แนะนำฟรีอีบุ๊ก "สโตอิกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลับ"

Image
  (อ่านฟรี) e-book : สโตอิกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย https://mebmarket.com/?action=book_details&book_id=327348 สโตอิกช่วยนักศึกษาได้อย่างไรบ้าง สโตอิกเป็นปรัชญาที่ช่วยให้เรารับมือกับความกดดัน ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องเจออยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การสอบ หรือการปรับตัวกับชีวิตในมหาวิทยาลัย ผมอยากอธิบายว่าทำไมสโตอิกถึงเป็นแนวคิดที่สามารถช่วยคุณได้ครับ หลักสำคัญของสโตอิกคือ การแยกแยะสิ่งที่เราควบคุมได้กับสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้  การฝึกให้เข้าใจเรื่องนี้จะช่วยลดความเครียดได้มาก ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณกังวลเกี่ยวกับการสอบ สิ่งที่คุณควบคุมได้คือการเตรียมตัวให้ดี อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน แต่ผลการสอบหรือความคิดเห็นของอาจารย์ เป็นสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ การโฟกัสเฉพาะสิ่งที่คุณทำได้จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกเครียดกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมครับ นอกจากนี้ สโตอิกยังสอนเรื่อง การควบคุมอารมณ์  และ การมองโลกอย่างเป็นกลาง  ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อคุณเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ที่ท้าทาย เช่น หากคุณเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ผลสอบไม่เป็นไปตา

จิตวิทยาเบื้องหลังการเคลื่อนไหวราคาและ Price Pattern



แปลจาก Market Price Movements - Psychology and Price Patterns
http://www.daytradingcoach.com/free-education-market-trend-psychology.html

จิตวิทยาของคนสามกลุ่มที่มองตลาดแตกต่างกัน จึงมีส่วนผลักดันให้ราคาขึ้นหรือลง และเกิดเป็น Price Pattern
(สารภาพก่อนเลยว่าแปลออกมามั่วมากๆ แถมเลือกเอาช่วงตัวเองที่พอเข้าใจและอยากรู้ จึงได้มาเท่านี้แหละ)
.
การขึ้นลงของราคาเป็นผลมาจากการตัดสินใจของฝ่ายซื้อกับฝ่ายขาย คนที่ซื้อเพราะเชื่อว่าราคาจะไปได้สูงขึ้นได้อีก ฝ่ายที่ขายเพราะรู้สึกว่าราคามันจะลงอีกในไม่ช้า ผลของการตัดสินใจคือแท่งราคาที่สรุปในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง
.
มีเทรดเดอร์ 3 กลุ่ม ในตลาด
1) คนที่ long หรือ ซื้อสะสมหุ้น
2) คนที่ short หรือ ต้องการขายหุ้น
3) คนกำลังดูเกมส์อยู่วงนอก และจะเข้าตลาดในเร็วๆนี้
คนกลุ่มที่สามจะมีมุมมองเกี่ยวกับทิศทางที่น่าจะเป็นของตลาดแตกต่างกัน บ้างมองว่าจะขึ้นต่อ บ้างก็มองลง แต่เขาไม่มีแรงจูงใจทางบวกมากพอเลยออกมาอยู่ข้างสนาม เพราะพวกเขาไม่มีความมั่นใจในทิศทางของตลาด
ดังนั้นพวกเขาไม่มีส่วนได้เสียในทิศทางของตลาด
(edit cr. sam vesteras)
.
ราคาในอนาคตเป็นผลกระทบบจากธรรมชาติของมนุษย์ จึงส่งผลให้เกิดเป็นวัฏจักรของตลาดจากจุดต่ำสุดไปสู่จุดต่ำสุด
.
Classic price pattern
A- B
สมมติว่าราคาการเทรดในช่วงการซื้อขายที่ค่อนข้างแคบ (ระหว่างจุด A และ B ในชาร์ต) ตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของราคา sideway

คนกลุ่มแรกคือ
"ฝ่าย long " อาจจะซื้อสัญญาเพิ่มเติมหากราคาขึ้นไปสูงกว่าช่วงที่ผ่านมาของการซื้อขาย และอาจจะหยุดคำสั่งซื้อที่จุด B แต่ก็อาจจะซื้อเพิ่มหากเห็นสัญญาณแนวโน้มราคาของจะสูงขึ้นไปอีก ...
... แต่ในทำนองเดียวกัน เขาก็จะตระหนักถึงทิศทางราคาอาจลดลงไปด้านล่างจoต่ำกว่าช่วงการซื้อขายที่ผ่านมา(A-B) พวกเขายังอาจป้อนคำสั่ง stop loss ด้านล่างของตลาดเพื่อที่จะ จำกัดการสูญเสียของพวกเขา

คนกลุ่มที่สองคือ ฝ่ายชอร์ต
จะมีปฏิกิริยาตรงข้ามกับตลาด หากราคาวิ่งขึ้นสูงกว่าช่วงการซื้อขายที่ผ่านมาหลายคนอาจป้อนคำสั่งหยุดการสูญเสียที่ระดับสูงกว่าจุด B เพื่อ จำกัด การสูญเสีย และพวกเขาอาจเพิ่มตำแหน่งของพวกเขาถ้าราคาจะลดลงต่ำกว่าจุด A .


คนกลุ่มที่สาม คือ คนที่ยังไม่มีหุ้น
กำลังจ้องหาจังหวะจะ long หรือ short แล้วแต่ว่าราคาจะทะลุขึ้นหรือลง

ช่วง C -D
มาดู ตอนที่ราคาดีดขึ้นมาหยุดที่จุด C กัน
ถ้าช่วงราคาเทรดระหว่าง A-B แคบมากๆและ sideway เป็นระยะเวลานาน-จะมองว่าเป็นช่วงสะสม เมื่อราคาสามารถเบรคทะลุจุด B ขึ้นไปได้ คนที่ไม่มีหุ้นเมื่อเห็นก็จะเข้ามาร่วมวงกันซื้อมากมาย-และคนที่เอาหุ้นมาตั้งขายก็คือกลุ่มที่ long หรือซื้อสะสมเอาไว้มาก่อนหน้านี้
คนที่เคยซื้อกลับกลายเป็นคนเทขาย ทำให้ราคาหุ้นลดลงจากจุด C ลงมาที่ จุด D
ตรงนี้เองที่จิตวิทยา(ความเห็น)ของเทรดเดอร์เริ่มแตกต่างกันอีกแล้ว
.
กลุ่มแรกที่ long ไว้ในช่วงราคา A-B เขาจะไม่ซื้อช่วงที่ราคาวิ่งทะลุขึ้นไปถึงจุด C พอราคาลงมาถึง D เขาเหล่านี้ยินดีที่จะซื้อเพิ่ม (buy on a dip) เข้าพอร์ตอีก ดังนั้นแรงซื้อจากกลุ่มนี้เองที่หยุดการลงของหุ้น
.
ส่วนฝ่ายชอร์ตที่ยึดช่วงราคา A-B ไว้เป็นหลัก เมื่อเห็นราคาขึ้นไปยังจุด C จากนั้นก็เห็นราคาร่วงลงไปสู่จุดเดิมที่เคยขายออก ถ้าเขาไม่ได้ cover short position โดยการ buy stop เหนือจุด B พวกเขาก็อาจจะ cover ที่จุด D เพื่อลดการสูญเสีย - นี่ก็เป็นอีกกลุ่มที่ช่วยหยุดที่ จุด D ไม่ให้ราคาลงต่อ
.
อีกกลุ่มที่จ้องจะเข้าตลาด ก็จะใช้โอกาสเข้าร่วมซื้อเมื่อเห็นราคาไม่ลงต่อ เข้าสูตรที่เรียกว่า “getting in on a dip”
.
ผลของการวิ่งของราคาจาก A ถึง C ทำให้มุมมองทั้งสามกลุ่มของเทรดเดอร์เปลี่ยนเลยทีเดียว ผลที่ว่านั้นก็คือเสียงแตก คนที่ซื้อตรงแนวรับนั้นมาจากทั้งสามกลุ่ม แนวรับถูกทำให้แข็งแกร่งด้วยแรงซื้อที่มากมายสวนการลง-ส่งผลให้ราคาดีดขึ้นกลับไปหาจุด C อีกครั้ง แถมยังมีโมเมนตัมมากพอที่จะดันราคาขึ้นไปสูงกว่า C จนไปถึงจุด E และแล้วจิตวิทยา(มุมมอง)ของคนทั้งสามกลุ่มก็เปลี่ยนอีกรอบที่จุดนี้
.
บางคนในฝ่ายที่ long มาแต่ต้นหรือซื้อที่แนวรับ ก็จะถือโอกาสขายทำกำไร นอกจากนี้, เมื่อตลาดเป็นขาขึ้น ฝ่ายนี้ก็เกิดความกระตือรือล้น-ก็เลยตั้งเป้าราคาใหม่ให้สูงกว่าเดิม เพราะเขาเชื่อว่าตลาดจะขึ้นต่อไปได้สูงกว่านี้อีก
.
กลุ่มเดิมที่ขาย short ระหว่างจุด A-B แต่ยังไม่ได้ cover loss ที่นับวันยิ่งเพิ่ม มุมมองเขาตรงจุด E จะเป็นลบมากเพราะขาดทุนเยอะแถมเสียความมั่นใจอีกต่างหาก จึงสกัดการขึ้นของตลาดด้วยการ short เพื่อหวังจะเอาทุนคืน
.
กลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าตลาด อาจเป็นเพราะพวกเขาเคยตั้งซื้อแต่ยังไม่ได้ของ เขากลัวว่าตลาดจะไปสูงกว่าเดิมอีก จึงซื้อหุ้นที่ราคาตลาด
จำไว้ว่า กลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าตลาดเพราะลังเล จริงๆแล้วมุมมองของเขายังคง bullish บางคนถึงกับโทษตัวเองที่ซื้อไม่เข้าเร็วกว่านี้ กระทั่งคนที่เคนขายหุ้นไปแล้วก่อนหน้านี้เมื่อเห็นราคาขึ้นไปสูงกว่าเดิม-มุมมองก็ยังชอบอยู่ฝั่ง long
กลุ่มคนพวกนี้แหละที่จะเข้ามาซื้อเมื่อราคาพักตัวลงในครั้งถัดๆมา
.
การตกจะหยุดเมื่อเจอการตั้งรับ(แนวรับ) ดังนี้
1) เทรดเดอร์ที่ยังถือ long อยู่ ซื้อเพิ่ม
2) เทรดเดอร์ที่ถือชอร์ต ต้องการซื้อชอร์ตคืน เมื่อตลาดพักตัวลง
และ 3) เทรดเดอร์ที่ยังไม่มีของ เข้ามาร่วมซื้อเพราะอยากเกาะตลาดขาขึ้น
.
จึงเป็นผลให้ราคายกระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ไฮยก โลว์ก็ยกสูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ทำทรงขาขึ้นที่สวยงาม
.
แต่แล้วพอราคาขึ้นมาถึงจุดหนึ่ง จิตวิทยาก็มีการเปลี่ยนอย่างเนียนอีกครั้ง กลุ่มที่ long มาตั้งแต่ต้นเทรนด์เห็นว่าพอร์ตกำไรมากจนอ้วนพี เริ่มมองหาจุดขายทำกำไร
กลุ่มที่สองเป็นพวกที่ "ถูกกระทำ" ที่ชอร์ตทิ้งไว้และปฏิเสธที่จะ cover short positions เขารอที่จะซื้อคืนเมื่อตลาดพักฐานลงมา
กลุ่มที่สาม คือพวกที่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นสักที พวกนี้เริ่มองุ่นเปรี้ยว เพราะความที่ตกรถ จึงไม่อยากซื้อหุ้นแล้ว ตั้งหน้าตั้งตารอชอร์ต
.
เมื่อตลาดขึ้นมาจนถึงจุดที่ไม่มีสัญญาณสนับสนุนในจุดที่ราคาตก (noticeable lack of support on a dip) คือว่ามัน "มาไกลจนหมดแรงจะไปต่อได้อีกแล้ว" มันคือจุดเริ่มต้นของสัญญาณกลับตัวของจิตวิทยา การร่วงจากจุด I ถึง J เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคของการดิ่งลง การลดลงครั้งนี้ถือเป็นโทนใหม่ของตลาด การสนับสนุนในการลดลงกลายเป็นความต้านทานในการวิ่ง และ a more two-sided market action develops (แปลไม่ออก)
.
ส่วนต่อไปจะเป็นภาคของขาลง ผมไม่แปลนะ เพราะไม่สนใจ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo