การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

9 วิธีเลี่ยงการมีอารมณ์ร่วมกับผลการเทรดมากเกินไป

 9 วิธีเลี่ยงการมีอารมณ์ร่วมกับผลการเทรดมากเกินไป



เอาการเทรดมาเป็นอารมณ์ (ความผูกพันทางอารมณ์ในการเทรด) ต้องการชนะ จนไม่สามารถปล่อยวางได้ ส่งผลให้สูญเสียหนัก

วิธีแก้ พัฒนาแผนและกฎ ที่ชัดเจน รวมถึงการตัดขาดทุนที่เคร่งครัด มีวินัย และเป้าหมายชัด ก็ช่วยได้เยอะ

๑) การเทรดเป็นเครื่องมือช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงิน การเทรดเป็นเส้นทาง ไม่ใช่จุดจบ(ทางตัน)  มันเป็นเกมยาว มีกำไรขาดทุน สลับกัน ต้องใช้การทบต้นสะสมระยะยาว ไม่ใช่ล็อตเตอรี่

๒) อย่าด่วนสุป อย่าโฟกัสรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย หยุมหยิม คิดเล็กคิดน้อยจะทำให้ตัดสินใจตามอารมณ์ หุนหันพลันแล่นได้ เมื่อใช้อารมณ์ก็จะไม่มีวินัย ควบคุมตนเองไม่อยู่

๓) ปล่อยวางอัตตา และเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ อัตตามักทำให้นักเทรดหุนหันพลันแล่น และใช้อารมณ์ แทนที่จะทำตามแผนและมีวินัย

อัตตาทำให้รับความเปลี่ยนแปลง(ในทางแย่)ไม่ได้ ไม่มีอัตต ช่วยให้กล้ารับความผิดพลาด เปลี่ยนใจตามตลาดได้

๔) ยืดหยุ่น เต็มใจเปลี่ยนแผนตามสภาวะเมื่อจำเป็น ตลาดมีความไดนามิก ถ้าพบว่ากลยุทธ์ไม่เวิร์ค ก็ต้องกล้าเปลี่ยน

๕) มีวินัยและทำตามตารางเวลา - เวลาไหนจะทำอะไร ต้องชัดและเป็นกิจวัตร วิเคราะห์ตลาด ดำเนินการเทรด ประเมินประสิทธิภาพ - จะได้ทุ่มเวลาได้อย่างเต็มที่

๖) อย่ามองผลลัพธ์เป็นเรื่องส่วนตัว

เป็นนักเทรดต้องเป็นกลาง มีจุดมุ่งหมาย ไม่งอแง ไม่ปล่อยให้อารมณ์ครอบงำ 

เมื่อมองทุกอย่างเป็นเรื่องส่วนตัวจะเกิดอารมณ์หุ้นหันพลันแล่นได้ง่าย 

เชื่อกฎแทนที่ตะเชื่อตามอารมณ์

๗) อดทนและปล่อยให้ทุกสิ่งอย่างเป็นไปตามทางของมัน

อดทนเมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแผน อดทนเกี่ยวข้องกับการยึดมั้นตามแผนที่ไหตรตรองมาอย่างดีแล้ว เลี่ยงตามทำตามอารมณ์หุนหันพลันแล่น อดทนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงมาแล้วอย่างดี รวมถึงหน้าเทรดและการตัดขาดทุน การเตรียมตัวตัดขาดทุนเมื่อจำเป็น

อดทนเกี่ยวข้องกับการรอสภาวะตลาดที่เป็นใจ รอหน้าเทรดที่ได้เปรียบ

อดทนเกี่ยวข้องกับการมองเกมระยะยาว รักษาความสงบและทำตามแผนที่คิดมาอย่างดีได้

๘) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีความได้เปรียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

แนวโน้มเหมาะสม สภาวะตลาดเหมาะสม หน้าเทรดเหมาะสม 

ควบคุมอารมณ์และยึดมั่นตามแผนที่คิดมาอย่างดี ไม่วู่วาม

๙) พร้อมออกจากการเทรดเมื่อจำเป็น

การถือเงินสดก็ถือว่าเป็นการเทรดประเภทหนึ่ง

พร้อมขายตัดขาดทุน/ขายเก็ยกำไร เมื่อเห็นสัญญาณตามแผน

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่