทุนให้หมด มัวแต่รีๆรอๆ จากที่เคยขาดทุนน้อย หลักร้อย ปล่อยให้เป็น สองพันค่อยขาย ควายจริง หุ้นอ่อนแอ มันคือตัวปัญหา อย่าเก็บไว้อีก"


วันล่าสุดลงไป 18.20 ถ้ายังรีๆรอๆ ก็เสียหายเยอะ
คือถ้าคิดผิด ซื้อแล้วราคาเกิด false breakout หนีก่อนเลยครับ
อย่ากลัวโดนหลอก อย่ากลัวผิด เพราะเราผิดตั้งแต่ขาดทุนแล้ว ยอมรับและรีบมอบตัวซะ



แถมอีกตัวที่ผิดพลาด TKN
7/1/2019
TKN เห็นราคาวอลุ่มเข้า และพยายามดีดขึ้น จึงเข้า ก็ยังยืนดี พอไหว


ออกแนว pocket pivot คือราคายกระดับขึ้น พร้อมวอลุ่ม

ผมก็คิดว่าเอาแน่ เพราะเห็นคุณต๊อบซื้อหุ้นเพิ่ม หลายครั้ง
จึงมโนไปเองว่าราคาต้องขึ้นได้แล้วล่ะ

8/1/2018
ราคาไม่ยอมไปต่อ กลับร่วงลงมาอยู่ในกรอบ เริ่มน่ากลัว ลบ 1% ไปแล้ว

9/1/2016
ตัดใจขาย TKN เพราะราคากลับมาอยู่ในกรอบ
แต่ไม่ยอมขายหมดทุนทีนะ เหลือไว้ครึ่งเผื่อลุ้นเด้ง
ตอนนั้นลบไป 3.4% ถึง limit loss แล้วแท้ๆ แต่ใจไม่ด้านพอ


10/1/2018
TKN ขายออกได้ที่ 7.90 ทั้งที่ตั้งขาย 8.10, 8.00 แต่ไม่ได้ จึงแก้ไปขายที่ช่อง bid เลย ซึ่งดีนะ มันร่วงลงไปทำ all time low 7.60 โชคดี
แต่ไม้สุดท้ายเสียหายไปร่วมๆ 5%


สรุป การที่ผู้บริหารศื้อหุ้น ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเป็นเจ้ามือพยุงราคา
เพราะเจ้ามือคือสภาพตลาดและรายใหญ่ครับ
ถ้าเห็นว่าสิ่งที่เราหวัง กับความจริง ไม่สอดคล้องกัน ก็หนีให้ไว

นี่เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการมีความหวังกับ false breakout ซึ่งผมเขียนไว้ในหนังสือ "ความรู้หุ้นมูลค่า 1 ล้านบาท" ไว้ด้วย ว่าอย่าไปมีความหวังกับมันเป็นอันขาด เพราะเราซื้อเพราะหวังว่ามันจะต้องดีดขึ้นไปทำกำไรให้เราไง แต่เมื่อมันไม่ไปต่อ ก็ต้องทยอยขายออกไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยงครับ


(((ทิ้งท้ายด้วยโฆษณาหนังสือตัวเองเสียหน่อยนะ))
ใครเล่นหุ้นแล้วขาดทุน
มือใหม่ที่อยากรู้ว่า "ทำไมคนเล่นหุ้นถึงได้ขาดทุน"
ขอแนะนำให้อ่านเล่มนี้

เข้าไปดูรายละเอียดตามลิงค์นี้นะครับ bit.ly/zyoebook3

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks