ทำไมเทรดเดอร์มืออาชีพ หลายคน เทรดหุ้นแค่ไม่กี่ตัว — บางคนโฟกัส แค่หุ้นเดียวด้วยซ้ำ?

Image
"Oliver ทำไมคุณถึงเทรดหุ้น Apple เกือบตลอดเวลา?" Oliver ผมสังเกตมาสักพักแล้วว่าคุณเทรดหุ้น Apple บ่อยมาก เรียกได้ว่า 85-90% ของเวลาทั้งหมดเลยก็ว่าได้ ผมเลยสงสัยว่า ทำไมคุณถึงเลือกเทรดแค่หุ้น Apple ทั้งที่ในแต่ละวันก็มีหุ้นดีๆ อีกมากมายที่น่าจะทำกำไรได้ไม่แพ้กัน? คำถามนี้ถือเป็นคำถามที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะมันเปิดโอกาสให้ผมได้อธิบายสิ่งที่ผมมักพูดคุยกับเทรดเดอร์ของผมบ่อยๆ ก่อนอื่นเลย ผมเชื่ออย่างแรงกล้าว่า “เทรดเดอร์มืออาชีพ” ที่ประสบความสำเร็จจริงๆ มักจะเป็น “ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน” มากกว่า “นักลองของทั่วไป” ซึ่งความสำเร็จของพวกเขาส่วนใหญ่มาจากการ โฟกัส และ เชี่ยวชาญในสิ่งที่ตัวเองรู้ลึกจริงๆ แล้วการเป็นผู้เชี่ยวชาญมันหมายความว่าอะไร? มันหมายความว่า “โลกการเทรดของเขาเล็กมาก” เล็กจนถึงขนาดที่เทรดเดอร์มืออาชีพหลายคน เทรดหุ้นแค่ไม่กี่ตัว — บางคนโฟกัสแค่หุ้นเดียวด้วยซ้ำ ลองคิดดูสิครับ “Specialist” ในตลาด NYSE (ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก) ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่ในโลกการเทรด พวกเขาแทบไม่เคยขาดทุนเลย และมีความสม่ำเสมอสูงมาก พวกเขามีความได้เปรียบที่เหนือกว่าเทรดเดอร์ทั่วไปแบบแทบจะไม่ยุติธรรมด...

หุ้น Laggard ดีจริงหรือ?


บ่อยครั้งที่อ่านข่าว ผมมักจะเห็นหัวข้อประเภทที่ว่า "หุ้น Laggard"
เป็นศัพท์ที่นักวิเคราะห์หรือโบรคชอบใช้คำนี้มาก บางเพจที่เชียร์หุ้นออกหน้าออกตา ว่าหุ้นตัวนี้นั้นยัง laggard อยู่มาก ซื้อเลย Upside สูง
.
จากมุมมองของคนที่ปวารณาตัวเป็นนักเก็งกำไรอย่างผม
(ทัศนคติส่วนตัวมากนะ บอกก่อน)
ผมคิดว่ามันเสี่ยงมากเลยนะกับการไปใส่เงินให้กับหุ้นที่ตลาดไม่เล่น
.
laggard ถ้าจะเอาคำแปลจากดิกชันนารี ก็หมายถึง เชื่องช้า, ล้าหลัง
หากจะมองในความหมายของตลาดหุ้น คือ หุ้นที่อ่อนแอ
ตลาดไม่เล่น ไม่ให้ความสนใจ
บางคนหมายรวมถึง "หุ้นที่เป็นขาลง" เสียด้วยซ้ำ
.
ดังนั้น หุ้นที่ Laggard มันอาจจะสื่อว่าหุ้นตัวนั้นมีปัญหาอะไรสักอย่างที่คนนอกไม่รู้


ส่วนใหญ่ของหุ้นประเภทนี้คือความสามารถในการแข่งขันที่อ้อนด้อย
กำไรไม่ดีหรือขาดทุนไปเลย
.
สมมุตุิว่าพื้นฐานยังดีอยู่
แล้วทำไม Smart money หรือเงินฉลาด ไม่เข้าไปเล่นล่ะ?
มันน่าแปลกมั้ย?
ทำไมเลือกไปเล่นอีกตัวแทน
.
ถ้าเราไปอ่านบทวิเคราะห์ ก็จะพอเห็นเลาๆ ว่าตัวที่ตลาดเอาเงินไปใส่น่ะ
มันมี "ความได้เปรียบ" บางอย่างที่ตัว laggard ไม่มี

ผมคิดว่าตลาดหุ้นมันไม่สมบูรณ์แบบขนาดที่หุ้นตัวนึงในอุตสาหกรรมวิ่งไปแล้ว ตัวที่เหลือทั้งหมดต้องวิ่งตามด้วยสัดส่วนที่เท่าๆกัน
ถ้ามันเป็นแบบนี้เสมอ คงไม่มีคนขาดทุนจากตลาดหุ้นแล้วล่ะนะ
.
ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ แนะให้เลือกหุ้นที่มันทำเทรนด์ขาขึ้น วอลุ่มเข้าชัดเจนแล้วดีกว่า อย่างน้อยโมเมนตัมมันก็มาแล้ว
มีคนมาจองที่แล้ว
.
นึกภาพเราขับรถออกไปต่างจังหวัด หิวข้าวมาก เห็นป้ายโฆษณาร้าน
ที่โชว์รูปของกิน หลากหลายแบบ ดูน่าทานมากๆ
เราสนใจ เล็งไว้แต่ไกล
แต่พอขับไปไกล้ร้าน ชะลอดู ไม่มีรถจอด ไม่คนนั่งเลย
คุณจะกล้าเข้าไปสั่งอาหารมั้ย?
.
เรามีสิทธิ์สงสัยได้นะว่า "มันอร่อยจริงหรือเปล่า? "โฆษณาเกินจริงแล้วล่ะ"
ถ้ารสดีจริง พนักงานไม่น่าจะยืนตบยุงอยู่อย่างนี้
.
ไม่ต้องเดา ก็รู้ว่าคุณขับผ่านไปเสี่ยงหาร้านอื่นข้างหน้า
เรื่องอะไรที่เราจะต้องไปเสี่ยงกับร้านที่ไม่มีอะไรมารับประกัน
.

ทีนี้ มาคิดต่อว่า ทำไม โบรคเกอร์ หรือ กูรู พวกเขาอยากจะสื่ออะไร
แน่นอนล่ะ ถ้าเป็นโบรคเกอร์ เขาย่อมอยากได้วอลุ่ม ให้คนมาซื้อหุ้นเยอะๆ เขาจะได้ค่าคอมมิชชั่นเพิ่ม
.
โดยใช้จุดอ่อนของ คนที่ไม่รู้อะไรเลยแม้แต่นิดเดียว
วันๆ รอหุ้น จากใครสักคน มาแจกจ่ายให้
.
คนที่น่าสงสารเหล่านี้ มักจะ "โลภเกินความรู้"
เขารู้ว่ารายย่อยชอบมวยรอง
แบบ แทง 1 แล้วได้ 100 ภายในเวลาไม่ช้า
หุ้นที่ลงมาเยอะๆ หากมันดีดกลับไปถึงยอดเดิมได้นะ จะรวยเละ
รายย่อยผู้โลกสวยมักจะคิดกันแบบนี้
.
จึงเข้าทางบรรดากูรูหรือนักหนังสือพิมพ์ผู้มีเจตนาซ่อนเร้น
ใช้จุดอ่อนนี้ชี้ช่องไปยังหุ้นที่ตลาดยังไม่มอง
หุ้นที่คนเมิน ยังกองอยู่กับพื้น หรือบางตัวยังลงไม่จบด้วยซ้ำ
ถ้าถูกเข้าสักตัว ก็ดังเลย ไม่ดังก็ได้วอลุ่ม
.
เผลอๆ อาจได้ปล่อยของลดต้นทุน ถ้าราคายังอยู่ในขาลง
(ถ้าคุณเปิดกราฟหุ้นขาลงดู จะเห็นว่ามีบางช่วงที่ถูกไล่ราคาขึ้นไปรุนแรง วันเดียว หรือเป็นอาทิตย์ วอลุ่มสูงมาก แล้วต่อจากนั้นราคาร่วงลงแรงจนไปทำนิวโลว์ ลงต่ำไปได้อีก)


นี่คืออันตรายที่เป็นไปได้ ของการเข้าไปยุ่งกับ หุ้น laggard
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น, ผมไม่ได้หมายรวมว่าหุ้น Laggard ที่สือหรือกูรูเขาแนะนำ มันห่วยทุกตัว
อาจมีของดีซ่อนอยู่ก็ได้
แต่คุณต้องทำการบ้านต่อ คือเอาไปดูกราฟ และหาข้อมูลในด้านความสามารถทำกำไรจริงๆ รวมถึงแนวโน้มของธุรกิจในอนาคตอันไกล้ด้วย
ถ้าดูพื้นฐานไม่เป็น ก็ให้ดูกราฟว่า มันพร้อมที่จะขึ้นหรือยัง
คุณจะได้ไม่เสี่ยงต่อการถูกปล่อยของใส่มือ จนเกินไปนัก
.
ดังนั้น, ถ้าคุณจะไปเสี่ยงต่อการเสียเงินในตลาด
คุณควรจะไปสนใจเฉพาะตัวที่เงินเยอะๆเท่านั้น
อย่าไปเสี่ยงหัวก้อยกับหุ้นที่โอกาสแพ้กับชนะไม่ชัดเจนอยู่เลย

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมบทความที่เกี่ยวกับ Gap หุ้น & ทฤษฎี Gap หุ้น

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่