การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

5 วิชาที่เทรดเดอร์ใหม่ควรเรียนรู้


"ผมไม่เคยคิดว่าตัวเองเป็นกูรูผู้เชี่ยวชาญในทางการเทรดเลย,
ผมระลึกเสมอว่าตัวเองเป็นนักเรียนที่ต่ำต้อยในตลาด"
- เจสซี ลิเวอร์มอร์

เพิ่งได้อ่านผ่านๆบทความของเว็บ technitrader.com
ชอบตอนที่เขาบอกว่ามี ๕ สิ่งที่นักเล่นหุ้นมือใหม่ต้องเรียนรู้ให้ได้
ซึ่งจะว่าไปแล้วนะ เรื่องนี้มันต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิตการเทรดเลยล่ะครับ
ไม่จำเป็นต้องเฉพาะมือใหม่เท่านั้น

คิดว่าน่าสนใจ เอามาขยายความให้อ่านเพลินๆ เพราะเขาเองก็ไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรเลย


๑) เรียนรู้วิธีหาหุ้นด้วยตัวเอง
ข้อแรกก็เป็นด่านหินสำหรับนักเล่นหุ้นมือใหม่เลยครับ
ส่วนใหญ่หาหุ้นเองไม่เป็น เนื่องจาก
- ไม่รู้ว่าจะหายังไง
- ไม่มั่นใจในตัวเองว่าจะทำถูกหรือไม่
- กลัวทำผิด
ฯลฯ

โดย ที่ไม่หาเองก็เนื่องจาก
๑) ต้องการเทรดแบบงานอดิเรก ไม่จริงจัง
๒) ต้องการรวยจากการเล่นหุ้น แต่ยังรู้ไม่มาก

ประเภทแรกนั้น ก็ต้องปล่อยเขาไปครับ เพราะไม่ได้คิดจะเอาดีทางนี้อยู่แล้ว
ส่วนประเภทที่สองนั้น ผมว่าถ้าคุณเอาจริงกับมันนะ คุณต้องกล้าลงมือทำเอง

ซึ่งผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเลย แค่ลงมือทำ และอย่ากลัวผิด
ยิ่งได้ลองทำเอง ได้ลองผิดลองถูก ไม่นานก็จะได้สูตรสำเร็จเอง

ยกตัวอย่างผมเองนะ
ตอนแรกๆ เข้ามาเล่นหุ้น ก็อ่านหนังสือ "ตีแตก" ของ ดร.นิเวศน์ฯ
ก็จำแค่สูตรมาแบบงูๆปลาๆ ได้แค่ PE น้อยกว่า 10
ผมก็เข้าเว็บ siamchart.com ได้ค่ามา ก็เข้าซื้อ
พอซื้อไปแล้ว ราคาไม่ยอมวิ่งทำกำไรให้ ก็เปลี่ยนแนวทางใหม่
ค้น google หาความรู้จาก blog ว่ามีแนวทางไหนที่เราจะได้กำไรไวๆ
ก็ไปเจอของพี่ปุย waveraider, wizard kids ได้สูตร MACD, price pattern มา
เอาอินดิเคเตอร์ไปลองใช้ดู ส่วนใหญ่มักจะพลาด เพราะจังหวะไม่แม่น
ก็ไปค้นต่อว่าทำยังไงถึงจะแม่นมากขึ้น
ฯลฯ

คือยิ่งค้น ยิ่งลอง เราจะยิ่งสนุกครับ
เหมือนเป็นการผจญภัยในโลกใหม่ เจอสิ่งใหม่ๆ ของเล่นใหม่ให้ทดสอบเรื่อยๆ
กลายเป็นเหมือนการเล่นเกมส์ไปในที่สุดครับ


๒) เรียนรู้การเลือกหุ้นที่จะทำกำไรให้มากที่สุด
ต่อเนื่องจากข้อแรกเลย เพราะเมื่อเราเล่นหุ้นมาพักใหญ่แล้ว
ก็มักจะได้เจอหุ้นทุกประเภทแล้วล่ะ หุ้นปั่นก็โดนทุบมาแล้ว,
หุ้นขาลงก็เสียหายมาอย่างหนัก, follow buy ที่ปลายดอยก็โดนบ่อย,
ขายหุ้นดีที่ต้นเทรนด์ก็ยังทำได้ ฯลฯ

คุณจะเริ่มมีการตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองครับ
หุ้นแบบไหนที่มันเหมาะกับเรา?
หุ้นประเภทไหนที่เข้าแล้วมักจะได้กำไร?
หุ้นประเภทไหนเทรดทีไรขาดทุนทุกที?

ผมชอบหลักการของพี่โจ ลูกอีสานที่แกบอกว่า
"ต้องทำทะเลให้แคบก่อน ทำเป็นบึง เป็นสระ คัดตัวที่ไม่เข้าใจออก"
จากนั้นก็ "ติดตามตัวที่สนใจพิเศษเท่านั้น ตามข่าวตลาดหลักทรัพย์
ดูว่ามีนัยยะกับกาไรบริษัทหรือเปล่า?"
เห็นชัดเลยว่า พี่โจ ก็มีการโฟกัสเช่นกัน

การที่คุณจะรู้ในข้อนี้ได้
คุณต้องมีการบันทึกผลงานการเทรดของตัวเองครับ
ท่านต้องคอยตามเก็บสถิติการเทรดของตัวเอง
ว่าตั้งแต่เทรดมา ชนะกับแพ้ อย่างไหนมากกว่ากัน
ชนะตัวไหน แพ้ตัวไหน
อยู่อุตสาหกรรมไหนบ้าง ทำไม?
ถ้าคุณมีบันทึกไว้ และทำอย่างสม่ำเสมอ
คุณจะรู้จักตัวเองไวกว่าคนอื่น

มันทำให้ผมนึกถึง สิ่งที่ทวดลิเวอร์มอร์ได้พูดไว้ในตอนหนึ่งของหนังสือ JESSE LIVERMORE: WORLD’S GREATEST STOCK TRADER ว่า...

เย็นวันหนึ่งที่ Bradley's beach club ลิเวอร์มอร์นั่งดินเนอร์กับ เอ็ด แบรดลีย์ แค่สองคน มีอยู่ช่วงหนึ่ง แบรดลีย์ถามลิเวอร์มอร์ว่า 
"J.L. นักเก็งกำไรหุ้นที่ดีถูกสร้างจากอะไรบ้าง? (What makes a good stock speculator?)"
"มันเป็นคำถามที่ตลกมากเลยเอ็ด ไม่ต่างจากคำถามที่ว่า อะไรสร้างนักพนันที่ดี?"
"ผมคิดว่าต่างกันนะ" แบรดแย้ง 
"อืม..สำหรับนักเก็งกำไรหุ้นแล้ว-ความเข้าใจ(aptitude)ในเกม น้ำอดน้ำทน?(stomach for the ride) และความสามารถที่จะมองเหตูการณ์ต่างโดยปราศจากอารมณ์ร่วม ความสามารถในการสร้างข้อมูล(observation)ในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ และความทรงจำที่ดีที่จะจำความจริงได้ถูกต้อง โดยเฉพาะความจริงทางด้านตัวเลข 
"เอ็ด, เหนืออื่นใดแล้ว ประสบการณ์คือสิ่งที่สำคัญที่สุด การเรียนรู้จากประสบการณ์ของเราเองคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และคุณต้องการมันทั้งหมด 
นักเก็งกำไรบางคนมีพลังที่ดีในการสังเกตุ(observation)และการจดจำแต่ไม่มีประสบการณ์
หรือบางคนมีประสบการณ์มากแต่ไม่เก่งเรื่องการสังเกตุและการจดจำ
หรือขาดทักษะในการสังเกตุหรือไม่มีความเข้าใจในทางด้านตัวเลข
เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จต้องการความสามารถทั้งหมดนี้แหละ แต่กุญแจที่จะค้ำจุนความสำเร็จ ผมเชื่อว่ามันคือประสบการณ์" ลิเวอร์มอร์อธิบาย

เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น
คุณจะมีกลไกการคัดเลือกหุ้นที่น่าเล่น และได้กำไรดีที่สุดมาเองครับ


๓) เรียนรู้ความเสี่ยง และวิธีลดความเสี่ยง
ความเสี่ยงมันเข้ามาให้เรารู้จักตั้งแต่เริ่มต้นเทรดแล้วครับ
แต่แรกๆเรามักจะมองไม่เห็น
เพราะมัวแต่มองไปที่กำไร อยากได้เงิน อยากรวยเร็วๆ

ผมเองน่ะ ขาดทุนครั้งแรก ก็ยังไม่รู้หรอกว่ามันคือความเสี่ยง
จนขาดทุนหนักไป "สามครั้งติด" นั่นแหละ
ยิ่งพอได้อ่านหนังสือของนักเทรดที่ประสบความสำเร็จมากเข้า
จึงได้เห็นตัวตนจริงๆของความเสี่ยง

ความเสี่ยงคืออะไร?
คือ "โอกาสที่เราจะขาดทุน" นั่นแหละครับ

แรกๆที่เรามองไม่เห็นก็เพราะเราคิดว่า ต้องกำไรเท่านั้น
เพราะอ่านมา เรียนมา มีตัวอย่างที่เทรดชนะ มันต้องเป็นแบบนั้นสิ
ไม่มีทางขาดทุน เพราะเรียนมา
ครั้นพอขาดทัน ก็ไม่ใส่ใจ โทษโน่นโทษนี่
ทำให้เรามองไม่เห็นความเสี่ยง

จนกระทั่ง เริ่มเข้าใจว่า "ตลาดมันไม่แน่นอน"
สิ่งที่เราคาด อาจจะไม่เป็นดังใจหวัง ก็ได้

สมมุติผมซื้อหุ้นที่ breakout ทะลุแนวต้านขึ้นไปได้
มันก็ไม่เสมอไปที่ราคาหุ้นจะวิ่งขึ้นไปต่อ
บางตัว วันต่อมามันวิ่งสวนทางลงมาให้ขาดทุนดื้อ ก็มีบ่อย

หรือวันก่อนวิ่งขึ้นดี มาวันนี้ SET แดงหนัก ราคาหุ้นก็กลับตัวแรงให้ขาดทุน
ซึ่งนี่แหละครับ คือความเสี่ยง

ความไม่แน่นอน คือความเสี่ยง
ดังนั้น หากเราอยากลดความเสี่ยง ก็ต้องมีอย่างเดียว
คือวางแผนไว้ก่อน

โดยคิดว่า ถ้าต้องขาดทุนหุ้นตัวนี้ ฉันจะยอมได้กี่เปอร์เซ็นต์
ถ้าขาดทุนเกินระดับนี้ ฉันต้องขายออกไปก่อน
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
การขายแบบนี้แหละที่เขาเรียกว่า Stop loss
คือขั้นตอนการลดความเสี่ยง

หากเราคิดได้แบบนี้ รู้จักวางแผน ความเสี่ยงก็จะลดลงไปมหาศาลเลย

อ่านบทความเพิ่มเติม
การเคารพความเสี่ยงแบบพี่มาร์ค


๔) เรียนรู้จุดซื้อที่ได้เปรียบ
จุดซื้อที่ได้เปรียบ ก็ต่อเนื่องจากความเสี่ยงนั่นเลยครับ
เพราะตั้งแต่คุณซื้อหุ้น คุณต้องรู้ว่าต้องหนีตรงไหน
ซื้อตรงไหนที่หากเกิดความผิดพลาดแล้ว เราเจ็บตัวน้อยที่สุด?
ซื้อตรงไหนที่มีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด?
พูดง่ายๆคือ มีโอกาสได้มากกว่าเสีย

พูดเหมือนง่ายนะครับ
แต่ทำโคตรยาก
เพราะ มันเป็นเหมือนศิลปะ และการปล่อยวาง เพราะ
- หุ้นแต่ละตัว ไม่เหมือนกัน แม้ทรงจะคล้าย แต่การวิ่งอาจไปคนละทาง
- จังหวะซื้อที่ "ได้เปรียบจริงๆ" นั้น ไม่ได้มาบ่อย การรอคอยจึงจำเป็นมาก
จึงกลายเป็นว่า เราต้องจัดการกับ "ภายนอก" ไม่พอ "ภายใน" ก็ต้องดูด้วย
ต้องมีการปรับแต่งให้เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ไม่มีอะไรตายตัว นี่แหละครับคือศิลปะ

ยกตัวอย่างผมเอง
ผมคิดว่าจุดซื้อที่ได้เปรียบก็คือ "ซื้อแล้วราคาวิ่งไปเลย"
วิ่งแรงแบบรถหลุดสัญญาณไฟเขียวนั่นเลย
เหยียบมิดคันเร่งไปเลย

แต่ปัญหาคือ หุ้นบางตัวมันก็ "กวนตีน"
เราเห็น breakout ก็เข้าซื้อตามหลักการ
แต่มันดันไม่ยอมไปต่อ กลับเจอขายให้วิ่งลง ทิ้งไส้ยาว
นี่แหละครับคือความเสี่ยงอีกประเภท

ต่อมาผมก็ได้ปรับสูตรเพิ่มอีก
ด้วยการดู "การบีบตัวสร้างฐานราคาแคบๆ"
แล้วซื้อตอนที่มันทะลุกรอบฐานราคานั้นขึ้นไป
เพราะเชื่อว่า ถ้ามันวิ่งขึ้นทะลุไปได้ ก็มีโอกาสไปต่อสูง

แต่ถ้าหากมันทิ้งไส้ กลับตัว สวนทาง ระดับ stop loss ก็แคบ
ที่ว่าแคบก็เพราะเราจะใช้กรอบการแกว่งของฐานราคาเป็นระดับขายหุ้นออก
ถ้ามันแกว่งแคบ จุดตัดขาดทุนก็มักจะไม่ถึง 10% อยู่แล้ว
ถ้าลงหนัก ไปทำจุดต่ำสุดใหม่ก็ขายออก จบ

พูดง่ายๆ คือ ถ้าวิ่งขึ้นทำกำไรก็ดีใจ
แต่ถ้าทำแบบหลอกๆ ผมก็มีทางหนี ที่เจ็บน้อยที่สุด


๕) เรียนรู้จุดขายหุ้นที่เหมาะสม
จุดขายหุ้น มีอยู่สองแบบ คือ
- ขายหุ้นเมื่อขาดทุนจนเกิน stop loss
- ขายหุ้นเพื่อทำกำไร

แบบแรกนั้นได้เอ่ยถึงในข้อที่แล้ว
ส่วนแบบหลังนั้น บอกเลยว่าเป็นศิลปะอย่างยิ่ง
เคยได้คุยกับบางคน เล่นหุ้นมานานแล้ว ซื้อหุ้นเป็น แต่ขายไม่เป็น
คือเขาไม่กล้าขาย เพราะ
- กลัวโดนหลอกบ้าง
- อยากได้กำไรมากกว่านี้บ้าง
ไปๆมาๆ ราคาก็หักหัวลง กลับมาถึงทุน หรือบางทีขาดทุนก็มีถมเถ

นี่แหละครับมันเป็นศิลปะจริงๆ

ผมเองนั้นก็เจอปัญหาแบบเขาเหมือนกัน
หุ้นบางตัวบวกทำกำไรให้ 10% ก็รู้สึกว่าน้อยไป อยากได้อีก
สักพักเดียวเอง มันย่อ ซึมลงมาหาทุน จนเสมอ หรือขาดทุนก็มีบ่อย

หรือบางตัว เห็นวิ่งจนได้กำไรเป็นเด้งไปแล้ว ก็คิดว่าน่าพอใจ ขายออก
มันกลับวิ่งขึ้นไปต่อก็มีหลายตัว

ดังนั้น เรื่องนี้ ยังต้องมีการปรับจูนอีกเยอะ
แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าผมได้กำไร เกิน 30% ไปแล้ว มักจะไม่ยอมขาดทุนเด็ดขาด
ก็ใช้หลักการนี้แหละครับ กระบวนท่าขายสลายอีโก้

แต่ก็บอกกันตรงๆว่า "มันก็ยังไม่สมบูรณ์แบบ" เพราะ
- หุ้นบางตัวก็เขย่าแรงเกินจนหลุด แต่ก็ไม่จบรอบง่ายๆ
- บางตัวก็เหมือนเป๊ะเลย แต่ "ใจเรา" กลับไม่ยอมรับ
มันเลยต้องกลายเป็นศิลปะอีกจนได้

ซึ่งต้องมีการเรียนรู้เพิ่ และปรับแก้อีกต่อไปไม่จบไม่สิ้น

เมื่ออ่านถึงตอนนี้แล้ว มือใหม่บางท่านอาจรู้สึกท้อ
เพราะที่เล่ามานั้นมันดู้หมือนหนังชีวิตเลย
ดูน่าเบื่อจริงๆ
อยากเทรดแล้วรวยเลย จะไปทำอย่างอื่นต่อ

ซึ่งผมบอกเลยว่า ท่านน่าจะไปผิดทางแล้วล่ะ

ใช่ครับผมก็คิดว่ามันเป็นเกมส์ยาว
ดังนั้น คนที่ประสบความสำเร็จจากการเทรดส่วนใหญ่จะต้อมี
"ความหลงไหล" ในเกมส์การเทรดไงครับ
เมื่อมีความชอบ ความท้าทายในการเอาชนะเกมส์
พร้อมกันนั้นก็พัฒนาตัวเองให้เป็นเทรดเดอร์ที่เก่งขึ้น
ดีใจที่เห็นตัวเองเก่ง

ถ้าเป็นแบบนี้ คุณจะสนุกกับการเรียนรู้ครับ
เมื่คุณสนุก คุณจะเรียนรู้ได้ดีกว่า เห็นอะไรได้ลึกกว่า
คุณจะไปได้ไกลกว่า
แม้จะยังไม่รวยในช่วงแรก แต่คุณจะเป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" กว่าคนทั่วไป
ท่านสามารถเอามันไปทำมาหากินได้
ไม่ว่าจะเปิดคอร์ส เขียนหนังสือ ฯลฯ

และจากนั้นถ้าท่านเดินต่อ ทำต่อ เพื่อจะเป็นคนรวย
ท่านก็จะรวยดั่งใจปรารถนาในที่สุด

ผมหวังว่าตัวเองจะไปถึงจุดนั้น....


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่