ในปี 1977 หลังจากที่เขาออกหนังสือ You Can Still Make It in the Market ก็ได้ขยายความระบบของเขา โดยเรียงลำดับดังนี้
1) เลือกซื้อหุ้นของบริษัทที่มีการเจริญเติบโตและมีแนวโน้มผลประกอบการดีขึ้นเรื่อยๆ
2) เลี่ยงบริษัทที่ธุรกิจโตมากจนไม่สามารถขยายได้อีกแล้ว
3) เช็คแนวโน้มตลาดโดยรวม เพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
4) ตรวจสอบว่าหุ้นนั้นอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพทางการขึ้นของราคาดีกว่ากลุ่มอื่น
5) เลือกเฉพาะหุ้นที่ราคาวิ่งขึ้นและมีวอลุ่มเพิ่มขึ้นด้วยเท่านั้น
บางคนอาจนึกตะหงิดที่ว่า ระบบของดาร์วาส ก็ออกจะคล้ายกับ CAN SLIM อยู่นะ ท่านคิดไม่ผิดหรอก เพราะโอนีลก็ได้แรงบันดาลใจมาจากงานของดาร์วาสนี่แหละ
ถ้าใครจำระบบของดาร์วาสไม่ได้ เรามีวิธีจำแบบง่ายๆ ดังนี้
D – Direction of the Market (ทิศทางของตลาด)
A – Accelerated Earnings and Sales (กำไรและยอดขายโตเร็ว)
R – Relative Price Strength (and Return on Equity)
V – Volume Increasing (ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น)
A – Aggressive Growth Group (มีการขึ้นอย่างรุนแรงเป็นกลุ่ม)
S – Sound Base Pattern(มีการสร้างฐานราคาที่สมบูรณ์)
ต่อไปจะขยายความออกเป็นข้อๆ ดังนี้ D – Direction of the Market ทิศทางของตลาด
ตลาดโดยรวมเป็นขาขึ้นหรือไม่? เป็นไปได้ยากมากที่หุ้นจะวิ่งขึ้นไปได้ไกลๆหากตลาดโดยรวมเป็นขาลง ดังนั้น, ก่อนลงทุนก็ให้แน่ใจว่าทิศทางของตลาดโดยรวมมีการเคลื่อนที่ขึ้น
A – Accelerated Earnings and Sales กำไรและยอดขายโตแบบรวดเร็ว
กำไรและยอดขายในไตรมาสนี้ของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาหรือเปล่า?
ปกติคุณต้องการที่จะเห็นหุ้นที่มีกำไรและยอดขายในไตรมาสล่าสุดเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 40% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และจำไว้เลยว่า,กำไรและยอดขายยิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น หากคุณมีทางเลือกระหว่างหุ้นที่กำไรและยอดขายเพิ่มขึ้น 50% กับอีกตัวเพิ่มขึ้น 90% ก็ให้ไปเลือกตัวที่เพิ่ม 90%
วิลเลียม โอนีล ได้ทำการศึกษาย้อนหลัง 50 ปีในหุ้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผลการศึกษานี้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือคลาสสิกของเขา How to Make Money in Stocks โอนีลพบว่าเกือบทั้งหมดของหุ้นที่เขาเรียกว่า "หุ้นเติบโตที่ยิ่งใหญ่สุดของปีที่ผ่านมา" เริ่มต้นจากที่มี ROE 17% หรือมากกว่านั้น และเช่นเดียวกับถ้ารายได้และยอดขายสูงกว่าเดิมด้วยล่ะก็ มันจะเป็นหุ้นในฝันเลยทีเดียว
ทฤษฎี Gap หุ้น อยาบอกกับท่านผู้อ่านว่า Gap คือหนึ่งใน setup จุดเข้าซื้อหุ้นของผมครับ ผมมักจะได้กำไรหุ้นงามๆ จากการเปิด gap ที่เข้าสูตร breakaway gap อยู่หลายตัว ฉะนั้น ถ้าหุ้นที่ผมทำการบ้าน มันส่งสัญญาณซื้อ แบบเปิด gap ผมจะชอบมาก แต่ถึงกระนั้น มันก็ไม่ได้เป๊ะทุกตัวนะครับ มีล้มเหลวเกินครึ่ง เราต้องคอยคัดตัวที่ไม่ดีออก เหลือตัวเจ๋งๆ แรงๆ ให้มันวิ่งทำเงินให้เราไป ทฤษฎี gap หุ้น ทริกเด็ดๆ เรื่อง Gap จากคุณน้ำผึ้ง สัตตารัมย์ เป็นการ Live ครั้งแรกของเธอ ที่แสดงให้เห็นภาพคลื่นแบบต่างๆ อีเลียตเวฟจะศักดิ์สิทธิ์เมื่อเอามาใช้ร่วมกับวอลุ่ม ในคลิปนี้เธอจัดเต็มเรื่องของ gap ซึ่งถือว่าครบเครื่องเอามากๆ ทฤษฎี gap ที่เกี่ยวข้องกับเวฟ มีดังนี้ Common gap ในเวฟสอง(sideway)เป็นสัญญาณการเก็บหุ้นของเจ้ามือที่หวงของ เพราะเขาจะตบขึ้น/ลงเพื่อให้เม่าคายหุ้นคืน ยิ่งมีเยอะยิ่งน่าสนใจ gap ประเภทนี้มักจะมีการลงมาปิดในเวลาอีกไม่นาน เพราะราคายังอยู่ในกรอบ sideway เพื่อเก็บหุ้น โดยจะถูกกระชากขึ้นและตบลง เป็นรูปแบบเวฟ complex ประเภท double three Breakaway gap เป็นการกระโดดข้ามเวฟสอง...