แนะนำอีบุ๊กเล่มใหม่ "สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน"

Image
(ลดราคา 20% จากราคาปก)  อีบุ๊ก สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด : เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน จำหน่ายแล้วที่ https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=319842   "สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน"   หนังสือเล่มนี้จะนำคุณเข้าสู่โลกของปรัชญาสโตอิก ผสานกับการเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูง สอนให้คุณรู้จักควบคุมอารมณ์และมีวินัยในทุกการตัดสินใจ ยืนหยัดอยู่ในเกมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ด้วยหลักคิดที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง คุณจะได้เรียนรู้วิธีสร้างกำไรอย่างยั่งยืน พร้อมกับรักษาความสงบเยือกเย็นในทุกสภาวะตลาด เปลี่ยนการเทรดให้เป็นศาสตร์ของจิตใจที่แข็งแกร่งและมั่นคง อีบุ๊ก - สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด: เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน เหมาะกับใคร? อีบุ๊กเล่มนี้เหมาะสำหรับนักเทรดทุกระดับ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นในตลาดการเงิน หรือเป็นนักเทรดมืออาชีพที่มีประสบการณ์มาหลายปี หากคุณเคยรู้สึกว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการเทรดไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิคหรือการวิเคราะห์ข้อมูล แต่คือการควบคุมอารมณ์ ความกลัว และความกดดันในการตัดสินใจ อี

หุ้น IPO กับ Wyckoff accumulation

โดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit

เนื่องจากสมาชิกรุ่นพี่ท่านหนึ่งอยากให้ผมใส่เคสหุ้น IPO เข้าไปในหนังสือด้วย เพราะท่านสนใจหุ้นประเภทนี้เป็นพิเศษ
โดยส่วนตัวแล้วผมก็ชอบเล่นหุ้นเข้าใหม่ๆเหมือนกัน แต่ก็ไม่ค่อยเน้นเข้าซื้อตั้งแต่วันแรกนะ ส่วนใหญ่จะรอให้มันย่อยแรงขายจนเสร็จก่อน
ซึ่งบางตัวก็ใช้เวลาไม่นานคือเดือน และก็อาจจะยืดยาวเป็นปีก็มีเยอะ

คำว่า "ย่อยแรงขาย" ของผมคือ Wyckoff accumulation ครับ
ถ้าท่านใจร้อนไม่รอหนังสือก็ขอให้ลองไปอ่านแนวทางของ Wyckoff accumulation ดูก่อนได้ครับ ผมใช้แนวทางนี้อยู่

เริ่มต้นที่ Wyckoff Accumulation กันก่อน เพราะมีรายละเอียดเยอะ แต่มันก็เป็นพื้นฐานที่ดี

PS -  Preliminary support ราคาลงมาหนักมาก เกิดเป็นแท่งแดงลงมาต่อเนื่อง เริ่มมีคนเฝ้าสังเกตุการลงของราคาบ้างแล้ว เพราะเชื่อว่าการลงไกล้สิ้นสุดในไม่ช้านี้

SC – selling climax เกิดแท่งแดงยาวพร้อมกับปริมาณการซื้อขายมากมายมหาศาลเมื่อเทียบกับช่วงขาลงที่ผ่านมา ในการตกใจขายครั้งนี้กลับมีนักซื้อมืออาชีพคอยรับหุ้นไว้เป็นระยะๆ ที่จุดต่ำสุดนี้เองจะเป็นตัวกำหนดช่วงราคาต่ำสุดของรอบ

AR – automatic rally (ราคาเด้งขึ้นทันที) เมื่อแรงขายหมดกำลัง แต่ความต้องการซื้อยังคงมีมากกว่า เพราะมีคนต้องการ cover short หรือซื้อหุ้นคืนจำนวนมาก จึงผลักดันราคาให้วิ่งขึ้นไปอย่างง่ายดาย ซึ่งจุดสูงสุดของการเด้งครั้งนี้จะเป็นตัวกำหนดกรอบบนของช่วงการซื้อขายในระยะถัดไป

ST – secondary test ราคาไหลกลับลงไปหาโซนต่ำสุดที่เกิด selling climax เพื่อทำการทดสอบ demand/supply ที่บริเวณนี้อีกครั้ง ถ้าเป็นการคอนเฟิร์มว่าต่ำสุดจริง-แรงขายต้องลดลงมากๆวอลุ่มก็น้อยลง แท่งราคาก็ต้องแคบลงอย่างชัดเจน เมื่อยืนยันว่าใช่ – จะยึดถือว่าบริเวณ SC จะเป็นแนวรับ

The “Creek” เป็นเส้นหยักของแนวต้านที่ลากจากยอดสูงสุดของการเคลื่อนไหวของราคาที่วิ่งในกรอบ มันมีเส้นแนวต้านย่อยหลายเส้น (เรียกง่ายๆคือ เทรนด์ไลน์ของแนวต้าน) ความสำคัญของเส้นนี้คือช่วยเป็นจุดสังเกตุว่าราคามีการ breakout เปลี่ยนผ่านจากการสะสมเป็นขาขึ้นอย่างแท้จริงนั่นเอง

“Springs” or “shakeouts” มักเกิดในช่วงปลายของช่วงการสะสม โดยรายใหญ่จะใช้หุ้นจำนวนไม่มากเทขายกดราคาลงไปยังโซนแนวจุดต่ำสุดเก่าและกดให้หลุดลงทะลุไปได้ เพื่อทดสอบว่ายังมีแรงตกใจจากรายย่อยขายตามมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีน้อยมากก็ถือว่าจบพิธีกรรมการสะสม การไล่ราคาขึ้นไปเป็นขาขึ้นก็เริ่มได้ทันที

“Jump” – continuing the creek analogy ราคาวิ่งกระโดดขึ้นไปหาเส้น creek หรือเส้นเทรนด์ไลน์แนวต้าน หากการกระโดดประสบความสำเร็จคือยืนได้ จะเกิดแท่งเขียวยาวพร้อมวอลุ่มมหาศาล

SOS – sign of strength ราคาวิ่งขึ้นต่อไปอย่างรวดเร็วเป็นแท่งเขียวยาวพร้อมกับวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นตาม
หากประสบความสำเร็จ ราคาก็จะ breakout trendline ขึ้นไปได้ พร้อมวอลุ่มมหาศาล และสามารถยืนเหนือแนวต้านได้
ตัว SOS นี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญ

BU (back-up)/LPS (last point of support) เป็นจุดสิ้นสุดแรงแรงต่อต้านหรือการย่อหลังจาก SOS โดยเกิดหลังจาก SOS ที่มีการไล่ราคาร้อนแรง ทำให้มีนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนบางส่วนที่กำไรขายทำกำไร และยังมีอีกบางส่วนที่ติดดอยก็ร่วมขายด้วยเพราะทนไม่ไหว
ด้วยแรงขายมีจำนวนมาก จึงกดให้ราคาลดลงมาหาเส้นแนวต้านที่เพิ่งผ่านมาได้ โดย LPS ก็เป็นแนวต้านที่เป็นจุดสุงสุดเดิม - เมื่อราคา breakout ขึ้นไปได้แล้วก็หมดสภาพความเป็นแนวต้าน แต่นักลงทุนจะเปลี่ยนให้มันเป็นแนวรับ โดยคาดหวังว่าราคาที่ลงมาไม่ควรหลุดเส้นนี้
ซึ่งแท่งราคาที่ย่อลงมาหา LPS นี้ควรจะเป็นแท่งสั้นและวอลุ่มน้อยมากๆ
ถ้าทุกอย่างเป็นดั่งนี้ คือย่อลงมาแล้วเด้งบน LPS ขึ้นไปได้ ถือเป็นจุดเข้าซื้อที่ดีอีกจุดหนึ่ง


คือถ้าเราเข้าใจสิ่งแวดล้อมของช่วงชีวิตหุ้น IPO ก็จะมองออกว่า เมื่อเข้ามาช่วงแรกๆนั้นส่วนใหญ่มันจะเจอขายอย่างหนัก เพราะ supply ล้นตลาด คนที่ได้หุ้นทุนต่ำต้องการขายทำกำไร
พอมีแต่คนขายราคาก็ร่วงหนัก ลงต่อเนื่องจน supply หรือหุ้นที่อยากขายมันหมดไปจากตลาด แล้วจากนั้นมันจะเด้งขึ้นจากแรงปฎิกริยา จุดสุดท้ายที่ราคาหยุดลงอย่างหนักเราจะให้มันเป็น SC และจุดสูงสุดของการเด้งครั้งแรกจะเป็น AR
เราจะใช้สองระดับราคาระหว่าง SC กับ AR นี้กำหนดกรอบการวิ่งของสงคราม demand กับ supply ในช่วงต่อไป

ในช่วงกรอบราคานี้จะเป็นการทำเกมส์ของ supply คือ demand จะยั่วให้ supply ขายออกมาจนหมด โดยการดันขึ้น ย่อลง เพื่อให้คนหมดใจขายหุ้นออกจนหมด ซึ่งราคาค่อยๆแกว่งแคบลงๆ และไปจบลงที่ apex คือ supply หมดแรง เหลือหุ้นอยากขายน้อยมาก และตอนนั้น demand สามารถคุมเกมส์ได้อย่างสมบูรณ์

หลังจาก apex นั่นแหละครับ คือเกมส์ของ demand ซึ่งเราจะสังเกตุเห็นอาการของ Pivot Buy Point หรือ SOS แสดงตัวออกมา
ถ้ามันมีกำลังแรงพอ หลังจากการ breakout ข้ามกรอบขึ้นไปได้ คือขาขึ้น หรือ Mark up phase นั่นเอง

มาดูตัวอย่างล่าสุดกันบ้าง
ก่อนอื่น เราจะหาลิสต์หุ้นเข้าใหม่ได้ที่ไหน?
ผมเอามาจากลิงค์นี้นะ https://www.set.or.th/set/ipo.do?language=th&country=TH
เขาจะมีลิสต์รายชื่อหุ้นเข้าใหม่ในปีล่าสุดให้ดูครับ
ถ้าท่านอยากย้อนกลับไปดูปีก่อนๆ ก็ไปเลื่อนที่เมนู "ข้อมูลรายปี"
มันก็จะเอารายชื่อหุ้นเข้าใหม่ปีนั้นๆ ออกมาทั้งหมด
หน้าที่ต่อไปของเราก็คือเอารายชื่อทั้งหมดไปทำการบ้านต่อ
ซึ่งผมเคยเขียนแนวทางไว้ในโพสต์ แนวทางคัดหุ้น IPO ดาวรุ่ง เมื่อปีที่แล้ว
และ ฐานเบื้องต้น (Primary Base After IPO) กับเคสหุ้นไทย ของปี 2018 นี้
ถ้าขี้เกียจอ่าน ก็ขอสรุปสั้นๆแบบนี้
๑) ดูกราฟว่ามันเป็นลักษณะไหน เป็นขาขึ้น หรือ ขาลง หรือ กำลังสะสม
ก็คัดเอาที่เป็นขาขึ้น กับสะสมไว้ก่อน
๒) ดูพื้นฐาน ว่าทำมาหากินอะไร มีความสามารถในการแข่งขันมั้ย โอกาสเติบโตมีบ้างหรือเปล่า ถ้าเราพอรู้เกี่ยวกับพื้นฐาน ก็สามารถเดาใจ smart money ได้ ว่าพวกเขาน่าจะให้ความสนใจตัวไหน
(เนื้อหา smart money หาอ่านได้จากหนังสือ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" นะครับ)

ในที่นี้ ผมขอยกเรื่องของพื้นฐานไปข้ามไปนะครับ เพราะเรื่องมันยาว คุณต้องไปทำการบ้านกันเอง ก็ทำไปเถอะครับ ใครทำใครได้ ถ้าคุณรู้จักพื้นฐาน มันก็จะช่วยให้เห็นโอกาสได้ชัดและลึกกว่าคนขี้เกียจ


ยกตัวอย่าง CMAN หุ้นน้องใหม่ของปีนี้
แนวทางของผมคือ ลากกรอบพาดจุดต่ำสุดของการเด้ง ให้มันเป็นกล่องตามรูป
ต่อไปก็ดูว่ามันสามารถข้ามไฮของ Box #1 ได้มั้ย ถ้าไม่ได้ ก็อยู่เฉยๆ อย่าไปสน อย่าริอ่านไปซื้อที่แนวรับเด็ดขาด ก็ดูตัวอย่างสิ ใครเผลอไปรับ ก็ได้ยับ พอร์ตพินาศไปทันตา ดังนั้นดึงสตินิดนึง เพราะหุ้นเข้าใหม่ คนที่ได้ทุน IPO ราคาถูกๆ ล้วนแต่อยากขายกันทั้งนั้นแหละ อย่าง CMAN พอได้นิวโลว์แล้วก็ยังโลว์ได้อีก จากนั้นเมื่อลงต่อจนถึงจุดหนึ่ง ไม่มีใครอยากขายอีก ก็เด้ง เพื่อสร้างกรอบสะสมใหม่ เป็น Box #2 คุณก็ให้จุดสูงสุดของกรอบเป็นจุดเฝ้าดู หากข้ามก็จะตามหรือดูก็แล้วแต่ ถ้าหากมันไม่ยอมดีดขึ้น แถมร่วงลง ก็ปล่อยมันไป อย่าให้ราคากับมัน

มาดูอีกตัวที่ประสบความสำเร็จ(ในเบื้องต้น) กันบ้าง (อนาคตไม่รู้)นะ

โดยจุดที่น่าสนใจของตัวนี้ คือล่าสุดมีการเปลี่ยนกรอบ ยกขึ้นไปได้แล้ว

ถือว่าทรงแบบนี้ มีความน่าสนใจระดับหนึ่ง เพราะมันแสดงออกถึงความต้องการขึ้น มากกว่าลง

แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างในตลาดหุ้น มันไม่เป๊ะตามตำราเสมอ หนังสือหุ้นทั่วไปจะบอกคุณเฉพาะเคสที่สำเร็จ มันจึงทำให้คุณเชื่อไปเองว่าถ้าอะไรก็ตามเป็นไปตามทรงดังว่า ต้องเป๊ะตามนั้น ไม่มีผิด ซื้อแล้วรวย ซึ่งผมบอกท่านเลยว่า ความเชื่อแบบนี้ผิด 100%

เพราะว่าในโลกของการเทรดนั้น มันไม่มีอะไรที่ตรงตามตำราแบบทื่อๆหรอกครับ บางครั้งหุ้นที่ทำทรงเหมือนกัน 10 ตัว อาจมีแค่ 2-3 ตัวเท่านั้นที่ทำกำไรให้ตามตำรา แต่ที่เหลือ = เละ = ทะลุหลอกแล้วร่วงแรง จากนั้นทำนิวโลว์เป็นขาลงสุดสยดสยอง

ดังนั้น ถ้าจะให้แนะนำ ในภาษาเม่าเผ่าเดียวกันก็คือ อย่าไว้ใจในตำรา อย่าเชื่อ อย่าเอามาหลอกตัวเอง
ผิดทางหนีก่อนครับ ก็ลากเป็นกรอบนี่แหละง่ายๆ

เอาตัวอย่างที่ผมเจอกับตัว COMAN

ตอนที่ราคาทะลุ Box #1 ขึ้นไปได้ ผมก็ซื้อตามเลย เพราะเข้าสูตร
แต่เมื่อมันไม่ยืนในกรอบได้ ก็ต้องปล่อยไป
ตัวนี้ถ้าใครยังทะลึ่ง bias กับมัน เข้าซื้อที่โลว์ ก็ถือว่ารับความซวยเข้ามาไว้ในพอร์ตครับ เพราะหลังจากนั้น Box #2 - 3 - 4 มันสาละวันเตี้ยลงตามลำดับ จาก 10 บาท ตอนนี้เหลือ 4 บาท นรกมั้ยล่ะครับ

นี่แหละครับเคสอีกด้าน ความไม่เป๊ะที่นักเขียนคนอื่นไม่ยอมบอกท่าน
ดังนั้น ก็อย่าไปฝังใจกับความรู้ สิ่งที่เขายกมาให้ดู มันเป็นเคสที่จบไปแล้ว จะชี้ยังไงก็ถูก อธิบายยังไงก็เทพ แต่เราสิ..... อย่าร้อนเงิน อย่ารีบรวยเร็ว เอาเท่าที่ได้ ถ้าเห็นว่าไม่ชอบมาพากล ราคาหลุดกรอบลงไปอย่างชัดเจน ขายออกไปก่อน เก็บเงินสดไว้กับตัว ในโลกการเทรดแล้ว "เงินสดคือพระเจ้า" นะครับ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นหักหัวลงแบบหาก้นไม่เจอแบบนี้

ปล.ใครสนใจเคสของปีที่แล้ว ผมได้เอามาใส่ในหนังสือ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" และ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" พอสมควรเลยครับ
ทำไมผมถึงเอาไปใส่?
คำตอบก็คือ ผมชอบเล่นหุ้นเข้าใหม่มากๆ ส่วนใหญ่ที่ทำเงินให้ก็มาจากหุ้น IPO นี่แหละครับ แม้เราจะไม่ได้ราคาจอง แต่ก็สามารถทำเงินจากเข้าใหม่ได้เช่นกันครับผม

ตัวอย่างเคสที่ผมฟลุ๊คได้กำไรจากหุ้นน้องใหม่ ก็เคยอวดไว้นิดหน่อย
๑) KOOL : ที่สุดของเซียว
๒) MEGA : การขายหมูครั้งใหญ่ของผม
นอกนั้นก็มีอยู่ในหนังสือครับ หนังสือชื่อ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ และ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด นะครับ
-------------------------------------------
----------------------
----------------------
สนับสนุนโดยหนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ และ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด


ทำไมใครๆต่างบอกว่าหนังสือทั้งสองเล่มเป็นการปล่อยของแบบไม่กั๊ก?
อ่านที่มาจากบทความนี้ครับ หนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


"ส่งข้อความ" สั่งได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่