20 หลักการ MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด

Image
สรุป MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด (ไม่ทราบที่มาของหนังสือ โหลดจากทวิตเตอร์) รายการต่อไปนี้เป็นการรวบรวมองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของการจัดการเงินและการเทรดไว้ด้วยกัน 1. เทรดตามทิศทางของแนวโน้มระดับกลาง 2. ในแนวโน้มขาขึ้น-ให้ซื้อตอนย่อ  ส่วนในแนวโน้มขาลง-ให้ขายชอร์ตเมื่อราคาเด้ง 3. จงทนรวยให้ให้ผลกำไรเติบโต ตัดการขาดทุนให้เสียน้อย 4. ใช้การตัดขาดทุนที่วิ่งตามราคาเพื่อจำกัดขนาดการสูญเสีย 5. อย่าซื้อขายอย่างหุนหันพลันแล่น 6. วางแผนการซื้อและขายและทำตามแผนของคุณ 7. ใช้หลักการบริหารเงิน 8. กระจายความเสี่ยง แต่อย่ากระจายมากเกินไป 9. ใช้อัตราส่วนรางวัลต่อความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ต่อ 1 10. เมื่อพีระมิด (ซื้อเพิ่ม) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ก. ไม้ต่อไปควรมีขนาดเงินที่เล็กกว่าเดิม ข. เพิ่มเฉพาะตำแหน่งที่ชนะเท่านั้น ค. อย่าเพิ่มตำแหน่งที่ขาดทุน ง. ยกระดับตัดขาดทุนไปวางที่จุดคุ้มทุน 11. อย่าเทรดประมาทจนถึงขั้น Marfin call;  อย่าเสียเงินเพิ่มหลังจากเคยเสียหนักมาแล้วครั้งหนึ่ง(อย่ารีบเทรดเอาคืนหลังจากที่แพ้ยับเยินสด ๆ ร้อน ๆ) 12. ขายหุ้นที่คุณคิดผิด(ขาดทุน) ก่อนหุ้นที่คุณคิดถูก(ได้กำไร) 13. ถ้า

รวมและสรุปคลิปของ Steve Ward : Mindset สำหรับเทรดเดอร์

รวบรวมและเรียบเรียงโดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit


Steve Ward มีประสบการณ์ในการสอนการฝึกอบรม และการฝึกสอนมานานกว่ายี่สิบปี โดยเริ่มจากการทำงานด้านกีฬา และจิตวิทยาการปฏิบัติงานร่วมกับนักกีฬาชั้นยอด และทีมงานในกีฬาที่แตกต่างกันกว่า 30 ประเภท

ตั้งแต่ปี 2548 เขาได้มุ่งเน้นการทำงานร่วมกับเทรดเดอร์และได้ทำงานร่วมกับผู้จัดการกองทุนจากธนาคารเพื่อการลงทุนชั้นนำ 10 แห่ง, กองทุนป้องกันความเสี่ยง, บริษัทด้านพลังงานระดับโลก, กองทุนเพื่อการจัดการสินทรัพย์ชั้นนำ, กลุ่มการค้าที่เป็นกรรมสิทธิ์ และนักเทรดอิสระ

วิธีการของเขาคือ การให้ความสำคัญกับการฝึกสอน, การผสมกับความรู้เรื่องประสาทวิทยา, จิตวิทยาด้านประสิทธิภาพ, การตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์  โดยมุ่งเน้นไปที่เทคนิคและกลยุทธ์ในการปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

หนังสือที่น่าสนใจของเขาคือ Trader Mind และ High Performance Trading
หากท่านสนใจก็สั่งซื้อผ่านเว็บ amazon.com ได้
ผมก็เพิ่งรู้จักเขาตอนที่ทำโพสต์นี้เองแหละ จากการค้นหาคลิปเรื่อง mindset ก็ไปเจองานเขา เห็นการนำเสนอที่ทำได้น่าสนใจ ก็เลยพยายามแกะ ยอมรับว่าสำเนียง British English ของแกก็ฟังยากเอาเรื่องนะ ดีที่มีภาพประกอบก็เลยพอเชื่อมจุดได้

ก็ขอออกตัวก่อนเลยว่า ใจความภาษาไทยไม่เป๊ะกับต้นฉบับตามเคยนะครับ เพราะภาษาอังกฤษของผมไม่ค่อยดี จึงต้องใช้หลักการมั่ว ฟังไม่ได้ศัพท์ จึงจับเอาไปกระเดียด ตามเคย

Steve Ward - Thinking Differently – Developing A Winning Traders Mindset


ช่วง 10 นาที เขาได้เอ่ยถึงประเด็นของ mindset ซึ่งโชว์ชาร์ทที่เป็นสูตรแบบนี้
Mindset จะเป็นตัวตีความ/ให้ความหมายของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น(ดีหรือไม่ดี) ซึ่งจะส่งผลไปให้เกิดอารมณ์และพฤติกรรม


ยกตัวอย่าง เกี่ยวกับอาชีพเทรด
เมื่อเทรดเดอร์ทั่วไปขาดทุน => ตัว mindset จะให้ความหมาย (ในที่นี้คือด้านลบ) ว่าการขาดทุนมันบ่งบอกว่า ฉันเป็นคนแพ้ เป็นคนล้มเหลว => เมื่อสมองรับรู้ดังนี้ก็เกิดอาการเครียด, โกรธ, ผิดหวัง, ไม่อยากขายขาดทุน, ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น


แต่ถ้าเป็นเซียน เขาจะคิดอีกแบบ
เทรดขาดทุน => mindset ของเขากลับมองว่า ขาดทุนมันเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ขาดทุนก็ไม่เป็นไร มันมีโอกาสเป็นไปได้ => พอสมองรับรู้ตามนี้ ก็เกิดความสงบ, เครียดและผิดหวังน้อยลง, ตัดขาดทุนได้ง่าย, ลงมือทำ และเทรดต่อไปได้


อย่างที่ผมเคยสรุปจากหนังสือ Mindset : ใช้ความคิด เอาชนะโชคชะตา ว่าคนเรามี mindset อยู่ ๒ แบบ คือ กรอบคิดแบบตายตัว(fixed mindset) กับ กรอบคิดที่พัฒนาได้(growth mindset)

สังเกตนะครับ คนที่มีกรอบคิดแบบตายตัว จะหลีกเลี่ยง/ไม่ยอมรับความล้มเหลว ซึ่งเป็น mindset แบบเดียวกับเทรดเดอร์ทั่วไป นอกจากนั้นก็พยายามที่จะโชว์เหนือเพื่อให้ตัวเองดูดี (ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เขาไม่ยอมตัดขาดทุน เพราะอยากรักษาภาพลักษณ์-แม้จะรู้คนเดียวก็ตาม)
เมื่อดูอีกฝั่ง จะมีคุณสมบัติข้อที่ว่า
- กล้าเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน
- ไม่กลัวความล้มเหลว
- มีความกระหายที่จะเรียนรู้
พวกนี้ล้วนเด็ดๆทั้งนั้น

ตรงนี้แหละคือข้อได้เปรียบ เพราะการเทรดแต่ละครั้งมันก็คือการท้าทาย เราต้องเจอกับการเคลื่อนไหวใหม่ๆ สภาพตลาดที่อินดี้ เอาแน่เอานอนไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการทนรวยนี่ก็ใช่ หากเราไม่มี mindset แบบพัฒนาได้ คุณก็ไปต่อไม่ได้

ดังนั้นถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จ ก็ต้องย้ายข้างความคิดมาเป็น growth mindset ซะ
เริ่มต้นง่ายๆจากข้อ "มีความกระหายที่จะเรียนรู้" คือทุกคนที่เข้ามาเทรดล้วนมีความกระหายที่จะเรียนรู้อยู่แล้วล่ะ อยากเป็นคนที่ดีกว่าเดิม เก่งกว่าเดิม อยากก้าวหน้า

แต่ปัญหาคือ คุณไปโฟกัสผิดจุด
นักเทรดหน้าใหม่ โฟกัสไปที่ "การทำกำไร" พอขาดทุนก็ผิดหวัง เครียด ไม่กล้าตัดขาดทุน
แต่เทรดเดอร์เก๋า เขาโฟกัสไปที่ "การรักษาเงินต้น" พอขาดทุนกลับเข้าใจ และตัดขาดทุนได้ทันที


ช่วงนี้เขายกตัวอย่างของการเทรดที่ดี คือคุณต้องเน้นคุณภาพ ซึ่งจะได้คุณภาพที่ดี คุณต้องใส่ใจในกระบวนการ ทำช่วงนั้นให้ดี คิดให้รอบคอบ แม้จะเทรดน้อยครั้ง แม้จะเทรดแพ้ ๒ ชนะ ๑ แต่ถ้ามีวินัยในการ stop loss และรู้จัก let profit run ก็สามาถทำผลงานในระดับดีได้ เพราะเราไม่สามารถล็อคผลการเทรดได้ว่าจะต้องกำไรแน่ๆ สิ่งที่ควรทำเมื่อผิดทางก็คือรีบตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ถ้าทำเป็นนิสัย ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในระยะยาวได้

การเปลี่ยนจากคำถามจาก "ฉันเทรดชนะ/แพ้ไปกี่ครั้ง?" เป็น "ฉันชนะ/แพ้ได้ยังไง?" ก็มีผลต่อ mindset เลยนะครับ เพราะคำถามแรกคุณจะโฟกัสไปที่ผล คุณก็จะกังวลและอยากแก้ตัว ส่งผลให้เกิดการ overtrade ได้

แต่ถ้าหากคุณเปลี่ยนเป็นคำถามหลัง มันจะชวนให้คุณค้นลึกกลับไปยังกระบวนการ ที่มาที่ไปของความสำเร็จและล้มเหลว เคสที่ประสบความสำเร็จ คุณสามารถเอาไปทำซ้ำๆได้ ส่วนเคสที่ขาดทุนก็เอาไปเป็นอุธาหรณ์เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องทำผิดแบบนั้นอีก หรือสามารถเอาไปหาแนวทางปิดจุดอ่อนนั้น เพื่อพัฒนาให้ตัวเองเก่งขึ้น


opportunitiesarenowhere ให้ท่านลองแยกคำออกจากชุดตัวอักษรทั้งหมดนี้ดู
(มันคือ opportunities are nowhere กับ opportunities are now here หรือคุณแยกไม่ออกเลย?)
คุณมองเห็นประโยคไหนก่อน?
มันบ่งชี้ว่า คนแต่ละคนมองสิ่งเดียวกันแต่ต่างความหมาย ขึ้นอยู่กับว่าเขาให้คุณค่ามันยังไง แม้ว่าคุณจะมองไม่ออก ก็ไม่ใช่ว่าคุณเป็นคนใช้ไม่ได้ ถ้าหากมีการพัฒนาทักษะตัวเอง อีกไม่นานคุณก็สามารถเก่งขึ้นได้ เช่นเดียวกันกับการเทรด หากเราอยากเก่ง อยากประสบความสำเร็จแบบไอดอล ก็ต้องพยายามศึกษาแนวคิดของเขา mindset ของพวกเขา แล้วพยายามฝึกและปรับตาม

นี่เป็นแนวทางการเปลี่ยนความเชื่อครับ มี ๗ ขั้นตอน
๑) ลิสต์ความเชื่อของคุณออกมา
๒) แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม แบบไหนดีที่ควรเก็บไว้ กับ แบบไหนควรกำจัด
๓) เอาลิสต์ความเชื่อที่ต้อการกำจัดมาวิเคราะห์ต่อ ว่ามันเกิดจากอะไร ผู้ปกครอง, โรงเรียน, การสังเกตเห็น หรือ เกิดจากตัวเองเป็นคนสร้าง?
๔) ถามต่อว่า ถ้าเก็บมันไว้ มันจะช่วยให้ชีวิตคุณดีขึ้นมั้ย?
๕) ถามอีกว่า ถ้าเก็บมันไว้ มันจะขัดขวางชีวิตคุณยังไง?
๖) ถ้าอยากเปลี่ยน คุณจะเอาความเชื่อไหนมาแทนที่?
๗) เขียนความเชื่อใหม่ลงไป จินตนาการว่าคุณได้เทรดด้วยความเชื่อใหม่นั้น สังเกตคความต่าง จากนั้นก็ทำให้เป็นประจำทุกวัน มองหาเบาะแสที่จะช่วยสนับสนุนให้คุณเชื่อมั่นในความเชื่อนั้นจนทำเป็นอัตโนมัต(เอาแนวคิดเรื่องนิสัยมาใช้ได้) เชื่อมั่นว่าตัวเองได้เปลี่ยนเป็นคนใหม่แล้ว

ปรับ mindset ให้ได้แบบนี้
- มุ่งเป้าไปว่าตัวเองอยากเป็นเทรดเดอร์แบบไหน
- โฟกัสมาที่ตัวเอง และประสิทธิภาพของตัวเท่านั้น
- มุ่งมั่นพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น
- พยายามเรียนรู้จากการขาดทุน
- ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ไม่ควรพอใจกับชัยชนะที่มาจากความฟลุค แต่จงโฟกัสไปที่กระบวนการ ถ้าวิธีคิดถูกแล้ว แม้คำตอบจะผิด อย่างน้อนคุณก็มาถูกทาง
- ยอมรับว่าทุกอย่างที่เกิดกับคุณ มาจากตัวคุณเอง
- เชื่อมั่นอย่างสุดใจว่า กระบวนการ คือสิ่งสำคัญที่จะนำคุณไม่สู่ความสำเร็จ พยายามรักษามัน
- ไม่รังเกียจความเสี่ยงและความไม่แน่นอน พยายามอยู่กับมันให้ได้

สรุป
- Mindset สำคัญมาก เพราะสิ่งที่ผลักดันให้คุณเทรดคือความเชื่อของคุณ
- ความเชื่อมีทั้งแบบที่เป็นประโยชน์ และ ขัดขวางความก้าวหน้า
- ให้พยายามสังเกตตัวเอง เพื่อระบุความเชื่อออกมา
- คัดความเชื่อออกเป็นสองแบบ เป็นประโยชน์ หรือ ขัดขวาง
- พยายามเปลี่ยน พัฒนาตัวเองให้มีแต่ชุดความเชื่อที่เป็นประโยชน์


The Trader's Bookshelf: "High Performance Trading" with Steve Ward
คลิปต่อไปเลย นี่ก็น่าสนใจ


คลิปนี้เขาเริ่มต้นที่เรื่องของ process หรือกระบวนการ ครับ
โดยจากคลิปที่แล้ว เขาให้เราโฟกัสที่กระบวนการ มากกว่า ผลลัพธ์ ซึ่งผมคิดว่ามันถูกต้องนะ เพราะถ้าหากเราฟลุคเทรดชนะหุ้นปั่นตัวนึง 5 เด้ง แล้วเกิดเชื่อโดยสนิทใจว่าตัวเองเข้าใจสูตรสำเร็จ เอาไปทำซ้ำและก็คิดว่ามันจะให้ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิม แต่ถ้าหากหุ้นตัวนั้นเกิดพลิกล็อควิ่งสวนทาง ถ้าคุณยังโฟกัสที่ผลลัพธ์ 5 เด้งอยู่ สิ่งที่คุณทำก็คืออะไรครับ "ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง" น่ะสิ เพราะคุณยังชื่อว่ามันต้องทำ 5 เด้งให้คุณอีก ถ้าจากนั้นเกิดคราวซวย งบไม่มีใครยอมเซ็น ถึงกับ SP เลยนะครับ

แต่ถ้าหากคุณเน้นที่กระบวนการ ดูขั้นตอน ทุกสเต็ป คุณจะเห็นความผิดปกติระหว่างทาง ตัวแรกไปซ้าย แต่ตัวนี้มันไปขวาแฮะ ไม่น่าจะใช่แล้ว คุณก็มีโอกาสที่ไหวตัวทัน รีบตัดขาดทุนได้ ทำให้ไม่ต้องถัว แถมไม่ต้องทนทุกข์กับหุ้น SP อีกต่างหาก

เมื่อคุณให้ความสำคัญกับกระบวนการ จึงไม่ยึดติดกับผลอีกต่อไป คุณจะมีความยืดหยุ่นกับมัน

ส่วนแผนภูมินี้

เขาบอกว่า Mindset จะเป็นตัวขับเคลื่อนเบื้องหลังของกลไกตามภาพนี้
เริ่มต้นจาก Plan หรือแผนการเทรด ที่ถูกสร้างเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จ
ต่อมาคุณก็ต้องลงมือทำตามแผน(implement) ให้สำเร็จ(execute)
ซึ่งมันจะสำเร็จหรือไม่ก็ได้ เพราะเราควบคุมตลาดให้ทำตามใจเราไม่ได้
ซึ่งตรงนี้แหละที่จะเป็น feedback ให้เราเอาไปประเมินผลการทำงานของเรา
- ทำไมไม่สำเร็จ จะได้เอาไปปรับปรุง
- สำเร็จเพราะอะไร จะได้เอาไปตอกย้ำกระบวนการ
จากนั้นก็ส่งกลับไปเป็นแผนที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อลงมือทำอีก วนลูปกันไป
นี่คือกระบวนการ process ที่ควรจะเป็นครับ

Steve Ward: Traders, Decisions and Discipline



Learn to Trade with TradingHD: Trading Webinar -The Psychology of Trading- Steve Ward


ความน่าสนใจของคลิปนี้คือ เขาบอกว่าหลักการเทรดให้ได้กำไรมันง่ายมาก ใครๆก็รู้คือ

แต่ทำไมมันทำยากจังเลย ทำไมเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ถึง buy high sell low กัน
มีแนวทางที่จะพัฒนากลยุทธ์ให้เทรดชนะบ้างมั้ย
คุณ Ward บอกว่ามี ๓ อย่าง
๑) Skill คุณต้องมีทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณทำ ยิ่งคุณมีทักษะและความรู้มากเท่าไหร่ โอกาสประสบความสำเร็จก็มีมากตาม
๒) Strategy กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมันจะเป็นตัวกำหนดแนวทางให้คุณใช้ทักษะให้เป็นประโยชน์ต่องานของคุณให้มากที่สุด
แต่การคุณสมบัติแค่สองอย่างนั้นไม่พอ แม้ว่าคุณจะมีทักษะ มีกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมแค่ไหนก็อาจจะล้มเหลวได้ถ้าขาด...
๓) State ความมั่นคงทางร่างกาย และโดยเฉพาะด้านจิตใจ คุณต้องมีสมาธิ การโฟกัส ความหมกมุ่น mindset ที่พัฒนาได้ การควบคุมอารมณ์ บริหารความเครียด
เหตุผลที่นักเทรดหน้าใหม่ส่วนใหญ่ล้มเหลวเพราะมัวแต่โฟกัสไปที่การพัฒนาทักษะและกลยุทธ์มากเกินไป(เพราะหาข้อมูลง่าย และใครๆก็เน้นเรื่องนี้กัน)

เขาเคยสำรวจความเห็นจากเทรดเดอร์จำนวนหนึ่ง ถามว่าอะไรที่เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้คุณประสบความสำเร็จในการเทรด?
คำตอบส่วนใหญ่จะไปที่ mindset, อารมณ์, การถูกกระตุ้น, ความเร่งรีบ, นิสัย และ พฤติกรรม
ฉะนั้น นี่คือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ และพัฒนาให้มันดีขึ้น
Performance = Potential(ความสามารถที่แท้จริง) - Interference(สิ่งรบกวนจากภายใน คืออารมณ์ สิ่งกระตุ้น ความรีบร้อน)


นี่คือ interference ที่เกิดจากสภาพจิต คุณต้องทำให้มันลดเหลือน้อยที่สุด เพื่อที่จะให้ศักยภาพที่แท้จริงของคุณโดดเด่นขึ้นมา อันจะส่งผลให้ performance ของคุณออกมาดีเลิศ
- รีบขายทำกำไรหุ้นที่มีศักยภาพในการขึ้นที่แข็งแกร่ง
- ไม่ลงมือในตอนจังหวะเหมาะสม เพราะมัวแต่กลัวขาดทุน
- ปล่อยให้ให้ขาดทุนเพิ่มได้อีก เพราะหวังว่ามันจะเด้งกลับขึ้นไปคืนทุน (ไม่ขายไม่ขาดทุน)
- ถัวเฉลี่ยขาดทุน
- ขาดทุนแล้วเร่งรีบเอาคืน
- เทรดแบบไม่มีแผน ในตอนที่ตลาดวิ่งแรง(กลัวตกรถ)
- เทรดเยอะเกินลิมิต
- ถือนานเกินไป ทั้งๆที่หุ้นจบแนวโน้มไปแล้วแท้ๆ ก็ยังถือ(ไม่กล้าขาย)
- เลิกเทรดตามแผน เพราะว่าก่อนหน้านั้นขาดทุน
- หลังจากที่ได้กำไรก้อนใหญ่ ก็มั่นใจเกินเหตุ เทรดแบบหละหลวม


Steve Ward: Building Effective Habits For Trading Success


อริสโตเติล กล่าวว่า "ความเป็นเลิศเป็นศิลปะที่เกิดจากการฝึกฝนและความเคยชิน เราไม่ได้ทำถูกต้องเพราะเรามีคุณธรรมหรือความเป็นเลิศ แต่เราได้กระทำอย่างถูกต้อง เราเป็นสิ่งที่เราทำซ้ำ ๆ ความเป็นเลิศนั้นไม่ใช่การกระทำ แต่เป็นนิสัย"

จิตวิทยาในการเทรดให้ประสบความสำเร็จนั้นก็เช่นกัน คุณต้องพยายามสร้างนิสัย สร้างรูปแบบพฤติกรรมให้มีการคิดและอารมณ์ตอบสนองแบบอัตโนมัติเพื่อให้ได้ผลการเทรดดีที่สุดในช่วงเวลานั้นๆ คุณต้องฝึก มีรูปแบบที่จะสร้างนิสัย สร้างกิจวัตรให้สนับสนุนตัวคุณเป็นคนที่ดีขึ้น

ถ้าคุณอยากจะเป็นเทรดเดอร์ที่ทำกำไรอย่างยั่งยืน ควรทำยังไง?
ความสม่ำเสมอ? เราให้ความหมายมันว่ายังไง?
ส่วนใหญ่ล้วนต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่สม่ำเสมอ ในข้อแม้ที่ว่า "ภายในเวลาอันสั้น"
ซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
ความสม่ำเสมอที่แท้จริงต้องเกิดจากการค้นพบและความประพฤติของตัวเทรดเดอร์เอง มิใช่เกิดจากการกระทำของตลาด
มันเป็นผลมาจากการคิด และ การตอบสนองต่ออารมณ์ เพื่อบริหารจัดการพลังกาย/ใจ
ซึ่งพฤติกรรมที่เราแสดงออกมันก็สะท้อนจาก mindset ของเรานั่นเอง

เราจะได้ความสม่ำเสมอจากสิ่งที่เราสามารถควบคุมมันได้เท่านั้น(ตัวเราเอง) และไม่มีทางบังคับให้สิ่งที่คุณไม่สามารถบังคับได้(โดยเฉพาะสิ่งที่อยู่นอกตัวเรา นอกการควบคุมของเรา เช่น ตลาด)
กิจวัตรประจำวันและนิสัยสามารถส่งเสริมให้ตัวเราเกิดความคงเส้นคงวาได้ เพราะอะไรก็ตามที่เราทำซ้ำๆ มันจะกลายเป็นการสร้างข้อมูลให้สั่งสมกลายเป็นนิสัย ดังนั้นคุณจึงต้องควรระวังตัวเองไม่ให้สร้างนิสัยไร้ประโยชน์ขึ้นมา

Performance = Potential - Interfrtrnce
(Tim Gallwey Inner Game of Tennis)
Performance Funnel (กรวยแห่งประสิทธิภาพ)
เราทุกคนล้วนอยากประสบความสำเร็จอย่าสูงสุด ดังนั้นคุณต้องพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้สร้างนิสัยที่ดีและเมื่อเราเทรด ก็ต้องพยายามลดสัญญาณรบกวนให้เหลือน้อยที่สุด ลดการใช้อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกไร้สาระ ความกลัว ความเครียด
นี่คือแนวทางของมืออาชีพ ผู้ประสบความสำเร็จเขาทำ คือพยายามลดเสียงรบกวนออกไปให้เหลทอน้อยที่สุด โดยเฉพาะ ความคิดลบ, อารมณ์ร่วม, ความรู้สึก และพฤติกรรมในด้านลบ

ในทางกลับกัน นักเทรดมือใหม่ ผู้ที่ล้มเหลว กลับคิดไปอีกด้าน คือปล่อยให้เสียงรบกวนมันมีอำนาจมากกว่าศักยภาพของตนเอง

แล้วเราจะทำให้การเทรดของเราเป็นแบบ Positive funnel ได้อย่างไร?
นักกีฬามืออาชีพทุกคนที่คุณ Ward ทำงานด้วย รู้ดีว่าตัวเองไม่สามารถการันตีความสำเร็จได้เลย แต่ถ้าหากพวกเขามุ่งมั่น พยายามทำทุกวิธีเพื่อให้ตัวเองมีความเป็นไปได้ หรือไกล้เคียงความสำเร็จเท่านั้น

ตรงนี้แหละที่พวกเขามองว่ามันเป็นความท้าทาย ซึง Preparation (การเตรียมตัว/ฝึกซ้อม)คือสิ่งที่เขาทำได้และทำให้สุดความสามารถ ยิ่งเตรียมตัวดี คุณก็มีความน่าจะเป็นที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะเรามีความพยายามที่จะหาโอกาสที่ตลาดมอบให้ และจะได้เจอเพชรเม็ดงาม/ช้างเผือกก่อนใคร

เขาได้โค้ชลูกค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคนหนึ่ง ที่มีทฤษฏีที่ว่า มีเทรดเดอร์แค่ 30% เท่านั้นที่ได้ทำการเตรียมตัวเพื่อให้พร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ที่เหลือ 70% ไม่ทำอะไรเลย
การเตรียมตัวนี่แหละคือสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ ถ้าหากเรามัวแต่ไปรอดูตลาดแล้วเล่นหน้างาน ก็อาจโดนตลาดเล่นงานได้ เพราะตลาดคือสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้นั่นเอง และที่สำคัญคือเทรดเดอร์มือใหม่เกือบทุกรายพยายามที่จะควบคุมตลาด หรือมีความปรารถนาที่จจะให้ตลาดทำตามใจตัว ผลก็คือมันเป็นไปไม่ได้ ในที่สุดเขาก็เกิดความเครียด

แนวทางการเตรียมตัว
- อ่านข่าว, หาข้อมูล, วางกลยุทธ์
- วางเกม, การรุก
- คิดเป็น scenario ถ้าตลาดเป็นอย่างนี้ ฉันจะทำยังไง

นอกจากนี้ การปรับสภาพจิต ก็มีความสำคัญไม่น้อย
คุณควรนอนให้พอ, กินข้าวเช้า, ออกกำลังกาย
มีการฝึกจิต/อารมณ์ ให้มีความนิ่ง มีการฟังเพลง ฝึกเทรดในใจ
Ward ย้ำว่า การเตรียมตัว คือสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งที่เราต้องทำให้เป็นนิสัย

การลงมือปฏิบัติ มีอองค์ประกอบอยู่ ๓ อย่าง
๑) Attention การเอาใจใส่
ถ้าหากมาจากนิสัยได้ มันจะยอดมาก เพราะใครก็ตามที่มีความใส่ใจในสิ่งที่ตนเองทำ ไม่ว่าจะทำอะไร เขาก็มีโอกาสประสบความสำเร็จไปทั้งหมด ในการเทรด-ความใส่ใจที่ควรมีก็คือ ความใส่ใจในกระบวนการ ก่อนที่คุณจะมีการตัดสินใจที่ดี คุณต้องรู้ให้ได้ว่าความตั้งใจของคุณอยู่ที่ไหน เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใส่ใจว่าตัวเองจะทำเงินได้เท่าไหร่, ขาดทุนได้เท่าไหร่ ซึ่งมันเป็นการใส่ใจในผลลัพธ์ อันจะกระตุ้นให้พวกเขาเกิดความเครียด และจะส่งผลให้เกิดการสั่นคลอนทางจิต จนทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไปเลยก็มีเยอะ
วิธีแก้ คือสร้างนิสัยขึ้นมา ให้ถามตัวเองในช่วง/ระหว่างทำการเทรดว่า "ตอนนี้ฉันกำลังสนใจอะไรอยู่?" ฉันสนใจผลลัพธ์ หรือโฟกัสกระบวนการกันแน่?
มันจะสร้างนิสัยของการตามให้ทันจิต ให้อยู่ในปัจจุบันขณะ ซึ่งจะดึงให้เรากลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็น กลับมาอยู่ในเกม ตรงนี้แหละคือการสร้างนิสัยของการใส่ใจที่มีประสิทธิภาพ

๒) Emotion อารมณ์
ความใส่ใจ คือตัวกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และอารมณ์
วิธีการรู้เท่าทันอารมณ์คือพยายามจับสังเกตว่าตอนนั้นคุณรู้สึกอะไรอยู่ รู้เท่าทันในแต่ละขณะ ให้เป็นแบบ real time ได้ยิ่งดี นอกจากนี้ถ้าจับได้ก็ให้แยกตัวเองออกมาเป็นผู้สังเกตการณ์แทน พูดง่ายก็ให้นึกดังๆออกมาว่า "ตอนนี้มึงกำลังโกรธ/กลัว หรือ...อยู่นะ" มันจะช่วยดึงสติเราออกมา ไม่ให้ถลำ มือลั่นไปตามอารมณ์ด้านลบนั้น
หรือจะใช้วิธีการสร้างสัญญาณเตือนให้รู้สึกตัว หรือตั้งเวลา ให้ละความสนใจจากหน้าจอสักพัก หรือตั้งชื่อของมัน เพื่อให้เราระลึกถึง
ความจริงแล้ว อารมณ์ไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้ายไปเสียทั้งหมด บางครั้มันก็มีประโยชน์

๓) Energy แรงกาย
เขาบอกว่า สมองคือกุญแจสำคัญของ energy system ร่างกายและสมองมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ซึ่งมันจะส่งผลไปยัง performance หรือประสิทธิภาพของงานด้วย
ถ้าคุณมีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี คุณก็มีความได้เปรียบกว่า เมื่อเทียบกับคนระดับความรู้เท่าๆกัน
การนอนหลับให้เพียงพอ ตื่นเช้า การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองดีขึ้น
เขาบอกอีกว่า ทุกการตัดสินใจต้องอาศัยสมอง ซึ่งสมองนอกจากต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอแล้ว มันยังต้องการกลูโคส ดังนั้นถ้าอยากให้การตัดสินใจได้ประสิทธิภาพ ก็ให้ดูแลระดับกลูโคสให้ดีด้วย มีการวิจัยมาแล้วว่า ถ้าหากเราทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างมาก ถ้าเขาคนนั้นได้กินกลูโคส มันจะช่วยให้การตัดสินใจทำได้ดีขึ้น (แต่ต้องมีการระวังเรื่องอ้วนด้วยนะ ความพอดีคือสิ่งสำคัญ)
อีกอย่างที่ต้องทำก็คือ ต้องลุกขึ้นขยับแข้งขยับขาบ้าง ไม่นั่งนาน การขยับตัว ยืดตัว เปลี่ยนอิริยาบท จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดสินใจได้ดีเช่นกัน


Evaluation : การประเมินผล
- เขียนบันทึกการเทรด
- ปริ้นท์กราฟออกมา และชี้อธิบายประกอบ ซื้อตรงไหน ขายตรงไหน
- Collection of metrics (win/loss ratio)
- พิจารณากระบวนการและผลลัพธ์
- ประเมินความสำเร็จและผิดพลาด
- ประเมินหลายมิติ - กำไร/ขาดทุน, ประสิทธิภาพ และ กระบวนการ
ขั้นตอนนี้ถือเป็นการเก็บประวัติ ซึ่งมีความสำคัญในการค้นหาจุดแข็งจุดอ่อน เพื่อหาทางพัฒนาตัวเองให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

สุดท้ายก็คือ ทำประสิทธิภาพของชีวิตให้ดี
- นอนหลับให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- กินอาการที่มีประโยชน์
- อยู่กับครอบครัว
- เดินทาง
- มีช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย

-------------------------------------------
----------------------
----------------------
สนับสนุนโดยหนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ และ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด



ทำไมใครๆต่างบอกว่าหนังสือหุ้นทั้งสองเล่มเป็นการปล่อยของแบบไม่กั๊ก?
อ่านที่มาจากบทความนี้ครับ หนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


"ส่งข้อความ" สั่งได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

ศาสตร์และศิลปะของการปั้นพอร์ต ให้เติบโตสม่ำเสมอ Art & Science of Trading