ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล

Image
ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล แล้วลองผลักน้ำจากฝั่ง ทำคลื่นดันกลับเข้าไปหาทะเล สร้างคลื่น สู้กับทะเล ลองทำดู ทั้งคลื่นลูกเล็ก และคลื่นลูกใหญ่ คุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะสร้างคลื่นดันกลับไปในรูปแบบไหน คุณจะไม่มีทางชนะคลื่นจากทะเลได้เลย  ไม่มีทาง ความจริงที่คุณได้จากเรื่องนี้คือ "ตลาดจะถูกเสมอ" . Market Wizards ยอมรับตรงกันว่า "ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ" พวกเขาไม่เคยหัวเสียกับตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) พวกเขาไม่เคยโทษตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) . พวกเขาแค่ยอมรับว่าตลาดจะทำในสิ่งที่มันจะทำ พวกเขาแค่ยอมรับว่าเขาไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ จากนั้นสิ่งที่พวกเขาทำก็คือ ๑) อ่านตลาด ๒) แยกแยะความเสี่ยงกับโอกาสให้ได้ ๓) หาโอกาสทำเงินเมื่อตลาดให้โอกาส และอยู่เฉย ๆ ถือเงินสดเมื่อตลาดเป็นความเสี่ยง ๔) คิดก่อนเสมอว่า "ถ้าตลาดไม่ให้เงิน(เทรดขาดทุน) ฉันจะยอมเสียกี่บาท" การเอาตัวรอด คือเป้าหมายแรกของยอดนักเทรด เพราะคิดแบบนี้...ไม่ว่าตลาดจะร้ายแค่ไหน ยอดนักเทรดก็จะรอดเสมอ #จิตวิทยาการเทรด #ปั้นพอร์ต #วินัยนัก

(สรุปหนังสือ) The Power of Less : ทำน้อยให้ได้มาก

The Power of Less
ทำน้อยให้ได้มาก


สาเหตุที่ทำให้ผมสนใจเล่มนี้ ก็เพราะอยากรู้แนวทางของการเลือกทำในสิ่งที่สำคัญที่สุด 
โฟกัสแค่ไม่กี่อย่าง ไม่ต้องทำอะไรจับฉ่าย หัวเรื่องทำน้อยได้มาก 
จึงน่าจะช่วยตอบคำถามและสนองความต้องการของผมได้ 
อีกทั้งยังอยากรู้ว่าเขามีวิธีการเลือกและรอคอยที่น่าสนใจอยู่ภายในเล่มบ้างหรือไม่
ก็ได้ข้อมูลหลายอย่างที่มีประโยชน์ ดังนี้...

ความเรียบง่าย
ผมเชื่อในความเรียบง่ายอย่างหมดใจ เมื่อทำชีวิตให้เรียบง่ายขึ้น ชีวิตผมก็ดีขึ้น
เมื่อลดจำนวนสิ่งรบกวน ผมก็สามารถเพลิดเพลินไปกับสิ่งที่ผมรัก เมื่อกำจัดสิ่งที่ทำให้ไขว้เขว ผมก็ทำงานได้ดีขึ้นและจดจ่อได้มากขึ้น

ความเรียบง่ายที่ผมตามหาในชีวิต ก็คือความเรียบง่ายในทุกสิ่งที่ผมทำ ผมอยากทำสิ่งต่างๆให้น้อยลง ไม่ใช่มากขึ้น
ผมอยากประสบความสำเร็จมากขึ้น จากสิ่งที่ผมเลือกที่จะทำ
ความเรียบง่าย สามารถสรุปเหลือเพียง ๒ ขั้นตอนดังนี้
๑) มองหาสิ่งสำคัญ
๒) กำจัดส่วนที่เหลือ
พูดง่ายๆคือ "จดจ่อกับสิ่งสำคัญ และลดทอนส่วนอื่นๆที่ไม่จำเป็น"



หลักการ ๖ ข้อ ในการทำน้อยให้ได้มาก
๑) สร้างข้อจำกัด
๒) เลือกแต่สิ่งสำคัญ
๓) ทำให้เรียบง่ายขึ้น
๔) จดจ่อ
๕) สร้างนิสัย
๖) เริ่มจากสิ่งเล็กๆ

เลือกสิ่งที่สร้างผลกระทบมากที่สุด
๑) ตรวจสอบงานทั้งหมดที่คุณต้องทำ แล้วตั้งคำถามกับงานแต่ละชิ้นว่า
- มันจะสร้างผลกระทบได้ยาวนานกว่าแค่สัปดาห์หรือเดือนนี้ไหม?
- มันจะเปลี่ยนตำแหน่งงานอาชีพคือชีวิตของฉันอย่างไร?
- มันจะส่งเสริมเป้าหมายระยะยาวของฉันอย่างไร?
- และเป้าหมายที่ว่านั้น มันสำคัญอย่างไร? คำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณฟังธงได้ว่า งานไหนที่สร้างผลกระทบในระยะยาวมากที่สุด

๒) เริ่มต้นจากเป้าหมายของคุณ
หากคุณสามารถระบุเป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จในปีหน้าออกมาได้ คุณก็จะวางแผนได้ว่าในแต่ละวันคุณต้องทำสิ่งใดบ้าง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ใช้การสร้างข้อจำกัดกับทุกแง่มุมของชีวิต
จงใช้ข้อจำกัดเพื่อบีบให้เราเลือกแต่สิ่งสำคัญ
- คุณมีโครงการที่ต้องทำมากเกินไปใช่ไหม?
ลองจำกัดให้เหลือแค่ 3 โครงการดูสิ

การถามตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
- ฉันรู้สึกว่าด้านใดในชีวิตที่หนักหนาจนเกินรับไหว?
- ฉันอยากทำสิ่งใดให้เรียบง่ายขึ้น?
- นอกจากงานด้านต่างๆที่ฉันต้องทำให้สำเร็จ ฉันอยากจำกัดจำนวนข้าวของ ข้อมูลที่ได้รับ หรือภาระหน้าที่ของตัวเองด้วยหรือไม่?

การไร้ข้อจำกัดคือความอ่อนแอ
จงเรียนรู้ที่จะจดจ่อด้วยข้อจำกัด แล้วคุณจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตัวเองได้



ประโยชน์ของการสร้างข้อจำกัด
- ทำให้สิ่งต่างๆเรียบง่ายขึ้น
- ทำให้คุณจดจ่อ แทนที่จะทำนั่นทำนี่จนเหนื่อยล้า คุณจะจำกัดตัวเองให้อยู่กับแค่ไม่กี่เรื่องที่คุณจำเป็นต้องทุ่มเทพลังให้จริงๆ
- ช่วยให้คุณพุ่งเป้าไปที่สิ่งสำคัญ
- ช่วยให้คุณทำงานเสร็จ ถ้าเราสามารถจดจ่อกับเรื่องสำคัญเพียงไม่กี่เรื่อง เราจะทำมันจนเสร็จได้ทั้งหมด จำไม่ว่าคุณจะทำงานเสร็จมากขึ้น ด้วยการจดจ่อกับเรื่องสำคัญ
- ทำให้คุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวทางการสร้างข้อจำกัดให้กับเรื่องใดก็ตาม
๑)วิเคราะห์ระดับการใช้ในปัจจุบัน และจำกัดจำนวนครั้งให้น้อยลง โดยตั้งต้นจากจำนวนที่เหมาะสมในความคิดของคุณ
๒) ทดลองใช้ไปสัก 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงวิเคราะห์ว่าข้อจำกัดดังกล่าวใช้ได้ผลกับคุณหรือไม่?
๓) ถ้าไม่ได้ผล ให้ปรับไปสู่ระดับที่คุณคิดว่าน่าจะดีกว่า และทดลองใช้สัก 1 สัปดาห์
๔) ปรับแต่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งค้นพบระดับที่เหมาะสมและจนกว่ามันจะกลายเป็นนิสัย



การเลือกสิ่งสำคัญ
คุณต้องตั้งคำถามต่อไปนี้
๑) ค่านิยมของคุณคืออะไร?
ค่านิยมคือการรู้ว่าสิ่งไหนมีความสำคัญที่สุด จงนึกถึงสิ่งต่างๆที่สำคัญต่อคุณอย่างแท้จริง คุณสมบัติที่คุณอยากมี หรือหลักการที่คุณอยากนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

๒) เป้าหมายของคุณคืออะไร?
คุณอยากทำสิ่งใดในชีวิตให้สำเร็จ ไม่ว่าจะภายในปีหน้า เดือนนี้ หรือวันนี้ หากคุณรู้ว่าตัวเองกำลังพยายามทำสิ่งใดให้สำเร็จ คุณก็สามารถตัดสินใจได้ว่าการกระทำ หรือสิ่งใดก็ตามจะช่วยให้คุณบรรลุผลที่ต้องการได้หรือไม่

๓) คนรักในสิ่งใด?
นึกถึงสิ่งที่คุณรัก คนที่อยากใช้เวลาร่วมด้วย และสิ่งที่คุณมีใจรักที่จะทำ

๔) อะไรที่มีความสำคัญต่อตัวคุณ?
ให้เขียนสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตออกมาทั้งหมด จะเป็นเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องใดก็ได้ที่คุณกำลังนึกถึง

๕) อะไรที่สร้างผลกระทบมากที่สุดในระยะยาว?

๖) ความจำเป็นกับความอยากได้?
ถ้าคุณระบุได้ว่าสิ่งใดจำเป็นจริงๆ หรือคุณแค่อยากได้ ถ้าระบุได้ คุณก็สามารถกำจัดหลายๆสิ่งที่คุณแค่อยากได้และไม่มีตังค์จำเป็นใดๆทิ้งไป

๗) กำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญ
ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าสิ่งใดสำคัญ บางครั้งการทำตรงกันข้ามก็มีประโยชน์ จงเริ่มจากการขีดฆ่าสิ่งที่ไม่สำคัญออกไป ทันทีที่กำจัดเรื่องที่ไม่สำคัญออกไปได้ ก็จะเหลือแต่เรื่องที่สำคัญกว่าในรายการของคุณ

๘) ขั้นตอนการปรับแต่งอย่างต่อเนื่อง
ลองตัดสิ่งไม่สำคัญบางอย่างออกไป แล้วลงมือทำสิ่งที่เหลือ จากนั้นจึงค่อยทบทวนอีกครั้งในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ แล้วพยายามตัดสิ่งอื่นเพิ่มเติม ทำตามกระบวนการนี้ไปจนกว่าคุณจะรู้สึกว่าไม่สามารถตัดอะไรออกได้อีก

การจดจ่อกับเรื่องเดียว
จงจดจ่อว่าจะทำงานให้น้อยลงเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จงจดจ่อกับเป้าหมายเดียวเพื่อทำให้สำเร็จ จงจดจ่อกับปัจจุบันเพื่อลดความกังวลและความตึงเครียด



วิธีจดจ่อเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น
๑) จดจ่อกับเป้าหมาย
ถ้าคุณสามารถจดจ่อกับเป้าหมายหรือนิสัยอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตลอด คุณจะบรรลุเป้าหมายหรือสร้างนิสัยนั้นขึ้นได้เสมอ

๒) จดจ่อกับปัจจุบัน
มันช่วยลดความตึงเครียด ช่วยให้คุณสนุกกับชีวิตอย่างเต็มที่ และยังช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในตัวคุณด้วย

๓) จดจ่อกับงานที่อยู่ตรงหน้า
คุณเคยทุ่มเทให้กับงานอะไรสักอย่างจนลืมโลกรอบตัวไปเลยหรือไม่? คุณไม่สนใจเวลาและเอาแต่จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำ นี่ไงล่ะครับสิ่งที่เรียกว่า "ภาวะลื่นไหล" อันเป็นองค์ประกอบสำคัญไปสู่ความสุข ถ้าคุณมีงานหลักและงานอดิเรกที่ดึงคุณเข้าสู่สภาวะลื่นไหลได้ คุณจะมีความสุขอย่างไม่ต้องสงสัย
เราไม่ได้เพลิดเพลินสุดๆเวลาที่สมองว่างเปล่า แต่เป็นเวลาที่หัวสมองจดจ่อกับเรื่องท้าทายต่างหาก เพราะฉะนั้น ให้มองหางานที่คุณหลงไหล จากนั้นก็กำจัดทุกสิ่งที่ทำให้ไขว้เขวทิ้งไป แล้วจดจ่ออย่างเต็มที่กับงานที่คุณวางไว้ตรงหน้า

๔) จดจ่อกับความคิดเชิงบวก
จงรู้ทันความคิดเชิงลบและพยายามแทนที่มันด้วยความคิดเชิงบวก
จงเรียนรู้ที่จะจดจ่อกับความคิดเชิงบวก ลองคิดว่าคุณรู้สึกดีแค่ไหน ลองคิดว่าในเมื่อคนอื่นเคยทำสำเร็จ คุณเองก็ทำได้เช่นกัน ลองคิดถึงความรู้สึกดีๆที่จะเกิดขึ้น เมื่อคุณพยายามทำสิ่งที่ทำอยู่จนสำเร็จ



สร้างนิสัยใหม่ ด้วยการพิชิตคำท้า
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างนิสัยใหม่ขึ้นมาภายในเวลา 30 วัน
มีขั้นตอนดังนี้
๑) เลือกนิสัยที่ต้องการสร้างมาหนึ่งอย่าง เอาที่มันสร้างผลกระทบต่อชีวิตและเป้าหมายของคุณมากที่สุด
๒) เขียนแผนการขึ้นมา ระบุให้ชัดว่าเป้าหมายในแต่ละวันคืออะไร คุณจะทำเมื่อไหร่ อะไรคือสิ่งกระตุ้นของคุณ(ซึ่งมันก็คือเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงนิสัยนั้นเข้ากับสิ่ง ที่คุณทำเป็นกิจวัตรอยู่แล้ว - ถ้าทำได้แล้ว คุณจะให้รางวัลตัวเองยังไง)
๓) ประกาศเป้าหมายให้คนอื่นรับรู้
๔) รายงานความคืบหน้ารายวัน มันจะช่วยกระตุ้นให้คุณอยากแสดงนิสัยนั้นออกมาทุกวัน
๕) ฉลองให้กับนิสัยใหม่ของคุณ

เริ่มต้นทีละน้อย
ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะกระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนแปลง เรามักเริ่มต้นด้วยความหึกเหิมสุดๆ แต่ปัญหาก็คือความกระตือรือร้นจะเหือดหายไปภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์ และเป้าหมายของคุณก็พังไม่เป็นท่า

ทางออกก็คือให้เริ่มต้นทีละน้อย
จงนำไปใช้กับทุกอย่างที่คุณทำ จงใช้กับเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงนิสัย และการเปลี่ยนแปลงใดๆก็ตามในชีวิตของคุณ จงเริ่มต้นด้วยเป้าหมายที่ง่ายที่สุด แม้จะรู้ว่าตัวเองสามารถทำได้มากกว่านั้น



ทำไมการเริ่มต้นทีละน้อยจึงใช้ได้ผล?
๑) ช่วยจำกัดขอบเขตความสนใจของคุณ
หากคุณเริ่มต้นทีละน้อย คุณจะสามารถจำกัดขอบเขตความสนใจ ส่งผลให้คนมีอำนาจควบคุมมากขึ้น

๒) ช่วยเพิ่มพลังและความกระตือรือร้นของคุณในระยะยาว
การเริ่มต้นด้วยการทำให้น้อยกว่าที่ตัวคุณทำได้จริง จะช่วยเพิ่มพลังและความกระตือรือร้นในตัวคุณได้

๓) รับมือได้ง่ายกว่า
ความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยก็คือ ยิ่งง่ายเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น โดยเฉพาะในตอนเริ่มต้น ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ยาก จนไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง คุณย่อมมีแนวโน้มสูงมากที่จะล้มเหลว

๔) เป็นหลักประกันว่าคุณจะประสบความสำเร็จ
จงเลือกเป้าหมายเล็กๆที่คุณมั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน
จริงอยู่ที่ความสำเร็จเพียงเล็กน้อยย่อมไม่น่าพอใจเท่ากับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ แต่มันจะเป็นเช่นนั้นในแค่ระยะสั้น ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยความสำเร็จเล็กๆ มันจะเป็นรากฐานของความสำเร็จเล็กๆที่ตามมาอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดคุณจะมีกลุ่มก้อนของความสำเร็จเล็กๆที่รวมกันเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนั่นก็ดีกว่าความล้มเหลวอันยิ่งใหญ่เป็นไหนๆ

๕) การเปลี่ยนแปลงทีละน้อยให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนกว่า
ลองนึกถึงการลดน้ำหนักดูก็ได้ครับ ถ้าคุณเอาจริงเอาจังได้ลดน้ำหนักได้ 18 กิโลภายในเวลา 2 เดือน คุณคงรู้สึกอิ่มเอมใจมาก แต่น้ำหนักที่ลดได้นั้นจะหวนคืนกลับมา และอาจมากกว่าเดิมด้วยซ้ํา
ในทางกลับกัน, การเปลี่ยนแปลงทีละน้อย อาจทําให้คุณลดน้ำหนักได้แค่ 0.5 - 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่น้ำหนักที่ลดลงจะไม่ย้อนกลับมาอีก
จงเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง เพราะคุณจะยึดมั่นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้มากกว่าการพยายามโหมเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในคราวเดียว

ภาวะลื่นไหล
มันเป็นภาวะจิตใจที่ก่อตัวขึ้นเมื่อคุณหมกมุ่นอยู่กับงานจนไม่สนใจเวลาและโลกรอบตัว เราทุกคนต่างเคยผ่านภาวะนี้กันมาแล้ว เคล็ดลับก็คือจงเรียนรู้ที่จะดึงตัวเองให้เข้าสู่ภาวะลื่นไหลอยู่เสมอ
วิธีเข้าสู่ภาวะเลือดไหลมีดังนี้
๑) เลิกงานที่คุณชอบ
๒) เลือกงานที่ท้าทายแต่พอดี
๓) กำจัดสิ่งที่ทำให้วอกแวก
๔) หมกมุ่นอยู่กับงาน

ว่าด้วยแรงจูงใจ
ในการบรรลุเป้าหมายใดๆก็ตาม หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือการค้นหาแรงจูงใจกับเป้าหมายเหล่านั้น หากคุณยึดมั่นอยู่กับเป้าหมายได้นานพอ คุณก็จะไปถึงจุดหมายที่วางไว้ขอแค่อดทนและมีแรงจูงใจเท่านั้น
แรงจูงใจคือหัวใจสำคัญ แต่การค้นหาแรงจูงใจให้ได้วันแล้ววันเล่านั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป
แรงจูงใจคือสิ่งที่ผลักดันคุณไปสู่เป้าหมาย มันเป็นสิ่งที่ทำให้คุณก้าวต่อไปเมื่ออะไรๆเริ่มยากลำบาก มันคือเหตุผลที่ทำให้คุณตื่นแต่เช้าออกกำลังกายหรือทำงานจนดึกดื่นเพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วง

แรงจูงใจคือความรู้สึกที่ว่าคุณอยากจะทำบางอย่าง เช่น อาจมีบางวันที่คุณไม่อยากตื่นเช้าและในช่วงเวลานั้นความคิดเดียวในห้องคุณว่าคือคุณอยากนอนต่อ แต่ถ้าคุณมีเหตุผลที่ทำให้อยากตื่นแต่เช้า มีบางอย่างที่คุณอยากทำจริงๆ คุณก็จะลุกจากเตียงด้วยความกระตือรือร้น
แรงจูงใจที่ดีที่สุดคือความปรารถนาต่ออะไรสักอย่าง คุณจะรู้สึกตื่นเต้นและหลงใหลไปกับสิ่งนั้น เพราะถ้าคุณอยากทำอะไรบางอย่างนี้จริงๆ คุณจะทุ่มเทความพยายามไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

๘ วิธีสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองตั้งแต่จุดเริ่มต้น
๑) เริ่มต้นทีละน้อย
ให้เริ่มต้นด้วยเป้าหมายเล็กๆ ที่ง่ายดายจนน่าขัน แล้วค่อยๆเติบโตจากจุดนั้น
๒) เป้าหมายหนึ่งเดียว
คุณต้องเลือกเป้าหมายเพียงหนึ่งอย่างสำหรับตอนนี้ แล้วจดจ่อกับมันให้เต็มที่
๓) ตรวจสอบแรงจูงใจ
ทำความเข้าใจเหตุผลของคุณเองใช้เวลาไตร่ตรองเรื่องนี้....แล้วเขียนออกมา

๔) ต้องการอย่างสุดหัวใจ
แค่คิดว่าการทำบางสิ่งบางอย่างสำเร็จคงเป็นเรื่องดีนั้น....ยังไม่เพียงพอ แต่มันต้องเป็นสิ่งที่คุณหลงใหลทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นสุดขีดและโหยหาอย่างสุดหัวใจ จงทำให้แน่ใจว่าเป้าหมายของคุณตรงตามเกณฑ์เหล่านี้ มิฉะนั้นคุณจะไม่สามารถยึดมั่นอยู่กับมันได้มากนัก

๕) ประกาศให้คนอื่นรับรู้

๖) รู้สึกตื่นเต้น
ความตื่นเต้นเกิดจากการได้รับแรงบันดาลใจจากคนอื่น ให้นึกภาพว่าจะเป็นอย่างไรถ้าทำสำเร็จ จินตนาการให้เห็นถึงประโยชน์ของเป้าหมายดังกล่าว แล้วคุณจะรู้สึกตื่นเต้นไปกับเป้าหมายนั้น ที่เหลือก็แค่คอยประคับประคองพลังดังกล่าวเพื่อผลักดันตัวเองไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

๗) สร้างความคาดหวัง
ถ้าคุณค้นพบแรงบันดาลใจและต้องการไปให้ถึงจุดหมาย อย่าเริ่มต้นทันที!!
มีหลายคนที่รู้สึกตื่นเต้นและอยากเริ่มวันนี้เลย แต่นั่นจะเป็นความผิดพลาด!! ขอให้กำหนดวันไว้ล่วงหน้า อาจเป็นอีกหนึ่งหรือสองสัปดาห์ หรือแม้แต่ 1 เดือนข้างหน้า กำหนดให้มันเป็นวันเริ่มต้นของคุณ ทำเครื่องหมายไว้บนปฏิทินไปให้ตัวเองให้ตื่นเต้นไปกับกำหนดการนั้น ให้มันเป็นวันสำคัญที่สุดของชีวิต เมื่อคุณยืดเวลาที่จะเริ่มต้นออกไป มันเท่ากับว่าคุณกำลังสร้างความคาดหวังขึ้นมา ผลที่ตามมาก็คือคุณจะจดจ่ออยู่กับเป้าหมายมากขึ้น และมีพลังที่จะก้าวสู่เป้าหมายมากขึ้นด้วย

๘) พิมพ์เป้าหมายออกมาแปะไว้



๒๐ วิธีรักษาแรงจูงใจไม่ให้ล้มเลิกกลางคัน
๑) รู้จักยับยั้งชั่งใจ
อย่าเพิ่งเริ่มต้นด้วยการทุ่มเทสุดตัว การรู้จักยับยั้งชั่งใจก็คือไม่ปล่อยให้ตัวเองทำทุกอย่างที่ต้องการ ให้ทำเพียง 50 ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่อยากทำเท่านั้น แล้ววางแผนที่จะเริ่มประดับอย่างค่อยเป็นค่อยไป

๒) ขอแค่เริ่มทำ
แทนที่จะคิดว่ามันยากและต้องใช้เวลานานแค่ไหน ให้หันมาบอกตัวเองให้เริ่มต้นทำก็พอ จากนั้นทุกอย่างก็จะลื่นไหลไปเองโดยธรรมชาติเมื่อคุณได้เริ่มทำคุณจะพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย

๓) คอยรายงานผล
หากคุณประกาศให้คนอื่นรับรู้ผ่านทางเว็บบอร์ด บล็อก หรืออีเมล หรือบอกเป็นการส่วนตัว ต้องรายงานผลกับคนกลุ่มนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือเป็นระยะๆ และยึดมั่นอยู่กับมัน
การรายงานผลอย่างสม่ำเสมอช่วยให้คุณอยากทำให้ออกมาดี เพราะคุณคงไม่อยากรายงานผลให้คนอื่นๆรู้ว่าตัวเองล้มเหลวไม่เป็นท่าหรอกนะ

๔) กำจัดความคิดเชิงลบและแทนที่ด้วยความคิดเชิงบวก

๕) นึกถึงประโยชน์ที่ได้รับ
ปัญหาใหญ่ของคนส่วนใหญ่ก็คือการเอาแต่คิดว่าการทำอะไรสักอย่างนั้นยากแค่ไหน การตื่นเช้านี้ยากจัง แค่คิดก็ท้อแล้ว
แต่แทนที่จะคิดว่ามันยากแค่ไหน ให้หันไปคิดว่าคุณจะได้อะไรจากมันดีกว่า

๖) ตื่นเต้นไปกับมันอีกครั้ง
ลองกลับไปคิดดูว่าทำไมตอนแรกที่คุณลงมือทำถึงได้รู้สึกตื่นเต้นกับมันจัง แล้วให้ดึงความรู้สึกนั้นกลับมาอีกที ทำไมคุณถึงอยากบรรลุเป้าหมายนั้น คุณหลงใหลอะไรเกี่ยวกับมัน พยายามสร้างความรู้สึกเหล่านั้นขึ้นมาใหม่ กลับมาจดจ่ออีกครั้ง เติมพลังในตัวเองให้เต็ม

๗) อ่านเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย
เมื่อหมดแรงจูงใจ ให้คุณกลับไปอ่านบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของคุณ มันจะสร้างแรงกระตุ้นให้เรารู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นมา

๘) ค้นหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์
๙) อ่านเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ

๑๐) ต่อยอดจากความสำเร็จของคุณ
ทุกย่างก้าวเล็กๆตลอดการเดินทางถือเป็นความสำเร็จทั้งสิ้น แม้แต่การเริ่มลงมือทำก็ฉลองได้แล้ว ต้องฉลองให้กับความสำเร็จเล็กๆน้อย รับเอาความรู้สึกนั้นแล้วนำมาต่อยอดด้วยก้าวเล็กๆลำดับถัดไป

๑๑) ผ่านจุดตกต่ำไปให้ได้
แรงจูงใจจะไม่คงระดับเดิมตลอดเวลา มันมาแล้วก็ไปหมุนเวียนไปอยู่อย่างนั้น ไม่ต่างจากกระแสน้ำที่มีขึ้นมีลง แต่จงตระหนักไว้ว่าแม้มันจะจากไป แต่จะไม่เป็นเช่นนั้นตลอดกาล สักวันหนึ่งมันจะกลับมา
ต้องยืนยันและรอคอยให้แรงจูงใจหวนคืนมา ในขณะเดียวกันก็ให้หยิบหนังสือที่เกี่ยวกับเป้าหมายของคุณมาอ่าน

๑๒) ขอความช่วยเหลือ
๑๓) บันทึกความก้าวหน้า
๑๔) หมั่นให้รางวัลกับตัวเอง
๑๕) มุ่งสู่เป้าหมายขนาดย่อม
๑๖) หาครูฝึกหรือลงคอร์สเรียนในชั้นเรียน
๑๗) อย่าข้ามไป 2 วันติดกัน

๑๘) นึกภาพในใจ
ขอให้นึกภาพวันแห่งความสำเร็จอย่างละเอียด หลับตาและคิดว่าผลลัพธ์ที่แท้จริงของความสำเร็จมีหน้าตาอย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร มีกลิ่นรสหรือเสียงเป็นเช่นใด คุณจะอยู่ที่ไหนตอนที่ประสบความสำเร็จ คุณจะดูเป็นอย่างไรและใส่ชุดอะไรอยู่ นึกภาพให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้
กุญแจสำคัญก็คือ จงทำเช่นนี้ทุกวัน อย่างน้อยประมาณวันละ 2-3 นาที เพราะนี่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้แรงจูงใจคงอยู่ไปอย่างยาวนาน

๑๙) คอยระวังแรงกระตุ้นให้ล้มเลิก
เอาชนะมันให้ได้ เราทุกคนมีแรงกระตุ้นให้หยุดกลางคัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
วิธีรับมือที่ทรงพลังที่สุดก็คือพยายามรู้เท่าทันแรงกระตุ้นเหล่านั้น

๒๐) มองหาความพอใจอีกครั้ง
ไม่มีใครยืนหยัดอยู่กับบางเรื่องได้นานถ้าหากเขาคิดว่ามันไม่น่าพอใจ และกว่าจะได้ผลตอบแทนก็ต่อเมื่อต้องทุกข์ทรมานอยู่นานหลายเดือน เราควรรู้สึกสนุกพอใจและรื่นเริงไปกับมันได้ทุกวัน ขอให้ค้นหาสิ่งต่างๆที่ทำให้คนรู้สึกพอใจ เช่นความมีชีวิตชีวาของการวิ่งในยามเช้า ความพึงพอใจที่ได้รายงานผลให้คนอื่นรับรู้ว่าคุณทำสำเร็จไปอีกขั้นหนึ่ง และรสชาติแสนอร่อยของอาหารเพื่อสุขภาพ



แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 

ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo


***********

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ