ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล

Image
ถ้าคุณต้องการรู้จักนิสัยของตลาดให้มากที่สุด ให้เดินไปที่ชายหาด ก้าวลงไปในน้ำทะล แล้วลองผลักน้ำจากฝั่ง ทำคลื่นดันกลับเข้าไปหาทะเล สร้างคลื่น สู้กับทะเล ลองทำดู ทั้งคลื่นลูกเล็ก และคลื่นลูกใหญ่ คุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะสร้างคลื่นดันกลับไปในรูปแบบไหน คุณจะไม่มีทางชนะคลื่นจากทะเลได้เลย  ไม่มีทาง ความจริงที่คุณได้จากเรื่องนี้คือ "ตลาดจะถูกเสมอ" . Market Wizards ยอมรับตรงกันว่า "ตลาดจะทำในสิ่งที่มันอยากจะทำ" พวกเขาไม่เคยหัวเสียกับตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) พวกเขาไม่เคยโทษตลาด(เพราะเคยทำมาแล้วในตอนเป็นมือใหม่) . พวกเขาแค่ยอมรับว่าตลาดจะทำในสิ่งที่มันจะทำ พวกเขาแค่ยอมรับว่าเขาไม่สามารถเอาชนะตลาดได้ จากนั้นสิ่งที่พวกเขาทำก็คือ ๑) อ่านตลาด ๒) แยกแยะความเสี่ยงกับโอกาสให้ได้ ๓) หาโอกาสทำเงินเมื่อตลาดให้โอกาส และอยู่เฉย ๆ ถือเงินสดเมื่อตลาดเป็นความเสี่ยง ๔) คิดก่อนเสมอว่า "ถ้าตลาดไม่ให้เงิน(เทรดขาดทุน) ฉันจะยอมเสียกี่บาท" การเอาตัวรอด คือเป้าหมายแรกของยอดนักเทรด เพราะคิดแบบนี้...ไม่ว่าตลาดจะร้ายแค่ไหน ยอดนักเทรดก็จะรอดเสมอ #จิตวิทยาการเทรด #ปั้นพอร์ต #วินัยนัก

สรุปหนังสือ "ล้มเหลวแล้วต้องเรียนรู้"


"การเพิ่มคุณค่าให้กับผู้คน เป็นเป้าหมายสำคัญในชีวิตของผม"
"และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเพิ่มคุณค่าให้ตัวคุณได้
โดยสอนให้คุณเรียนรู้จากความพ่ายแพ้ของตัวเอง"
โดย John C. Maxwell


ผู้แพ้อยากชนะ ไม่อยากล้มเหลว เพราะอายตัวเองที่เป็นแบบนั้น ถ้าพลาด เขาจะบอกใครๆแก้เก้อว่า "ชนะบ้าง แพ้บ้าง เป็นเรื่องธรรมดา"
ผู้ชนะจะคิดว่า "ในชีวิตเราชนะบ้าง แพ้บ้าง แต่ต้องได้เรียนรู้"

"พอยอมรับความผิดพลาดของตัวเองได้ ฉันก็พัฒนาได้"
ฮิวจ์ เพรเกอร์

"ไม่ยากเลยที่จะให้อภัยเวลาคนอื่นทำผิด แต่การให้อภัยตัวเองช่างยากเย็นแสนเข็ญ" เจสซามิน เวสต์

เหตุใดความพ่ายแพ้ จึงทำให้สิ่งต่างๆ ช่างเลวร้าย
มนุษย์เราส่วนใหญ่ชอบเอาชนะ แล้วพอได้ชัย อะไรก็ดีไปหมด แต่ยามปราชัย ทุกอย่างก็เลวร้าย คุณจะได้ยินคนพูดว่า "เราแค่แข่งกันเล่นๆ" ก็ต่อเมื่อเขากำลังจะแพ้เท่านั้น


๑) ความพ่ายแพ้ทำให้เราติดอยู่ในบ่วงอารมณ์
"เราเก็บช่วงเวลาดีๆ ไว้ในกระเป็า และช่วงเวลาแย่ๆ ไว้ในใจ" เลส บราวน์
หากพลาด เราชอบลงโทษตัวเองไง จึงไม่อยากพลาดกัน


๒) การสูญเสีย ทำให้จิตใจรู้สึกพ่ายแพ้
ชีวิตของเราเต็มไปด้วยการสูญเสีย ตั้งแต่เกิด จนถึงปัจจุบัน ทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ บางคนรับมือได้ดี แต่หลายคนก็รับไม่ได้

ลักษณะที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างคนประสบความสำเร็จ กับคนล้มเหลวคือความสามารถในการรับมือกับความผิดหวังและการสูญเสีย ซึ่งมันเป็นความท้าทาย เพราะการสูญเสีย ทำให้จิตใจเกิดความรู้สึกพ่ายแพ้

การสูญเสียมีผลร้ายกับเรามากเกินไป ทำให้เราพ่ายแพ้ และยากหาทางออกได้ แล้วพสูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นภาระ ทำให้เราเสียใจกับการสูญเสียที่เพิ่งผ่านไปหลายเรื่อง ความเสียใจจะดูดพลังออกไปจากตัว มันไม่ช่วยให้เราพัฒนาขึ้นไปได้อีก ทำให้ไขว้เขว และหวาดหวั่น

เราอยากได้ความสำเร็จ ทั้งๆที่ควรฝึกรับมือกับความพ่ายแพ้มากกว่า
"ผู้คนมากมายกำลังฝึกอบรมเพื่อไปสู่ความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ควรฝึกรับมือกับความล้มเหลวด้วย เพราะเรามักเจอความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ มีความยากจนมากกว่าความมั่งคั่ง และความผิดหวังก็มาเยือนเราบ่อยๆ"
เจ. วอลเลซ แฮมิลตัน

เราต้องคาดหวังว่าจะเจอความผิดพลาด ความล้มเหลวและพ่ายแพ้ในชีวิต
ต้องแก้มันไปทีละเรื่อง อย่าปล่อยให้สะสมไปเรื่อยๆ

"มนุษย์เป็นเหมือนสะพานที่ถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักเพียงชั่วขณะ
ไม่ใช่รับน้ำหนักรวมของปีในคราวเดียว" วิลเลียม เอ. วาร์ด


๓) ความพ่ายแพ้ มีผลต่อการกระทำของเรา
ยิ่งชนะมาก ยิ่งสร้างวงจรเชิงบวก ทำให้อยากทำมากขึ้น
การเปลี่ยนจากการรับรู้ ไปเป็นการลงมือทำ จึงมักจะนำความสำเร็จมาให้

ความพ่ายแพ้จึงเหมือนกับดัก 11 อย่าง
- กับดักความผิดพลาด ยับยั้งเราไม่ให้ลงมือทำ
- กับดักความเหนื่อยอ่อน ทำให้หมดแรง
- กับดักการเปรียบเทียบ ทำให้รู้สึกต่ำต้อยกว่าคนอื่น
- กับดักช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้ลังเลที่จะลงมือทำทันที
- กับดักความสมบูรณ์แบบ ทำให้ลังเลสงสัยในตัวเอง
- กับดักความคาดหวัง ทำให้โฟกัสที่ความยากลำบาก ไร้ความหวัง
- กับดักความยุติธรรม มักทำให้พูดว่า "ทำไมต้องเป็นฉัน"
- กับดักความคิดเห็นสาธารณะ คิดว่าคนอื่นจะเย้ยหยัน ตลก ทำให้เราไม่ลงมือ
- กับดักภาพลักษณ์ของตัวเอง กลัวคนอื่นมองในเชิงลบ


๔) ความพ่ายแพ้ครั้งแรก มักไม่ใช่ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุด
เวลาแพ้ ส่วนใหญ่มักมีวิธีรับมือที่ผิดๆ พอผิดก็ลุกลามใหญ่โต นำพาให้แพ้เรื่องอื่นต่อไปอีก ยิ่งเจอเรื่องแย่ๆ ความมั่นใจก็ถดถอย
ยิ่งถ้าเราชอบเปรียบตัวเองกับคนอื่นนะ ยิ่งแย่ไปใหญ่
ดังนั้น เวลาแพ้ อย่าคุยกับตัวเองในเชิงลบ เพราะยิ่งเลวร้าย
หามุมมองในเชิงบวกให้เจอ แล้วไปในทางนั้น


๕) ความพ่ายแพ้ทำให้เราเปลี่ยนไป
คนส่วนใหญ่พอแพ้ แล้วสร้างประสบการณ์ที่ไม่ไดีเกี่ยวกับมัน ทำให้เจ็บปวดเพิ่มขึ้น
แท้จริงแล้ว ปริมาณหรือความรุนแรงของความพ่ายแพ้ ไม่สำคัญเท่าวอธีที่คุณเผชิญกับมัน
ความพ่ายแพ้เปลี่ยนแปลงเราได้ แต่คงบคุมเราไม่ได้หรอกนะ อย่ากลัวว่าตัวเองจะเป็นคนโง่หรือไร้ความสามารถแล้วไม่ยอมทำอะไร อย่ากลัวจนไม่กล้าเสี่ยง
ถ้าอยากเอาชนะความทุกข์ยากและไม่ยอมให้ความพ่ายแพ้มีชัยเหนือเรา เราต้องผ่านมันไปให้ได้ ด้วยการยอมรับและเรียนรู้จากความทุกข์ยากอันเกิดจากความพ่ายแพ้นั้น


วิธีเปลี่ยนความพ่ายแพ้ให้เป็นประโยชน์
ใครๆก็พ่ายแพ้กันทั้งนั้นแหละ
คนที่มุ่งมั่นอยากเป็นผู้ชนะต้องเปลี่ยนความพ่ายแพ้ให้เป็นประโยชน์ให้ได้
ด้วยการเรียนรู้จากความพ่ายแพ้น่ะสิ
ความพ่ายแพ้ ให้โอกาสในการเรียนรู้ แต่ผู้คนมากมายไม่คว้าโอกาสไว้ เมื่อไม่ทำ ความพ่ายแพ้ก็เป็นเรื่องเลวร้ายจริงๆ


วิธีการคือ เปลี่ยนการให้ความหมายต่อการพ่ายแพ้
ความรับผิดชอบ = ขั้นแรกของการเรียนรู้
ความทุกข์ยาก = ตัวเร่งในการเรียนรู้
ปัญหา = โอกาสในการเรียนรู้
ประสบการณ์ไม่ดี = มุมมองสำหรับการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลง = สิ่งที่ยอมเสียเพื่อจะได้เรียนรู้
ความเป็นผู้ใหญ่ = คุณค่าของการเรียนรู้


ความทะนงตน จะสนใจว่าใครเป็นฝ่ายถูกต้อง
แต่ความอ่อนน้อมถ่อมตน จะสนใจว่าอะไรเป็นเรื่องถูกต้อง
- เอซรา ทาฟต์ เบนตัน


ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่การดูถูกตัวเอง แต่เป็นการคิดถึงตัวเองให้น้อยลง
- เคน บลองชาร์ด


ไปหาคนที่กลัวว่าตัวเองจะดูแย่มาให้ผมดูก่อน
แล้วผมจะหาคนที่คุณเอาชนะได้ทุกครั้งมาให้คุณดู
- ลู บร็อก


ความสำเร็จ ไม่ได้อยู่ที่การขจัดปัญหากับความผิดพลาด
แต่อยู่ที่การพัฒนาโดยเรียนรู้จากปัญหาและความผิดพลาดเหล่านั้น


คนฉลาดที่อ่อนน้อนถ่อมตัว ไม่เคยกลัวที่จะยอมรับว่าตัวเองผิด
เพราะความกล้ายอมรับว่าตัวเองผิด จะทำให้เขาฉลาดขึ้น



ความผิดพลาดเป็นครูที่ดีที่สุด ถ้าเต็มใจและยอมรับ พร้อมเรียนรู้จากมันได้ ท่านจะเป็นคนที่เก่งขึ้น
แนวทางเรียนรู้จากความผิดพลาด ทำได้ด้วยการตั้งคำถาม
- อะไรที่ผิดพลาด
- ผิดพลาดเมื่อไหร่
- ผิดพลาดตรงไหน
- ทำไมจึงผิดพลาด
- ฉันมีส่วนอะไรบ้างกับความผิดพลาดนั้น
- ฉันจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประสบการณ์เหล่านี้
- ฉันจะนำบทเรียนไปประยุกต์ใช้ ในอนาคตได้อย่างไร


ครั้งหนึ่ง เคยมีคนขอให้ มาร์ก ทเวน นักเขียนนิยาย
บอกชื่อนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด เขาตอบว่า "อุบัติเหตุ"


ความฉลาด ไม่ใช่การทำถูกทุกเรื่อง
แต่เป็นการมองเห็นอย่างรวดเร็วว่าจะทำให้ความผิดพลาดกลายเป็นเรื่องดีได้อย่างไรต่างหาก
- แบร์ทอลต์ เบรชต์

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ