ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

ความจริงเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่นักเปิดคอร์สเก็บเงิน(อาจ)ไม่เคยบอกคุณ

ความจริงเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่นักเปิดคอร์ส(อาจ)ไม่เคยบอกคุณ(หรือคุณไม่สนใจฟัง)

มือใหม่ต้องฟังหูไว้หู จะได้เอาตัวรอดในตลาดหุ้นได้



แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 

ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo


***********


๑. เทคนิคอลมีอยู่ ๒ แบบ

แบบแรก ทำนายอนาคต โดยการใช้ pattern ณ ตอนนั้น เป็นเกณฑ์

แบบที่สอง ใช้การเคลื่อนไหวราคา/price action ณ ตอนนั้น เพื่อตัดสินใจซื้อ/ขาย โดยยึดหลักของ risk/reward ration และเกาะแนวโน้ม

๒. การวิเคราะห์ทางเทคนิค ไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติ หรือ แม่นยำ 100% เลย มันเป็นเพียงแค่แนวทางในการดู price action / pattern ณ ตอนนั้น เพื่อมองหาความน่าจะเป็นในอนาคต

๓. แนวรับ แนวต้าน จะมีนัยสำคัญใน trading range เท่านั้น เมื่อมันทะลุได้แล้ว มันก็ไม่มีนัยอีก เมื่อเป็นขาขึ้นจะไม่มีแนวต้านไหนแข็งแกร่งยืนยง เมื่อเป็นขาลงก็ไม่มีแนวรับไหนที่แข็งแกร่งยืนนาน

๔. แนวรับ/แนวต้านสามารถเปลี่ยนจากแนวนอนเป็นแนวตั้งได้ ถ้ามีการใช้ร่วมกับ เส้นค่าเฉลี่ย หรือ trend line

๕. เส้นค่าเฉลี่ยสามารถใช้ดี(เป็นแนวรับ/แนวต้าน)ในตอนที่ตลาดมีแนวโน้ม แต่จะไม่ได้ผลในยามที่ตลาดไร้แนวโน้ม หรือ ตลาดแกว่งรุนแรง high volatility

๖. หากคุณเป็นคนที่หลงเชื่อสตอรี่ของหุ้นมากเกินไป หรือ กลัว/กล้ามากเกินไป ความเชื่อนี้จะเป็นเชื้อให้คุณมองกราฟหุ้นด้วยอคติ คือ มองในสิ่งที่ตัวเองอยากจะเห็น/สนับสนุนความเชื่อของตนเอง

๗. Overbought กับ oversold indicators จะใช้ไม่ได้ในยามที่ตลาดเกิดการ panic buy / sell เพราะมันจะเป็น super Overbought กับ oversold แทน

๘. การวิเคราะห์ทางเทคนิค ไม่เหมือนกัน ในต่าง timeframe เพราะคุณจะเห็น pattern ที่แตกต่างกันจาก intra-day, daily, weekly, and monthly charts มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นมากที่คุณจะต้องโฟกัสไปเทรดใน timeframe ที่คุณถนัดเท่านั้น

๙. ต้องมีความยืดหยุ่น ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ถ้า price pattern หรือ แนวโน้มเปลี่ยน คุณต้องเปลี่ยนมุมมองในการตีความ/อ่านกราฟตาม

๑๐. 90% ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค คือการมองหาว่าราคาจะวิ่งไปในทิศทางไหน เมื่อมัน breakout อีก 10% เป็นเรื่องของ narrative (การบรรยาย/หาเหตุผลมาสนับสนุน)

๑๑. หนังสือการวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นการเอาอดีตมาชี้ย้อนหลัง โดยการคัดกราฟที่สนับสนุนทฤษฎีนั้นมาให้ดู ใคร ๆ ก็เขียนได้ เม่าที่ยังไม่สำเร็จก็เขียนได้(แกะดำหนึ่งเดียวนั้นคือผมเอง)




ลิงค์นี้นะครับ https://www.zyo71.com/p/index.html

แนะนผลงานเขียนของผมที่เป็นรูปเล่มครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด