Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

Image
Marios Stamatoudis ได้รับอันดับที่ 4 ในการแข่งขัน US Investing Championship 2023 ด้วยผลตอบแทน 291.2% แปลจาก https://retailtradersrepository.substack.com/p/marios-stamatoudis-the-traderlion (สนับสนุนโดย) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 กระบวนการเรียนรู้การเทรด (Process of Learning to Trade) ศึกษาจากนักเทรดที่ประสบความสำเร็จในอดีต   เริ่มต้นด้วยการดูและพยายามวิเคราะห์กลยุทธ์ของนักเทรดชื่อดัง พบว่ามีกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกันในหลายกรณี เช่น   - การ Short หุ้นที่ขึ้นไป 100-200% ภายใน 3-4 วันติดกัน: นักเทรดจะรอจังหวะวันที่หุ้นเริ่มอ่อนแรงแล้วเข้า Short   - การ Long หุ้นที่มี Catalyst: เช่น หุ้นที่มีข่าวดีและราคากระโดดขึ้นจากกรอบเดิม   ปรับตัวจาก Day Trading สู่ Swing Trading เมื่อเริ่ม Day Trade และประสบความสำเร็จบางส่วน เขาพบว่าการจัดการความเสี่ยงและการเทรดข...

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น

จากบทความที่แล้ว ผมเขียนถึง วอลุ่มและการยืนยันแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก
มาครั้งนี้จึงอยากจะย้อนกลับไปอธิบายความสำคัญของวอลุ่ม(หรือเรียกได้อีกอย่างว่าปริมาณการซื้อขาย)
ว่าไอ้เจ้าแท่งยาวๆที่อยู่ใต้กราฟนั้น มันช่วยบอกเบาะแสะอะไรเราบ้าง

(แนะนำงานเขียนใหม่ล่าสุดครับ)

๑. เล่มนี้จะเปิดเผยอีกด้านของการเทรดแนวเทคนิคอล
จากมุมมองของนักเทรดประสบการณ์ 10-40 ปี
มือใหม่ควรอ่านนะครับ จะได้ใช้เทคนิคอลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผมขอบอกเลยว่า แค่รู้เทคนิคอล ยังไม่พอจริง ๆ
เล่มนี้จะบอกความจริงให้คุณ แบบที่ไม่เคยมีใครบอกมาก่อน
มือโปรเขามองการวิเคราะห์ทางเทคนิคว่ายังไงบ้าง มีจุดแข็งอยู่ตรงไหน?
อะไรคือจุดอ่อนของเทคนิคอล แล้วจะใช้งานมันยังไงเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด?
๒. ทำไมทั้งที่ใช้อินดิเคเตอร์ตัวเดียวกัน หรือใช้ Price Pattern ก็ตัวเดียวกัน
...แต่ทำไมนักเทรดมือโปรได้กำไรสม่ำเสมอ?
...ทว่ามือใหม่กลับเอาตัวไม่รอด...ขาดทุนซ้ำซาก?
ปัญหามาจากเทคนิคอล? หรือมาจากส่วนอื่นกันแน่?
๓. นำเสนออีกมุมของเทคนิคอล ที่ไม่มีใครบอกคุณตรง ๆ ว่าแท้จริงแล้วเทคนิคอล
...เทคนิคอลไม่ได้สวยหรู ไม่ได้มหัศจรรย์หรือเป็นสูตรวิเศษอะไรเลย?!
... มือโปรไม่ได้มองแบบที่มือสมัครเล่นมองเลยแม้แต่น้อย!!
๔. ไม่เหมาะสำหรับคนที่บูชาเทคนิคอลแบบงมงาย
...ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรวยเร็ว ๆ จากการเทรด
... แต่เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้เทคนิคอลให้ถูกต้องแบบที่มือโปรเขาใช้กันเป็นบรรทัดฐานครับ
eBook :  การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่นักเทคนิคอลมือโปร ประสบการณ์ 10 ปี++ อยากบอกมือใหม่ รู้ก่อน...รอดก่อน มีขายที่ mebmarket นะครับ  ตามลิงค์นี้นะ http://bit.ly/436mRyO
+++++++++++++++++++++
+++++++++++++++++++++++++++++++

********
แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 
ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo



***********

เผื่อใครยังไม่รู้ว่า วอลุ่มอยู่ตรงไหน ดูรูปครับ จาก EFIN ที่ผมคิดว่าครบเครื่องที่สุด

ความจริงแล้ว ปริมาณการซื้อขาย หรือวอลุ่ม มันก็แสดงของมันอยู่อย่างนั้นแหละครับ ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ตลาดต้องรายงานให้สาธารณะรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับหุ้นตัวหนึ่ง
นอกเหนือไปจากราคาเปิด ปิด ก็มีวอลุ่มนี่แหละ

ในเว็บของตลาดหลักทรัพย์ set.or.th ก็มีแสดงนะ ไม่รู้ว่าใครเคยสังเกตุหรือเปล่า
แต่ถ้าเราเห็นตัวเลขในตารางแบบนี้ ก็คงไม่เห็นคุณค่าของมันเท่าไหร่หรอกนะ
เพราะไม่รู้จะเอาไปวิเคราะห์ยังไง



ถ้าเอาไปใส่ในกราฟประกอบกับราคา ก็จะได้เปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น
อย่างรูปข้างล่างนี้ เราก็จะเห็นความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์อย่างมาก
(กราฟจากเว็บ siamchart.com)

สังเกตุนะ ว่าผมขีดเส้นใต้คำว่า "วิเคราะห์"
กระบวนการที่ผมว่านี้ มันก็คือ การวิเคราะห์วอลุ่ม นั่นเองครับ

แล้วมันคืออะไรกันแน่?



การวิเคราะห์วอลุ่ม(Volume Analysis) นี่น่ะครับ มันเป็นกระบวนการแสวงหาความจริงที่ซ่อนอยู่ในการเคลื่อนไหวของราคา โดยการมองผ่านเลนส์ของอุปสงค์และอุปทาน อันจะเป็นปัจจัยที่อาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้

แปลไทยเป็นไทยอีกทีก็คือ เป็นวิธีการเอาแท่งราคามาใช้ร่วมกับวอลุ่มเพื่อประมวลผลหาเบาะแสว่าแนวโน้มราคาจะไปทางไหน นั่นเอง

Volume Analysis เป็นการเจาะลึกเข้าไปในเรื่องของอุปสงค์(Demand) และอุปทาน(Supply)
การซื้อขายหุ้นคือการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ (หรือการเปลี่ยนมือในตลาดประมูล) ปริมาณหุ้นที่ซื้อมักจะตรงกับปริมาณการขายตามคำสั่งดำเนินการ

เมื่อราคาเพิ่มขึ้นก็สะท้อนให้เห็นว่ามีความต้องการเกินอุปทาน (demand มากกว่า supply) หรือตลาดที่ผู้ซื้อเป็นใหญ่ หุ้นมีน้อยกว่าความต้องการซื้อ ถ้าอยากได้ก็ต้องเสนอราคาที่แพงขึ้นเรื่อยๆ

ในทำนองเดียวกันเมื่อราคาตกก็หมายถึงอุปทานได้เกินความต้องการหรือเป็นช่วงผู้ขายป็นใหญ่
จำนวนคนต้องการขาย/จำนวนหุ้น มีมากกว่าคน/ความต้อการซื้อ ถ้าอยากขายก็ต้องเสนอราคาต่ำลงเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจของคนซื้อ

มันจึงเกิดเป็นวัฏจักรของการสะสมหุ้นเพื่อจะไปแจกจ่าย แบบนี้วนไปวนมาไม่มีที่สิ้นสุด...

การวิเคราะห์วอลุ่ม จึงเป็นการเจาะลึกเข้าไปในแนวโน้มราคาเหล่านี้เพื่อตรวจสอบว่า ราคาปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากวอลุ่มหรือไม่

เป้าหมายของการวิเคราะห์วอลุ่มคือ การระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก ความไม่สมดุลในความสัมพันธ์ใด ๆ ราคากับวอลุ่ม(ปริมาณการซื้อขาย)นั่นเอง

ทั้งนี้, ก็เพื่อจะหาเบาะแสว่าราคาและวอลุ่มที่แสดงออกในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น
มันจะส่งให้เกิดแนวโน้มอะไรในอนาคตได้บ้าง


เล่มนี้มีการเขียนถึงวอลุ่มเยอะเลยครับ

....Volume นั้นสำคัญไฉน?....
คนส่วนใหญ่สนใจราคา แต่ลืมเหลียวมองวอลุ่ม
ทั้งที่จริงแล้วปริมาณการซื้อขายเป็นวัตถุดิบชั้นดีของ technical analysis เลยก็ว่าได้

เบนจามิน เกรแฮม มักจะเรียกตลาดว่าเป็น "เครื่องลงคะแนนเสียง"

ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว วอลุ่มหรือปริมาณการซื้อขาย ก็คือ กล่องลงคะแนนเสียง

วอลุ่มเป็นภาพที่แท้จริงของอำนาจที่อยู่เบื้องหลังกองกำลังของอุปสงค์และอุปทาน
วอลุ่มเป็นที่เข้าใจว่าเป็น.......
- ตัวตรวจสอบของราคา
- แหล่งที่มาของสภาพคล่อง
- เป็นเครื่องพิสูจน์ของข้อมูล
- เป็นตัวแสดงความเชื่อมั่น,
- เป็นการเปิดเผยของความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
- เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงของตลาด
- เป็นการแสดงของความจริงและพลังงานที่อยู่เบื้องหลังความเร็วของเงิน

ถ้าคุณเชื่อข้อมูลที่ว่าทั้งหมดนี้ มันจะเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจในการลงทุน, ดังนั้นการวิเคราะห์วอลุ่มเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแน่



ปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)ใช้ตรวจสอบราคาได้

ปริมาณการซื้อขายมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์หลักทรัพย์
การซื้อขายในตลาดหุ้นมันเริ่มต้นที่คำว่า “เท่าไหร่?”

เกรแฮมมักบอกว่ามันคือการโหวต (ในกระดานก็ยังมีคำว่า Bid กับ Offer นี่คือคำยืนยัน)

วอลุ่มคือปริมาณหุ้นที่ซื้อขายในตลาด
เมื่อมีการเสนอราคาขึ้นมาในตลาด(price) สิ่งที่ยืนยันว่าราคานั้นมันเหมาะสมคือวอลุ่ม
สมมุติว่าตลาดเสนอราคา A ถ้ามีปริมาณซื้อขายมากแสดงว่าราคา A มันเหมาะสมกับเวลานั้น มีคนเห็นด้วยว่าราคานั้นถูกต้อง

แต่ถ้าปริมาณการซื้อขายต่ำ(ไม่มีใครสนใจซื้อ) แสดงว่ามีความเห็นต่างกันแล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่มีความเห็นแย้งราคาที่ว่า(อาจจะถูกไปหรือแพงไปก็ได้) ราคานั้นก็จะถูกมองข้าม

ยิ่งผู้คนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการเคลื่อนไหวของราคามากเท่าไหร่ การเคลื่อนไหวของราคานั้นก็จะได้รับการเชื่อถือมากเท่านั้น

สำหรับสายเทคนิคอลแล้ว วอลุ่มเป็นตัวตัดสินคุณภาพของราคา



ปริมาณการซื้อขายคือการปล่อยสภาพคล่อง
จากตัวอย่างอีเบย์ สมมติว่าสินค้านั้นมีผู้ขายเพียงคนเดียวและไม่มีผู้ซื้อ ในกรณีนี้เราจะทำยังไงให้สามารถในขายของใด้ในราคาที่ตั้งไว้ล่ะ

เอริค โจนส์ และ เจมส์ &โรเบิร์ต ดัลตัน ได้เสนอวิธีแก้ปัญหานี้ว่า
"วอลุ่มเป็นตัวบ่งชี้ที่แท้จริงและน่าเชื่อถือที่สุดของความสามารถของตลาด
ที่จะสนับสนุนการแลกเปลี่ยน(ซื้อง่ายขายคล่อง)
ตลาดที่ขายของไม่ได้จะอยู่ไม่รอดแน่"
พูดง่ายๆคือ วอลุ่มต่ำขายยาก วอลุ่มมากขายง่าย


ปริมาณการซื้อขายใช้พิสูจน์ข้อมูลของการซื้อขายได้
นอกจากปริมาณการซื้อขายจะใช้ตรวจสอบราคาได้แล้ว มันก็ยังมีส่วนช่วยในการสร้างราคาเช่นกัน
เมื่อข้อมูลใหม่มีการเผยแพร่ให้สาธารณะรับรู้ ปริมาณการซื้อขายจะเผยให้เห็นการตอบสนองต่อข้อมูลนี้

โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการซื้อขายในตามลักษณะของข้อมูลที่ถูกปล่อยออกไป, เทรดเดอร์สามารถบอกได้ว่าข้อเท็จจริงใหม่ถูกดูดซึมโดยนักลงทุนในตลาดรวดเร็วแค่ไหน

ด้วยวิธีนี้วอลุ่มจึงสามารถใช้พิสูจน์ความสำคัญของข้อมูลใหม่
ถ้าวอลุ่มเพิ่มขึ้นก็แสดงว่านักลงทุนใหม่ให้ความสำคัญกับมันมากจึงเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่ม
ตรงกันข้าม, ถ้าข่าวสารหรือข้อมูลนั้นไม่ได้สร้างผลกระทบสักเท่าไหร่ วอลุ่มของการเข้ามาของนักลงทุนหน้าใหม่ก็ไม่มาก



ปริมาณการซื้อขายเผยความเชื่อมั่น
ปริมาณการซื้อขายหุ้นมักจะแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่แท้จริงของตลาด
สมมติว่าคุณได้ยินข่าวมาว่า นักลงทุนที่มีชื่อเสียงเพิ่งซื้อหุ้น X ไปเมื่อเวลาไม่นานนี้เอง
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วคุณซื้อหุ้น X จำนวน 1,000 หุ้น ทันที

แต่แล้วต่อมา คุณได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่านักลงทุนที่มีชื่อเสียงคนนั้น ซื้อมันไปแค่ 100 หุ้นเอง
เชื่อเลยว่า คุณก็ชักจะเริ่มไม่มั่นใจในตัวหุ้น X นั้นแล้วแล้วล่ะ อาจจะขายหุ้นทิ้งก็ได้

ทั้งนี้เพราะคุณคาดหวังว่านักลงทุนที่ร่ำรวยที่จะซื้อ สักล้านหุ้น
แต่ถ้าไม่เป็นไปดังคาด ก็จะเกิดความไม่เชื่อมั่นนั่นเอง


มาดูในโลกของความเป็นจริงบ้าง
ผมชอบเรียกช่วงนี้ว่า Volume Divergence
ดูรูปกันก่อน

หากราคาวิ่งสูงขึ้น แต่ไม่มีวอลุ่มสนับสนุน ก็จะไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุน
ในไม่ช้าราคาก็จะถูกเทขายลงมา เพราะคนไม่แน่ใจในการขึ้นครั้งนั้น

แถมอีกรูป


วอลุ่มแสดงออกถึงความสนใจและความกระตือรือร้น
การลงทุนคือการย้ายที่อยู่ของเงิน
มีเพียงสองเหตุผลที่นักลงทุนเลือกที่จะลงทุนคือ
๑) เมื่อเห็นโอกาส
๒)  เพื่อลดความเสี่ยง

ดังนั้นเมื่อปริมาณการซื้อขายมีการเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่านักลงทุนเชื่อว่ามีความน่าสนใจมากขึ้นและความกระตือรือร้นที่จะเข้ามาในตลาด (ไม่ว่าจะเป็นในด้านการซื้อหรือขาย)
หากวอลุ่มลดลงแสดงให้เห็นว่านักลงทุนมองไม่เห็นโอกาสในการทำกำไร



วอลุ่มหมายถึงความต่างของความเห็น
ปริมาณการซื้อขายสามารถสอนให้นักลงทุนเข้าใจถึงความแตกต่างกันในความคิดเห็น
บ่อยครั้งที่ข้อมูลและความเห็นผลักดันลงทุนเลือกข้างโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงขั้นพื้นฐาน(หรือเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัด)

ปริมาณการซื้อขาย คือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ว่ามีความคิดเห็นแตกต่าง แต่ละฝั่งก็พนันในข้างที่ตนเองเชื่อ ยิ่งเห็นต่างยิ่งมากผลตอบแทนจากความคาดหวังจากการพนันก็ยิ่งมากตาม

ถ้าวอลุ่มออกมาสูง เท่ากับความเห็นต่างต่อราคานั้นมีมาก
กลุ่มคนที่ยังคิดว่าราคานี้ยังถูกเกินไปก็ไล่ซื้อ
ส่วนกลุ่มคนที่คิดว่าราคานี้แพงเกินไปแล้วก็ขายออก
จึงเกิดภาวะหมีและกระทิงสู้กัน

ส่วนวอลุ่มที่น้อยก็สามารถแสดงถึงความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน
มันคือความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าราคาเหมาะสมแล้วในขณะนั้น

ยกตัวอย่างเหตุุการณ์จริงให้เห็นภาพ
หุ้น 2S เมื่อวานนี้ ดูแท่งแดงไส้ยาวแท่งสุดท้าย ที่ผมลากเส้นตั้งผ่านนะ นั่นเป็นแท่ง 1 วัน

เมื่อเรามีโอกาสเฝ้าดู bid offer และกราฟราย 1 นาที คุณจะเห็นแบบนี้

น่าจะเห็นภาพชัดขึ้นนะ

มีทริกเล็กน้อย



จากรูป ถ้าคุณใช้โหมด Buy/Sell Volume Analysis ของ EFIN จะเห็นชัดว่าในแต่ละแท่งนั้นมันแสดงออกถึงความขัดแย้งกันของฝั่งซื้อและขายได้ชัดเจนมากๆ
สีส้มคือฝั่งซื้อพนันว่าจะขึ้นก็เลยซื้อ
สีม่วง แสดงออกถึงฝั่งที่มองว่าราคาจะลงต่อ ก็เลยขายออก

ถ้าใครยังไม่รู้ก็ เข้าไปหาตามรูปนะ



ปริมาณการซื้อขายคือน้ำมันเชื้อเพลิงของตลาด
เครื่องยนต์จะทำงานได้จะต้องใช้เชื้อเพลิง เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงของตลาด
ก็คืออุปทาน (ความต้องการขาย / supply) และอุปสงค์(ความต้องการซื้อ / demand)
วอลุ่มเป็นตัววัดยอดรวมดีมานด์และซัพพลายที่มาจากนักลงทุนในตลาด

วอลุ่มจึงเป็นเชื้อเพลิงที่ช่วยให้ตลาดขับเคลื่อนไปข้างหน้า


ปริมาณการซื้อขายคือการตีแผ่ความจริง
หากราคาคือความจริง
ปริมาณการซื้อขายช่วยให้ราคาเที่ยงตรง

ความจริงแล้วสถาบันหรือนักลงทุนใหญ่ต้องการที่จะซื้อหรือขายอย่างเงียบๆ
แต่เป็นว่าพวกเขาไม่สามารถทำได้เพราะด้วยจำนวนเงินที่มหาศาล พวกเขาจึงต้องเลือกหลักทรัพย์ที่จะหลีกเลี่ยงผู้ที่ส่งผลกระทบต่อราคาจากการเข้าซื้อของพวกเขาเอง
หลังจากที่ซื้อแล้ว สถาบันจะต้องระมัดระวัง: ถ้าคนอื่นรู้ก่อนล่ะ? อาจจะมีการดักซื้อก่อนได้ ....

ในอีกด้าน
วิธีการหนึ่งที่จะซ่อนการขายล็อตใหญ่ได้ คือการขายที่ "offer" หรือซื้อได้ที่ "bid" ในขณะนั้นเลย........
อย่างไรก็ตาม ถ้าดูวอลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงมหาศาลก็ยังตามเจออยู่ดี


วอลุ่มก่อเกิดให้ความเร็ว
ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะต้องสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้น

Dow Theory เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดจากปริมาณการซื้อขายจำนวนมากแสดงถึงความเห็นส่วนใหญ่ในตลาด ซึ่งถือเป็นสัญญาณสนับสนุนที่สำคัญของแนวโน้มที่เกิดขึ้น

ถ้าใครเล่น Daytrade ด้วยกราฟรายนาที ภาพแบบนี้คุณต้องคุ้นกันแน่ๆ
วอลุ่มเข้าราคาวิ่ง ราคานิ่งวอลุ่มแห้ง

ราคาที่วิ่งแรงๆ จะมาพร้อมกับวอลุ่มที่สูงเสมอ


สรุป
สรุปว่า วอลุ่มการซื้อขายเป็นส่วนสำคัญของข้อมูลการลงทุน
เพราะมันสามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นในสองส่วนที่สำคัญมากๆคือ
1) โดยระบุการเปลี่ยนแปลงของราคาก่อนที่มันจะเกิดขึ้น

สำหรับ Day trader วอลุ่มแท่งแรกคือสิ่งสำคัญที่สุด มันคือจุดประกาย จุดเปลี่ยนเกมส์


2) และด้วยการช่วยให้นักเทคนิคอลตีความหมายของการเปลี่ยนแปลงของราคาที่มันเกิดขึ้น


จบในบทของความหมาย เดี๋ยวตอนหน้ามาว่ากันเรื่องใหม่
ส่วนประเด็นการ Daytrade ผมจะมีอีกบทความเฉพาะเรื่องนี้มาให้อ่านในโอกาสต่อไปครับ


(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ






และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)