การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

แชร์ไอเดีย Double Bottom Undercut (Shakeout +3) สำหรับคนชอบ Buy on Dip

ผมรู้จักรูปแบบ Undercut จากงานของ Gil Morales ครับ ที่เคยเขียนในบทความ
เบสิก Swing Trade แบบ Buy on Dip สไตล์  Gil Morales
ซึ่งก็คิดว่ามันน่าสนใจ ถ้าเราจะเอาไอเดียนั้นมาประยุกต็ใช้กับหุ้นไทย

โดยหลักการพื้นฐานของ Undercut มาจากฐานราคา Double bottom ครับ

คือราคาโดนตบให้หลุดแนวรับ แล้วดีดกลับขึ้นไป วิ่งขึ้นแรงแบบวิ่งตามแทบไม่ทัน
ซึ่งทรงของมันก็คือ Double bottom นั่นเอง
คนที่เอามาเผยแพร่คนแรก ๆ ก็คือ อาจารย์ปู่ โอนีล เจ้าสำนัก IBD นี่เองครับ

หลักการตามจิตวิทยา
เป็นการตบหลอกเอาของจากคนทำราคาครับ
กดให้หลุดแนวรับ ให้คนตกใจขายเพื่อ stop loss
แล้วจากนั้นก็ไล่ราคาดันพรวด ๆ เย้ยหยันให้เจ็บใจเล่น
เป็นสไตล์ของ "คนทำราคาซาดิส์ม" ครับ

ดังนั้นรูปแบบที่ถูกต้องตามสูตร Double Bottom Undercut
ก็คือ พอโดนตบหลุดแนวรับแล้ว มันจะดีดกลับขึ้นแรงและเร็วครับ
ถ้าดีดไม่แรงไม่เร็ว ท่านต้องระวัง ลดความเสี่ยงไปก่อน เพราะอืดเกิน ไม่เข้าสูตรนะ


ความจริงแล้วคนค้นพบก็ไม่ใช่ใครอื่น อาจารย์ของปู่โอนีลนั่นเอง
ก็ต้องยกผลประโยชน์ให้กับทวดลิเวอร์มอร์ ที่สังเกตเห็น Shakeout + 3 Concept ครับ

Image result for livermore shakeout plus 3
เห็นทรงแล้วเป็นไงครับ double bottom ของปู่โอนีลเปี๊ยบเลย
เพียงแต่ลิเวอร์มอร์ เขาซื้อตอน SO + 3
แต่ปู่โอนีล เห็นว่าเสี่ยงเกินไป จึงปรับสูตรใหม่เป็นซื้อเมื่อราคาข้ามไฮของยอดเดิมก่อน
เพื่อการันตีว่าขึ้นไปแน่ๆ

ก็แล้วแต่มุมมองใคร มุมมองมันนะครับ
ใครเป็นสายเหยี่ยว ใครเป็นสายพิราบ ก็เลือกเอา
ผมไม่เกี่ยงครับ ได้ตังค์เอาหมด ถ้าทันตอน Shakeout +3 ก็เอา
ถ้าไม่ทันก็รอ breakout ฐานราคา double bottom ครับ

สรุปนะ Double Bottom Undercut = Shakeout +3 นะ
ผมเอามาเชื่อมโยงกันให้ท่านเห็นภาพเท่านั้นเอง
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ความสะดวกปากของท่านเลย

เหมาะสำหรับสไตล์ Buy on Dip
ผมเองนะ ตอนแรกก็ชอบ buy breakout แต่พอตลาดเป็นขาลง ชักจะพลาดถี่
ก็เลยลองปรับแนวทางมาซื้ตอนย่อดูบ้าง ก็ตามสูตรของพี่ Gil นั่นแหละ
ปรากฎว่าเวิร์คแฮะ (ซื้อแบบ buy on dip ที่เส้นค่าเฉลี่ย)
แนวทางการสวิงเทรดแบบ Buy on Dip ในช่วง SET เป็นขาลง
เมื่อรู้ว่าได้ผล จึงอยากหาข้อมูลของอีกแนวทางที่แกบอกไว้ คือ Undercut นั่นเอง

โอกาสของ undercut
- ราคาดีดขึ้นแรงกำไรทันที
ตามสูตรคือ หลังจากเขย่าแล้ว ต้องเป็นเขียวยาวติดต่อกันครับ
ถ้าไม่เป็นตามนี้ก็ต้องระวัง

ความเสี่ยงของ undercut
- ราคาร่วงแรง ดำรงโมเมนตัมของการร่วงแรง ทำให้ขาดทุนหนัก
คือถ้ามันไม่ดีดกลับขึ้นแรงๆ เร็วๆ ท่านต้องระวังเลยครับ
เพราะมันมีโอกาสร่วงแรงให้ท่านขาดทุนหนักได้
ดังนั้น ต้องมีการลดความเสี่ยงออก ถ้าราคาไม่ดีดแรง
อย่ารอให้ราคาวิ่งลงครับ ตัดดอกไปก่อน

เงื่อนไขของ undercut ที่ชนะก็คือ
- ดีดพรวดแล้วพรวดเลย ไม่วิ่งสวนลงมาอีก
ให้ท่านตั้ง stop lossไว้ที่ระดับแนวรับนั้นไว้เลย
ถ้าหลุด หนีไปก่อน หรือแม้ไม่หลุด แต่ย่ำนาน 2-3 วันไม่ไปไหน ก็ต้องระวังครับ
ลดควาามเสี่ยงไว้ก่อน
จำไว้เลยว่า ในตลาดหุ้น มีแต่ตัวหลอก 80% ท่านอาจจะเข้าผิดตัวก็ได้

ซื้อตอนไหน?
ตอนที่ราคายืนเหนือระดับแนวรับได้แล้ว
อย่ารีบไปรับมีดในแท่งที่โดนตบให้หลุดแนวรับ
เพราะยังไม่ยืนยันว่าแนวรับจะเอาอบู่หรือไม่



ขายตอนไหน?
- ต้องดูสิ่งแวดล้อมครับ
ถ้าเด้งไปชนแนวต้านไม่ผ่านต้องขายล็อกกำไรไว้ก่อน
อย่าได้ฝันเป็นเด้ง 5% ได้ก็หรูสุดๆแล้ว
แต่ถ้ามันดีดดี ดีดขึ้นต่อเนื่อง ก็ทนรวยไป หากได้เกิน 20% จะสุดยอดมาก

- อย่าได้ฝันว่าซื้อแล้วต้องกำไรทุกตัว
รายย่อยอย่างเรา ไม่สามารถบังคับการเคลื่อนไหวของราคาได้
อำนาจของเรามีอย่างเดียวคือ "ป้องกันตัวเอง" รักษาผลประโยชน์ของตัวเองนะครับ
ดังนั้น stop loss ต้องมีและเคารพมัน อย่ากลัวคัทแล้วเด้ง เพราะเราไม่รู้อนาคต
เราควบคุมอนาคตไม่ได้ แต่สิ่งที่ควบคุมได้ก็คือ "การ stop loss" ครับ
หากราคาไม่ไปต่อ วิ่งสวน อย่ารอดู ลดความเสี่ยงไปก่อน

ตัวอย่างการ undercut ที่สำเร็จ

















ตัวอย่างการ undercut ที่ล้มเหลว




เท่าที่หาได้ ก็มีเท่านี้ครับ
ลองเอาไปทำการบ้านต่อกันเองนะ


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)