การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

Revenge Trading เทรดเพื่อแก้แค้น : ยิ่งเอาคืน ยิ่งเจ็บหนัก


Revenge Trading แปลเป็นไทยได้ว่า การเทรดเพื่อล้างแค้นหรือเอาคืน เป็นอีกหนึ่งการกระทำของเทรดเดอร์ที่สามารถทำลายพอร์ตได้มากพอเท่าๆกับ FOMO เลยทีเดียว (หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ) เพราะมันมักจะเกิดในสภาวะที่ไม่รู้ตัว ลงมือทำด้วยอารมณ์ เหมือนกับเป็นอัตโนมัติ กว่าจะรู้ตัวก็เสียหายไปไกลเกินกู้แล้ว เรียกว่ากำไรที่เพิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ อุตส่าห์สะสมมากับหุ้นหลายตัว อดทนรันเทรนด์มาเป็นปี ต้องขาดทุนคืนให้กับตลาดไปจนหมดด้วยการเทรดเพื่อล้างแค้นเพียงแค่ครั้งเดียว

หากนักเทรดท่านใดพบว่าซื้อขายมาก็หลายปี รักษาตัวให้อยู่รอดได้แล้ว แต่ทำไมพอร์ตไม่โตเสียที เดี๋ยวได้กำไรเดี๋ยวก็ขาดทุน ก็ให้ท่านลองกลับไปทบทวนหรือ่านบันทึกการเทรดดูครับ ไม่แน่นะที่ท่านคืนกำไรให้ตลาดไปเกือบทุกครั้งหลังจากได้กำไร มันอาจจะมาจาก revenge trade ก็เป็นได้



(ปล. บทความทั้งหมดผมแปลจากต้นฉบับต่างประเทศนะครับ แต่ด้วยความที่ภาษาอังกฤษของผมไม่แข็งแรง+นิสัยชอบมั่วและใส่สีตีไข่ มันจึงไม่ค่อยเป๊ะกับต้นตอมากนัก หากท่านอยากได้อรรถรสที่แท้จริงก็แนะนำให้คลิกเข้าไปอ่านตามลิงค์ได้ครับ)

REVENGE TRADING: DON’T DO IT
https://www.tradingacademy.com/lessons/article/revenge-trading-dont/

Revenge Trading คืออะไร?
มันเป็นปฏิกริยาตอบโต้หลังจากที่นักเทรดขาดทุนแบบค้านความรู้สึก สมมุติว่าสองสามเดือนที่แล้วคุณทำเงินให้พอร์ตคุณโต 30% รู้สึกร่าเริงมาก มีความสุขและอยากได้อีก เพราะรู้สึกว่าตัวเองเก่งจริงๆ ตลาดหุ้นก็ไม่มีอะไรนี่นา ทำเงินง่ายมากพวกเล่นหุ้นแล้วขาดทุน มันโง่

แล้วเช้าวันหนึ่ง เป็นเช้าที่คุณรู้สึกฮึกเหิม ตั้งใจว่าจะโกยกำไรออกมาจากตลาดให้ได้มากที่สุด พอเล่นไปสักพัก คุณเริ่มเสีย สูตรที่ใช้ได้เงินมาโดยตลอด ชักจะเป๋ คุณเริ่มรู้สึกตะหงิดๆ แต่ก็ยังไม่เลิก พยายามหาทางแก้ไป เนื่องจากคุณไม่อยากขาดทุน
หรือพูดอีกย่างคือคุณเชื่อว่าคนเก่งอย่างคุณไม่สมควรต้องขาดทุน มันยอมรับไม่ได้ ด้วยความหน้ามืด+อีโก้ที่ใหญ่คับตลาดของคุณ ทำให้ไม่ยอมตัดขาดทุนตามระบบ เพราะคุณมั่นใจว่าคุณมีไม้แก้ คุณขอรอ ขอต่อราคาอีกนิดเผื่อมันจะเด้ง หรือถ้าไม่เด้ง คุณรู้ตัวว่าต่อจากนั้นคุณจะทำอย่างไร นั่นคือการถัว



เมื่ออินดิเคเตอร์ oversold ซึ่งคุณไม่เคยทำมันมาก่อน แต่เมื่อไม่อยากขาดทุนกำไรที่เคยทำได้ คุณจำเป็นต้องปล่อยให้ขาดทุนไปก่อน จนในที่สุดราคาก็ลงไปถึงเป้าถัว คุณมั่นใจว่าถึงจุดต่ำสุดแล้ว
แต่พระเจ้า...มันยังลงต่อไปได้อีก มันไม่มีทางอื่นแล้ว คุณถอดใจ รู้สึกว่าตัวเองไม่น่าถลำตัวมาจนถึงเวลานี้เลย ตอนนี้กำไร 30% ของคุณที่เคยได้มา หายไปเกินครึ่ง จึงต้องยอมรับสภาพขายตัดขาดทุนออกมา

เกมส์จบ แต่คนไม่จบ....
คุณกำเงินที่เหลือจากการตัดขาดทุนไปจ้องหน้าจอ รอดูหุ้นร้อนที่วิ่งแรง เปิดกราฟ คิดว่าใช่ ตัวนี้แหละที่มันช่วยให้คุณได้เงินก้อนที่ขาดทุนกลับมาไวที่สุด คุณใช้เงินทั้งหมดซื้อไม้เดียว เพราะกลัวไม่ทัน ดูเหมือนว่าคุณจะได้ไม่เยอะ เพราะราคาวิ่งขึ้นไวมาก ซึ่งคุณมองว่าตัวนี้ใช่แน่ ของดีเลย มิสิทธิ์ลิ่ง(ceiling)สูง จึงไล่ซื้อเพิ่มจนหมดเงิน

คุณนึกกระหยิ่มในใจ เดี๋ยวก็ได้เงินคืนมาแล้ว เพราะหุ้นตัวนี้ลิ่งแน่ๆ ใช่จริงๆด้วย ตัวนั้นวิ่งไปลิ่งจริง แต่คุณยังลังเล เพราะมันยังไม่เท่ากับยอดขาดทุนของคุณ จึงละล้าละลังว่าจะเอายังไงดี
และในช่วงเสี้ยววินาทีนั้นเอง ก็เกิดการขายไม้ใหญ่ออกมา กดให้ราคากลับตัวลงอย่างแรง กำไรที่คุณได้มาเริ่่มหดหาย แต่คุณกลับไม่ยอมทำอะไรเลย เพราะเกิดอาการสตั๊นท์ ทำอะไรไม่ถูก ทุกอย่างดูเหมือนอยู่ตรงข้ามกับตัวคุณโดยสิ้นเชิง
ในขณะที่คุณลังเล ราคาหุ้นก็ร่วงต่อ จนทำให้คุณขาดทุนอีกครั้ง แต่คราวนี้คุณไม่ยอมปล่อยให้มันลุกลาม รีบขายตัดขาดทุนออกมา



.....เกมส์จบ แต่คนไม่จบ คุณกำเงินที่เหลือ ไปเฝ้าหน้าจออีกครั้ง เพื่อหาหุ้นร้อน หุ้นที่สามารถช่วยให้คุณเอากำไรที่เคยได้มาก่อนหน้านั้น กลับคืนมาให้ไวที่สุด....

นี่แหละครับ Revenge Trading เกมส์จบ แต่คนไม่จบ ความกระปรี้กระเปร่า อิ่มเอมใจ ความมั่นใจเกินไป ทำให้โฟกัสของคุณไม่ทำงาน คุณเห็นทุกอย่างเป็นโอกาสไปเสียหมด หรือคิดว่าถ้ามันไม่ใช่ ฉันก็แก้ได้ ฉันเอาอยู่ ทำให้คุณละทิ้งแผนการเทรด ไม่สิ ตอนนั้นคุณอาจจะไม่แยเสมันเลยก็ได้ เพราเชื่อว่าตัวเองรู้แจ้งแทงตลอดในตลาดหุ้นไปแล้ว ดังนั้นเมื่อราคาพลิกผันกลับตัวลงไปให้คุณขาดทุน คุณก็ไม่ยอมตัดขาดทุน มันเป็นเพราะความลำเอียง(bias) ที่ทุกคนบนโลกต้องเกิดความรู้สึกนี้
สิ่งที่เขาเรียกว่า "Loss Aversion" รังเกียจการขาดทุน


Loss aversion คืออาการทางจิตของมนุษย์ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการสูญเสีย ทฤษฎีนี้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี คศ.1979 โดย Kahneman และ Tversky ภายใต้สมมุติฐานว่าการสูญเสียส่งผลกระทบต่อมนุษย์มากกว่าการได้ประโยชน์ (ทฤษฎีคาดหวัง) พูดง่ายๆคือ ระหว่างขาดทุนกับกำไรสเกลเดียวกัน คนจะเจ็บปวดกับการขาดทุน มากกว่าได้กำไร มันจึงกลายเป็นกลไกในการป้องกันตัวเอง หรือกลไกอัตโนมัติให้มนุษย์เราหลีกเลี่ยงการขาดทุนนั่นเอง เพราะคนเราไม่มีใครอยากรู้สึกเจ็บปวดกันหรอก ถ้าเลี่ยงได้ พวกเขาพร้อมที่แลกมัน

จึงไม่แปลกที่ก่อนหน้านี้คุณกำไรมาโดยตลอด ก็คาดหวังว่าตัวเองต้องได้กำไรอีกและต้องมากกว่าเดิม แต่เมื่อเหตุการณ์พลิกผันทำให้คุณขาดทุน มันทำลายความคาดหวัง ทำให้เกิดการไม่ยอมรับ จึงไม่แปลกที่คุณจะเห็นตัวเองเลื่อนจุด stop loss ลงไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ต้องการรับความจริง ที่ตัวเองต้องขาดทุน ยิ่งราคาทำตัวไม่เป็นไปตามหวังได้มากเท่าไหร่ แทนที่คุณจะรีบตัดขาดทุน คุณกลับไม่พอใจและเลี่ยงการขาดทุนมากขึ้นเท่านั้น เพราคุณไม่อยากเสียกำไรที่ทำได้มาอย่างต่อเนื่องนั้น และความเชื่อ "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" จึงเป็นความเชื่อใหม่ของคุณไป
แต่ยิ่งทิ้งไว้นาน ควาามเสี่ยงของคุณก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เพราะยอดขาดทุนยิ่งมาก จนเท่าหรือมากกว่ากำไรที่คุณเคยภาคภูมิใจไปเลยก็มี



เมื่อขาดทุน คุณเริ่มรู้สึกหดหู่ และเกลียดตัวเองที่ละเมิดกฎ ขณะเดียวกันก็รู้สึกโกรธตตลาดที่พรากเงินของคุณไป(ซึ่งคุณอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) จึงอยากได้เงินคืน โดยการเข้าเทรดครั้งใหม่คุณได้เพิ่มเงินให้มากกว่าเดิม สองหรือสามเท่า เพื่อแก้แค้นและพยามยามเอาเงินคืนให้ได้ไวที่สุด

ไม่ต้องเดาผลลัพธ์ก็รู้กันดี คุณขาดทุนเพิ่ม และจำนวนมากกว่าเดิมอีก
และภาพแบบนี้ก็จะเกิดซ้ำ ความเสียหายจะลุกลาม จากกำไรหาย เงินต้นก็โดนทำลายไปด้วย ถ้าหากคุณยังไม่หยุด และยอมรับว่าตัวเองแพ้

วิธีการแก้ไข ไม่ให้ Revenge Trading
ขั้นตอนแรก) คือคุณต้องอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด โฟกัสเฉพาะการทำให้การเทรดในตอนนี้เท่านั้น
การเทรดคือ zero sum game ที่มีความท้าทายมากที่สุดในโลก เพราะคุณกำลังอยู่ในเกมที่ทำเงินได้ยากมาก ทุกการเคลื่อไหวของราคามันมีผลต่อการได้กำไรหรือขาดทุน ถ้าคุณไม่มีความละเอียดมากพอ ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนสูงมาก ยิ่งใช้อารมณ์โกรธมาเกี่ยวข้องด้วย ก็ยิ่งไปกันใหญ่

ขั้นตอนที 2) คุณต้องแน่ใจว่าตัเองไม่ได้เทรดด้วยความโกรธ ผิดหวัง และต้องการเอาคืน เพราะถ้าหากคุณเทรดด้วยสภาพจิตที่เป็นลบ คุณจะไม่เป็นตัวของตัวเอง ถูกอารมณ์ครอบงำ
ถ้าหากรู้ตัวว่ามีอารมณ์หรือฟุ้งซ่าน คุณต้องหยุดเทรด เพื่อปรับสภาพจิตให้ดึงสติกลับมา

ขั้นตอนที่ 3) คุณต้องกลับไปมองเจตนาโดยรวมของคุณ ภาพระยะยาวว่าคุณต้องการอะไร ให้ตั้งคำถามตัวเองว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคุณคืออะไร?" แล้วเอามาเชื่อมต่อกับคำถามที่ว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเทรดคืออะไร?" ค้นหา passion ให้เจอ คำตอบที่ได้ก็คือเหตุผลที่น่าสนใจของคุณ



เมื่อคุณมีปัญหา, ให้ใช้ passion เป็นตัวนำ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณยังอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง เพราะมันจะเป็นรากฐานของการการวางแผน สร้างกฎ และขับเคลื่อน/หนุนหลังตัวคุณให้ผูกพันกับเป้าหมาย

การเทรดด้วยความโกรธและต้องการเอาคืน ถือเป็นหนึ่งในข้อผิดพลาดที่ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่สูญเสียเงินอย่างมากมาย ดังนั้นนักเทรดผู้มุ่งมั่นจึงต้องสละเวลามาให้ความสำคัญกับการฝึกฝนทางด้านจิตใจ ทำความเข้าใจอารมณ์ และอยู่ในปัจจุบันขณะ เพื่อให้เท่าทันความคิดให้ได้ตลอดเวลา

พึงระลึกอยู่เสมอว่า คนที่คุณกำลังซื้อขายด้วย เป็นนักเทรดที่มีประสบการณ์ เป็นเทรดเดอร์ที่ดีที่สุด ด้วยเดิมพันที่ดีที่สุดเช่นกัน ดังนั้นคุณจะทำการเทรดแต่ละครั้งจึงต้องมีความละเอียด อย่าเผลอ ถ้าคุณหละหลวมเมื่อไหร่คุณก็โดนเตือน ยิ่งไม่รู้สึกตัว จากสัญญานเตือนก็จะกลายเป็นการลงโทษที่สามารถทำให้คุณล้มทั้งยืนได้เลย




Why Revenge Trading Is A Lose-Lose Situation
ทำไมการเทรดแบบแก้แค้นจึงเป็นสถานการณ์ที่มีแต่แพ้กับแพ้?
https://www.babypips.com/trading/forex-revenge-trading-20170315

การขาดทุน เป็นส่วนหนึ่งของการเทรดทุกประเภท ซึ่งถ้าเราไม่ได้กำไรก็ต้องขาดทุน มันเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ก็มีนักเทรดจำนวนมากที่ไม่สามารถทำใจให้ยอมรับการขาดทุนได้ จึงมีปฏิกริยาตอบโต้ด้วยการแก้แค้นเพื่อทำเงินคืน ผลก็คือยิ่งทำให้เขาต้องขาดทุนหนักขึ้นไปอีก

การเทรดเพื่อแก้แค้น/เอาคืน ส่วนใหญ่เกิดจากความหวาดกลัวที่จะต้องกลายเป็นคนผิด แน่นอนว่าคุณต้องเกิดความหงุดหงิดเมื่อเทรดแล้วผิดพลาดทำให้ขาดทุน จึงมักจะมีปฎิกริยาตอบโต้อัตโนมัติ เพื่อที่จะรีบเอาคืนให้ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการรีบหาหุ้นตัวใหม่เล่น



การกระทำแบบนี้มันเป็นอันตรายต่อเงินในพอร์ตคุณมากเลย อย่างน้อยก็ ๒ ประการ คือ
๑) คุณลืม/ละทิ้งวินัยของตัวเองไปแล้ว ความโมโหอยากรีบเอาคืนจะทำให้คุณหน้ามืด ไม่สนใจกระบวนการเทรดของตัวเอง, การบริหารจัดการความเสี่ยง เมื่อคุณเข้าเทรดอย่างหละหลวม คิดน้อยกว่าเดิม ตลาดก็พร้อมสอนมวยให้คุณขาดทุนเพิ่มทันที

ถ้าคุณซื้อขายหุ้นด้วยอารมณ์หรือพึ่งโชค บอกเลยว่ามันไม่ใช่การเทรดอีต่อไป มันคือการพนัน! ยิ่งถ้าหากคุณไม่มีแผนการบริหารความเสี่ยงใดๆเลยด้วย โอกาสขาดทุนมีเกิน 99%

๒) นอกจากนี้ ในสถานการณ์ที่คุณขาดทุน หากคุณไม่ยอมตัดขาดทุน แถมซื้อถัว ในแบบที่ไม่อยู่ในแผน สมมุติว่าคุณเกิดฟลุคชนะ มันก็จะกลายเป็นการรับรู้/ความเชื่อที่ผิดๆของคุณไปทันที ทำให้การเทรดครั้งต่อไปของคุณจะห้าวมากขึ้น เพราะเชื่อว่าตัวเองกำลังมือขึ้น ขาดทุนก็ไม่ยอมขายออก ใช้อารมณ์เทรดแทน ทิ้งแผนทั้งหมด มั่นใจได้เลยว่า เดี๋ยวคุณก็ต้องเจอการกวาดล้างครั้งใหญ่จากตลาด ซึ่งมันรุนแรงมากพอที่จะกระทืบคุณให้หมดตัวไปในชั่วเวลาไม่นาน



การเทรดเพื่อเอาคืน มันมาในหลายรูปแบบ แต่ที่พบบ่อยคือ เป็นการเอาคืนแบบทันที ตาต่อตาฟันต่อฟัน พอตัดขาดทุนตัวหนึ่งก็รีบเอาไปเข้าอีกตัวทันที (และใช้เงินก้อนโตกว่าเดิม) เพราะพวกเขามีความหวังว่าการเทรดครั้งใหม่จะทำให้เขาได้เงินคืนมาทั้งหมดแถมได้กำไรแบบทบต้นทบดอก

นี่คือตัวอย่าง(ขอปรับให้เป็นการเทรดหุ้นนะครับ)
เอียน กำลังขาดทุนเพราะราคาหุ้นลดลงเหลือ $97 ต่ำกว่าต้นทุนเขาที่ $100 แต่ด้วยความที่เขาเห็นกราฟหุ้นรายนาทีก็ยังแกว่งตัวได้น่าสนใจ(ในมุมมองที่มีอคคติ) จึงไม่ยอมขายตัดขาดทุน นอกจากนั้นก็ยังปรับ stop loss ลงไปอีก เพราะเขาหวังว่าราคาน่าจะมีโอกาสดีดกลับขึ้นไปคืนทุนแล้วค่อยขาย แต่อีกสองชั่วโมงถัดมา ราคาก็ร่วงต่อไปถึง stop loss ใหม่ที่เขาเลื่อนลง จึงตัดใจขายหุ้นออก เขาขาดทุน $250 แทนที่จะเสียหายแค่ $100 ตามที่วางแผนไว้ครั้งแรก

Mika เพิ่งตัดขาดทุนไป $50 สดๆร้อนๆ เธอรู้สึกผิดหวังมาก จึงตัดสินใจเพิ่มวงเงินเทรดอีกเท่าตัว เพื่อที่จะทำเงินให้ได้ $100 ให้กลบหนี้และได้ดอกกลับมาในคราวเดียว เมื่อเธอทำแบบนี้ ความเสี่ยงของเธอก็คูณสองทันที แถมการเทรดครั้งต่อไปมันกลายเป็นไฟต์บังคับให้เธอแพ้ไม่ได้ พอราคาวิ่งทำให้กำไรเธอก็เกิดอาการกลัวขาดทุน จึงรีบขาดทำกำไรก่อนเวลาอันควรไปเสียอีก



จากทั้งสองเคส แม้จะมีผลลัพธ์ที่ต่างกัน แต่ทั้งเอียนและ Mika ก็มีวิธีคิดในการเทรดที่ผิด เพราะพวกเขาเทรดด้วยความแค้น เอียนต้องขาดทุนเพิ่มอีกเท่าตัวเพียงเพื่อต้องการพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก ส่วน Mika เทรดด้วยความรุนแรงมากขึ้นกว่าที่เคย และแม้ว่าเธอจะชนะ แต่ก็กลายเป็นขายหมูตัวใหญ่ไป สาเหตุเป็นเพราะทั้งคู่ละทิ้งกลยุทธ์ของตัวเองเพียงเพื่อไม่ต้องการขาดทุน

อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวทางการรับมือกับสถานการณ์ขาดทุนที่ฉลาดกว่า ดังนี้
๑) ถอนตัวออกมาจากการเฝ้าหน้าจอ หยุดการเทรดชั่วคราว ออกไปทำอะไรที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการเทรดสักพัก ลืมการขาดทุนไปซะ อย่าเอามาคิดให้เครียด

๒) เขียนบันทึกสาเหตุที่เราต้องขาดทุน ระบุออกมาให้ละเอียดว่ามีอะไรผิดพลาดในการเทรดครั้งนั้น แล้วต่อไปก็มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการเทรดให้รัดกุมขึ้น อย่าไปโกรธตลาดแต่จงกลับมาพิจารณาตัวเองแทน คือสิ่งที่ดีที่สุด



อย่าเสียเวลาไปโทษเจ้ามือ โทษรายใหญ่ หรือ SET เพราะยังไงก็ตามคุณไม่ม่สามารถปัดความรับผิดชอบ ว่าตัวคุณก็มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
อย่างที่ผมเคยสรุปใจความจากหนังสือ กฎคูณสิบ หรือ 10X Rules ไว้ว่า
"กฎคูณสิบ พูดถึงการลงมือทำอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า การจะทำให้สิ่งดีๆเกิดบ่อยครั้งขึ้น คุณต้องไม่ทำตัวเหมือนเหยื่อเคราะห์ร้าย
สิ่งที่ดีไม่เกิดขึ้นกับเหยื่อเคราะห์ร้ายแน่นอน
สำหรับผู้เคราะห์ร้าย มีปัจจัย 4 อย่าง ที่คงอยู่เสมอ นั่นคือ
1. สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นกับพวกเขา
2. สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
3. พวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ
4. ต้องโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่นอยู่ตลอด

แต่คนที่ประสบความสำเร็จจะมีมุมมองตรงข้าม เขาเชื่อว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับชีวิต เป็นผลจากการกระทำของคุณเอง ไม่ใช่พลังงานบางอย่างจากภายนอก"
ความคิดแบบนี้ จะกระตุ้นให้คุณมองหาวิธีข้ามผ่านสถานการณ์ไปได้ และควบคุมไม่ให้สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นกับคุณอีกในอนาคต

ลองถามตัวเองดู หลังจากเผชิญเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่น่ายินดีว่า" ฉันจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้เหตุการณ์แบบนี้ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น น้อยลงหรือกระทั่งป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกเลย"

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ ไม่ได้เกิดจากโชคและความบังเอิญอย่างเดียวหรอก
แต่คุณมีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นมันคงไม่เกิดขึ้นกับคุณ
จำไว้ว่าแม้สิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้นกับคุณ แต่มันเกิดขึ้นก็เพราะคุณ(คุณมีส่วนกับมันทั้งสิ้น)"



๓) เมื่อรู้ว่าตัวเองมีส่วนกับมันอย่างเต็มๆ ก็ให้ท่านพยายามนึกย้อนกลับไปถึงสาเหตุที่ทำให้คุณอยากลงทุนหุ้นตัวนี้ อะไรเป็นสิ่งกระตุ้น ให้คุณตัดสินใจเพิ่มเงินเข้าไปซื้อเพื่อเอาคืน มีสิ่งใดที่เป็นเบาะแสที่บ่งบอกว่าคุณสติหลุดแล้วมือลั่น อาจจะเป็นการกัดเล็บ, กินขนมขบเคียวมากขึ้น, หรือกรีดร้องเจ็บใจ ฯลฯ การรู้จักอาการพิเศษเหล่านี้ มันจะช่วนให้คุณรู้ตัวและป้องกันตัวเองไม่ให้สติหลุดและลงมือเทรดเพื่อแก้แค้นในครั้งหน้าได้

๔) เชื่อมั่นในระบบเทรดของตัวเอง! หากคุณได้ทดสอบระบบและปฏิบัติตามมันอย่าง 100% ก็อย่าไปกังวลกับการขาดทุน! มันไม่มีระบบไหนในโลกหรอกที่สมบูรณ์แบบเต็มร้อย อย่าไปเสียเวลาต่อสู้กับตลาด คุณเอาชนะมันไม่ได้หรอก ยิ่งสู้ยิ่งแพ้ ก้มหน้าก้มตายอมรับข้อบกพร่อง ตัดขาดทุนตามระบบ แล้วหาโอกาสใหม่จะดีกว่า

๕) ฝึกฝนการบริหารความเสี่ยง ถ้าคุณมีสำนึกในการใส่ใจต่อการบริหารความเสี่ยงจนเป็นนิสัยไปแล้ว คุณจะเป็นคนที่มีระเบียบวินัยการเทรดที่ดี และก็มีโอกาสน้อยที่จะซื้อขายแบบไร้สติ
ถ้าหากคุณยังไม่เคยชินกับการบริหารความเสี่ยง ก็ให้เริ่มต้นจากการทำตามกฎอย่างเคร่งครัด บนพื้นฐานของการกำหนดวงเงินเข้าเทรด และระยะเวลาสำหรับการเทรด



โปรดจำไว้ว่า แม้แต่นักเทรดที่สามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ ก็มีวันที่เทรดเสีย ไม่มีใครชนะได้ทุกตาหรอก การขาดทุนมันเป็นส่วนหนึ่งของเกม

อย่าไปตีความว่าการขาดทุนคือสิ่งที่ตลาดต่อต้านคุณ และมันก็ไม่ได้ทำให้ตัวคุณด้อยค่าลงไปเลยแม้แต่นิด เพราะในโลกของการเทรด เราเทรดตามที่เราเห็นและคิด เราทำตามที่เราสามารถ เราทำเต็มที่แล้ว ถ้าไม่ใช่/ผิดทางก็ยอมถอยออกมา ทิ้งอีโก้ของคุณและมุ่งเน้นไปที่กระบวนการเทรดที่ดีขึ้นในครั้งต่อไป



บอลสอนคน
ขอเอ่ยถึงเกมฟุตบอลอย่าง PES หรือ Pro Evolution Soccer อีกสักครั้ง
ถ้าใครเคยเล่น ก็น่าจะต้องเคยตกอยู่ในแมทช์ที่ทีมท่านกำลังบังคับอยู่ พยายามยิงคู่ต่อสู้ นับสิบครั้งแต่ไม่สามารถทำประตูได้เลย ไม่ว่าจะยิงออกข้างไปเอง ยิงตรงตัวผู้รักษาประตู หรือแฉลบกองหลังกระทั่งเพื่อร่วมทีมตัวดีไปยืนขวางทางบอลเองซะดื้อๆ

รู้สึกตัวมั้ยว่าหงุดหงิด?

และยิ่งหัวร้อนแทบระเบิด เมื่อกองกลางจ่ายบอลพลาด โดนสวน และกองหน้าทีมตรงข้ามไม้รู้เก่งอะไรมา เราพยายามเข้าเสียบสกัด แต่ก็พรวด ลุกขึ้นมาตามไม่ทัน มันลากบอลไปยิงเข้าประตูขึ้นนำแบบง่ายๆ

1-0

คุณรีบรัวกดปุ่มข้ามทุกขั้นตอนของไฮไลท์ เพื่อรีบเข้าสู่เกม ให้กองหน้าเขี่ยบอลเพื่อเริ่มบุก

ตอนนี้ปุ่มที่คุณกดค้างไว้เลยก็คือ "ปุ่มเร่งสปีด"
คุณอยากจ่ายบอลให้แม่นที่สุด เพื่อที่จะพาบอลให้ไปถึงกองหน้าแล้วยิงเข้าเพื่อตีตื้นได้ทันที

แต่พระเจ้า...กองหน้ามันเสือกวิ่งสลับตำแหน่ง ให้กองกลางฝีตีนกากๆเข้าไปแทนตำแหน่ง ซึ่งมันก็แสนจะเงอะๆงะๆ ไม่ทันบอล

เจอฉก..
คู่ต่อสู้ได้บอล ก็โยนข้ามกองกลางไปหากองหน้าที่แมทช์นี้ดันเก่งเป็นพิเศษ
กองหน้าเขาได้บอล กองหลังเรากลับตัวช้าไล่ตามไม่ทัน พยายามสไลด์ แต่ไม่ถึง

โดนอีกเม็ด...2-0

คราวนี้ ท่านรู้สึกตัวแล้วครับ..
รู้ว่าเราได้ทำอะไรที่พลาดมหันต์ลงไป
เมื่อบอลกลับมาเริ่มเขี่ยใหม่ คุณจะเล่นช้าลง พยายามปราณีต

แต่...เกมก็ไม่เหมือนเดิม
แม้คุณจะพยายามจ่ายบอลแบบใจเย็น แต่คู่แข่งมันยกระดับการเพรสซิ่งที่แน่นหนาขึ้น
ทีมของคุณ ต้องเจอการขัดขวางอย่างหนัก
อาจจะยิงได้ แต่ก็แสนจะยากเย็นเสียเหลือเกิน

ในที่สุด ก็แพ้แบบสู้ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง คุณอาจจะโดน 3-0, 4-0 หรือมากกว่านั้น
แม้จะมียิงคืนได้ก็ยากลำบากยิ่ง
กลายเป็นเกมที่น่าอดสูยิ่ง

นี่คือตัวอย่างของอาการกระเหี้ยนกระหือรืออยยากเอาคืนให้ได้ทันควัน
มันทำให้คุณมองไปที่โกล์อย่างเดียว ทำยังไงถึงจะจ่ายบอลไปให้กองหน้ายิงคืนให้ไวที่สุด
ความเร่งร้อนทำให้คุณพลาด

โอเค..นี่มันเป็นเกม ผมไม่เถียง
แต่มันช่างละม้ายกับชีวิตประจำวันของเรายิ่งนัก

ยิ่งเราลนลาน ก็เหมือนกับคายพลังให้กับคู่ต่อสู้ได้มีสกิลที่สูงขึ้น

ดังนั้นวิธีแก้ก็คือ
พอโดนแล้ว ก็รู้ว่าโดน สูดหายใจลึกๆ เขี่ยบอลด้วยสติ ค่อยๆจ่ายบอลอย่างใจเย็น
ค่อยๆพาบอลไปยังโซนหน้าประตูคู่แข่ง
รอให้กองหน้าอยู่ใน killing zone คือถ้าได้ยิงแล้วมีโอกาสได้ประดูสูง จะมีความคมความแรงเป็นพิเศษ

ถ้ามันยังไม่ใช่ ก็ถ่ายบอลไปมาก่อน เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นคู่แข่งของคุณมันไม่ยอมง่ายๆอยู่แล้ว หน้าที่ของมันคือสร้างสถานการณ์ที่จะทำให้คุณสติหลุด หมดความอดทน

จ่ายบอลไปสักพักแหละ เดี๋ยวกองหน้าตัวดีก็จะวิ่งเข้าสู่ killing zone
ยิง...เข้า เป็น 1-1
จากนี้แหละ โอกาสเอาคืนของคุณมาแล้ว

ซึ่งคุณก็ต้องใจเย็น ตัดบอล พาบอลไปยังโซนเข้าทำอีกครั้ง
คราวนี้มันจะง่ายขึ้น ยิ่งเข้าง่ายขึ้น
ทำอะไรก็ง่ายไปหมด

คำว่า "what a complete comback!" จะดังลั่นสนาม

จากเคสของเกม PES มันสอนเราว่ายังไง?
พอเสียแล้วอย่าลนลาน อย่ารีบ revenge ดึงสติ อยู่มนเกมของตัวเอง
ก้มหน้าก้มตาเริ่มเกมด้วยจิตที่มั่นคง เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น
ต่อบอลไป ใจเย็นๆ ครองงบอลให้มากที่สุด อย่าให้เสียง่ายๆ
พยายามเจาะช่อง ไม่ต้องรีบ เดี๋ยวก็ได้คืนเอง

มีแค่วิธีนี้เท่านั้นที่จะเอาคืนได้ ..นอกจากนี้แล้วไม่มีทาง





Avoid Revenge Trading
https://www.fxstreet.com/education/avoid-revenge-trading-201710161007
เราทุกคนได้ยินเกี่ยวกับการเทรดแบบแก้แค้นกันอยู่แล้ว และแม้จะรู้ว่ามันเป็นข้อเสีย แต่เมื่อเราเผชิญกับอารมณ์เชิงลบก็อดไม่ได้ที่จะต้องเผลอแก้แค้น ซึ่งการเทรดเพื่อแก้แค้นมีสาเหตุมาจากสิ่งเดียวเท่านั้นคือ "ต้องการโทษตลาด" ที่ทำให้คุณขาดทุน แต่ลองคิดดูว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบการขาดทุนบ้าง? คำตอบที่ชัดเจนคือ "คุณ" เท่านั้น

ตลาดจะไม่รับผิดชอบการขาดทุนให้คุณหรอก ไม่มีทาง! แม้คุณจะพยายามเรียกร้องความสนใจจากตลาดด้วยการพยายามแก้แค้น ใช้เงินทุ่มซื้อมากกว่าเดิม เพื่อให้ตลาดรับผิดชอบ มันก็ไม่สนใจคุณอยู่ดี เพราะการเทรดคุณต้องรับผิดชอบตัวเอง!

เมื่อคุณใช้อารมณ์มาร่วมกับการเทรด บางครั้งคุณรู้สึกไม่พอใจตลาดและพยายามทำเงินคืนด้วยอารมณ์ ไร้ซึ่งตรรกะ เมื่อคุณมองตลาดด้วยอารมณ์ การตัดสินใจของคุณก็จะเป๋ไปทันที ซึ่งมันก็จะนำไปสู่ความผิดพลาด

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเพิ่งขาดทุน 4500 บาท จากการเทรดครั้งล่าสุด คุณจะพอใจกำไร 3000 บาทในครั้งต่อไปหรือไม่? ไม่มีทาง! คุณต้องการ 4500 เป็นอย่างน้อย ดังนั้นเมื่อการเทรดครั้งใหม่คุณได้กำไรไปแล้ว 3000 คุณก็จะยังไม่ยอมขาย เพราะต้องการลุ้นให้มันไปถึง 4500 ถึงค่อยขาย แต่จากนั้นสถานการณ์กลับพลิกล็อค ราคากลับตัวลงไปให้ขาดทุนเพิ่มอีก 3000 บาท รวมเป็น 7500 บาทไปซะอย่างนั้น นี่แหละคือ mindset ของการเทรดแก้แค้น

ตลาดมันไม่แคร์หรอกครับว่าคุณขาดทุนไปเท่าไหร่ ไม่สนเลยว่าคุณขาดทุนมาแล้ว 100 ครั้ง  พอครั้งที่ 101 หรืออีกร้อยครังต่อมามันต้องคืนกำไรให้ ไม่มีหรอก! 
ตลาดหุ้นไม่ใช่โรงทาน มันคือสงคราม! 
การเทรดเสียแต่ละครั้งมันไม่มีความเกี่ยวข้องกับครั้งถัดไปเลยแม้แต่นิดเดียว อย่าไปหวังพึ่งโชค อาศัยสติปัญญาตัวเอง!

มันเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการเทรดเพื่อแก้แค้น แต่คุณสามารถฝึกตัวเองให้เป็นายเหนืออารมณ์ได้ คุณแค่พยายามยอมรับการขาดทุนและจากนั้นก็ไม่ให้ตัวเองตัดสินอะไรไปด้วยอีโก้ในการเทรดครั้งถัดไป คุณต้องรักษาความเยือกเย็น กลับมาสู่เกมของคุณ ก้มหน้าก้มตาทำงานตามระบบที่คุณเคยทำ เก็บข้อมูลความผิดพลาดนั้นมาวิเคราะห์และแก้ไขให้ดีขึ้น นี่คือความเป็นมืออาชีพ

การเทรดเป็นกิจกรรมที่ต้องมีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง คุณจึงต้องมีสติ มีวินัย มีการบริหารจัดการเงินที่รัดกุม เพื่อให้ตัวเองอยู่กับร่องกับรอย การที่คุณพลาดโอกาสสักครั้งสองครั้งหรือสิบครั้งมันไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเพราะคุณยังไม่เสียเงิน โอกาสยังมาอีกเรื่อยๆตราบใดที่คุณยังมีเงิน ไม่ต้องรีบเอาคืนหรอก ใจเย็นๆ ค่อยๆทำในจังหวะที่คุณคิดว่าแม่นที่สุด โอกาสเสียน้อยที่สุด เก็บเล็กผสมน้อยเดี๋ยวก็ได้คืนเอง


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่