การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

กว่าจะเป็น Mark Minervini (ภาคเทพ)



จากตอนที่แล้ว ผมได้หยุดที่จุดเปลี่ยนของพี่มาร์ค ว่า
๑) ตัดขาดทุนไว
๒) พึ่งพาความสามารถของตัวเอง
๓) มุ่งมั่นที่จะเป็นคนรวย ไม่ใช่คนที่ถูกต้องตลอดเวลา
๔) ตรวจสอบความผิดพลาดของตัวเอง



และก็ขอเพิ่มอีกข้อ ที่สำคัญมากๆคือ
๕) เทรดแบบทำธุรกิจ คือเอาจริง ไม่เทรดแบบงานอดิเรก

ตรงนี้แหละครับที่ผมมองว่ามันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ
คือเอาจริง จะเอาดีในทางนี้ให้ได้
การเอาจริง มันจะเป็นอิทธิพลกำกับตัวคุณให้ยอมสละทุกอย่างเพื่อเป้าหมายได้
"No secrifice. No victory." แซม วิทวิคกี้ ได้ว่าไว้
เทรดเดอร์ที่พ่ายแพ้ คือคนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้เป็นผู้ชนะ
มีแต่เทรดเดอร์ผู้ชนะเท่านั้น ที่กล้าเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

เมื่อพี่มาร์ครู้ตัวว่า เป้าหมายของการเทรดคือ "การทำเงิน" ไม่ใช่การเป็นคนถูกต้อง
เขาจึงกลับมาวิเคราะห์ความผิดพลาดของตัวเอง เริ่มด้วยการฝึกฝนที่ถูกต้อง คือการมุ่งมั่นวิเคราะห์ผลงานของตนเองอย่างจริงจัง เพื่อค้นหาว่าวิธีการของคุณผิดตรงไหน
แกบอกว่า อย่าลืมหุ้นที่คุณขาดทุน นั่นเป็นวิถีของเทรดเดอร์ขี้แพ้ 90% จงกลับไปวิเคราะห์ความผิดพลาดและเรียนรู้จากมัน เพราะนั่นเป็นวิถีของมืออาชีพ
จึงทุ่มเวลา 70-80 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ อยู่กับการศึกษากราฟหุ้นและงบการเงิน
อะไรทำให้พี่เค้ามุมานะถึงขนาดนั้น บางคนอาจจะมองว่าแกบ้าไปหรือเปล่า ทำไมต้องจริงจังขนาดนั้น



แกไม่ได้บ้าหรอก นั่นเป็นความหลงไหล
เป็นอารมณ์เดียวกับ เดวิด แบ็คแฮม ที่เป็นนักยิงลูกฟรีคิกระดับโลก

พี่เบ็คส์เล่าในหนังสือชีวประวัติว่า ทุกๆวันเขาจะซ้อมยิงฟรีคิกและฝึกวางบอลยาวเพิ่มเติมหลังการซ้อมเสมอๆ ซึ่งการที่เขายิงลูกไกลขนาดนั้นได้มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลย แต่มันเกิดจากการฝึกฝนที่เขาเพียรพยายามแอบซ้อมอยู่คนเดียว
เขากับต้องจ้างคนเอาบอลมาตั้งให้เขา เพื่อที่ว่าเขาจะได้ซ้อมเตะเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่ต้องไปเก็บบอลที่ถูกเตะออกไป ซึ่งในวันๆหนึ่ง เขาจะซ้อมเตะรวมกันแล้วให้ได้ถึง 2,000 ลูก
เมื่อคุณเสียสละ ชัยชนะก็จะเป็นของคุณ

- ความหลงไหล คืออีกหนึ่งคุณสมบัติของคนที่จะประสบความสำเร็จ มันเรียนรู้กันไม่ได้ มันออกมาจากตัวคุณ มันเป็นสิ่งที่คุณสนุกกับมันจริงๆ และทำได้ดีเยี่ยม

หลงไหลอย่างเดียวไม่พอ ต้องลงมือทำ
ถ้าเบ็คแฮม อยากเป็นเทพฟรีคิก แต่ไม่ยอมฝึกยิง เขาก็เป็นได้แค่นักฝัน ซึ่งใครก็เป็นได้
สิ่งที่ทำให้เขามีชื่อเสียงในวันนี้ เป็นที่จดจำและเป็นไอดอลของเด็กสมัยนั้น เกิดจากการลงมือทำ
ซ้อม ซ้อม ซ้อม ยิง ยิง ยิง และยิง

ที่สำคัญกว่านั้นคือ ทำโอที ให้ตัวเอง แม้นักเตะคนอื่นกลับบ้านไปหมด เขาก็ยังก้มหน้าก้มตาซ้อม
ซึ่งมันก็เป็นลักษณะเดียวกันที่พี่มาร์คทุ่มเวลา 70-80 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ เพื่อให้เวลาศึกษาเรื่องหุ้น

ดังนั้นหากคุณอยากจะเก่งหุ้น ต้องลงมือทำอย่างเดียว ลงมือทำ=เกิดประสบการณ์ มีทักษะ ที่จะติดตัวคุณไปตลอดชีวิต ไม่มีใครเอาไปจากตัวคุณได้
ซึ่งประสบการณ์ที่สั่งสม คือเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับความสำเร็จในชีวิตและการเทรดหุ้น

ถ้าคุณมีความหลงไหล + ความเป็นนักลงมือทำ จะทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ
เพราะการลงมือทำแม้นิดเดียวก็ยังมีค่ากว่าทฤษฎีมากนัก เมื่อคิดได้ก็ทำซะตั้งแต่ตอนนั้น และอย่าเพิ่งไปคิดไกลเกินกว่าการลงมือทำ ที่คนส่วนใหญ่ทำอะไรไม่สุดก็เพราะ คิดเยอะเกินไป เช่น
- ถ้าฉันเอาจริงมากไป ใครจะหัวเราะฉันหรือเปล่าว่าบ้า?
- ถ้าทำไม่สำเร็จล่ะ อายเค้าตายเลย
- ทำไปไม่ได้เงิน เสียเวลาเปล่า
ฯลฯ เหล่านี้คือความกังขาของคนแพ้

พี่มาร์คบอกว่า "ความสำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อผมตัดสินใจลืมเรื่องเงิน และมุ่งมั่นที่จะเป็นเทรดเดอร์ที่เก่งที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ แล้วเงินทองก็จะตามมาเอง"
ทำไปเถอะ ทำไป ทำในสิ่งที่ถ้าคุณทำสำเร็จแล้วมันจะผลิตเงินให้คุณในอนาคตอย่างมหาศาล

พี่เบ็คส์รู้อยู่แล้วว่า ถ้าตัวเองเก่งเรื่องฟรีคิกแล้ว เขาจะเป็นตัวจริง อยู่ในทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ได้ค่าเหนื่อยเพิ่มขึ้น ได้ค่าสปอนเซอร์ ฯลฯ ซึ่งที่สุดแล้ว จะทำให้เขาร่ำรวย
คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ก็รู้ว่า ถ้าตัวเองซ้อมหนัก พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น เขาจะได้ค่าเหนื่อยที่แพงขึ้น ในที่สุดถ้าเขาเล่นได้โดดเด่นที่สุดในพรีเมียร์ลีก - รีล มาดริด ทีมในฝัน ก็จะต้องมาซื้อตัวเขา และก็จะให้ค่าเหนื่อยมหาศาล ยิ่งเขาเก่งมากขึ้น ใครๆก็อยากให้เขาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เขาจะเป็นคนรวย รวย และรวย

แต่ตอนนี้เขาเป็นเพียงแค่นักฝันเท่านั้น ถ้าหากต้องการจะไปถึงเป้าหมายนั้น ทำฝันให้เป็นจริง เขาต้องลงมือทำ ทำ ทำ ทำไปก่อน วางเป้าหมายนั้นลงชั่วคราว คิดแค่เพียงว่า การเหนื่อยฟรีในวันนี้ มันจะสร้างประสบการณ์ เสริมความแหลมคม อันจะเป็นวัตถุดิบ สารตั้งต้นในการผลิตเงินในอนาคต
ลืมเรื่องเงินไปก่อน ทำให้สนุก ถ้าเราเก่งขึ้น เดี๋ยวเงินก็จะวิ่งตามเราเอง

คนที่สนุกกับการลงทุนและศิลปะการเก็งกำไร สามารถจะเรียนรู้เทคนิคและวินัยที่จำเป็นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในตลาดหุ้นได้ ขอให้มุ่งความสนใจไปที่การเป็นเทรดเดอร์ที่เก่งสุด แล้วเงินก็จะตามมาเอง



ฉันก็มีความหลงไหลและก็ลงมือทำเหมือนพี่มาร์คเลย แต่ทำไมยังไม่ประสบความสำเร็จ?
พี่มาร์คบอกว่า "การจะทำกำไรจากตลาดหุ้นได้นั้น คุณต้องตัดสินใจให้ถูก 3 ข้อ นั่นคือ
"ซื้ออะไร ซื้อเมื่อไหร่ ขายเมื่อไหร่" ซึ่งคุณต้องสามารถตัดสินใจได้เอง

ซื้ออะไร ซื้ออะไร ซื้อเมื่อไหร่ ขายเมื่อไหร่
ช่วงแรกๆ พี่มาร์ค พยายามซื้อหุ้นที่จุดต่ำสุด แต่พบว่าไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้น เทรดไม่เคยชนะ
มีช่วงหนึ่งที่แกเห็นว่ามีหุ้นหลายๆตัวที่ทำ 52 week high แล้วยังซิ่งแรง ทำนิวไฮได้เรื่อยๆ
จึงเกิดความสงสัยว่า
๑) อะไรที่เป็นนตัวแยกแยะ หุ้นวิ่งขึ้นแรง กับหุ้นดิ่งเหว
๒) วิธีการหาหุ้นดาวรุ่ง ที่มีโอกาสวิ่งชนะตลาด
จึงพยายามค้นคว้าหาข้อมูล รายงาน บทความ หนังสือ ที่เขียนถึงเรื่องนี้
- หนังสือของริชาร์ด เลิฟ ชื่อ Superperformance stocks
- บทความวิเคราะห์เจาะลึกหุ้นนำตลาด (The anatomy of stocks)
- The relative strength concept of common stock price forcasting
- Stock market blueprint
- แนวคิดของ ริชาร์ด ดอนเชียน เกี่ยวกับ trend follower
- งานของ วิลเลียม แอล จิลเลอร์
และหนังสือ How to trade in stocks ของ เจสซี ลิเวอร์มอร์
พี่เค้าอ่านงานพวกนี้ จนได้ข้อมูลสรุปเป็นแนวทางของตัวเองที่เรียกว่า SEPA(Specific entry point analysis) แปลเป็นไทยตามประสาเม่าอย่างผมว่า จุดเข้าเทรดที่คัดมาดีแล้ว (ในหนังสือแปลว่า จุดเข้าจำเพาะ)

DIKW model
ถึงตรงนี้ สิ่งที่พี่มาร์คทำ คำว่า DIKW model ผุดขึ้นมาเลยครับ จำกันได้มั้ย?

D = data
I = information
K = knowledge
W = wisdom
สิ่งที่พี่มาร์คได้ทำไป มันเข้าสูตร DIKW เป๊ะเลย
แกเป็นคนรวบรวม data ที่เป็นงานเขียนทั้งหลาย เอามาปะต่อร้อยเรียงกัน กลายเป็น knowledge แล้วจากนั้นก็เอามาปรับใช้ให้ตอบโจทย์และเหมาะกับตัวเอง ซึ่งมันก็คือ wisdom ที่แกเท่านั้นจะเข้าใจและเอาไปใช้ได้ดีที่สุด และแน่นอน เมื่อแกเอาสิ่งเหล่านั้นมาเขียนเป็นหนังสือ มันก็จะเป็นได้แค่ data ของคนอ่านเท่านั้นเอง



SEPA
ซึ่งรากฐานสำคัญของ SEPA มี ๕ อย่าง ดังนี้
๑) แนวโน้ม คือ ต้องเป็นขาขึ้น
๒) ปัจจัยพื้นฐาน กำไรกำลังจะโตแบบก้าวกระโดด
๓) ตัวกระตุ้น สิ่งที่จะทำให้ตลาดตื่นเต้น จนอยากได้หุ้นตัวนั้นมากๆ
๔) จุดเข้าซื้อ ทำยังไงให้ซื้อแล้ว ราคาวิ่งแรง ได้กำไรทันที
๕) จุดขายออก ทั้ง stop loss และ take profit
ซึ่งระบบ SEPA นี่แหละที่ตอบคำถามให้แกได้หมดว่า "ซื้ออะไร ซื้อเมื่อไหร่ ขายเมื่อไหร่"

ซึ่งผมจะไม่ขอเจาะรายละเอียดของ SEPA นะครับ เพราะสรุปไม่ลง และอยากให้ท่านลองกลับไปอ่านดูอีกครั้ง


เล่นหุ้นขาขึ้นเท่านั้น
ทำไมต้องเล่นหุ้นขาขึ้น?
พี่มาร์คให้เหตุผลว่า "ถ้านายอยากได้กำไรที่โดดเด่น ต้องทำให้เงินทบต้นไวสุด นายต้องเน้นหุ้นที่ซื้อดีดขึ้นทำกำไรให้ทันที"

ทรงแบบไหนที่ซื้อแล้วดีดแรงทำกำไรให้ทันที?
คำตอบคือ เน้นเฉพาะหุ้นที่อยู่ในขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2 คืออะไรครับ?
มันก็คือ เวฟ 3 ตามหลักของชาวอีเลียต, มันก็คือหุ้นขาขึ้น นั่นเอง

ลักษณะของขาขึ้น
๑) ราคาวิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 150 วัน ซึ่งมันวิ่งเหนือเส้น 200 วัน
๒) เส้นค่าเฉลี่ยทั้งสอง ยกเฉียงขึ้น
๓) ราคายกไฮยกโลว์ เป็นขั้นบันได
๔) ตอนที่ราคาวิ่งขึ้น และทำจุดสูงสุดใหม่ วอลุ่มจะสูงกว่า ตอนที่ราคาย่อ


รู้จักแนวโน้มขาขึ้นแล้ว ซื้อตอนไหนดีที่สุด?
ก็ซื้อตอนที่ราคาฟื้นตัวจากการพักฐานชั่วคราว หรือพักเหนื่อยในแนวโน้มขาขึ้น สิ
การพักฐานที่ว่านั้น ก็คือรูปแบบ VCP ที่แกบรรญัติขึ้นมาเอง หรือ cup with handle, double bottom, high tigh flag หรือรูปแบบ continuation pattern ต่างๆนั่นเองครับ

ฟื้นตัว? แบบไหนที่เรียกว่าฟื้นตัวตามสูตร?
แบบ pivot point ครับ
pivot point คือลักษณะของแท่งเขียวยาวที่พาให้ราคา breakout ข้ามกรอบการพักฐานขึ้นไปได้ พร้อมกับวอลุ่มที่สูงมากกว่าช่วงที่ราคาพักตัว


ยอมรับการตัดสินของตลาด
ไม่มีอะไรที่เป็นสูตรสำเร็จครับ ทุกรูปแบบราคา ไม่ว่าจะเป็น VCP หรือ cup with handle หรือการ breakout แบบเบสิค มันมีทั้งไปจริงและหลอก

ดังนั้น หน้าที่คุณไม่ใช่การตั้งหน้าตั้งตาเถียงตลาด โทษรูปแบบราคา โทษการซื้อแบบ breakout
เพราะมันไม่ได้ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
โอเค..คุณอาจจะได้ระบายความอัดอั้นออกมาบ้าง แต่ยอมรับเถอะครับว่านั่นมันไร้ประโยชน์
ตลาดไม่เคยสนใจคุณหรอก คุณไม่มีตัวตนสำหรับตลาดอยู่แล้ว

พี่มาร์คบอกว่า สิ่งแรกที่เทรดเดอร์ประสบความสำเร็จต้องยอมรับ คือ ยอมรับการตัดสินของตลาด
คนที่ใหญ่สุดในโลกของการเทรด คือตลาด ตลาดไม่เคยผิด มีแต่เทรดเดอร์เท่านั้นที่เป็นคนพลาด

รู้ได้ไงว่าคุณพลาด?
ซื้อแล้วราคาวิ่งสวนทางคุณไง นั่นแหละ คุณพลาดแล้ว อย่างน้อยก็เรื่องจับจังหวะของคุณ
เมื่อรู้ว่าพลาด ก็ต้องรีบยอมรับผิด ให้รีบขายหุ้นออกตั้งแต่คุณยังขาดทุนไม่มาก

วินัยอันเคร่งครัดที่สุดสำหรับนักลงทุน ซึ่งพวกเขาต้องลงมือทำอย่างสม่ำเสมอคือ "การตัดขาดทุน" เพราะนั่นเป็นการยอมรับว่าตัวเองพลาด โอเค...ทุกคนไม่อยากยอมรับว่าตัวเองทำผิดหรอก แต่...คุณต้องกลับไปทบทวนเป้าหมายของคุณอีกทีซิ คุณต้องการอะไร?
ใช่ครับ คุณมุ่งมั่นที่จะเป็นคนรวย ไม่ใช่คนที่ถูกต้องตลอดเวลา
คุณต้องการเทรดแบบทำธุรกิจ คือเน้นสะสมกำไร ไม่ใช่สะสมยอดขาดทุน



เป็นเทพก็ยังขาดทุน
พี่มาร์คสารภาพว่า ตลอดช่วง 30 ปี ที่เทรดหุ้นมาเป็นหมื่นๆตัว แกเทรดชนะเพียง 50%
พูดง่ายๆคือ แกไม่ได้คิดถูกตลอดเวลาครับ ถูกครึ่งผิดครึ่ง ขนาดแกเป็นคนบัญญัติแนวทาง SEPA และ รูปแบบราคา VCP ให้ปรากฎแก่โลกแท้ๆ

ดังนั้นอย่าโลกสวยครับ คิดว่าเซียนหุ้นนั้นคิดถูกตลอดเวลา เข้าตัวไหนก็ต้องได้กำไร
ถ้าคุณยังมีความคิดแบบนี้อยู่ในหัว แสดงว่าคุณคือคน 90% ในตลาดอย่างไม่ต้องสงสัย

เอ๊ะ....ถ้าเทรดชนะแค่ 50% แล้วแกอยู่รอดได้ยังไง? คุณอาจเกิดปุจฉา
พี่มาร์คบอกว่า ให้ตั้งจุดตัดขาดทุน เป็นครึ่งหนึ่งของกำไรเฉลี่ย
สมมุติง่ายๆ คุณมีประวัติทำกำไรได้เฉลี่ย 10% จุดตัดขาดทุนของคุณต้องไม่เกิน 5% เพราะถ้าคุณซื้อหุ้นสองครั้ง ชนะหนึ่งแพ้หนึ่ง คุณก็ยังกำไร 5%
ดังนั้นกฎเหล็กของแกก็คือ "ให้ระดับความเสี่ยง(การขาดทุน)อยู่ต่ำกว่ากำไรถัวเฉลี่ยเสมอ"
นี่ก็รับใช้แนวคิด การเทรดแบบทำธุรกิจ คือสุดท้ายแล้ว โดยเฉลี่ยคุณต้องได้กำไรมากกว่าขาดทุน
มุ่งเป้าไปที่ผลกำไร และทำซ้ำขั้นตอนเดิม นี่คือหลักพื้นฐานของการทำธุรกิจ



รักษาเงินต้น
หากจะสร้างผลกำไรให้ได้อย่างสม่ำเสมอ คุณต้องปกป้องผลกำไรและเงินต้นไว้ให้ได้
๑) ตั้งจุดตัดขาดทุนให้เสียหายน้อย หากราคาวกกลับให้เสียหายแค่ 5% ก็ต้องรีบ stop loss ได้แล้ว ไม่ควรรอให้ถึง 10% หรอก มันลึกเกินไป
๒) เมื่อหุ้นวิ่งขึ้น ทำกำไรใหแล้ว อย่าได้รอขายขาดทุนเด็ดขาด อย่าปล่อยให้กำไรก้อนงามกลายเป็นขาดทุน อย่างน้อยก็ควรกันทุนไว้ก่อน
ถ้าคุณสามารถรักษาเงินต้นไว้ได้ เวลาเจ็บ ไม่ปล่อยให้เรื้อรัง รักษาตัวเองให้สดอยู่เสมอ เพื่อให้พร้อมทำเงินในจังหวะที่ตลาดมอบโอกาสให้
แน่นอน นี่ก็คือหนึ่งในพื้นฐานของการทำธุรกิจ คุณเคยเห็นพ่อค้าคนไหนยอมปล่อยกู้ให้คนอื่นจนหมดตัวมั้ย? ไม่มีหรอก พวกเขาต้องเซฟตัวเองให้อยู่รอดและได้เปรียบเสมอ เพราะว่าเขามองไปข้างหน้า ว่าต้องอยู่รอด เพื่อรอโอกาสสวยๆในวันข้างหน้า และจะทำให้เขามีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นได้อีกไงครับ


บริหารความเสี่ยง
ทุกๆการเทรดมันคือความเสี่ยง ถ้าผมเขียนแบบนี้คุณจะเชื่อมั้ย?
ความเสี่ยงคือความเป็นไปได้ของการขาดทุน หุ้นที่คุณถืออยู่ทุกตัว มีโอกาสร่วงให้คุณขาดทุนได้หมด
หากเป้าหมายของการเทรดของคุณคือทำธุรกิจ นั่นก็คือมีกำไรอยู่เสมอและเข้าเทรดเฉพาะช่วงที่มีโอกาสกำไรมากกว่าขาดทุน(ผลตอบแทนมากกว่าความเสี่ยง)
แต่เชื่อมั้ยว่า เทรดเดอร์ 90% ในตลาด ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ พวกเขาสนใจกำไรมากกว่าขาดทุน
ไม่ต้องใครอื่นหรอกครับ ผมเองนี่แหละ ตอนนี้ยังติดหุ้น IEC อยู่เลย ตอนซื้อจำได้ว่าคิดแต่จะกำไรอย่างเดียว ซื้อ 0.02 บาท ขอแค่ราคาขึ้นถึง 10 สตางค์ก็รวยเละแล้ว ครับ...คิดแต่ในทางรวย จนลืมนึกถึงความซวย เป็นไงล่ะวันนี้ ติด SP จะโดนให้ออกจากตลาดอยู่มะรอมมะร่อ
ดังนั้นนะครับ ถ้าอยากก้าวข้ามแนวต้านของเม่า 90% คุณต้องระลึกอยู่เสมอว่า หุ้นทุกตัวล้วนมีความเสี่ยง ให้ใช้ความเสี่ยงนำก่อนที่จะเข้าลงทุนเสมอ ถ้าเห็นว่าได้ไม่คุ้มเสีย ก็ไปเล่นตัวอื่นเถอะ



วิธีควบคุมความเสี่ยง
คุณไม่สามารถหนีความเสี่ยงได้หรอก ดังนั้นถ้าอยากอยู่รอดในตลาดก็ต้องมีวินัย บริหารและวางแผนการเทรดให้ดีและรัดกุม โดยสิ่งสำคัญกว่านั้นก็คือ ทำตามแผน ด้วย
วิธีการคุมความเสี่ยงคือ เขียนแผนออกมา ว่า..
- ซื้อเมื่อไหร่
- ขายเมื่อไหร่ ที่ราคาเท่าไหร่
หน้าที่เบื้องต้นของคุณไม่ใช่ทำกำไร แต่เป็นการ "ป้องกันตัวเอง"
ซึ่งแนวทางการป้องกันตัวเอง คือคุณต้องมีแผนรองรับไว้ก่อน โดยบอกตัวเองว่า ก่อนเปิดตลาดแต่ละวัน คุณต้องมีแผนการจัดการหุ้นแต่ละตัวว่าถ้าเกิดเหตุการณืไม่คาดฝันขึ้นมา คุณจะตอบสนองยังไง จำให้แผนนั้นให้ขึ้นใจ ถ้าจำไม่ได้ก็พิมพ์แปะหน้าจอไว้เลย โดยพี่มาร์คให้ไอเดีย ๔ ข้อดังนี้
๑) จุดขายตัดขาดทุน (stop loss)
๒) จุดเข้าซื้อใหม่
๓) ขายทำกำไร (take profit) ซึ่งมี ๒ แบบคือ selling into strength กับ selling weakness
๔) แผนสำรอง เช่นถ้าวันต่อมาราคาเปิด gap ลงอย่างรุนแรง คุณจะทำยังไง
คุณต้องบริหารพอร์ตให้ราวกับมีเรื่องเลวร้ายกำลังเกิดขึ้นทุกวัน ทั้งนี้ เพราะเป้าหมายของคุณคือต้องอยู่รอดในตลาดระยะยาวไง ดังนั้นคุณต้องมีแผนตั้งรับเอาไว้ตลอด ซึ่งแผนนั้น คุณไม่ต้องตอบคำถามได้หมด แต่มันต้องสนองต่อเป้าหมายหลักของแนวทางเทรดแบบทำธุรกิจของคุณก็คือ "ความเสี่ยงต้องมีน้อยกว่าผลตอบแทน"



ตรวจสอบตัวเอง
เมื่อการเทรดจบลง ต้องให้เวลาเขียนบันทึกการเทรด และตั้งคำถามทบทวนตนเอง ต่อไปนี้
- ฉันมั่นใจการลงทุนวันนี้ไหม?
- ทำไมถึงยังถือหุ้นตัวนี้อยู่?
- เหตุผลในการซื้อหุ้นตัวใหม่
- ทำไมต้องขายหุ้นตัวนั้นออก?
- ให้คะแนนผลการเทรดของวันนั้น
เป้าหมายของการบันทึกการเทรด ก็เพื่อสำรวจตัวเองว่ายังอยู่กับร่องกับรอย ทำตัวตามแผนของตนเองอยู่หรือไม่ เป้าหมายก็เพื่อหาจุดบกพร่องและปรับปรุงให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง ทำให้ตัวเองมีแผนที่พัฒนาและรัดกุมขึ้น คือพวกเขาต้องเก่งขึ้น เก่งได้อีก โดยการเริ่มที่ปกปิดจุดบกพร่องก่อนนี่เอง ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลให้พวกเขาสามารถสร้างกำไรได้อย่างสม่ำเสมอและอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง

สรุป 
ในภาคเทพ ผมได้เขียนถึงช่วงเปลี่ยนผ่าน วิธีการก้าวข้ามกรอบเม่า 90% ขึ้นไปเป็นเทรดเดอร์ที่มีผลงานขั้นเทพ ด้วยกระบวนการดังนี้
1) ตั้งใจจริงๆ จะเอาดีทางการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จให้ได้ ไม่เทรดแบบงานอดิเรก
2) เมื่อตั้งใจแล้วก็ลงมือทำ ทำ ให้มากกว่าคนอื่น ถ้าคุณใช้เวลาศึกษาอะไรสักอย่าง แล้วนำลงมือทำและไปใช้ได้จริง คุณจะได้รู้ถึงผลลัพธ์ที่แม้แต่นักคิดผู้มองโลกในแง่ดีและทะเยอทะยานที่สุดก็ยังตื่นเต้น
3) เทรดแบบทำธุรกิจ เน้นซื้อหุ้นที่มีความต้องการสูง และขายหุ้นเมื่อราคาขึ้น สไตล์ไหนก็ได้ แต่ผลสุดท้ายคือ คุณทำกำไรได้โดยเฉลี่ยแล้วมากกว่าขาดทุน มุ่งเป้าไปที่ผลกำไร และทำซ้ำขั้นตอนเดิม
นี่คือเป้าหมายพื้นฐานของการทำธุรกิจ
4) พัฒนาแนวทางและหาวิธีการ หรือสูตรสำเร็จที่คุณรู้ได้เฉพาะตัว อย่างพี่มาร์คคือ SEPA นั่นเอง ซึ่งมันเป็นวิทยาศาสตร์ ทำซ้ำได้ และอธิบายไม่ซับซ้อน สิ่งนี้ก็คือเครื่องจักรปั๊มเงินที่สร้างมาเพื่อคุณเองเท่านั้น เป็นเครื่องจักรที่ไม่มีวันหมดอายุ คุณสามารถอัพเกรดมันได้ตลอดเวลา และทำเงินให้คุณได้ตลอดชีวิตการเป็นเทรดเดอร์

นี่เป็นบทความที่ผมเอามาแค่ส่วนเล็กๆในหนังสือนะครับ ยังมีอีกมากมาย ท่านสามารถหาซื้อมาอ่านได้
หนังสือหน้าตาแบบนี้ ก็ลองเดินหาตามร้านหนังสือได้ครับ

บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พี่ Mark Minervini

(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่