สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

วิธีสร้างแรงจูงใจให้ดีขึ้นแค่ 1%


หนังสือเปลี่ยนแค่ 1% ชีวิตดีขึ้น 100% หรือ The 1% Solution เป็นอีกเล่มที่ผมซื้อมา เพราะเมื่อได้ลองเปิดอ่านดูข้างในแล้วพบว่าผู้เขียนเขามีการนำเสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจเพื่อที่จะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ให้เก่งขึ้น แค่ 1% ก็พอ ซึ่งมีมุมมองที่น่าสนใจเลยทีเดียว

ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับคนที่มีผลงานในการเทรดที่ดีพอใช้ ไม่ดีมากไม่แย่มาก แค่ดีพอใช้ อารมณ์เหมือนอยู่ในช่วง sideway  แต่ว่าพวกคุณก็ไม่นิ่งนอนใจ มีความรู้สึกกวนใจไม่เลิกว่าตัวเองน่าจะทำอะไรให้ดีกว่านี้ แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง

ก็เลยมองว่าถ้าหากเราสามารถหาแรงจูงใจให้พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นแค่ 1% ดูมันจะเป็นยังไง
เดี๋ยวผมจะสรุปให้ท่านได้อ่านกันนะครับ

อันดับแรกที่เขาให้ความสำคัญกับ 1% นั้น ก็บอกว่าจากการที่เขาไปศึกษาผลต่างระหว่างการได้เหรียญทองกับการไม่ได้เหรียญ(ในการแข่งขันโอลิมปิก) พบว่าความต่างของการได้เหรียญกับการไม่ได้เหรียญนั้น(คือที่ 1 กับที่ 4)  มีความต่างแค่ 1% เท่านั้นเอง

หมายความว่าบางทีคุณอาจจะไม่ต้องพยายามอะไรที่มันหนักหนาถึงขั้น 100% รวดเดียวหรอก เอาแค่นิดๆหน่อยๆ ทีละแค่ 1 % ก็น่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้นแล้ว

ฟังดูก็เหมือนว่ามันเป็นการโฆษณาชวนเชื่อไปหน่อยนะคือเอาไว้ดักคนขี้เกียจ

คุณอาจไม่ได้ชนะทุกครั้งไป แต่ถ้าพยายามทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน คุณก็มีจิตใจของผู้ชนะได้
เราดีเลิศไม่ได้ทุกคนหรอก แต่เราดีกว่าตอนนี้ได้ทุกคน

ให้ตั้งเป้าว่าจะต้อง เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแกร่งกว่า ไม่ใช่เร็วที่สุด สูงที่สุด แข็งแกร่งที่สุด

ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่มีแรงจูงใจ เลยไม่คิดอยากจะลงมือทำอะไร
แต่ในทางตรงกันข้าม, ถ้าคุณทำอะไรมากขึ้น แรงจูงใจก็จะมากขึ้นตาม
ดังนั้น ถ้าคุณเพิ่มการกระทำ แรงจูงใจก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

นั่นหมายความว่าคนที่อยู่เฉยๆ กับคนที่ชอบทำงาน ความกระตือรือร้นจะต่างกันเลย ไม่ต้องเดาเลยว่าใครจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่ากัน

ขอให้คุณเริ่มต้นด้วยการทำบางอย่าง ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม
เพราะคุณทำสิ่งนั้นสำเร็จ แรงจูงใจก็จะเพิ่มขึ้น แล้วคุณก็จะทำอะไรได้มากขึ้น แล้วแรงจูงใจก็จะเพิ่มขึ้น
แค่นี้คุณก็จะพบว่าตัวเองทำอะไรได้ดีขึ้น 1% แล้วล่ะ

ก่อนที่คุณจะหาแรงบันดาลใจ ให้คุณลองลงมือทำเสียก่อน เพราะว่ามันมีโอกาสที่จะทำให้คุณได้เจอแรงบันดาลใจ ไวกว่าที่คุณอยู่เฉยๆก็เป็นได้

การพัฒนาสัปดาห์ละแค่ 1% 
สัปดาห์ต่อไปก็ไม่ใช่การพัฒนาจากระดับทักษะเดิมที่คุณมีเท่านั้น คุณเก่งขึ้น 1% อยู่แล้ว ฉะนั้นตอนนี้คุณก็จะพัฒนาจากการพัฒนาของตัวเอง
มันเหมือนกับดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากเลย
เมื่อครบ 3 หรือ 6 เดือนแล้ว คุณก็จะไม่ได้เก่งกว่าตอนเริ่มแค่ 1% แต่คุณจะเก่งกว่านั้นมาก
ถ้าคุณทำให้การตั้งใจฝึกฝน กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ก็จะไม่มีจุดสิ้นสุดของการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบนี้

การตั้งเป้าหมายใหญ่ไปเลย มันเป็นสิ่งที่ยากที่จะไปถึงอย่างมาก เพราะคุณจะมีการเปรียบเทียบระหว่างจุดยืนของตัวเองกับเป้าหมายตลอดเวลาซึ่งมันค้านกับระบบการรับรู้ของสมองคุณ

ยกตัวอย่างเช่น การตั้งเป้าหมายปณิธานเริ่มต้นปีใหม่ พอสิ้นสุดสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม คนที่ตั้งปณิธานสำหรับปีใหม่ที่ยังยึดมั่นกับมันมีแค่ 75 เปอร์เซ็นต์เอง นั่นแปลว่าหนึ่งในสี่คนมีความตั้งใจจริงไม่มากพอที่จะยืนหยัดได้ถึง 7 วันด้วยซ้ำ

เหตุผลเพราะว่าสมองไม่สามารถใช้พลังความตั้งใจจริงเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมได้ทันทีนั่นเอง มันต้องใช้เวลา ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งก็คือสารเคมีในสมองที่มีผลกระทบต่อการให้รางวัลและแรงจูงใจของสมองซึ่งอยู่ลึกเข้าไปข้างใน ถ้าคุณไม่มีการให้รางวัลตัวเองและไม่สามารถสร้างแรงจูงใจที่ต่อเนื่องได้ในที่สุดคนก็จะเลิกล้มความตั้งใจนั้นไป

สมองถูกสร้างเพื่อให้เราทำสิ่งต่างๆแบบเดิมทุกครั้งโดยไม่รู้ตัว นี่คือนิสัย มันจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 21 วัน สมองถึงจะคุ้นเคยกับสิ่งแปลกใหม่ และสร้างการเชื่อมต่อใหม่ๆด้วย
ฉะนั้นถ้าอยากจะสร้างพฤติกรรมเชิงบวกหรือทำลายพฤติกรรมเชิงลบ ก็ต้องใช้ความพยายามตั้งสติทำไม่ต่ำกว่า 21 วัน แต่ถ้าคุณสามารถทำได้ถึง 30 วันก็จะช่วยได้มากกว่า

แค่ลงมือทำชีวิตก็เดินหน้าได้ตั้ง 90 เปอร์เซ็นต์แล้ว คุณแค่วางเท้าข้างหนึ่งหน้าเท้าอีกข้างไปได้เรื่อยๆ ไม่ช้าคุณก็จะลงเอยในจุดที่ต้องการ 
มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสิ่งที่คุณรู้ว่าต้องทำให้ตัวเองลงเอยในจุดที่ต้องการเรานั้นอย่างต่อเนื่อง คนที่ประสบความสำเร็จในบางสิ่งบางอย่างก็ทำแบบนี้

วิธีการที่จะช่วยให้ผ่านช่วง 30 วันแรกให้ได้
คุณต้องคอยให้รางวัลตัวเองที่ยังยึดมั่นกับพฤติกรรมใหม่ๆ เน้นที่ความรู้สึกว่าจะเยี่ยมยอดแค่ไหน ถ้าทำสำเร็จ เขียนว่าพฤติกรรมใหม่คืออะไร จดบันทึกประจำวันว่าคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว

พวกเราส่วนใหญ่ คิดว่าเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นก่อให้เกิดผลลัพธ์ คือหัวหน้าตะคอก คุณจึงโกรธและหดหู่ แต่เหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นไม่ได้เกิดผลลัพธ์หรอก สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกและทำแบบใดแบบหนึ่งคือ "ความเชื่อ" เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้น ต่างหากเล่า

"ความเชื่อ" จึงมีอิทธิพลช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมาย หรือขัดขวางความก้าวหน้าของคุณ
ถ้าอยากพัฒนาและทำตัวเลข 1 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดนั้นไปได้อย่างต่อเนื่อง คุณต้องหยุดคิดและพิจารณาความเชื่อของตัวเอง และกล้าเปลี่ยนแปลงถ้ามันไม่ช่วยให้คุณบรรลุผลสำเร็จ

คุณมีเป้าหมายที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จอยู่เรื่องหนึ่งคือ คุณอยากเป็นมหาเศรษฐี แต่ตอนนี้ยังไปไม่ถึงไหนเลย คุณอาจจะรู้สึกแย่กับตัวเอง
แต่ถ้าหากคุณใช้คำว่า "ผมยังไม่ได้เป็นมหาเศรษฐี" การเติมคำว่า "ยัง" เข้าไป มันสามารถเปลี่ยนทัศนคติของคุณได้ทันทีเลย ทำให้คุณมีความรู้สึกเชิงบวกมากขึ้น และรู้สึกเหมือนคุณยังมีโอกาสที่จะพยายามต่อไป รู้สึกถึงพลังและความสุขที่พุ่งสูงขึ้น

การฝึกซ้อมในใจก็สามารถทำให้เรามีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้เช่นกัน ในการศึกษาหนึ่ง นักบาสเกตบอลที่ฝึกชู้ตลูกโทษวันละ 20 นาทีนาน 3 สัปดาห์ชู้ตได้แม่นขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์
ขณะเดียวกันก็มีนักบาสเกตบอลที่ไม่ได้ชู๊ตลูกโทษจริงๆ แต่ใช้เวลาวันละ 20 นาทีดังกล่าว สร้างมโนภาพว่าตัวเองชู๊ตลูกโทษ จริงๆ คือเดินไปที่เส้นชู๊ตลูกโทษ เดาะลูกครั้งสองครั้ง ตั้งท่าเตรียมชู๊ต ชู๊ต และมองลูกหล่นลงห่วงตาข่าย ปรากฏว่าเมื่อไปทดสอบก็พบว่าเขาชู๊ตได้แม่นขึ้นพอๆกันคือ 23 เปอร์เซ็นต์
ขณะทบทวนลำดับขั้นตอนของการสร้างมโนภาพดังกล่าว กล้ามเนื้อที่มีส่วนในการชู้ตลูกโทษจะขยับตามลำดับขั้นตอนเดียวกับที่มันจะขยับในกรณีที่คุณชู๊ตลูกโทษจริงๆ

เมื่อใดที่คุณรู้สึกท้อกับอะไรก็ตามที่พยายามทำให้สำเร็จ ลองใช้อิทธิพลของคำว่า "ยัง" ดูครับ

ผลวิจัยชี้ว่า คนที่เปลี่ยนแปลงได้สำเร็จมักพลาดพลั้งตั้งแต่ช่วงแรกๆ ข้อแตกต่างคือ พวกเขามองว่าความพลาดพลั้งดังกล่าว คือสิ่งที่ช่วยเสริมความยึดมั่นของตัวเองไม่ใช่หายนะ
ความพลาดพลั้ง ไม่จำเป็นต้องกลายเป็นหายนะหรอก

คลิปเสริม ดูแล้วเข้าใจมากขึ้นแน่นอน


วิธีการเอาไปประยุกต์ใช้ในการเทรด
เราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งไหนที่นักเทรดที่ประสบความสำเร็จเขาทำกัน
ผมขอยกตัวอย่าง

แนวทางการพลิกหินทีละก้อน ของพี่โจ ลูกอีสาน
- ไล่อ่าน 56-1
- ตามดูคลิป Oppday
- ไล่อ่านรายงานประจำปี
- อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ธุรกิจทุกวัน
- อ่านงานวิจัยจากโบรคเกอร์ทุกแหล่งเพื่อหาเบาะแส
- ตามข่าวตลาดหลักทรัพย์ทุกวันทำการ
- ดูเวปบริษัท
- อ่านรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น

ท่านสามารถทำได้เลย โดยไม่ต้องไล่อ่านทั้งหมด
เอาแค่ทีละนิด
๑) 56-1 ก็ไม่ต้องไล่โหมดูจนหมดทั้งเล่ม พี่โจก็ดูแค่โอกาส ความเสี่ยง กิจการทำมาหากินอะไร
๒) คลิป Oppday ก็ค่อยๆเลือกเอาที่เราชอบก่อน ไล่ดูไป ทีละนิด
๓) รายงานประจำปี ก็ค่อยๆทำ
ทำไปทำมา สะสม เดี๋ยวก็กลายเป็นก้อนความรู้ขึ้นมาเองครับ
ผมว่าพี่เค้าก็ทำแบบนี้แหละ ทำจนเป็นนิสัย เราก็ทำตามได้เช่นกัน

ปัญหาเดียว คือ คุณกล้าสละเวลาที่ใช้ในการเล่นเฟส ดูยูทูป สักนิดมาทำในเรื่อง
"น้อยนิดที่ให้ประโยชน์มหาศาล"
หรือเปล่า เท่านั้นเอง

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks