ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

สับสนเรื่อง “จะขายทำกำไร(Take Profit)ตอนไหนดี” อยู่ไหม? อ่านบทความนี้

สับสนเรื่อง “จะขายทำกำไรตอนไหนดี” อยู่ไหม?

นี่คือ “ทักษะสำคัญ” ที่แยกระหว่างนักเทรดทั่วไป กับ “เซียนตลาดหุ้น” ที่ทำเงินล้าน สม่ำเสมอ

แปลจาก https://x.com/TraderLion_/status/1839397246124871908?t=uv2m7h-E0s9GHbtuFEoRrQ&s=19

เราขอถอดรหัสการขายตอนที่หุ้นแข็งแรง (Selling into Strength) ให้ง่ายขึ้นใน 3 ขั้นตอนใช้งานได้จริง

พร้อม กฎเสริมอีก 5+ ข้อ ที่คุณเอาไปใช้ได้เลยในวันพรุ่งนี้


สนับสนุนโดย
อีบุ๊ก เคล็ดลึก Let’s profit run: ทนรวยอย่างไร? ถือสั้น-ยาวแค่ไหน? ให้ได้กำไรคุ้มที่สุด
 https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM2NDk4MTt9


มาเริ่มกันเลย 

แนวคิดหลัก: “เซียนเทรด” ไม่ขายหมดทีเดียว แต่ “ขายเป็นส่วนๆ”


และนี่คือสิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้วันนี้:

1. ขายรอบแรกเมื่อได้กำไรระดับต้น (2-3R)

2. ขายรอบกลางเมื่อได้กำไรระดับกลาง (4-5R)

3. ขายรอบสุดท้ายเมื่อได้กำไรระดับสูง (6R+)

---

R คือ ขนาดความเสี่ยงที่คุณยอมเสียได้ต่อการเทรดแต่ละครั้ง
ตามหลักการแบบเบสิคคือ 1% ของเงินทั้งพอร์ต
ถ้าคุณมีเงินทุนทั้งพอร์ต 100,000 บาท : 1R = 1,000 บาท

---


1. ขายรอบแรก – Initial Profit Taking

ขายอย่างน้อย 1/3 ของพอร์ต เมื่อราคาวิ่งไปถึงจุดที่คุณวางแผนไว้ เช่น 2-3 เท่าของความเสี่ยง (2-3R)

ตัวอย่าง:

ถ้าคุณตั้ง Stop Loss ที่ 4% → ขาย 1/3 ทันทีที่กำไรถึง 8%-12%

อย่าลืมขยับ Stop Loss มาที่จุดคุ้มทุนด้วย




กฎเสริม:

กฎ “หลุด Low วันก่อน”

ถ้าหุ้นยังไม่หลุด Low ของวันก่อนหน้า อย่าพึ่งขาย

(เหมาะกับตลาดที่เทรนด์แรง อาจได้ขายที่ราคาแพงกว่า)


กฎ “บวกวันเดียว 8%”

ถ้าหุ้นบวกแรงวันเดียวเกิน 8% (หรือ 2 เท่าของความเสี่ยงเริ่มต้น)

แม้จะขาย 1/3 ไปแล้ว ก็อาจพิจารณาขายเพิ่มอีก 1/4 หรือ 1/3

ใช้โมเมนตัมขาขึ้นให้คุ้ม!




---


2. ขายรอบกลาง – Medium-Term Profit Taking

ถ้าตลาดยังดีอยู่ คุณต้อง “ใจเย็นรอ” ให้ได้กำไร 4-5R ก่อนขายรอบที่สอง



ตัวอย่าง:

ถ้าเสี่ยง 3-4% → ขายเมื่อได้กำไร 12%-20%

หุ้นช่วงนี้มักจะ…

กลับขึ้นไปทดสอบแนวต้านอีกครั้ง

ย่อลงมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ย 10EMA

หรือทดสอบ 20/21EMA แล้วดีดกลับ


เคล็ดลับ:

หากหุ้นลงไปสร้างฐานระยะสั้น (เช่นจุดต่ำของโครงสร้าง Wave 3) → ใช้จุดนั้นตั้ง Stop ใหม่ เพื่อไม่ให้คืนกำไรที่ได้มา


อีกสัญญาณควรขาย:

แท่งกลับตัวลง (Downside Reversal Bars)

ทำจุดสูงใหม่ แต่ปิดใกล้ต่ำสุด

ปริมาณซื้อขายสูงผิดปกติ

→ ขายเพิ่มหรือลดพอร์ตก่อนที่ราคาจะย่อลึก







---


3. ขายรอบสุดท้าย – Long-Term Profit Taking

ถึงตรงนี้คุณได้กำไรระดับ 6R หรือมากกว่านั้นแล้ว

ขอแสดงความยินดี!


นี่คือช่วงที่คุณควร “ปล่อยให้กำไรวิ่ง” โดยไม่ต้องจ้องจอ


ทางเลือกสำหรับการถือรอบสุดท้าย:

๑) ใช้เส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง/ยาว (MA):

ใช้เส้น 50 วัน (SMA50) เป็นจุด Stop Trailing

แนะนำรอให้ปิดต่ำกว่า SMA50 “2 วันติด” ก่อนขาย


๒) ดูกราฟรายสัปดาห์:

สำหรับนักลงทุนสายยาว เปลี่ยนไปดูกราฟ Week

ใช้เส้น 10-week MA เป็นตัววัดโมเมนตัม และปล่อยให้หุ้นทำงานแทนคุณ


---


สภาพตลาดสำคัญที่สุด!

อย่าขายที่ 2R ถ้าตลาดกำลังแรงมาก (เพราะหุ้นอาจวิ่งได้มากกว่านั้น)

ในทางกลับกัน ถ้าตลาดอ่อนแรง → การรอไปถึง 4R อาจไม่สมเหตุสมผล


สรุป: ต้องปรับตัวให้เข้ากับ “สภาพตลาดตอนนั้น”

---


คำถามยอดฮิต:

Q: ต้องขายเป็น 1/3 เสมอไหม?

A: ไม่จำเป็นเลย! ขายเป็น 1/4 หรือ 1/5 ก็ได้

ขึ้นอยู่กับ “สไตล์ของคุณ” และ “ไทม์เฟรมการเทรด”

แต่ 1/3 คือสูตรง่ายที่เริ่มใช้ได้เลย



---


Q: ถ้าเทรดด้วยขนาดพอร์ตที่ใหญ่เกิน 20% ล่ะ?

A: ควรขายออกอย่างน้อย 1/4 ก่อนตลาดปิด

แล้วค่อยรอขายอีกทีที่ 2-3R ตามแผนเดิม



---


Q: ถ้าหุ้นพุ่งแรงเขียวยาวห่างจากเส้นค่าเฉลี่ยมากผิดปกติ?

A: ให้เช็คระดับการยืดในอดีต ถ้าเลยจุดนั้น → นี่แหละคือ “โอกาสทอง” ในการขายทำกำไร

โดยเฉพาะถ้า “ใกล้วันประกาศงบ” → ควรลดความเสี่ยงทันที



---


สรุปอีกครั้ง:

วันนี้คุณได้เรียนรู้…

เทคนิคขายกำไรเป็น “ส่วนๆ”

การรอขายตามระดับ R

กฎ “หลุด Low วันก่อน”

กฎ “บวก 8% วันเดียว”

กฎ “ปิดต่ำกว่า MA 2 วัน”


และตอบคำถามยอดฮิต 3 ข้อ

ตอนนี้คุณมีแผนขายตอนหุ้นแข็งแรงครบถ้วนแล้ว!


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด