20 หลักการ MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด

Image
สรุป MOΝΕΥ ΜΑΝAGEMENT และแนวทางการเทรด (ไม่ทราบที่มาของหนังสือ โหลดจากทวิตเตอร์) รายการต่อไปนี้เป็นการรวบรวมองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของการจัดการเงินและการเทรดไว้ด้วยกัน 1. เทรดตามทิศทางของแนวโน้มระดับกลาง 2. ในแนวโน้มขาขึ้น-ให้ซื้อตอนย่อ  ส่วนในแนวโน้มขาลง-ให้ขายชอร์ตเมื่อราคาเด้ง 3. จงทนรวยให้ให้ผลกำไรเติบโต ตัดการขาดทุนให้เสียน้อย 4. ใช้การตัดขาดทุนที่วิ่งตามราคาเพื่อจำกัดขนาดการสูญเสีย 5. อย่าซื้อขายอย่างหุนหันพลันแล่น 6. วางแผนการซื้อและขายและทำตามแผนของคุณ 7. ใช้หลักการบริหารเงิน 8. กระจายความเสี่ยง แต่อย่ากระจายมากเกินไป 9. ใช้อัตราส่วนรางวัลต่อความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ต่อ 1 10. เมื่อพีระมิด (ซื้อเพิ่ม) ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ก. ไม้ต่อไปควรมีขนาดเงินที่เล็กกว่าเดิม ข. เพิ่มเฉพาะตำแหน่งที่ชนะเท่านั้น ค. อย่าเพิ่มตำแหน่งที่ขาดทุน ง. ยกระดับตัดขาดทุนไปวางที่จุดคุ้มทุน 11. อย่าเทรดประมาทจนถึงขั้น Marfin call;  อย่าเสียเงินเพิ่มหลังจากเคยเสียหนักมาแล้วครั้งหนึ่ง(อย่ารีบเทรดเอาคืนหลังจากที่แพ้ยับเยินสด ๆ ร้อน ๆ) 12. ขายหุ้นที่คุณคิดผิด(ขาดทุน) ก่อนหุ้นที่คุณคิดถูก(ได้กำไร) 13. ถ้า

Fear of Being Wrong : กลัวทำผิด

โดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit

Fear of Being Wrong - Trading
เมื่อคุณเทรดแล้วราคาหุ้นวิ่งสวนทางกับความคาดหวังของคุณ ทำให้ขาดทุน แต่คุณยังไม่เชื่อตาตัวเองว่ามันจะเป็นไปได้ที่ราคาจะวิ่งสวนทาง ซึ่งความจริงแล้วคุณควรรีบตัดขาดทุนได้แล้ว แต่ก็ยังรีรอเพราะรู้สึกเสียใจราวกับว่าเพื่อนคนหนึ่งเสียชีวิต จึงไม่ยอมขายออก การเทรดขาดทุนครั้งนี้มันสร้างความเครียดให้กับคุณมาก จนกระทั่งเกิดความหวาดกลัวว่าอนาคตจะต้องขาดทุนอีก จิตใจก็เริ่มปั่นป่วน ไม่กล้าเทรดเพราะกลัวขาดทุน......

พวกเราน่าจะเคยเป็นอาการแบบนี้มาก่อน แต่การกลัวความผิดพลาดนั้นมันเป็นกลไกปกป้องตัวเองตามธรรมชาติเนื่องจากความเจ็บปวดทางอารมณ์

แต่เมื่อแยกแยะที่มาของความกลัวออก ก็จะพบว่าพวกเรามักจะกลัวและกังวลเกี่ยวกับอนาคตมากจนเกินไป โอเค...ไม่ค่อยมีใครหรอกที่จะชอบทำอะไรผิด แต่เมื่อเราเข้ามาทำอาชีพเทรดซึ่งเป็นเกมส์ของการเดาล้วนๆเหมือนเล่นไพ่ blackjack แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากเรามีการวิจัย หาข้อมูลและมีเครื่องมือที่ดี ก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะทำผิดพลาดลงไปได้

แต่ก็อีกนั่นแหละ, แม้ว่าคุณจะทำการบ้านมาดี การเคลื่อนไหวของหุ้นที่คุณซื้อก็ยังมีโอกาสวิ่งสวนทางให้ขาดทุนอยู่ดี
แล้วเราจะรับมือกับมันยังไงดี?

ในฐานะที่คุณเป็นนักเทรด ก็ควรคาดหวังว่ายังไงซะต้องมีการเทรดผิดพลาดให้ขาดทุน ซึ่งคุณต้องยอมรับมันให้ได้ ทั้งที่จริงแล้วคุณมีโอกาสขาดทุน 50-70% ของการเทรดทั้งหมดเสียด้วยซ้ำ และมันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ให้ซีเรียส

ทำไม จะไม่ซีเรียส ก็นั่นมันเงินทั้งนั้น!!!?
เพราะการขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของเกมการเทรดยังไงล่ะ คุณไม่สามารถเลี่ยงมันได้
เทรดเดอร์ผู้ชนะก็ขาดทุนกันแบบนี้ แต่ที่เขาอยู่รอดและทำเงินได้ก็เพราะเขารีบตัดขาดทุนให้เสียหายน้อยที่สุด ส่วนที่กำไรก็จะปล่อยให้มันโตไปเรื่อยๆตราบที่มันยังไปได้
พูดง่ายๆคือ จำกัดขาดทุนให้เสียน้อย แต่พอกำไรต้องเอาให้ได้เยอะให้ได้ก้อนใหญ่กว่าขาดทุน

ในช่วงแรกๆของการเป็นนักเทรดมือใหม่ คุณต้องเคยขาดทุนแต่ก็ไม่อยากยอมรับมัน เพราะกลัวการขาดทุน ยิ่งคุณมีการต่อต้านมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเกิดความเครียดพุ่งสูง ผลก็คือคุณเทรดแบบลืมวินัย ลืมกฎ ลืมการบริหารเงินทุน ผลก็คือขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก

ดังนั้นอย่าไปรังเกียจมัน จงถ่อตน การยอมรับว่าตัวเองก็ทำผิดพลาดได้ย่อมดีกว่าลงมือทำด้วยความประมาท ยอมรับว่าหากเราต้องการชนะก็ต้องมีการเสี่ยงบ้าง

การเทรดเป็นเกมที่ไม่ต้องการความสมบูรณ์แบบ(ของผลการแข่งขัน) หากคุณมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นคนชนะ ก็ต้องยอมรับว่าผลของการเทรดในแต่ละครั้งเราไม่สามารถบังคับได้ว่าต้องเป๊ะ 100% ถ้าผิดทางก็มี stop loss เป็นตัวช่วยในการตัดขาดทุน ขายเอาเงินสดส่วนใหญ่เก็บไว้ และทำการบ้านหาหุ้นให้เทรดต่อไป นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด เรียนรู้จากการเทรด และเรียนรู้ตัวเองจากกระบวนการเทรดทุกครั้ง

คุณไม่ต้องการยอมรับว่าตัวเองทำอะไรผิดหรอก ไม่ใช่แค่คุณ คนทั้งโลกก็เป็น



Proper Way To Be Wrong In Trading
มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้นักเทรดไม่สามารถดำเนินการตามแผนการซื้อขายได้อย่างถูกต้อง และความไม่ต้องการขาดทุนก็คือต้นตอสำคัญ

หากคุณได้ทำการเทรดเองด้วยเงินจริงมาเป็นระยะเวลาหลายปี คุณจะเข้าใจดีว่าตนไม่สามารถเทรดชนะได้ทุกตัว และสามารถหลีกเลี่ยงการขาดทุนได้ทั้งหมด

สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ ต้องยอมรับความจริงที่ว่าคุณต้องขาดทุนเพื่อเป็นบทเรียนให้ตัวเอง
ตอนที่คุณทำการบ้าน ทำ back test ดูกราฟย้อนหลัง คุณสามารถชี้จุดเข้าออกที่ตรงเป๊ะ ไม่มีผิดพลาดแม้แต่นิด เพราะวิเคราะห์ย้อนหลังยังไงก็ต้องถูกเนื่องจากอะไรๆก็จบไปแล้ว

ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องเลยกับการอยู่หน้างาน เพราะแม้ว่าเราจะเดาดักทางเอาไว้ว่าราคาจะไปทางไหน แต่มันก็ไม่ได้การันตีว่าจะวิ่งไปทางนั้นจริงๆ ตลาดเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ นี่คือความจริง

ใช้อีโก้เทรด คือความผิดพลาด
เรารู้ดีว่าเราจะต้องผิดพลาดแน่ในการเทรดเป็นอาชีพ และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเทรดเดอร์ทำใจขายตัดขาดทุนยากเหลือเกิน เมื่อพวกเขายังถือหุ้นที่ขาดทุนเอาไว้ เงินจมอยู่กับหุ้นไม่ทำเงิน แล้วเมื่อไหร่พอร์ตของเขาจะโตขึ้นได้ล่ะ?
ความจริงแล้ว การตัดใจขายหุ้นที่ขาดทุนออกมันไม่ใช่เรื่องยากเลย แค่คลิกเดียวเท่านั้นเอง คุณก็ปลดปล่อยตัวเองออกจากพันธนาการได้แล้ว แต่ทำไมถึงทำได้ยากเย็น?

เพราะคุณกลัวถูกตราหน้าว่า "เป็นคนผิด" ไง

ข้อเท็จจริง : การเทรดไม่จำเป็นต้องถูก(ได้กำไร)ตลอดเวลา
เรามีความรู้สึกฝังลึกให้รังเกียจการทำตัวโง่ๆ ต้องกลายเป็นคนโง่ในสายตาของคนอื่น มันเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการของมนุษยชาติ
มนุษย์มักจะรู้สึกสนุกกับบการข่มเหง/เยาะหยัน/ตลกขบขันคนที่ด้อยกว่า หรือคนที่ชอบทำอะไรโง่ๆ หรือไร้เดียงสา
ที่โรงเรียนก็มุ่งเน้นในการสร้างเป็นคนถูกมากกว่าใช้เหตุผล

เมื่อพวกเราเอาการรับรู้เหล่านี้มาเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ก็เลยทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนเป็นคนโง่ถ้าต้องขายขาดทุน เพราะแต่ซื้อหุ้นแต่มันไม่ขึ้นแถมร่วงให้ติดลบก็เหมือนโดนตบหน้าไปกลายๆแล้ว จะให้ขายขาดทุนด้วยเนี่ย มันออกจะทำร้ายจิตใจกันอย่างรุนแรงเลย คือถ้าทนถือขาดทุนแล้วมันเด้งจึงขายก็ไม่โง่ แต่ถ้ารีบขายขาดแล้วมันเด้งยิ่งโง่คุณสอง

ดังนั้นคุณจึงอยากพิสูจน์ตัวเองว่า "ฉันไม่โง่" ด้วยการทนถือหุ้นขาดทุน แม้ว่ามันจะติดลบ 50% ก็ตาม "ตราบใดที่ฉันไม่ขาย ฉันก็ยังไม่โง่"

ความเชื่อแบบนี้เป็นสัญชาติญาณที่แข็งแกร่งมาก เมื่อได้เชื่อฝังใจแล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยนได้ง่ายๆ

ยิ่งถ้าคุณมีประสบการณ์เจ็บซ้ำๆมาก่อนด้วยล่ะก็ มันจะกลายเป็นนิสัย ความรู้สึกลบไปเลย ยิ่งแก้ลำบากคูณสอง

นี่คือตัวอย่าง ของการปฏิเสธขาดทุน(กลัวเป็นคนผิด)....
๑) คุณเลื่อนจุด stop loss
หากนักเทรดสักคน ได้เลื่อนจุด stop loss ออกไป ก็หมายความว่าเขาปฏิเสธการขาดทุน

๒) คุณละเว้นปฎิบัติตามกฎ
การที่คุณขาดทุน เนื่องจากคุณพลาดข้อมูลสำคัญบางอย่าง ซึ่งปกติแล้วมันอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ เพราะคุณไม่ได้ให้ความสนใจหรือไม่ได้เตรียมตัวมาอย่างถูกต้อง
ฉะนั้นสิ่งที่คุณต้องทำเมื่อขาดทุนก็คือยอมรับความบกพร่องของตัวเอง ไม่ใช้อิดออดไม่ยอมขายเพื่อรอให้มันกลับไปคืนทุน การไม่ยอมทำตามกฎ แสดงว่าคุณปฎิเสธที่จะยอมรับการขาดทุน โบ้ยความผิดให้กับตลาด เพียงเพราะต้องการเป็นคนถูก

๓) กลัวโดนหลอก
เมื่อขาดทุน คุณรู้สึกกลัวว่าอาจกลายเป็นคนโง่ ถ้ารีบขายแล้วราคาเด้งกลับไปคืนทุน จึงเลือกที่จะทนถือหุ้นขาดทุนเอาไว้
แสดงว่าตอนนี้คุณเริ่มละแหกกฎ ไม่ยอมทำตามแผน ซึ่งมันอาจกลายเป็นภัยพิบัติต่อพอร์ตของคุณได้

๔) รีบเทรดเพื่อแก้แค้น/เอาคืน
คุณรีบขายขาดทุนตัวหนึ่งเพื่อเปลี่ยนตตัวใหม่ที่คิดว่าน่าจะวิ่งแรงทำกำไรให้ทันทีและมากกว่า อันจะชดเชยการขาดทุนตัวที่เพิ่งขายไปได้ในครั้งเดียว แต่คุณก็ลืมไปว่าตัวเองไม่ได้ทำตามแผน ไม่มีการวิเคราะห์ที่ละเอียดถี่ถ้วนสำหรับข้อมูลหุ้นตัวใหม่ที่เพิ่งเปลี่ยน
แทนที่คุณจะได้กำไรตามใจหวัง ก็อาจจะทำให้ต้องถลำลึกขาดทุนเพิ่มอีกก็เป็นได้

ผลลัพธ์ของการเทรดมันถูกต้องเสมอ
การเทรดให้ได้กำไร มันต้องมีกระบวนการเปลี่ยนแปลง mindset และนิสัย รวมถึงการมีกลยุทธ์, การบริหารจัดการเงินทุน และอื่นๆอีกมากมายขึ้นอยู่กับความเชื่อและแนวคิดของคุณ

การเป็น "คนถูก(หรือกำไร)" ไม่ได้หมายความว่าคุณเทรดชนะเสมอไป เพราะบางทีคุณอาจจะกำไรเพราะฟลุ๊ค หรือตรรกะที่ผิดพลาด แม้ว่าคุณจะได้เงินในตอนนี้ แต่ในอนาคตถ้ายังทำซ้ำ ผลที่ออกมาก็อาจจะตรงกันข้ามก็ได้

พูดง่ายๆคือ สิ่งที่ถูกต้อง ในความหมายของบทความนี้จะโฟกัสไปที่กระบวนการ ไม่ใช่ ผลลัพธ์
ถ้าวิธีการดำเนินการ(process)ของคุณยังถูก แม้ผลลัพธ์จะผิด คุณก็ยังเป็นคนถูก

ซึ่ง "วิธีการดำเนินการ" ที่ถูกก็คือ มันสามารถทำกำไรซ้ำได้อย่างต่อเนื่อง มีผิดพลาดบ้าง แต่ก็น้อยกว่าถูก บางคนก็เรียกกระบวนการว่า "ระบบเทรด" ถ้าคุณมีระบบที่เป็นตรรกะใช้ซ้ำได้ แม้จะไม่ใช่ทุกสภาพตลาด สิ่งนั้นคือ "ความถูกต้อง"

ถ้าหากเราทำตามระบบทุกอย่าง แม้ผลจะออกมาไม่สมดังใจหวัง คือขาดทุน คุณก็ตัดขายออกไปอย่างเร็ว แล้วเอาเงินไปเข้าตัวใหม่ที่ตรงตามระบบการคัดกรองอีก

ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่มีระบบ พวกเขาคาดหวังที่ "ผลลัพธ์" เท่านั้น เมื่อผลลัพธ์ไม่ได้ดั่งใจ ก็โทษตลาดและพยายามแก้ไขด้วยการซื้อถัวเฉลี่ย ถ้าเป็นแบบนี้คือ "ผิด"

ถ้าเรามีระบบที่ดี ใช้ซ้ำได้ เราจะเคารพผลลัพธ์ ไม่ว่ามันจะออกมาแบบไหนก็ตาม ได้กำไรก็รอ take profit เมื่อราคาถึงเป้าหมาย หรือจบแนวโน้ม แต่ถ้าขาดทุนก็ไม่วิตก รีบตัดขายออกตามระบบ

โฟกัสไปที่การลงมือทำ
ประเด็นก็คือ คุณต้องมุ่งเน้นไปที่ "กระบวนการเทรดที่ถูกต้อง" เท่านั้น
คุณไม่สามารถล็อกผลลัพธ์ของการเทรดแต่ละครั้งของคุณได้ เพราะมันออกได้ทั้งสองทาง
แต่สิ่งเดียวที่คุณสามารถควบคุมได้เต็มที่คือ คุณจะเข้าเทรดเมื่อไหร่ และเทรดอย่างไร รู้ว่าเมื่อไหรควรเทรด และตอนไหนไม่ควรเข้าไปซื้อขาย

เพื่อให้คุณได้รับโอกาสที่ดีในการเข้าถึงโอกาสอย่างถูกต้อง มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
๑) คุณต้องมีแผนการเทรดที่ชัดเจนและเรียบง่าย ว่าจะเทรดยังไง และภายใต้สถานการณ์ใด
๒) เมื่อคุณดูสภาพตลาด(ดูแนวโน้ม) ก็รู้ทันทีเลยว่า ระบบคุณใช้งานได้หรือไม่ ควรเทรดหรือไม่ควร

หากคุณมีกลยุทธ์ที่ดีและใช้ซ้ำได้ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสู่ความสำเร็จคือสามารถดำเนินการตามแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพและพยายามลดข้อผิดพลาดในการซื้อขาย

โดยข้อผิดพลาดที่ว่านี้ก็คือการตัดสินใจด้วยอารมณ์ แบบโง่ๆ ซึ่งคุณสามาถเลี่ยงมันได้ด้วยการเปลี่ยน mindset ของคุณเกี่ยวกับการเป็นคนถูกต้องที่แท้จริง
ถ้าเปลี่ยนได้ คุณก็จะไม่รู้สึกว่าเป็นคนผิดอีกเลย

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดหุ้น คุณไม่ต้องรอบรู้ไม่ต้องเก่งทุกเรื่องและทุกอย่างหรอก ทำแค่ 7 เรื่องนี้ให้ได้ก็พอ....