ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล

Image
ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล แล้วลองผลักน้ำจากฝั่ง ทำคลื่นดันกลับเข้าไปหาทะเล สร้างคลื่น สู้กับทะเล ลองทำดู ทั้งคลื่นลูกเล็ก และคลื่นลูกใหญ่ คุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะสร้างคลื่นดันกลับไปในรูปแบบไหน คุณจะไม่มีทางชนะคลื่นจากทะเลได้เลย  ไม่มีทาง ความจริงที่คุณได้จากเรื่องนี้คือ "ตลาดจะถูกเสมอ" . Market Wizards ยอมรับตรงกันว่า "ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ" พวกเขาไม่เคยหัวเสียกับตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) พวกเขาไม่เคยโทษตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) . พวกเขาแค่ยอมรับว่าตลาดจะทำในสิ่งที่มันจะทำ พวกเขาแค่ยอมรับว่าเขาไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ จากนั้นสิ่งที่พวกเขาทำก็คือ ๑) อ่านตลาด ๒) แยกแยะความเสี่ยงกับโอกาสให้ได้ ๓) หาโอกาสทำเงินเมื่อตลาดให้โอกาส และอยู่เฉย ๆ ถือเงินสดเมื่อตลาดเป็นความเสี่ยง ๔) คิดก่อนเสมอว่า "ถ้าตลาดไม่ให้เงิน(เทรดขาดทุน) ฉันจะยอมเสียกี่บาท" การเอาตัวรอด คือเป้าหมายแรกของยอดนักเทรด เพราะคิดแบบนี้...ไม่ว่าตลาดจะร้ายแค่ไหน ยอดนักเทรดก็จะรอดเสมอ #จิตวิทยาการเทรด #ปั้นพอร์ต #วินัยนัก

สรุปหนังสือ Think and Trade Like a Champion

สรุปหนังสือ
Think and Trade Like a Champion
Mark Minervini



Introduction
การทำงานหนัก ไม่สามารถการันตีว่าคุณจะประสบความสำเร็จหรอกนะ มีหลายคนฝึกในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กลายเป็นสร้างนิสัยที่ผิด จนสร้างความเสียหาย แทนที่จะประสบความสำเร็จ

ผู้ที่เลือกที่จะชนะ จะหาแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จ จะพัฒนาแผนที่และแนวทางเพื่อไปสู่ความสำเร็จ โดยพร้อมยอมรับความพ่ายแพ้ให้เป็นครูที่มีคุณค่า
พวกเขาวางแผนที่จะดำเนินการ, เรียนรู้จากผลของการลงมือ และทำการปรับเปลี่ยนจนกว่าพวกเขาจะบรรลุชัยชนะ

ถ้าคุณอยากอยากเทรดแบบแชมป์ ก็ต้องคิดแบบเดียวกับเขา คนที่เป็นแชมป์ต้องคิดใหญ่ พวกเขาตัดสินใจว่าต้องเป็นผู้ชนะให้ได้ มีชีวิตในทุกวันด้วยการโฟกัสไปที่เป้าหมาย

๗ ปีแรกของเขา ที่ล้มเหลว เพราะมัวแต่ทำเล่นๆ พอเริ่มปี 1990 จึงตั้งความมุ่งมั่นที่จะเป็นนักเทรดที่ดีที่สุดในโลก นั่นแหละคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่ความยิ่งใหญ่



ในตัวเรามีนักเทรด ๒ ประเภท
๑) นักสร้างวินัย มุ่งเน้นทำกระบวนการให้สมบูรณ์แบบ
นักขับเคลื่อนกระบวนการ ทำให้ผลออกมาดี ถ้ากระบวนการนั้นถูกต้อง
เขามองความผิดพลาดเป็นครู เอาไปปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น เมื่อนักสร้างทำผิดพลาด เขาจะเรียนรู้และเตือนตัวเองว่าอย่าทำผิดพลาดอีก มุ่งเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

๒) นักทำลาย ขับเคลื่อนด้วยอีโก้
ไม่เคยเรียนรู้จากความผิดพลาด โทษคนอื่นตลอด ท้อแท้ง่าย งอแง เบื่อง่าย ไม้หลักปักขี้เลน

ถ้าอยากประสบความสำเร็จ ต้องมุ่งเน้นให้ตัวเองสนับสนุนนักสร้างเอาไว้ในตัว



ต้นแบบของความสำเร็จ
พี่มาร์คเคยไปเข้าคอร์สของ แอนโทนี่ รอบบินส์ เมื่อายุยี่สิบ ประทับใจไอเดียที่ว่า "ถ้าอยากวาดรูปให้ได้แบบดาวินชี คุณต้องเรียนรู้ที่จะคิดแบบเขาให้ได้"

จากนั้นพี่มาร์คก็เริ่มอ่านหนังสือประวัติของนักเทรดผู้ยิ่งใหญ่ เพื่อทำความเข้าใจวิธีคิดของพวกเขาเหล่านั้น และพยายามคิดแบบเดียวกับเขา ด้วยหวังว่าจะได้โมเดลของความสำเร็จ อ่าน อ่าน และ อ่าน จนจำขึ้นใจ

มีเด็กคนหนึ่งใช้สูตรนี้ ชื่อ Darren เข้าไปอยู่บ้านเดียวกัน และพยายามเลียนแบบพี่มาร์คทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวินัย ไลฟสไตล์ พยายามทำความเข้าใจเขาว่าคิดยังไง จำลองระบบความเชื่อ ลอกแบบวินัย ทำตัวเหมือนกัน จนเหมือนจะกลายเป็นเงากันเลย  เขาบอกว่า "ต้องการทำความเข้าใจกับใครบางคน คุณต้องกลายเป็นคนๆนั้นไปเลย"
ผลการเทรดครั้งแรกของดาร์เรน ก็ออกมาดีเลย กำไร 160% และทำกำไรระดับร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างต่อเนื่อง

ไม่มีใครเกิดมาเทรดเก่งเลยทันที เพราะการเทรดให้ได้เงินนั้นมันเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ ดังนั้นมันต้องใช้เวลา ต้องเรียนรู้ พัฒนาตัวเองด้วยการทดสอบ ปรับแต่งวิธีการให้ดีและพัฒนาขึ้น

การจะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องเสียสละ ซึ่งมันต้องมีขั้นมีตอน
ทำลิสต์จัดลำดับความสำคัญ อะไรควรทำก่อน ค่อยๆไล่ตามเก็บทีละขั้น ก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ
คุณต้องลงมือทำแบบจัดเต็ม และถวายหัว ถ้าอยากประสบความสำเร็จ อย่าเสียเวลาทำแบบครึ่งๆกลางๆ ต้องโฟกัส ต้องให้ความสำคัญกับการเทรดเป็นอันดับแรก

ลงมือทำทันที อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
อย่ารอให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบก่อนค่อยลงมือ ถ้าไม่ลงมือทำก็ไม่รู้หรอกว่าอะไรมันใช่สำหรับตัวเอง

อยากเก่งต้องก้าวข้าม comfort zone ให้ได้

ต้องยกระดับตัวเองเข้าไปอยู่ในวงของโซนการเรียนรู้ ซึ่งต้องอาศัยความพยายามตรวจสอบตัวเองที่เข้มข้นขึ้น โดยอาจต้องอาศัยผู้ฝึกช่วยดูก็ได้ (อันนี้เดาเอานะ เพราะเคยอ่านหนังสือประเภทนี้มา)

๓ ขั้นตอนของการเรียนรู้
ขั้นที่ ๑) ได้รับไอเดียจากคนอื่น
 ขั้นที่ ๒) เกิดความเชื่อว่าสิ่งนั้นมันจริง
ขั้นที่ ๓) ตระหนักรู้ เพราะได้ลองทำมาแล้ว
หน้าที่ของคุณคือต้องก้าวเข้าไปสู่ขั้นที่สามให้ได้ หนังสือเล่มนี้(ก็ทุกเล่มนั่นแหละครับ) มันเป็นแค่นั้นตอนแรกเท่านั้น คุณต้องยอมรับและเชื่อในใจความที่เขาสื่อเสียก่อน จากนั้นต้องลองทำตามดู แล้วคุณจะรู้ว่ามันจริงหรือไม่

การจะประสบความสำเร็จได้ คุณต้องทำงานหนัก และ ถ่อมตัว
ถ้าคุณไม่ถ่อมตัว เดี๋ยวตลาดก็จะสอนคุณให้รู้ว่ามันทำยังไง

หนังสือที่อ้างถึง
Taking the Leap: Freeing Ourselves from Old Habits and Fears
The Talent Code โดย Daniel Coyle บ้านเราชื่อ รหัสลัดอัจฉริยะ
หนัง Two for the Money



Section 1
มีแผนไปด้วยตลอด
การเทรดคือการทำธุรกิจแบบจริงจังเพราะต้องลงเงินจริง ดังนั้นคุณต้องมีแผนประกอบการลงทุนทุกครั้ง แต่ไม่น่าเชื่อว่านักเทรดส่วนใหญ่ไม่มีกันเลย

ส่วนประกอบสำคัญของแผน
- จุดเข้าซื้อที่แม่นยำ
- วิธีจัดการกับควาามเสี่ยงถ้าผิดแผน
- วิธีการล็อกกำไร
- จำนวนเงินที่เข้าซื้อ

ความหวังไม่ใช่แผนหรอกนะ
เมื่อไม่มีแผน คุณก็จะใช้อารมณ์แทน มันจะคอยบอกให้คุณถือเมื่อขาดทุน และกระตุ้นให้ขายเมื่อราคาย่อในขาขึ้นทำให้ต้องขายหมูตัวใหญ่

วางแผนรับมือสิ่งฉุกเฉิน
เป้าหมายของคุณในฐานะผู้เก็งกำไรหุ้น คือการเตรียมพร้อมเพื่อให้การเทรดปราศจากความประหลาดใจ  เมื่อต้องการเช่นนี้คุณต้องพัฒนาวิธีที่สามารถการจัดการเกือบทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การคิดล่วงหน้าว่าอาจมีเหตุการณ์และสถานการณ์ที่น่ากลัวเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปกป้องบัญชีเงินทุนของคุณ
การวางแผนเพื่อรับมอกับสิ่งที่ไม่คาดฝัน คือสิ่งที่มืออาชีพต้องทำกัน
คุณต้องมีแผนรองรับความฉุกเฉินนั้น แม้มันไม่มีทางเกิด ก็ต้องทำเผื่อเอาไว้

คุณควรจะมีแผนฉุกเฉินสำหรับต่อไปนี้:
1. ระดับราคาที่ต้องขายออกเมื่อมีการดิ่งแรง
2. การแสดงออกของราคาที่ส่งสัญญาณว่าได้เวลาซื้อคืน
3. เกณฑ์การขายแบบ selling into strength เพื่อล็อกกำไรที่งดงาม
4. เมื่อไหร่ที่จะ selling into weakness เพื่อปกป้องผลกำไรของคุณ
(ใครไม่รู้แนวทางขายทั้งสองแบบ หาอ่านได้จากหนังสือเล่มเขียวของผมได้ครับ)
5. คุณจะจัดการกับสถานการณ์ที่เป็นภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันได้อย่างไร ในช่วงที่ต้องมีการตัดสินใจเด็ดขาดภายใต้ความกดดัน



แผนฉุกเฉินของคุณควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้:
๑) ระดับเริ่มขายเพื่อหยุดการขาดทุน
เมื่อราคาลงไปหลุดระดับนี้ต้องขายออกอย่างไม่มีข้อยกเว้น ขายออกไปให้หมด
เมื่อไม่มีหุ้น หัวของคุณจะโล่ง
โดยระดับที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องขาดทุนตลอดนะ คือตอนที่ราคาวิ่งขึ้น ถ้าคุณมี traling stop ยกตามไป ก็สามารถขายเพื่อล็อกกำไรออกมาก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องรอวัดใจตอนขาดทุน(อันนี้ทำยาก เพราะเราอยากต่อราคา ต่อไปต่อมาโน่นได้ขายตัดขาดทุนทุกที)

๒) เกณฑ์การซื้อคืน
หุ้นบางตัวย่อแรงเพราะตลาดตกใจ แต่หลังจากนั้นมันก็พักตัวได้สวย น่าดึงดูดให้ซื้อคืน ซึ่งการสร้างฐานครั้งที่สองมักจะน่าเชื่อถือและแข็งกว่าครั้งแรก(ถ้ายืนได้ เวลาดีดจะไปแรง) เพราะมันได้เขย่าคนใจฝ่อออกไปอีกจำนวนมากนั่นเอง
พี่มาร์คแนะนำว่า หลังจากขายอกแล้วก็อย่าทิ้งไปเลย รอดูการสร้างฐานของมัน ถ้ามันทำดีก็ต้องเข้าใหม่อีกครั้ง บางทีแกต้องเข้าๆออกสองสามรอบกว่าจะได้กำไร แต่ต้องทำ (ถ้าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานดีจริงๆนะ) เพราะนี่คือความเป็นมืออาชีพ

๓) ขายเมื่อมีกำไร
เมื่อหุ้นที่คุณซื้อมันวิ่งทำกำไรให้คุณอย่างน่าพอใจ อาทิ วิ่งไปได้เท่าตัวจากเปอร์เซ็นต์ stop loss
สมมติว่า คุณตั้งไว้ที่ 7%หากคุณมีกำไรถึง 20% แล้วไม่ควรปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน อย่างน้อยก็ต้องยกระดับตัดขาดทุนมาอยู่ที่จุดคุ้มทุนไว้ก่อน หรือไม่ก็ใช้ trailing stop เป็นตัวช่วยล็อกกำไร คุณอาจรู้สึกโง่เมากที่ต้องขายทำกำไรเล็กน้อยที่ trailing stop เมื่อเทียบกับจุดสูงสุด หรือต้องขายที่ระดับคุ้มทุน
แต่ผมบอกเลยว่าคุณจะรู้สึกแย่กว่านั้นถ้าคุณปล่อยให้ผลกำไรที่ดีกลายเป็นต้องขายตัดขาดทุน

๔) แผนพิบัติภัย ที่อาจกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคุณ
การวางแผนฉุกเฉิน เกี่ยวข้องกับปัญหาเช่นว่าจะทำอย่างไรถ้า...
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตล่มหรือไฟฟ้าขัดข้อง คุณมีแผนสำรองบ้างหรือเปล่า?
- หรือการตอบสนองของคุณจะเป็นอย่างไรถ้าคุณตื่นขึ้นในวันพรุ่งนี้ ตอนเช้าและรู้ว่าสต็อกที่คุณซื้อเมื่อวานนี้มันเปิด gap ลง เนื่องจาก บริษัทนั้นกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโดยบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีปัญหาทุจริต คุณจะทำยังไงกับมันบ้าง?



จัดลำดับความสำคัญในการขาย

a) จำกัดการสูญเสีย(limit loss)  กำหนดเปอร์เซ็นต์ที่คุณต้องขายเพื่อหยุดการสูญเสีย
b) ปกป้องเงินต้นของตัวเอง เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นและคุณมีกำไรที่ดี หลังจากที่คุณซื้อหุ้นไปแล้ว คุณควรเลื่อนจุดขายหุ้นขึ้นไปอยู่ที่จุดคุ้มทุนของคุณ
c) ปกป้องผลกำไรของคุณ อย่าปล่อยให้กำไรดีหลุดมือ ใช้ trailing stop ช่วย


พี่มาร์คบอกว่าถ้าการยืนยันว่าสถาบันเข้าซื้อหุ้นราคาต้องดีดเขียวขึ้นต่อเนื่องหลายวันติดหลังจากที่ Break Out แล้วถ้าหากตอน Break Out ราคาเขียวไม่ยาว ไม่ต่อเนื่องแสดงว่าเป็นฝีมือของรายย่อย มีโอกาสล้มเหลวสูง

ดูการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นว่าเป็นการร่วงแบบไข่หรือลูกเทนนิส
ถ้าเป็นแบบไข่คือร่วงแล้วจบเลย แต่ถ้าเป็นเทนนิสคือร่วงแล้วเด้งแบบนี้จะน่าสนใจมาก
หลังจากที่ราคา Break Out ให้ซื้อแล้วจากนั้นมันต้องย่อเป็นเรื่องปกติ
แต่หุ้นชั้นดีมันจะย่อลงไปที่แนวรับแล้วเด้งขึ้นไปนิวไฮทันที ซึ่งคล้ายกับลูกเทนนิส แบบนี้ให้ถือต่อ

แสดงว่าหลังจากที่แกซื้อตอนที่ราคาเบรกเอ้าไปแล้ว แกต้องยอมให้หลังจากนั้นราคาร่วงลงกลับไปให้แกขาดทุนช่วงหนึ่ง (ลงไปทดสอบระดับ limit loss ถ้าเอาอยู่ก็ทนถือ) ต้องทนเป็นเวลาสัปดาห์ถึงเดือนเลยเพื่อดูว่าราคานั้นมันจะดีดกลับหรือเปล่า
ถ้าดีดกลับไปทำนิวไฮได้ก็ทนถือต่อ และต้องพยายามทนเพราะหุ้นตัวนั้นมีโอกาสวิ่งแรงเป็นเด้งได้

ช่วงที่ราคาวิ่งขึ้นกับย่อนั้น เขาต้องการให้หุ้นมีวันที่วิ่งขึ้นมากกว่าวันย่อเช่น 3 ใน 4 วัน หรือ 6 ใน 8 วัน
ราคาปิดของแต่ละวันก็มีผลควรมีการปิดเป็นแท่งเขียวใกล้ๆกับราคาสูงสุดจะดีมาก
 Volume ตอนที่ราคาวิ่งขึ้นต้องสูงกว่าตอนที่ราคาย่อ
ทำทรงการย่อ-เด้ง แบบเทนนิส คือดีดแรงขึ้นไปทำนิวไฮภายในไม่กี่แห่ง

สัญญาณที่น่ากลัวหลังจาก Break Out ว่ามีโอกาสล้มเหลวสูง
1 ราคาเบรกไปด้วยวอลลุ่มที่น้อย
2 จากนั้นราคาร่วงแรงแท่งแดงยาวติดต่อกัน 3 4 วันโดยที่หาแนวรับไม่เจอ (ไม่มีทีท่าจะหยุด)
3 วันที่ราคาร่วงแรงติดต่อกันมากกว่าวันเขียว พูดง่ายๆคือทำนิวโลได้ต่อเนื่อง
4 แท่งเทียนปิดไม่สวยมากกว่าสวย
5 ราคาลงไปปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน
6 ราคาลงไปปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันด้วยวอลลุ่มที่สูงมาก


เคารพความเสี่ยงก่อนเสมอ

ก่อนเปิดตลาด ต้องเตือนตัวเองให้มีความระมัดระวังไม่ให้ตัวเองขาดทุนหนักเป็นอันขาด
ทำให้เป็นนิสัย พี่มาร์คแกพูดหน้ากระจกทุกวัน

ระดับการตัดขาดทุนควรไม่เกิน 10%โดยน้อยกว่านั้นได้ยิ่งดี
สิ่งที่คุณควบคุมได้ก่อนการเทรดก็คือ
- รู้ว่าซื้ออะไร
- รู้ว่าซื้อเมื่อไหร่
- รู้ว่าจะซื้อเท่าไหร่
หลังจากที่คุณซื้อไปแล้วสิ่งที่คุณควบคุมได้ก็คือ
- รู้ว่าต้องขายตอนไหน

มีการตั้งคำถามว่าถ้าคุณซื้อหุ้นไปแล้วราคาร่วงลงไปหลุด stop loss คุณขายโดยขาดทุน 2,500
วันต่อมามันวิ่งกลับขึ้นไปทำ New High คุณรู้สึกอย่างไร?
กับอีกเคสหนึ่งคือราคาร่วงลงไปหลุด stop loss คุณก็ขายขาดทุน 2,500 เหมือนกัน
แล้วจากนั้นมันก็เปิด gap ลงแรงแดงยาว คุณรู้สึกอย่างไร?

ทั้งๆที่คุณขาดทุนเท่ากันแต่คนละอารมณ์กัน
สิ่งที่ถูกต้องก็คือเคารพกฎไว้ก่อนเพราะเราไม่รู้อนาคตว่ามันจะเป็นอย่างไร

Win loss ratio
ระดับการตัดขาดทุนของพี่มาร์คอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ไม่ถึง 10 ด้วยซ้ำ
ยกตัวอย่างคือเวลาแกซื้อแกจะเริ่มตัดขาดทุนครึ่งนึงไว้ที่ 4 เปอร์เซ็นต์ก่อน
อีกครึ่งถ้าราคาร่วงไปที่ 8 เปอร์เซ็นต์แกก็ขายที่เหลือออก
ทำให้ค่าเฉลี่ยของการตัดทุนของแกอยู่ที่ 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

วิธีการยกจุดตัดขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งไปทำกำไรให้แล้ว
สมมุติว่าแกซื้อหุ้นตัวนึงที่ราคา $50 และให้เสี่ยงได้ 5% นั่นคือ ราคาขายที่ $47.50 หรือหายไป $2.50
เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปถึง $57.50 หรือ วิ่งไปแล้ว $7.50 =  3×2.50 สามเท่าของความเสี่ยง แกจะยกระดับตัดขายหุ้นไปวางที่ $50 ทันที
นั่นหมายความว่าแกปิดโอกาสขาดทุนไปแล้ว

เหตุผลที่นักเทรดส่วนใหญ่ไม่กล้าตัดขาดทุนเพราะว่าพวกเขากลัวขายแล้วเด้ง



ตอนที่ 4 รู้จักการเทรดของตัวเองให้มากที่สุด
คุณต้องมีการติดตามผลงานของตัวเองอย่างต่อเนื่องนี่คือข้อมูลที่สำคัญที่สุด
ไม่มีหนังสือเล่มไหนสัมมนาคอร์สไหนที่จะบอกคุณได้ มันคือข้อมูลที่มีค่าที่สุดของคุณ
การรู้จักผลงานของตัวเองมันทำให้เราเห็นจุดอ่อนที่สมควรปรับปรุง
ตรงนี้แหละที่จะทำให้คุณพัฒนาตัวเองได้
ถ้าคุณไม่ยอมทำคุณก็จะไม่รู้ว่าตัวเองผิดพลาดและมีปัญหาอะไรอยู่

การจะติดตามผลงานตัวเองให้ได้คุณต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเองจริงๆ เป็นมืออาชีพไ ม่มองข้ามบางสิ่งบางอย่างที่น่าเกลียดหรือผิดพลาด คุณต้องเป็นอีกคนหนึ่งที่มีความเป็นมืออาชีพ ไม่งั้นคุณก็ไม่สามารถพัฒนาตัวเองไปได้



เขียนบันทึกการเทรด บันทึกความคิดของตัวเองในระหว่างการเทรดเอาไว้
เพราะว่าคุณไม่มีทางไม่มีสมองที่มีความจำเลิศส มองคุณไม่ได้มีความจำที่ดีไปกว่าปลาทองเลย
ดังนั้นคุณต้องจดจดเลขจดเท่านั้น

บันทึกผลงานการเทรดลงในตาราง spreadsheet ที่เป็นเปอร์เซ็นต์เอาไว้ด้วย
มันจะเป็นข้อมูลให้คุณพิจารณา และหยิบเอามาใช้ในการขายขาดทุน
หรือขายทำกำไรได้อย่างไม่ต้องคำนวณให้เสียเวลาอีก
สิ่งที่คุณต้องบันทึกก็คือว่า
เปอร์เซ็นต์ที่คุณกำไรคุณได้เท่าไหร่บ้าง
เปอร์เซ็นต์ที่คุณขาดทุนคุณเสียหายไปเท่าไหร่บ้าง
อัตราส่วนของกำไรกับขาดทุนของคุณมีเท่าไหร่
(ซึ่งข้อมูลพวกนี้ในเว็บของโบรกเกอร์เขามีให้เราอยู่แล้วนะครับคุณไม่ต้องทำก็ได้)

รวบรวมผลงานรายเดือนของคุณไปด้วยจะได้รู้ว่าตัวเองมีศักยภาพเป็นยังไง
ดีขึ้นหรือเลวลงมีปัญหาตรงไหนต้องการปรับปรุงตรงไหนบ้าง
เก็บเป็นสถิติเอาไว้ว่าคุณเคยกำไรสูงสุดเท่าไหร่ขาดทุนเยอะที่สุดเท่าไหร่ กำไรโดยเฉลี่ยขาดทุนโดยเฉลี่ยเป็นเท่าไหร่
ปล. รายละเอียดพวกนี้โบรคเกอร์มีให้หมดแล้ว คุณเพียงแค่วางเวลาเอาไว้ให้มาเช็คทุกเดือนก็พอ



(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ



www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ