แนะนำอีบุ๊ค "Kaizen Trader" พัฒนาแค่วันละ 1% แต่ปั้นพอร์ตให้เติบโตได้ตลอดชีวิต

Image
https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM3MzIxNzt9 Kaizen Trader พัฒนาแค่วันละ 1% แต่ปั้นพอร์ตให้เติบโตได้ตลอดชีวิต --- เพราะการเทรดคือเส้นทางของการเติบโต “ไม่มีใครเริ่มต้นเทรดแล้วรวยทันที แค่ดีขึ้นกว่าเมื่อวานนิดเดียว... ก็เพียงพอแล้วสำหรับความมั่งคั่งในระยะยาว” นี่คือแนวคิดเบื้องหลัง Kaizen Trader – eBook เล่มใหม่ล่าสุด ที่จะเปลี่ยนวิธีคิดของคุณเกี่ยวกับการเทรดไปตลอดกาล --- ทำไมนักเทรดส่วนใหญ่ “ไปไม่รอด”? เพราะพวกเขา... พยายามหาวิธีรวยเร็ว เปลี่ยนระบบทุกสัปดาห์ ตัดสินตัวเองจากกำไรขาดทุนแบบวันต่อวัน และที่แย่ที่สุด: หมดกำลังใจเมื่อเจอวันพอร์ตแดง ในขณะที่ “นักเทรดที่อยู่รอดและเติบโตจริง” กลับมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ... "พวกเขาไม่หยุดพัฒนา แม้เพียงเล็กน้อยในทุก ๆ วัน" --- แล้ว “ไคเซ็น” คืออะไร? ไคเซ็น (Kaizen) คือแนวคิดญี่ปุ่นที่แปลว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ใช่การก้าวกระโดด แต่คือ การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่ทำ ซ้ำ อย่างมีวินัย ในโลกการเทรด ไคเซ็นคือ... ...

(มือใหม่เล่นหุ้น) เส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ เทียบได้กับกี่วัน?

วันก่อนทีมงาน zyobook ขอร้องให้ผมไปตอบคำถามจากแฟนหนังสือเล่มดำ เขาถามมาแบบนี้
 "รบกวนหน่อยครับ พอดีกำลังอ่านหนังสือหุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ ของคุณ zyo ได้กล่าวถึงเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ เทียบได้กับกี่วันครับ ขอบคุณครับ"

จริงๆ แล้ว ก่อนหน้านี้ก็มีคนถามแบบนี้กันหลายคน

คือถ้าเราใช้เซนส์ตามหลักการคณิตศาสตร์ ก็เอา 5 คูณ 30 = 150 วัน
เลข 5 ก็คือ จำนวนวันทำการในหนึ่งสับดาห์
ส่วน 30 ก็เป็นจำนวนสัปดาห์

มันก็คือ 150 วัน ครับ
ท่านสามารถใช้เส้นนี้ได้เลยครับ
ไม่ผิดกติกาครับ ตำรวจไม่จับ คุณครูไม่ตีมือ

ที่มาก็เอามาจากงานของพี่มาร์ค มิเนอร์วินี
แกบอกว่า ลักษณะของขาขึ้น
๑) ราคาวิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 150 วัน(30 สัปดาห์) ซึ่งมันวิ่งเหนือเส้น 200 วัน (40 สัปดาห์)
๒) เส้นค่าเฉลี่ยทั้งสอง ยกเฉียงขึ้น
๓) ราคายกไฮยกโลว์ เป็นขั้นบันได
๔) ตอนที่ราคาวิ่งขึ้น และทำจุดสูงสุดใหม่ วอลุ่มจะสูงกว่า ตอนที่ราคาย่อ


ที่คิดแบบนี้ ต้องดูเจตนาของการใช้งานกันเป็นหลักครับ
โดยปกติแล้ว เราจะใช้เส้นค่าเฉลี่ย เป็นแนวรับ หรือแนวต้านกัน
ต้นฉบับของไอเดียนี้ คือ ทวด Stan Weinstine เขาเขียนไว้ ว่ามันเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่แยกหุ้นว่ามันอยู่ในแนวโน้มไหน โดยเขาใช้กราฟรายสัปดาห์นะครับ
- ถ้าราคาหุ้นอยู่ใต้เส้นเค่าเฉลี่ย ถือว่าเป็นขาลง ไม่น่าเล่น
- แต่ถ้าหากราคาหุ้นอยู่เหนือเส้น 30 สัปดาห์ ก็เป็นขาขึ้น


ใช้เป็น 200 วันก็ได้
ถ้าเราอยากจะเอาไอเดียนี้ไปประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมกับกราฟรายวัน
ก็คือต้องเอาที่เทรดเดอร์ทั่วไปเขายึดใช้กันแพร่หลาย จะเป็น 200 วันมากกว่า

เพราะในทางการใช้เส้นค่าเฉลี่ยรายวันนั้น เส้น 200 วัน ถือเป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่นักลงทุนระยะยาวเขาใช้เป็นตัวชี้วัดเลย ว่าหุ้นตัวนั้นเป็นขาขึ้นหรือขาลง

และจากการเช็คเคสย้อนหลังผมก็พบว่าเส้นนี้มันมีนัยยะต่อการเป็นแนวรับของหุ้น growth ที่พักฐานรอบใหญ่อยากมากมาย ซึ่งผมทำเคสเอาไว้ในเล่มเขียวไว้พอสมควร อาทิ AMATA, CPALL, BEAUTY
เล่มเขียวที่ว่านี้คือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด"

แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีหุ้นอีกจำนวนมากที่ไม่เคารพนะครับ มีโดนกดให้หลุดลงไปบ้าง
แต่มันก็มักจะถูกซื้อให้กลับขึ้นไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยนี้อย่างรวดเร็ว

นั่นหมายความว่ามันมีนัยยะต่อความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่

ดังนั้นนะครับ ถ้าจะให้ตอบคำถามนี้อีกครั้ง
เส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ ควรเทียบได้กับเส้นค่าเฉลี่ย 150 วันครับ
แต่ท่านจะใช้ 200 ก็ได้เช่นกัน เพราะมันเป็นเส้นที่นักลงทุนระยะยาว สถาบัน เขาใช้กันแพร่หลาย
เลือกเอาสักเส้น

แต่อย่างไรก็ตาม ผมเห็นหลายท่านถามมาแบบนี้กันหลายคน
แสดงว่าท่านไม่ได้ใช้กราฟรายสัปดาห์กันใช่มั้ย?
ถ้าท่านใช้กราฟรายวันเป็นประจำ ผมแนะนำให้ท่านอ่านหนังสือเล่มเขียวประกอบไปด้วยนะครับ
ท่านจะได้เข้าใจมากขึ้น เพราะผมยกเคสมาให้ท่านดูแบบจัดเต็มมากๆ ตั้งแต่ เส้นค่าเฉลี่ย 5, 10, 20, 50, 100 และ 200 วัน เลยทีเดียว ที่สำคัญคือผมยังเน้นเจาะลึกให้ท่านดูลักษณะของแท่งเทียนกลับตัวที่เส้นค่าเฉลี่ยเหล่านั้นด้วย ซึ่งน่าจะทำให้ท่านเห็นตัวอย่าง ไปปรับใช้กับตัวต่อไปของคุณเอง

ที่สำคัญนะ อยากให้อ่านเล่มขาว "ความรู้หุ้น มูลค่า 1 ล้านบาท" ที่จะบอกท่านถึงความเสี่ยงจากการเล่นหุ้น ถ้าหากมีมุมมองเกี่ยวกับตลาดและตัวเองที่ผิดครับ
คือพอเจอคำถามแบบนี้ ก็อยากให้ท่านได้อ่านหนังสือความรู้หุ้นฯ สักรอบก่อนจริงๆ

--------------(โฆษณา)-----------------
----------------------
----------------------

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่