ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในมุมของค่ากลาง


แม้ว่าเส้นค่าเฉลี่ยจะเป็นผลมาจากการคำนวณราคาย้อนหลัง แต่มันก็สามารถมีนัยยะต่อการเคลื่อนไหวของราคาในปัจจุบันได้ เพราะมันทำหน้าที่เป็นแนวรับหรือฐานการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงของราคาได้ตลอดแนวโน้ม โดยเฉพาะเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น อย่าง EMA5 และ EMA10 ดังนั้นผมจึงมองว่าเราสามารถใช้มันเป็น "ค่ากลาง" หรือราคาเฉลี่ยของหุ้นในช่วงนั้นได้เป็นอย่างดีครับ

แล้วการเป็นค่ากลาง ที่ว่านี้มันจะเอาไปใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างไร?

ในที่นี้ ผมอยากชวนท่านมองการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละช่วงเป็น วัฏจักร ครับ คือ เริ่มต้นจากปกติ พอขึ้นไปได้สักพักก็จะมีคนรู้สึกว่าแพงเกินไปแล้ว ก็เริ่มมีการขายหุ้นออกมา ส่งผลให้ราคากลับตัวลง พอลงต่อเนื่องก็จะเข้าสู่ช่วงที่คนส่วนหนึ่งมองว่าราคาถูกเกินไปแล้ว ก็จะเข้ามาซื้อ ดันให้ราคากลับตัวขึ้นไปใหม่

ถ้าจะวาดรูปออกมาให้ดูก็จะออกมาเหมือนโลโก้ SET เลยครับ

แนวทางการประยุกต์ใช้ก็คือ เราสามารถเอาลักษณะการเคลื่อนไหวแบบนี้ไปจับจังหวะซื้อและขายได้ครับ

ซื้อ เมื่อเห็นว่าราคากลับตัวจากการลงเป็นขึ้น

ขาย เมื่อเห็นว่าราคากลับตัวจากการขึ้นเป็นลง

นี่คือไอเดียคร่าวๆครับ





ประเด็นที่ต้องต่อยอดจากนี้คือ

เมื่อไหร่ที่ราคาถึงจุดกลับตัว มันส่งสัญญาณอะไรที่เราพอจะจับได้บ้าง?

ก่อนอื่นต้องถามว่าทำไมคนถึงอยากขาย มีสองเหตุผลคือ เห็นว่าคนอื่นๆมีความกล้ามากเกินไปแล้ว มืออาชีพก็จะใช้เป็นสัญญาณขาย แบบ selling into strength

อีกเหตุผลคลาสสิคที่ลงทุนทั่วไปคิดอยากขายก็คือรูสึกกลัว

ตรงนี้แหละที่เป็นจุดโฟกัสเอามาขยายความอีก

กล้ามากเกินไป คือลักษณะไหน? ถ้าจะอธิบายผ่านเทคนิคอลมันก็คือ ช่วงที่ราคาเข้าสู่โซน overbought  นั่นเองครับ





ทีนี้ การ overbought ก็สามารถมองได้หลายคาบเวลาแล้วแต่ประเภทนักลงทุน เช่น คนเล่นสั้นก็ใช้การดูการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรงเป็นจุดสังเกตสำหรับขาย เพราะเชื่อว่าราคาขึ้นมาถึงจุดกลับตัวแล้ว ต่อไปเจอขายต้านแน่ ซึ่งเป็นลักษณะของการ selling into strength นั่นเอง

ในทางตรงข้าม oversold ก็เป็นช่วงที่พวกเขามองเห็นความกลัวสุดขีดผ่านการเคลื่อนไหวของราคาที่ลงแรงต่อเนื่องได้เช่นกัน

ส่วนคนที่เล่นยาว ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้แหละครับ แต่เขาเลือกมองผ่านแท่งเทียนที่ยาวกว่าคือแท่งราคารายสัปดาห์แทน





เมื่อเอาเส้นค่าเฉลี่ยมาใช้ร่วม ก็จะทำให้เราเห็นลักษณะของรุนแรงได้ชัดขึ้น โดยการดูระยะห่างจากราคาปิดกับเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ห่างมากก็มีสิทธิ์กลับตัวสูง ดูตัวอย่างกัน


สรุปคือ เห็นแท่งราคาปิดห่างจาก ema5 มากไป แบบที่ไม่เคยทำได้มาก่อน หรือ เกิน 10% ก็ให้หาจังหวะขายออกได้ครับ





7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด