การเล่นหุ้นขาดทุนหนัก ไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นแค่จุดเริ่มต้น คุณแค่สอบไม่ผ่านเท่านั้น คุณแก้ตัวได้เสมอ

Image
การเทรดหุ้น: ก้าวข้ามธรรมชาติของความกลัว สู่วิถี Zero to Hero   "Zero to Hero ภารกิจเปลี่ยนนักเทรดขาดทุนซ้ำซากให้ได้กำไรสม่ำเสมอ" มีจำหน่ายที่ Mebmarket วันที่ 3 กันยายน 2567 ครับ  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=317619 การขาดทุนหนักจากการเล่นหุ้นอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่แท้จริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "หลักไมล์แรก" ของเส้นทางการเทรดเท่านั้นเอง มันบ่งบอกว่าคุณอาจยังสอบไม่ผ่านหรือทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ การไม่ยอมแพ้และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง คุณแค่สอบไม่ผ่าน ทำผลงานไม่ถึงมาตรฐานเท่านั้นเอง ในเส้นทางการเทรด มาตรฐานที่สำคัญคือการสร้างระบบที่มี ความคาดหวังเชิงบวก (Positive Expectancy) ซึ่งหมายความว่ากลยุทธ์การเทรดของคุณต้องมีโอกาสสร้างกำไรได้ในระยะยาว การขาดทุนอาจเกิดจากการที่คุณยังไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา หรืออาจยังไม่ได้ปรับปรุงกลยุทธ์การเทรดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อีบุ๊ก "Zero to Hero" ชี้ทางสว่างให้คุณ หากคุณกำลังมองหาทางแก้ไขและปรับปรุงผลงานของคุณ อีบุ๊ก **"Zero to Hero: ภารกิจเปลี่ยนน

สรุป Thinking in Bets เพราะการตัดสินใจในชีวิต/การเทรด ล้วนเป็นการเดิมพัน


เรียบเรียงจาก medium.com/@skueong/thinking-in-bets-making-smarter-decisions-when-you-dont-have-all-the-facts-book-notes
การมองการตัดสินใจทุกครั้งว่าเป็นการเดิมพัน มันจะช่วยให้เราค้นพบกับดัก/หลุมพรางในการตัดสินใจ เพื่อหลีกเลี่ยงและเรียนรู้จากมัน รวมถึงป้องกันไม่ให้อารมณ์เข้ามามีส่วนร่วมในระหว่างกระบวนการตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สองสิ่งที่กำหนดผลลัพธ์จากการเดิมพัน
๑. คุณภาพของการตัดสินใจ
๒. โชค

บทที่ ๑ ชีวิต คือการเล่นเกมโป๊กเกอร์ มิใช่หมากรุก
โป๊กเกอร์ สอนให้เรา สนใจในผลลัพธ์ ความอันตรายของผลลัพธ์
ทำให้ผู้เล่นหักห้ามใจตัวเองไม่ให้เปลี่ยนแผนระหว่างทาง เพียงเพราะว่าผลลัพธ์ระยะสั้นไม่ได้ดังใจ

เมื่อเรามองย้อนจากผลลัพธ์ กลับไป ยังต้นตอ/กระบวนการ จะทำให้เห็นว่าระหว่างนั้นเราเดินไปตกหลุมพรางอะไรบ้าง หากเอามาวางเป็นโครงสร้าง/กฎ/กระบวนการคัดกรองเอาไว้ ครั้งหน้าก็จะไม่พลาดซ้ำ

Von Neumann บอกว่า หมากรุกไม่ใช่เกม มันเป็นการคำนวนที่มีรูปแบบชัดเจน ซึ่งไม่เหมือนการใช้ชีวิตจริง Real life ประกอบด้วยการบลัฟ(เกทับ), กลเม็ดล่อลวงเล็ก ๆ น้อย ๆ, การถามตัวเองว่าถ้าเราทำแบบนี้คนอื่นจะคิดยังไง นี่แหละเป็นเกมในแบบที่ นอยมันน์เห็น

โป๊กเกอร์เป็นเกมที่ข้อมูลไม่ครบถ้วน มันเป็นเกมที่เราต้องตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอนของช่วงเวลา ยังมีข้อมูลที่มีค่าซ่อนอยู่ในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมี "โชค" เป็นองค์ประกอบของผลลัพธ์อีกต่างหาก แม้ว่าทุกจุดคุณตัดสินใจได้ดี แต่คุณก็ยังคงแพ้เพราะคุณไม่รู้ว่าไพ่ใบใหม่จะออกหน้าไหน ซึ่งคุณต้องบริหารจัดการตามการเผยตัวของมัน
เมื่อเกมจบ คุณต้องทำงานต่อด้วยการเรียนรู้ แยกคุณภาพการตัดสินใจออกจากอิทธิพลของโชค (ซึ่งเป็นเรื่องยาก)

สิ่งที่ทำให้การตัดสินใจที่ดีไม่ใช่ว่ามันมีผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม การตัดสินใจที่ยอดเยี่ยมเป็นผลมาจากกระบวนการที่ดี และกระบวนการนั้นจะต้องรวมถึงความพยายามในการแสดงสถานะความรู้ของเราเองอย่างถูกต้อง  ในที่สุดสถานะของความรู้นั้นก็คือ“ ฉันไม่แน่ใจ”

ผู้เชี่ยวชาญจะได้เปรียบมากกว่ามือใหม่ เพราะสามารถคาดเดาผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้แม่นกว่า

ถ้าเราไม่สามารถแยกแยะระหว่าง
- ความสามารถในการคัดตัวเลือกที่ดี(ตามแหล่งข้อมูลที่ได้) กับ
- ประเภทการตัดสินใจที่เราต้องเลือกใช้ และ
- วิธีการลงมือทำที่ดี
คนนั้นจะพบกับความเจ็บปวด

เมื่อเราคิดล่วงหน้าไปถึง
- โอกาสในการเกิดผลลัพธ์ ที่หลากหลาย และ
- ทำการตัดสินใจ จากพื้นฐานของโอกาสเหล่านั้น
มันไม่ได้หมายความว่าเราผิดพลาด ถ้าหากว่าผลลัพธ์ไม่ได้ออกมาตรงใจ
มันหมายความเพียงแค่ เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่มันเป็นไปได้จากทางเลือกทั้งหมด

การคาดการณ์(ทำนายอนาคต) ไม้ว่าจะแม่นยำ 100% หรือ 0% ก็ไม่ใช่ความผิดพลาด เพราะอนาคตนั้นไม่อาจคาดเดาได้

การตัดสินใจ เป็น การเดิมพันเกี่ยวกับอนาคต มันจึงไม่มีถูกหรือผิด เพราะเราเลือกตัดสินใจตามทางเลือกและความน่าจะเป็นซึ่งมีพื้นฐานมาจากทรัพยากรที่เรามี(หรือ โฟกัส)

เมื่อเราคิดถึงผลลัพธ์ผ่านมุมของความน่าจะเป็น เราจะใช้ผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการเป็นตัวพิสูจน์ว่าเราคิดผิด ดังนั้นถ้าเรามีการลิสต์ทางเลือกเอาไว้ที่หลากหลายและคิดถึงคว่าน่าจะเป็นเอาไว้ที่หลากหลาย ก็เป็นไปได้ที่เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้น (แต่ถึงกระนั้น โชคชะตามก็จะเข้ามาแทรกแซง-เปลี่ยนผลลัพธ์ได้เช่นกัน เผื่อใจไว้ด้วยก็ดี)

การนิยามความผิดพลาดที่ดี จะช่วยให้เราปล่อยความเจ็บปวดเมื่อเจอผลลัพธ์ที่แย่ได้ แต่ถึงกระนั้น-ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปปรับเปลี่ยนความผมายของ "ความถูกต้อง" ได้เช่นกัน
พูดง่าย ๆ คือ  ผลลัพธ์ที่ผิดหวัง ไม่ใช่ความผิดพลาด ผลลัพธ์ที่ตรงใจ ก็มิใช่ชัยชนะ จิตใจของเราก็จะสงบขึ้น


บทที่ ๒ เดิมพันกันมั้ย?
เมื่อใดก็ตามที่เราลือกปฏิเสธ choice ที่เป็นไปได้ choice เหล่านั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ ซึ่งอาจทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ดีหรือแย่กว่าที่คาดก็ได้ ดังนั้นทุก ๆ การเลือก มันมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่เสมอ

การตัดสินใจของเรา คือ การเดิมพัน
เราตัดสินใจกันเป็นประจำ ผ่านการเลือกใช้ทรัพยาการ ด้วยการพิจารณามันผ่านความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป เลือกสิ่งนี้จะได้ผลลัพธ์ยังไง นั่นแหละคือการเดิมพัน

การตัดสินใจของเราส่วนใหญ่ ไม่ได้เดิมพันกับคนอื่นหรอก แต่เรากำลังเดิมพันกับอนาคตของตัวเอง

เราจะลงมือเดิมพัน ถ้าคิดว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้น สูงกว่าการยอมแพ้/อยู่เฉย ๆหรือหมอบ

แน่นอนว่า เราเดิมพัน ตาม ความเชื่อของเราเอง

ความเชื่อที่ดี มาจากการเรียนรู้จากความหลากหลายของชีวิต ไม่ใช่ความเชื่อของตัวเองแบบเดี่ยว ๆ คุณต้องปรับคามเชื่อตัวเองให้เป็นกลาง และสอดคล้องกับความหลากหลาย (ตามประสบการณ์และการเรียน/หาความรู้) แบบนี้จะทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น

Daniel Gilbert บอกว่า เรามักจะเชื่อว่า สิ่งที่เราได้ยินและอ่านนั้นเป็นความจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำเสนออย่างชัดเจนว่าเป็นเท็จ แต่เราก็ยังมีแนวโน้มที่จะประมวลผลข้อมูลนั้น ว่า "เป็นความจริง"

การพยามยามค้นหาความจริง อาจไม่ได้ความจริง
เพราะธรรมชาติมนุษย์นั้น มักคิดว่าตัวเองเป็นคนเปิดกว้างและสามารถเปลี่ยน/ปรับปรุงความเชื่อตามข้อมูลใหม่ได้ แต่จากการวิจัยพบว่า แทนที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของตัวเองไปตามข้อมูลใหม่ เรากลับ-ปรับเปลี่ยนการตีความข้อมูลนั้นให้เข้าข้าง-ตรงกับความเชื่อของเราไปซะอย่างนั้น

เมื่อคุณปักใจเชื่อไปแล้ว ก็ยากจะเปลี่ยนใจไปเชื่อเรื่องตรงข้าม

ความร้ายกาจของข่าวปลอม Fake News ก็คือ มันได้สร้างความเชื่อให้กับผู้ชมที่ตั้งใจจะเชื่อรออยู่แล้ว อินเตอร์เน็ทเป็นแหล่งแพร่ที่ทรงพลัง มันสามารถกระตุ้นให้เราเลือกปักใจเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้จะมีความเห็นต่างในนั้นมากมายก็ตาม และเราจะพยายามเข้าหาแหล่งข้อมูลที่สนับสนุน/พูดถึงความเชื่อของเราเท่านั้น

เมื่อมีคนท้าทาย เดิมพันว่าความเชื่อของเรานั้นผิดเพี้ยน มันยิ่งกระตุ้นให้เราหาเหตุผลหลาย ๆ อย่างมาสนับสนุนว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง โดยอัตโนมัติ (แทนที่จะเปิดใจรับ)

แต่เมื่อถูกท้าทายการเดิมพัน ด้วยจำนวนเงิน เราจะมีความรรอบคอบมากขึ้น ไม่บุ่มบ่ามท้าทาย เปิดใจมากขึ้น

นอกจากเราจะแสดงให้คนอื่นเห็นถึงความเชื่อของตนเอง แลเว เรายังมีการแอบให้คะแนนความเชื่อของตนเอง (0-10) อีกด้วย

ความเข้มข้นของควาามเชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลมาเชื่อมโยงกันของตัวเราเอง ไม่ใช่การมีข้อมูลที่หลากหลาย

บทที่ ๓ เดิมพัน เพื่อเรียนรู้
ความต่างที่ยิ่งใหญ่ระหว่าง การได้รับประสบการณ์ 
กับ ได้รับความเชี่ยวชาญ คือ 
ความสามารถในการระบุว่าผลลัพธ์ของการตัดสินใจของเรานั้น มันมีบางสิ่งที่สอนเรา และให้บทเรียนเราอะไรบ้าง

การตัดสินใจอะไรก็ตาม มันคือการเดิมพัน ว่าอนาคตเราจะได้อะไร (ซึ่งผลลัพธ์มีทั้งสมหวังและผิดหวัง) คนที่จะก้าวหน้ากว่าใครก็คือคนที่กล้าเรียนรู้จากผลลัพธ์นั้น(ที่งแย่และดี) เพื่เอาไปเป็นข้อมูลไปเดิมพัน(ในลักษณะเดียวกัน) อีกครั้งในอนาคต

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว เราต้องปรับปรุงตัวเอง ให้มีความสามารถในการแยกแยะ ว่าผลลัพธ์นั้นมันให้บทเรียนที่ดีอะไรกับเราบ้าง และเมื่อไหร่ที่จะตัดตอนวงจร feedback loop

หากการตัดสินใจของเรา ไม่มีผลกระทบอะไรมากมายนัก(สุ่ม) โชคจะเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดผลลัพธ์

มนุษย์ส่วนใหญ่ มี pattern ในการมองผลลัพธ์ที่เหมือนกันคือ ถ้าผลโดนใจก็จะให้เครดิตตัวเอง ผิดหวังจะโทษโชคชะตาหรือโทษชาวบ้าน น้อยคนนักที่จะกล้าเรียนรู้บทเรียนจากผลลัพธ์เหล่านั้น

วิธีการชดเชยอคติทางความเชื่อของตนเอง อันเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ ก็คือ เรียนรู้จากประสบการณ์คนอื่น

แทนที่จะรู้สึกแย่เมื่อต้องยอมรับความผิดพลาด ให้คิดต่อไปว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากความเจ็บปวดนี้มันขัดขวางโอกาสในการเรียนรู้ของเรา

บทที่ ๗ การผจญภัยในห้วงจิตใจ
เครื่องมือของ Jack Welch ตั้งคำถามผ่านกรอบของอดีต ว่า "ฉันจะรู้สึกอย่างไรว่า ถ้าฉันตัดสินใจแบบนี้ เมื่อสิบปีที่แล้ว สิบเดือนที่แล้ว หรือ สิบปีที่แล้ว?"

ปัญหาของเราก็คือ มาตรวัดความสุขของเรา ที่ใช้วัดในขณะปัจจุบันเท่านั้น(ความสุขทันใด) ซึ่งวิธีที่ฉลาดและยั่งยืนกว่าคือ การคิดถึงความสุขในระยะยาว เหมือนการถือหุ้น(ตัวเอง)ในระยะยาว

คิดถึงอนาคตที่อยู่ในเซ็ทของลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (มาจากการจินตนาการ (best/worst scenario) มันจะช่วยให้เรารู้ว่าตัดสินใจแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้น หาความเป็นไปได้ แล้วเดิมพันไปที่ความน่าจะเป็นที่จะชนะ

นักโป๊กเกอร์ที่ดีที่สุด จะคิดถึงผลกระทบจากการตัดสินใจจากปัจจุบัน ว่าหากเดิมพันไปแล้วฝ่ายตรงข้ามจะตัดสินใจอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การขาย หรือ กลยุทธ์ทางธุรกิจ หรือกลยุทธในห้องพิจารณาคดี นักยุทธศาสตร์ที่ดีจะพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เป็นไปได้เท่าที่จะนึกถึง จากนั้นจะเลือกวิธีการตอบสนองต่อแต่ละสถานการณ์แบบเจาะจง

การจินตนาการว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นการเพิ่มความสามารถในการระบุสาเหตุของผลลัพธ์ในอนาคตได้ถูกต้อง 30%

Premortem ระบุ worst case  สิ่งที่น่ากลัวเอาไว้ ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น จะช่วยสร้างความท้าทายให้เรา ในการหาทางปกปิด ป้องกันไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้


แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 

ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo


***********

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่