นักเทรดต้องเรียนรู้ที่จะเป็นเพื่อนที่ดีของตนเอง

การเทรด ดูเหมือนง่าย แต่แท้จริงแล้วโคตรยาก มันจึงควรเป็น “กระบวนการเรียนรู้” ระยะยาว อย่าทำร้ายตนเอง ในวันแย่ ๆ แต่จงเปิดใจมองหาบทเรียนเพื่อเรียนรู้แทน อย่าไปแคร์นักเทรดขี้โม้บนสื่อโซเชียล ที่ชอบอวดว่าตนรู้ทุกอย่าง ทั้งที่แท้จริงแล้ว แม้แต่สุดยอดนักเทรดก็ยังพลาดได้ในธุรกิจนี้ – แมท คารูโซ . มนุษย์ สามารถผิดพลาดได้เสมอ แม้แต่มือโปร ก็ยังตัดสินใจโง่ ๆ โดยขาดสติบางครั้ง เมื่อผิดพลาด... มือใหม่: ทำร้ายตัวเอง/ปล่อยให้อารมณ์ครอบงำ และ ทำความผิดพลาดซ้ำเติม มือโปร: ยอมรับและเข้าใจความผิดพลาดของตนเอง/รักษาทัศนคติเชิงบวกไว้/ตั้งสติและโฟกัสให้ดีขึ้น/รักษาสภาพจิตใจที่มั่นคงเป็นกลางไว้ - เทรดดิ้งคอมโพเชอร์ . ทุกคนล้วนทำความผิดพลาดกันได้ ผมคิดว่าผู้คนจำนวนมากทำร้าย(และโทษตัวเอง)มากเกินไปเมื่อทำผิดพลาด – วอร์เรน บัฟเฟตต์ . บทเรียนสำคัญของการเทรดที่คุณควรรู้: คุณต้องเรียนรู้ที่จะเป็นเพื่อนที่ดีของตัวเอง อย่าเป็นศัตรูกับตัวเอง เพราะคุณมีคู่แข่งเยอะแล้ว ทั้งมือโปร ทั้งตลาด  และพวกขี้โม้ ดังนั้นอย่าเพิ่มคู่แข่งที่อันตรายที่สุดด้วยการ เป็นปฏิปักษ์กับตัวเองอีกเลย

Action Reaction Resolution Phase



ด้วยความที่ตัวผมเองชอบซื้อแล้วถือรันตามแนวโน้มขาขึ้น จึงชอบค้นคว้าศึกษาพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาดเพื่อทำความเข้าใจ เป้าหมายคือให้มีข้อมูลพอที่จะจับสังเกตุการแสดงออกของเทรดเดอร์รายอื่นๆที่คิดต่างจากเรา ว่าเขาลงมือทำอะไรบ้างผ่านกราฟ

ก็ไม่ได้คิดจะกะเก็งอะไรหรอก เอาไว้ "เดา" สนุกๆไปเรื่อยๆ

ตอนที่ผมเข้ามาตลาดใหม่ๆ จะมองโลกการเก็งกำไรเป็นเส้นตรง คือทุกคนต้องมองเหมือนฉัน ใครคิดตรงข้าม คนนั้น "โง่" บ่อยครั้งจึงเถียงตลาด และลงเอยด้วยบทเรียนอันแสนเจ็บแสบ

พอขาดทุนมากขึ้น ก็ได้เรียนรู้ว่า ในสิ่งแวดล้อมการเล่นหุ้นนั้น มันมี "ความหลากหลาย" และ "ดิบ" มากกว่าโลกการทำงานหรือห้องเรียนเยอะ

ทุกคนที่เล่นหุ้น ล้วนต้องการ "กำไร" กันทั้งนั้น
มันจึงคล้ายการตะลุมบอนที่ไม่มีการแบ่งฝ่ายชัดเจน
คนที่อ่านสถานการณ์ออกก่อน ก็มีสิทธิ์รอด ใครยืนงงก็มีโอกาสตายสูง

ดังนั้น ถ้าคุณคิดจะเล่นแบบซื้อแล้ว รันเทรนด์
ก็จงรู้ว่า คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คิดจะมาเล่นถือยาวกันหรอก
มีทั้งเล่นสั้นๆกำไรไม่กี่ช่องก็เอา
รวมถึง ซื้อแนวรับขาตามแนวต้าน ซึ่งแบ่งไปได้หลายสูตรได้อีก ทั้งใช้ฟีโบนาชี ตัวเลขกลมๆ ไฮเดิม โลว์เดิม สภาวะตลาด ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้แหละที่จะเป็น "ตัวขัดขวาง" การวิ่งขึ้นต่อของราคาอันเป็นความพอใจของเรา

จึงไมแปลก ที่เทรดเดอร์มีความหลากหลายในแนวคิด มันจึงส่งผลไปถึงการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่เป็นเส้นตรง แต่จะขึ้นนิด ลงหน่อย วิ่งขึ้นแรงก็โดนขายหนัก

สิ่งนี้แหละที่เรียกว่า แรงปฏิกริยาโต้ตอบ การขึ้นของหุ้น หรือฝรั่งเรียกว่า Action Reaction Resolution Phase อธิบายตามสถานการณ์คือ คนทำราคาซื้อไล่ราคาขึ้นไปได้สักพักนึง ก็จะมีการขายทำกำไรจากคนเล่นสั้นกดดันไม่ให้ราคาไปต่อ เมื่อราคาโดนกด เจ้ามือก็หยุดซื้อ ปล่อยให้คนอยากขายเทหุ้นออกได้ตามใจชอบ เพื่อที่จะได้รู้ว่ามันมีกำลังมากแค่ไหน
ถ้ากำลังเยอะก็ปล่อยให้เวลาช่วยซับแรงขายนั้น คือปล่อยให้ขายจนเบื่อ
ถ้ากำลังน้อยก็ไม่ทอดเวลาให้เนิ่น วันสองวันก็งัดต่อได้เลย


บทความข้างล่างนี้ จะช่วยอธิบายกลไก จิตวิทยาการวิ่งขึ้นของและลงของราคาดังที่ผมเกริ่นไว้ข้างต้น ว่ากว่าที่ราคาจะ breakout ให้สำเร็จนั้นมันต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง เราจะได้เอาไปประยุกต์ใช้ดูพฤติกรรมของหุ้นที่เราถือ และอาจรวมถึงหาจังหวะซื้อที่เหมาะสมได้เช่นกัน

Action-Reaction-Resolution Phase

Breakouts และ breakdowns ถูกพัฒนาเป็นวัฏจักร action-reaction-resolution (หมายเลข 1-2-3 ตามรูป) ราคาหุ้น CERNER ทะลุผ่าน $40 หลังจาก sideway ทำฐานได้ 4 เดือน
การ breakout ราคา $40 คือ action phase (1)

จากนั้นราคาวิ่งขึ้นไปเจอความผันผวนทั้งซื้อและขายกดดันทำให้ราคาทำทรงการขึ้นลงแบบฟันเลื่อย-ถือเป็น reaction phase(2)

อีกทั้งสัปดาห์ต่อมา-ความผันผวนของราคาลดลง จากนั้นราคาก็ทำแท่งยาวทะลุผ่านไฮเดิมขึ้นไปได้
มันคือ resolution phase(3)
นี่เป็นการยืนยันว่าเกิด initial breakout และ initiates a fractal 1-2-3 cycle ในtime frame ระยะสั้น
.
ในการทำความเข้าใจทั้ง 3 ขั้นตอนนั้น เราต้องจับตาการเกิด breakouts, breakdowns, whipsaws และ pattern failures โดยผู้เขียนเรียกว่า action-reaction-resolution cycle, หรือเรียกง่ายๆว่า 1-2-3 cycle.

การ breakout ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องทำจนสำเร็จให้ได้ทั้ง 3 เฟส คือราคาทะลุผ่านต้านพร้อมวอลุ่ม เป็น action, ราคาขึ้นไปต่อจากนั้นก็พักตัวลงมา คือ reaction, ราคาลงมาหาแนวรับที่เคยกลายเป็นต้าน-ทำให้คนที่พลาดในการซื้อครั้งที่แล้วเข้ามาซื้อหุ้นร่วมวงด้วย(โอกาสรอบสอง) ทำให้ดีดกลับขึ้นไปจนสามารถทะลุไฮเดิมขึ้นไปต่อ เป็น resolution phase นี่แหละถือเป็นการคอนเฟิร์มการ breakout

whipsaw คือการ breakout ที่ล้มเหลว ราคาจะสวิงขึ้น/ลงผ่านระดับแนวต้านและรับแต่ก็ไม่หลุดกรอบ เป็นช่วงที่ demand-supply ไม่สมดุลกันอย่างมาก ราคาจึงผันผวนขึ้นลงอย่างรุนแรง ตัว whipsaw นี่แหละที่ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ขาดทุน สูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก
ดังนั้น ทางที่ดีควรรอให้ราคามันเลือกทางอย่างชัดเจนเสียก่อน จึงค่อยเข้าเทรด แม้เราจะต้องจ่ายแพงกว่า แต่ก็ไม่ต้องรอ ที่สำคัญไม่โดนเขย่า จากความผันผวน

resolution phase จะเกิดเมื่อ whipsaw หมดกำลัง(ตาย) ราคาไม่ผันผวนรุนแรงอีกแล้ว การทำราคาให้ขึ้นไปทะลุแนวต้านจึงเป็นเรื่องง่ายดาย และนั่นก็ทำให้ครบ 1-2-3 cycle



1-2-3 Breakouts and Breakdowns
การ breakout ที่สำเร็จประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

1) ราคาทะลุแนวต้านขึ้นไปพร้อมวอลุ่ม เรียกว่า action phase
2) ราคาขึ้นไปต่ออีกไม่กี่จุดแต่ว่าไม่ดุดันเท่าตอนทะลุต้าน ขึ้นแบบอ่อนแรง ทำให้มีคนเริ่มขายทำกำไรกดดันจนราคาลงมาถึงระยะที่น่าสนใจให้ชวนซื้อ เรียกว่า reaction phase
3) มีการซื้อหุ้นสวนกลับขึันไปและไล่ราคาจนทำนิวไฮได้อีก เรียกว่า resolution phase

การ breakout ที่สมบูรณ์จะขึ้นอยู่กับลักษณะของปริมาณการซื้อขาย โดยความต้องการซื้อต้องมากกว่าอยากขายในช่วง initial breakout
และจากนั้นเมื่อราคาพักตัว วอลุ่มควรจะลดลงจนแทบเหือดแห้ง ซึ่งเป็น reaction phase ผู้เข้าซื้อหน้าใหม่เข้ามาเพราะเชื่อว่า resolution phase จะทำได้สำเร็จ
การเกิด whipsaw และ false breakouts จึงเป็นผลของการที่ความต้องการซื้อ/ขาย ไม่สมดุล


Whipsaw คืออะไร?
มันเป็นช่วงที่ราคาสวิงขึ้น/ลงผ่านระดับแนวต้านและรับที่พบบ่อย การลากและทุบนี่แหละทำให้เกิด whipsaw แต่มือที่มองไม่เห็นมักจะทำให้ราคาผ่าน common stop เพื่อสร้างวอลุ่ม และยังเป็นการกำจัดผู้เล่นบางส่วนออกไปด้วย ตัว whipsaw นี่แหละที่ทำให้เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ขาดทุน สูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก

Whipsaws เกิดขึ้นเมื่อราคาไม่สามารถจะ breakout ขึ้นไปทำ resolution phase ได้ การล้มเหลวนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้ราคากลับตัวลงไปเลยก็ได้ ถ้าเป็นการเขย่า-ต้องการขับรายย่อยที่ใจอ่อนแอออกไป จากนั้นก็ดันราคาขึ้นไปจนถึงแนวต้าน เมื่อไม่ผ่านก็จะลงมาอีก-แต่ครั้งนี้ผู้เล่นรายใหม่ไม่ยอมให้ลงมาที่แนวรับเดิม พวกเขารีบซื้อ ทำให้ราคายกโลว์สูงขึ้นไป

การ follow through rally เป็นตัวยืนยันการ breakout มันจะเกิดขึ้นเมื่อ whipsaw ผันผวนลดลงมากๆ จึงเป็นจังหวะดีที่จะซื้อดันราคาให้วิ่งผ่านต้านอย่างง่ายๆ (คล้าย VCP เลย)


Major reversals การกลับตัว เกิดขึ้นเมื่อราคาไม่สามารถผ่านต้านขึ้นไปได้ คนที่เขารอซื้อตอนราคา breakout ก็ราคาก็ไม่มาตามนัด เมื่อกองกำลังเสริมไม่ได้มาช่วยซื้อ ราคาก็เลยกลับตัว-เพราะไม่มีแรงไปต่อ คนที่ถืออยู่ก็หมดศรัทธา จึงจำใจขายหุ้นทิ้ง จากนั้นก็ panic ตามกันจนทำให้ราคาหลุดแนวรับ กลายเป็นการกลับตัวโดยสมบูรณ์แบบ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

7 นิสัย ของนักเทรดมืออาชีพ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง

ใช้ EMA 200 เทรด จะเป็นเศรษฐีได้มั้ยหนอ (EMA200 Trading)

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

Good trade คืออะไร? ในมุมมองของมือโปร