จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด

"จังหวะพักตัว: พื้นที่แห่งโอกาสของนักสวิงเทรด" สนับสนุนโดย อีบุ๊ค "เคล็ดลึก สวิงเทรด ให้ได้กำไรสม่ำเสมอ"   https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjMzNjYyMjt9 ในโลกของการเทรด การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้มีแต่เส้นทางที่ราบรื่น หลังจากราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง (leg up) ตลาดมักจะเข้าสู่ช่วงพักตัว (pullback) หรือการแกว่งตัวแบบไร้ทิศทางชัดเจน (chop and slop) ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีความแน่นอน แต่นี่คือพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับนักเทรดสายสวิงที่มีสายตาแหลมคม จังหวะพักตัวคือช่วงเวลาที่ตลาดปรับสมดุล ทดสอบแรงสนับสนุนและแรงต้าน การสังเกตจังหวะนี้อย่างใกล้ชิดช่วยให้นักเทรดมองเห็นรูปแบบที่สามารถนำไปสู่โอกาสการเทรดที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อราคาหุ้นหรือสินทรัพย์เคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี (index) และอาจนำหน้าดัชนีในบางจุด เคล็ดลับจากยอดนักสวิงเทรดการมองรอบราคาตลาด 1. ดูรอบของดัชนีตลาด (Price Cycle): การทำความเข้าใจว่าดัชนีอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรราคา เช่น ช่วงขาขึ้น ช่วงพักตั...

Doji กับวอลุ่ม

(เป็นงานที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี 2016)


เมื่อใดที่ตลาดเกิดโดจิ=เป็นการสื่อว่าตลาดต้องการพักรบ เพราะคนซื้อกับคนขายไม่สามารถเอาชนะกันได้

.
การวิเคราะห์โดจิ : ความจริงแล้วโดจิ มันปรากฎอยู่ทุกจุดของกราฟนั่นแหละ แต่มันจะมีบางจุดเท่านั้นที่มันจะเป็นตัวชี้ขาดหรือส่งสัญญาณที่น่าสนใจออกมา
หากมันเกิดที่แนวรับ-แนวต้าน แสดงว่า อาจมีการกลับตัว เช่น
ราคาวิ่งจากแนวรับขึ้นมาถึงแนวต้านก็เกิดโดจิ ก็สื่อว่าราคาอาจจะหยุดขึ้นต่อ เพราะแรงซื้อโดนแรงขายกดดันจนขึ้นต่อไม่ได้
ในทางตรงกันข้าม ราคาลงมาจากแนวต้าน มาถึงแนวรับ แล้วเกิดโดจิ นี่ก็สื่อว่าแรงขายไม่อาจทำลายแนวรับได้เพราะมีแรงซื้อซับหุ้นได้ทั้งหมด

ไอเดียในการเทรด
ไม่ควรดูแค่โดจิแท่งเดียว ต้องดูแท่งเทียนอื่นๆที่แวดล้อมด้วย
อันดับแรกให้ดูเทรนด์ก่อนว่าเป็นยังไง ระบุให้ได้ว่าเป็นขาขึ้น ขาลง หรือ sideway
จากนั้นให้มองหาโดจิที่ไกล้ๆระดับแนวรับ/ต้าน ถ้าพบว่าในกลุ่มของแท่งเทียนรายล้อมโดจิเป็นแท่งสั้นๆหลายๆแท่งเรียงกัน ก็จะถือว่าเป็นจุดที่น่าสนใจในการจะซื้อหรือขาย

ถ้าเกิดโดจิที่มาพร้อมกับวอลุ่มสูงกว่าค่าเฉลี่ย-หลายเท่าตัว หมายความว่ายังไง?
โดจิ+วอลุ่มสูงๆ
(ในขาขึ้น) ราคาวิ่งขึ้นมานานสักระยะแล้วเกิดโดจิ+วอลุ่สูงปรี๊ด ถือเป็นสัญญาณกลับตัว เพราะหุ้นขึ้นมาสูงจนเหนื่อยแล้ว แต่คนจ้องขายก็มองเห็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมในการขายหุ้นราคาดีที่สุด จึงเกิดแรงกดขายดันมหาศาล
(ในขาลง) หุ้นลงมาตลอดแล้วถึงจุดหนึ่ง เกิดโดจิ+วอลุ่มสูงปรี๊ด ก็สือว่าจุดนั้นอาจจะเป็นจุดกลับตัวเนื่องจากแรงขายไม่อาจทำให้ราคาลงต่อไปได้เพราะมีกำลังซื้อจำนวนมากในปริมาณเท่ากันยันอยู่ซึ่งหมายความว่ามีคนที่มีเงินมากกลุ่มหนึ่งไม่อยากให้หุ้นลงต่อ หรือหุ้นลงมาจนถึงโซนราคาน่าซื้ออย่างมาก
.
โดจิ+วอลุ่มน้อย
(ในขาขึ้น) หุ้นวิ่งมาสักระยะแล้ว เกิดแท่งโดจิที่นิวไฮ+วอลุ่มเบาบาง ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ดี เพราะสื่อว่ากำลังซื้อที่จะสนับสนุนให้หุ้นวิ่งขึ้นนั้นอ่อนแรง หากวันต่อมากำลังของความต้องการขายมีมากขึ้นก็สามารถทุบให้ราคาลงได้ทันที
(ในขาลง) ไม่ได้สื่ออะไรมากมาย เพราะในขาลงการซื้อขายเบาบางถือเป็นเรื่องปกติ การเกิดโดจิ ถือเป็นการหยุดพักหายใจ หรือไม่มีคนสนใจในหุ้นตัวนั้นมากพอ ก็ไม่มีคนอยากเล่น เท่านั้นเอง
.
โดจิ + วอลุ่มน้อย เกิดในบริเวณแนวรับ
ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี สื่อว่าไม่ค่อยมีคนอยากขายที่ราคาต่ำกว่านี้แล้ว ถือว่าเป็นส่วนหนึ่่งของการ "ทดสอบ" จากคนทำราคา ก่อนที่จะวิ่งต่อ เป็นการปล่อยคนที่ไม่เห็นด้วยลงจากรถก่อนที่มันจะวิ่งไปยังป้ายใหม่ที่ไกลกว่าเดิม
โดจิ + วอลุ่มเยอะ ที่แนวรับ เป็นสัญญาณที่น่าสงสัย เพราะการต่อสู้ยังคงรุนแรง เรียกว่ายังฝุ่นตลบอยู่ แรงขายก็เยอะแม้จะมีกำลังซื้อยัยกันอยู่ ก็ถือว่าชั่วคราว สิ่งที่นักลงทุนควรทำคือรอ ให้ทุกอย่างชัดเจนก่อน ค่อยเข้าไปก็ไม่สาย
.
อย่างไรก็ตาม โดจิ ถือว่าไม่ใช่สัญญาณซื้อ-ขาย เป็นแค่สัญญาณเตือน เพื่อให้รอดูแท่งเทียนยืนยันแท่งต่อไปว่าจะเลือกทางไปในทิศใด แล้วจึงตัดสินใจตามนั้น
http://www.investmenthouse.com/questions/question255.php



Doji candlestick pattern meaning and strategy ideas
http://www.simple-stock-trading.com/doji-candlestick-pattern-meaning-and-strategy-ideas/
ความหมายและไอเดียในการเทรดโดยการสังเกตุโดจิ

เมื่อใดที่ตลาดเกิดโดจิ=เป็นการสื่อว่าตลาดต้องการพักรบ เพราะคนซื้อกับคนขายไม่สามารถเอาชนะกันได้
.
การวิเคราะห์โดจิ : ความจริงแล้วโดจิ มันปรากฎอยู่ทุกจุดของกราฟนั่นแหละ แต่มันจะมีบางจุดเท่านั้นที่มันจะเป็นตัวชี้ขาดหรือส่งสัญญาณที่น่าสนใจออกมา
หากมันเกิดที่แนวรับ-แนวต้าน แสดงว่า อาจมีการกลับตัว เช่น
ราคาวิ่งจากแนวรับขึ้นมาถึงแนวต้านก็เกิดโดจิ ก็สื่อว่าราคาอาจจะหยุดขึ้นต่อ เพราะแรงซื้อโดนแรงขายกดดันจนขึ้นต่อไม่ได้
ในทางตรงกันข้าม ราคาลงมาจากแนวต้าน มาถึงแนวรับ แล้วเกิดโดจิ นี่ก็สื่อว่าแรงขายไม่อาจทำลายแนวรับได้เพราะมีแรงซื้อซับหุ้นได้ทั้งหมด

ไอเดียในการเทรด
ไม่ควรดูแค่โดจิแท่งเดียว ต้องดูแท่งเทียนอื่นๆที่แวดล้อมด้วย
อันดับแรกให้ดูเทรนด์ก่อนว่าเป็นยังไง ระบุให้ได้ว่าเป็นขาขึ้น ขาลง หรือ sideway
จากนั้นให้มองหาโดจิที่ไกล้ๆระดับแนวรับ/ต้าน ถ้าพบว่าในกลุ่มของแท่งเทียนรายล้อมโดจิเป็นแท่งสั้นๆหลายๆแท่งเรียงกัน ก็จะถือว่าเป็นจุดที่น่าสนใจในการจะซื้อหรือขาย

ไอเดียที่จะใช้ได้เมื่อเห็นโดจิ คือการคาดหวังว่ามันจะกลับตัวเปสู่เทรนด์ใหญ่ของมัน เช่นหุ้นที่เราเล่นเป็นขาขึ้น แล้วในตอนที่เราสนใจเป็นช่วงที่ราคาพักตัวลงมา การเกิดโดจิเป็นสัญญาณบอกว่าหุ้นหยุดลงชั่วคราว จุดที่เราจะ action คือแท่งเทียนถัดไป อย่างในรูป จุดเข้าซื้อคือตอนที่ราคาเบรคไฮเก่าขึ้นไป(เส้นสีเขียว) และจุด stop loss หรือ short ก็คือมันหลุดแนวรับ(เส้นสีแดง)





7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

ทฤษฏีวัฏจักรตลาดหุ้น (Market Cycle)