เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?

Image
เหตุใดเราจึงควรใส่ใจเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตของการเทรด?  Dr. Van K. Tharp พูดเสมอว่า “นักเทรดไม่เทรดตามที่ตลาดเป็นหรอก  แต่พวกเขาเทรดตามความเชื่อของพวกเขา”   เรื่องนี้ผมเห็นด้วยอย่างสมบูรณ์   ความเชื่อของผมมีดังนี้:  1) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลไกการซื้อ/ขายที่สมเหตุสมผลและช่วยให้เขาลงมือตามสัญญาณได้ทันที   2) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางที่สมเหตุสมผลในการกำหนด Position Size ของเขาอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยลดความน่าจะเป็นที่จะถูกทำลาย   3) นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีกลยุทธ์ที่ช่วยลด Drawdown ของ Equity Curve เพื่อทำให้เขาเครียดน้อยลง   4) ตลาดจะเปลี่ยนแปลงเสมอ มันจะขึ้น, ลง, และไซด์เวย์ 5) การลอกกลยุทธ์คนอื่นมาใช้ทั้งดุ้น มักจะไม่เวิร์ค  การสร้างกลยุทธ์หรือพัฒนากลยุทธ์ที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณคือแนวทางที่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า 6) ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบในการเทรด   7) ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ - Tom Basso จากหนังสือ The All-Weather Trader

กลยุทธ์การลงทุน แบบเซียน สไตล์พี่ Mark Minervini

กลยุทธ์การลงทุน แบบเซียนหุ้น
สไตล์พี่ Mark Minervini



เป็นงานบูชาครูที่อยากแชร์ให้อ่านกันครับ
ผมคลั่งไคล้แกมาก ถึงขั้นเคยก็อปปี้สไตล์กันเลยทีเดียว
แต่พอทำไปทำมา ในที่สุด เราก็ไม่มีทางคล้ายใครได้ 100%
แต่ถึงกระนั้น ความหลงใหลได้ปลื้ม ก็ทำให้ผมได้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ได้มุมมองในเรื่องของ mindset ที่(น่าจะ)ถูกต้องเสียที

ตอนนี้ผมก็ยังตามทวิตเตอร์ของแกอยู่ทุกวันครับ ซึ่งถือว่าได้ประโยชน์จริง ๆ เพราะได้ mindset ที่เป็นจิ๊กซอว์ใหม่ ๆ มาต่อเติมแนวทางให้สมบูรณ์แบบมากกว่าเดิม
ขอบคุณพี่มาร์ค มา ณ ที่นี้

ใครอยากรู้ว่าผมคลั่งแกแค่ไหน ลองไปอ่านบทความนี้ดูครับ

ปล. อยากเทรดแบบหลงใหล ให้หาไอดอลสักคนครับ แล้ววิธีคิดของคุณจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

((ขี้เกียจอ่าน ดูคลิปได้ที่นี่ครับ))



ประวัติของมาร์ค มิเนอร์วินี
ในช่วง 5 ปีแรกของการเข้ามาเทรด เขายังจับต้นชนปลายไม่ถูก จึงขาดทุนจนหมดตัว
แต่ด้วยควาที่เขามีความสุขในการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมาก
จึงทำให้คนที่เรียนจบแค่ชั้นมัธยม(อย่างเขา)
เอาชนะคนที่จบปริญญาเอก(ที่พยายามออกแบบระบบเทรดที่ซับซ้อนเพื่อชนะตลาด)
แบบมวยคนละชั้น

หลังจากที่ออกจากโรงเรียน มิเนอร์วินี หาเงินเลี้ยงตัวเองด้วยการเป็นมือกลอง ซึ่งเขาไม่ค่อยอยากจะเล่าถึงเรื่องนี้มากนัก แม้จะพยายามขอร้องแค่ไหนก็ตาม
แค่เพียงบอกสั้นๆว่าเคยเป็นมือกลองให้วงดนตรีหลายวง, นักดนตรีรับจ้างในห้องอัด, และเคยปรากฎในมิวสิควิดีโอของ MTV, และยังเป็นเจ้าของห้องอัดเสียงด้วย


มิเนอร์วินีให้ความสนใจตลาดหุ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 1980 ในตอนที่ยังวัยรุ่น

หลังจากที่คิดจะเทรดแบบขำๆ ก็กลายเป็นความหลงไหล จึงผันตัวเองมาเป็น full time trader ตัดสินใจขายสตูดิโออัดเสียงเพื่อเอาเงินมาเทรดหุ้น


จ่ายค่าเทอม หมดตัวไปอย่างน้อย 2 ครั้ง
ปี1980 เชื่อโบรคเกอร์ให้ถัวเฉลี่ยหุ้นขาลง ขาดทุนยับเยิน สูญเงินหมด
จึงมีการเปลี่ยนโบรคเกอร์ใหม่ ที่มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกัน
คราวนี้เลือกเล่นเฉพาะหุ้นขาขึ้น หากราคาลงต่ำกว่าราคาซื้อมาก ก็ตัดขาดทุน แต่ปัญหาคือ อายโบรคเกอร์ ไม่กล้าสั่งให้ตัดขาดทุน ยิ่งราคาลงลึกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งไม่กล้าโทร

สรุปก็คือ เปลี่ยนโบรค แต่ไม่กล้าตัดขาดทุน ในที่สุดก็เสียหายตามเคย

พยายามซื้อให้ได้ที่จุดต่ำสุด
ในช่วงนั้นแกยังไม่มีแนวทางของตัวเอง ก็เลยพยายามซื้อหุ้นราคาถูกที่ดีดตัวขึ้น ในระดับราคาที่เป็นจุดต่ำสุดเดิม(ซื้อที่แนวรับ) ผลก็คือราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ได้อีก ขาดทุนเพิ่มไปซะเฉยๆ

สรุปคือ แกทำเงินไม่ได้ถึง 6 ปีติดต่อกัน กลายเป็นช่วงที่ลองผิดลองถูกติดต่อกันไปมากกว่าทศวรรษ


พบจุดเปลี่ยน
"ผมเปลี่ยนจุดโฟกัสจากการคอยนับครั้งที่ชนะ ไปเป็นนับยอดเงินที่ได้กำไรเมื่อเทียบกับยอดเงินที่แพ้ (เหมือนคำคมของโซรอส ที่ว่า “สิ่งสำคัญไม่ใช่ว่าคุณถูกหรือผิด แต่สิ่งสำคัญก็คือ คุณกำไรเท่าไรเมื่อคุณถูก และคุณขาดทุนเท่าไรเมื่อคุณผิด”)
แม้ว่าผมจะเทรดชนะกับแพ้อย่างละครึ่ง แต่ถ้าตอนที่ผมกำไรสามารถทำให้ไได้เงินมากกว่าที่ขาดทุน แค่นี้ผมก็ชนะแล้ว"

เมื่อขาดทุนหนักจนทนไม่ไหว คิดได้ ละเลิกอัตตานั้น จึงตั้งมานะไว้ว่าต้องรีบตัดขาดทุนให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด

เปลี่ยนจากการยึดอัตตา(คืออายคนที่ขาดทุน) เป็นรีบขายตัดขาดทุนเพื่อรักษาเงินส่วนใหญ่ที่หามาได้อย่างยากลำบากไว้ให้เหลือมากที่สุด

พอคิดได้หลังจากที่หมดตัว จึงเริ่มต้นโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ค้นคว้า อย่างเข้มข้น



อยากเป็นนักเทรดหุ้นที่เก่งที่สุดเท่าที่จะทำได้
"ความท้าทายที่สุดของผมคือ การเป็นผู้ชนะ ผมอยากเป็นอันดับหนึ่งของอะไรสักอย่าง ผมอยากเป็นนักเทรดระดับสุดยอดของโลก ถ้าคุณสามารถเป็นคนระดับสุดยอดได้ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินอีกต่อไป เพราะมันจะบินเข้ามาหาคุณทางหน้าต่างแบบง่ายๆ"

หลังจากที่ใช้เวลาในการเรียนรู้ วิจัย และมีประสบการณ์ในตลาดหุ้น หมดตัวอีกหลายครั้ง มิเนอร์วินีก็สามารถพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่ได้มาตรฐาน โดยเขาแบ่งพอร์ตหุ้นไปหลายก้อนเพื่อทดสอบระบบที่ได้ศักษามาเพื่อหากลยุทธ์ที่ดีที่สุด

ช่วงกลางปี 1994 จึงเกิดความมั่นใจ เจอแนวทางที่ใช่ เชื่อว่าแนวทางการเทรดนั้นดีพอที่จะทำเงินจากตลาดได้แน่นอนแล้ว จึงได้รวบรวมเงินก้อนใหญ่เพื่อเทรดแบบจัดหนักตามกลยุทธเดียว

และห้าปีจากนั้น กำไรของเขาก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด

ผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยประจำปีของเขาในช่วงดังกล่าว สูงถึง 220% รวมถึงการทำได้ 155% จนได้เป็นแชมป์ US Investing Championship ปี 1997

แม้ว่าเขาจะสามารถทำกำไรได้สูงมาก แต่ขณะเดียวกันความเสี่ยงที่เกิดจากเทรดของเขากลับต่ำมาก บางไตรมาสแทบจะเสียไม่เกิด 1%

ปี 2000, มิเนอรวินีเปิด hedge fund ของตนเอง ชื่อ the Quantech Fund, LP โดยใช้หลักการคัดเลือกหุ้นตามแนวทางของเขาเอง


ปัจจุบัน
นอกจากจะเป็นนักเทรดแล้ว
ยังเขียนหนังสือ มีผลงานขายดี 3 เล่ม


เล่ม 4 ล่าสุด สด ๆ ร้อน ๆ

นี่เป็นคลิปที่ผมสรุป



แกก็ยังเป็นนักยิงปืน แถมยิงเก่งเสียด้วย





สูตรสำเร็จการเทรด
1. Admit you suck
ยอมรับข้อบกพร่องของตนเอง ยอมรับว่าตัวเองโง่
2. Believe you can be great
เชื่อว่าตัวเองสามารถยิ่งใหญ่ได้
3. Find someone great
ศึกษาจากคนประสบความสำเร็จ
4. Shut up and listen
พูดน้อย ฟังให้เยอะ
5. Don’t try to find time, make time
อย่ารอ แต่จงลงมือทำ
6. Embrace setbacks as valuable teachers
อ้าแขนรับความล้มเหลว ให้มันเป็นครู
7. Persist unconditionally
พากเพียร เพื่อข้ามผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบาก
8. Go beyond your comfort zone
ทำเรื่องยากขึ้น ท้าทายขึ้น ก้าวข้าม comfort zone
9. Make your dream a priority
มุ่งมั่นทำความฝันให้เป็นจริง เป็นเรื่องแรก



คำแนะนำสำหรับนักเทรดหน้าใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จ?
- ก่อนอื่นให้เข้าใจว่าคุณจะทำผิดพลาดอยู่เสมอ วิธีที่คุณจะป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดกลายเป็นภัยพิบัติก็คือคุณต้องรีบยอมรับตอนที่มันยังเสียหายน้อย

เน้นการเรียนรู้สไตล์เดียว ที่เหมาะกับบุคลิกของคุณ ที่มันเป็นกระบวนการที่ใช้ได้ทั้งชีวิต คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอดทนได้ตลอดรอดฝั่งของช่วงเวลาการเรียนรู้ เขาอยากชนะทันที เมื่อกระบวนการที่ได้เรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จตามคาาดหวังก็ล้มเลิก มองหาวิธีอื่น นั่นทำให้พวกเขาทำผลงานได้ปานกลาง ความจริงคือคุณต้องใช้เวลาที่นานมากในการพัฒนาวิธีการที่เหนือกว่าคนทั่วไป และระหว่างทางคุณต้องเจอกับช่วงที่ทำผลงานได้ไม่ดี แต่เชื่อมั้ยช่วงเวลานั้นแหละที่มันให้ข้อมูลที่มีค่าที่สุดแก่คุณ

คุณต้องระบุสไตล์การเทรดให้ได้ก่อน
คุณต้องเรียนรู้ที่จะเสียสละและโฟกัสเฉพาะสไตล์นั้น ซึ่งมันต้องอยู่บนฐานของบุคลิก สิ่งแวดล้อมและนิสัยของคุณ
คุณต้องพยายามมองการเทรดให้เป็นวิทยาศาสตร์ โดยการตัดตัวแปรในเรื่องของอารมณ์และโชคออกไป

นอกจากนี้ คุณต้องฝึกเรื่องของ "การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด" เช่น
- จะซื้ออะไร?
- จะซื้อเมื่อไหร่?
- ต้องซื้อเท่าไหร่?
- ต้องขายเมื่อไหร่?
คุณต้องตัดสินใจไว้ก่อน วางแผนไว้ก่อน
ซึ่งเรื่องพวกนี้มันก็ไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์เพียวๆหรอก มันก็เป็นศิลปะอยู่พอสมควร
แต่ความงดงามของมันคือ ถ้ามันเป็นวิทยาศาสตร์ คุณก็แค่เอาตัวเลขไปวางใน excel แล้วคำนวน ซึ่งมันไม่ต้องใช้สมองคนก็ได้
แต่การเทรดมันเป็นศิลปะอยู่ไม่น้อย มันจึงมีส่วนของความท้าทายอยู่ ซึ่งมันก็มีรางวัลอยู่ในนั้น


ติดตามงานของแกได้ ที่ เว็บ https://www.minervini.com/
ทวิตเตอร์ https://twitter.com/markminervini





((ขี้เกียจอ่าน ดูคลิปได้ที่นี่ครับ))


Minervini's Methods
แนวทางการเทรด
เริ่มที่ตรงไหนก่อน?

พื้นฐานกับเทคนิคอล ให้น้ำหนักกับฝั่งไหนมากกว่ากัน?
50-50 แต่ก็ไม่เคยเสี่ยงกับหุ้นที่มีพื้นฐานดีแต่ราคาไม่วิ่ง
ยินดีพิจารณาซื้อหุ้นที่พื้นฐานยังไม่ชัดเจนนักแต่ว่ามันยืนได้ดีกว่าตลาดเฉลี่ย(Relative strength) ในกลุ่ม 2% ของผู้นำตลาด
แสดงว่า เน้นกราฟก่อนพื้นฐาน แต่ก็ไม่เสี่ยงกับหุ้นเน่า และราคาต่ำๆ

- เริ่มจากการสแกนเพื่อหาหุ้นที่มีลักษณะคล้ายในอดีต
ที่หากเข้าสูตรแบบนี้แล้วมันจะมีโอกาสวิ่งแรง

- พวกมันมักจะโนเนม กว่า 80% ของทั้งหมด เพิ่งเข้าตลาดมาไม่ถึง 10 ปี
แต่จะเลี่ยงหุ้นราคาต่ำกว่า $12 ส่วนใหญ่จะซื้อตั้งแต่ $20 ขึ้น
ปรัชญาพื้นฐานคือ สร้างพอร์ตของคุณด้วยหุ้นที่ดีที่สุดที่ตลาดนำเสนอให้
และตัดขาดทุนให้เร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าคิดผิด

จะใช้คอมพิวเตอร์สแกนหยาบๆประมาณหมื่นกราฟต่อวัน
และจะจำกัดวงแคบลงดูแบบละเอียดประมาณ 800 หุ้น

ทุกคืนจะดูกราฟทั้งหมด แต่บอกเลยว่าสายตาเขาสแกนได้ไวมาก
โดยเฉลี่ยจะพบหุ้น 30-40 ตัวที่มีทรงกราฟน่าสนใจ
จากนั้นจึงลงรายละเอียดในเรื่องพื้นฐานของมัน
ถ้าเห็นว่าเข้าเกณฑ์จะซื้อในวันถัดไป



แนวโน้มขาขึ้น





Price pattern และจุดเข้าซื้อ





 


















"ทุกเช้าก่อนที่ตลาดจะเปิดทำการผมมองเข้าไปในกระจกและพูดกับตัวเอง ว่า 
"มาร์ค..นายยังมีศักยภาพในการทำร้ายตัวเองได้อย่างสาหัสเหมือนเคยนะวันนี้" 
(“Mark, you have the capacity to do serious damage to yourself today.”)
แล้วผมก็ไปทำงาน 
การฝึกแบบนี้เป็นวิธีการกระตุ้นเตือนให้ผมกล้ายอมรับว่าตนเองสามารถทำลายตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ และมันยังทำให้ผมจำสี่คำที่สำคัญที่สุดในการเทรดไว้ขึ้นใจก็คือ "เคารพความเสี่ยง!"




((ขี้เกียจอ่าน ดูคลิปได้ที่นี่ครับ))


ให้ความเสี่ยงมาก่อน ด้วยการวางแผนไว้ก่อน
๑) ระดับเริ่มขายเพื่อหยุดการขาดทุน
เมื่อราคาลงไปหลุดระดับนี้ต้องขายออกอย่างไม่มีข้อยกเว้น ขายออกไปให้หมด
เมื่อไม่มีหุ้น หัวของคุณจะโล่ง
โดยระดับที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องขาดทุนตลอดนะ คือตอนที่ราคาวิ่งขึ้น ถ้าคุณมี trailing stop ยกตามไป ก็สามารถขายเพื่อล็อกกำไรออกมาก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องรอวัดใจตอนขาดทุน(อันนี้ทำยาก เพราะเราอยากต่อราคา ต่อไปต่อมาโน่นได้ขายตัดขาดทุนทุกที)

๒) เกณฑ์การซื้อคืน
หุ้นบางตัวย่อแรงเพราะตลาดตกใจ แต่หลังจากนั้นมันก็พักตัวได้สวย น่าดึงดูดให้ซื้อคืน ซึ่งการสร้างฐานครั้งที่สองมักจะน่าเชื่อถือและแข็งกว่าครั้งแรก(ถ้ายืนได้ เวลาดีดจะไปแรง) เพราะมันได้เขย่าคนใจฝ่อออกไปอีกจำนวนมากนั่นเอง
พี่มาร์คแนะนำว่า หลังจากขายอกแล้วก็อย่าทิ้งไปเลย รอดูการสร้างฐานของมัน ถ้ามันทำดีก็ต้องเข้าใหม่อีกครั้ง บางทีแกต้องเข้าๆออกสองสามรอบกว่าจะได้กำไร แต่ต้องทำ (ถ้าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานดีจริงๆนะ) เพราะนี่คือความเป็นมืออาชีพ

๓) ขายเมื่อมีกำไร
เมื่อหุ้นที่คุณซื้อมันวิ่งทำกำไรให้คุณอย่างน่าพอใจ อาทิ วิ่งไปได้เท่าตัวจากเปอร์เซ็นต์ stop loss
สมมติว่า คุณตั้งไว้ที่ 7%หากคุณมีกำไรถึง 20% แล้วไม่ควรปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน อย่างน้อยก็ต้องยกระดับตัดขาดทุนมาอยู่ที่จุดคุ้มทุนไว้ก่อน หรือไม่ก็ใช้ trailing stop เป็นตัวช่วยล็อกกำไร คุณอาจรู้สึกโง่เมากที่ต้องขายทำกำไรเล็กน้อยที่ trailing stop เมื่อเทียบกับจุดสูงสุด หรือต้องขายที่ระดับคุ้มทุน
แต่ผมบอกเลยว่าคุณจะรู้สึกแย่กว่านั้นถ้าคุณปล่อยให้ผลกำไรที่ดีกลายเป็นต้องขายตัดขาดทุน

๔) แผนพิบัติภัย ที่อาจกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคุณ
การวางแผนฉุกเฉิน เกี่ยวข้องกับปัญหาเช่นว่าจะทำอย่างไรถ้า...
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตล่มหรือไฟฟ้าขัดข้อง คุณมีแผนสำรองบ้างหรือเปล่า?
- หรือการตอบสนองของคุณจะเป็นอย่างไรถ้าคุณตื่นขึ้นในวันพรุ่งนี้ ตอนเช้าและรู้ว่าสต็อกที่คุณซื้อเมื่อวานนี้มันเปิด gap ลง เนื่องจาก บริษัทนั้นกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโดยบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีปัญหาทุจริต คุณจะทำยังไงกับมันบ้าง?




การขายหุ้นออก
จัดลำดับความสำคัญในการขาย

a) จำกัดการสูญเสีย(limit loss)  กำหนดเปอร์เซ็นต์ที่คุณต้องขายเพื่อหยุดการสูญเสีย
b) ปกป้องเงินต้นของตัวเอง เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นและคุณมีกำไรที่ดี หลังจากที่คุณซื้อหุ้นไปแล้ว คุณควรเลื่อนจุดขายหุ้นขึ้นไปอยู่ที่จุดคุ้มทุนของคุณ
c) ปกป้องผลกำไรของคุณ อย่าปล่อยให้กำไรดีหลุดมือ ใช้ trailing stop ช่วย



สัญญาณที่น่ากลัวหลังจาก Breakout ว่ามีโอกาสล้มเหลวสูง
1 ราคาเบรกไปด้วยวอลลุ่มที่น้อย
2 จากนั้นราคาร่วงแรงแท่งแดงยาวติดต่อกัน 3 4 วันโดยที่หาแนวรับไม่เจอ (ไม่มีทีท่าจะหยุด)
3 วันที่ราคาร่วงแรงติดต่อกันมากกว่าวันเขียว พูดง่ายๆคือทำนิวโลได้ต่อเนื่อง
4 แท่งเทียนปิดไม่สวยมากกว่าสวย
5 ราคาลงไปปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน
6 ราคาลงไปปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันด้วยวอลลุ่มที่สูงมาก
(รายละเอียดพวกแท่งเทียน เส้นค่าเฉลี่ย ลองกลับไปเปิดอ่านเล่มเขียวกันดูเพิ่มเติมนะ
ผมได้ยกเคสให้ดูเยอะแยะเลย)

การล็อกกำไร
แผน take profit หุ้นผู้ชนะ
มีอยู่ ๒ แบบ คือ ขายแบบ selling into strength หรือ selling into weakness ซึ่งคุณต้องมีทั้งสองแผน
(ผมได้อธิบายอย่างละเอียดในหนังสือ หุ้นซิ่ง สวิงเทรดครับ)



ระดับการตัดขาดทุนควรไม่เกิน 10%โดยน้อยกว่านั้นได้ยิ่งดี
สิ่งที่คุณควบคุมได้ก่อนการเทรดก็คือ
- ซื้ออะไร
- ซื้อเมื่อไหร่
- ซื้อเท่าไหร่
หลังจากที่คุณซื้อไปแล้วสิ่งที่คุณควบคุมได้ก็คือ
- ต้องขายตอนไหน

มีการตั้งคำถามว่าถ้าคุณซื้อหุ้นไปแล้วราคาร่วงลงไปหลุด stop loss คุณขายโดยขาดทุน 2,500
วันต่อมามันวิ่งกลับขึ้นไปทำ New High คุณรู้สึกอย่างไร?
กับอีกเคสหนึ่งคือราคาร่วงลงไปหลุด stop loss คุณก็ขายขาดทุน 2,500 เหมือนกัน
แล้วจากนั้นมันก็เปิด gap ลงแรงแดงยาว คุณรู้สึกอย่างไร?

ทั้งๆที่คุณขาดทุนเท่ากันแต่คนละอารมณ์กัน
สิ่งที่ถูกต้องก็คือเคารพกฎไว้ก่อนเพราะเราไม่รู้อนาคตว่ามันจะเป็นอย่างไร
เหตุผลที่นักเทรดส่วนใหญ่ไม่กล้าตัดขาดทุนเพราะว่าพวกเขากลัวขายแล้วเด้ง


แนวทางการตัดขาดทุนของพี่มาร์ค
ระดับการตัดขาดทุนของพี่มาร์คอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ไม่ถึง 10 ด้วยซ้ำ
ยกตัวอย่างคือ หลังจากซื้อไปแล้ว ราคาร่วงสวนทางให้ขาดทุน
แกจะเริ่มตัดขาดทุนครึ่งนึงของก้อนที่ซื้อไปแล้ว ที่ - 4% ก่อน
อีกครึ่งถ้าราคาร่วงไปเป็น - 8%  แกก็ขายที่เหลือออก
ทำให้ค่าเฉลี่ยของการตัดทุนของแกอยู่ที่ - 6% เท่านั้น


วิธีการยกจุดตัดขายหุ้นเมื่อราคาวิ่งไปทำกำไรให้แล้ว
สมมุติว่าแกซื้อหุ้นตัวนึงที่ราคา $50 และให้เสี่ยงได้ 5%
นั่นคือ ราคาขายที่ $47.50 หรือหายไป $2.50

เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปถึง $57.50 หรือ วิ่งไปแล้ว $7.50 =  3×2.50 สามเท่าของความเสี่ยง
แกจะยกระดับตัดขายหุ้นไปวางที่ $50 ทันที
นั่นหมายความว่าแกปิดโอกาสขาดทุนไปแล้ว

บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่ Mark Minervini





(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ



ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ



www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดหุ้น คุณไม่ต้องรอบรู้ไม่ต้องเก่งทุกเรื่องและทุกอย่างหรอก ทำแค่ 7 เรื่องนี้ให้ได้ก็พอ....

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ศาสตร์และศิลปะของการปั้นพอร์ต ให้เติบโตสม่ำเสมอ Art & Science of Trading