ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

"ผมชอบระบบเทรดที่มีความแม่นยำ 25% มากกว่า 75%" - Mark Minervini

ผู้คนมักจะประหลาดใจเสมอ 

เมื่อได้ยินผมบอกว่า 

"ผมชอบระบบเทรดที่มีความแม่นยำ 25% มากกว่า 75%"

.

ผมมีเหตุผล ว่าทำไม

เพราว่า ระบบเทรดที่มีความแม่นยำ 25% นั้น มันอนุญาตให้ผมทำผิดพลาดได้หลายครั้ง(ผิด 7 ครั้ง จากทั้งหมด10 ครั้ง) แต่ผมก็ยังมีกำไรติดมือ

นี่แหละที่ผมเรียกว่า "การเอาความผิดพลาดมาใส่ในระบบ"

ผมพยายามที่จะสร้างระบบที่ "ความผิดพลาดไม่อาจทำลายผมได้"

ระบบที่แม้ผมจะคิดผิดได้หลายครั้ง แต่ผมก็ยังได้กำไร

.

ในการเทรดนั้น คุณไม่สามารถควบคุมความแม่นยำได้เลย

เพราะคุณไม่อาจควบคุมราคาหุ้นหลังจากที่คุณซื้อไปแล้วได้เลย

พูดง่าย ๆ คือ คุณมีโอกาสผิดพลาดได้เสมอ

ดังนั้นกลยุทธ์ของผมคือ ผมจะต้องไม่พึ่งพาความแม่นยำมากเกินไป

.

ผมจะหันไปจัดการกับสิ่งที่ผมสามารถควบคุมได้แทน

นั่นคือ "ความเสี่ยง"

แม้ผมจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของราคาหลังจากที่ซื้อได้

แต่ผมสามารถแบ่งเงินซื้อให้เสี่ยงต่ำได้

ผมสามารถตัดขาดทุนให้เสียน้อยได้

ผมสามารถเลือกที่จะไม่เทรดได้ ฯลฯ

.

ถ้าผมควบคุมขนาดความผิดพลาดจากหุ้นผู้แพ้ได้

แล้วผมสามารถทนรวยในหุ้นผู้ชนะให้ได้กำไรมากกว่าขนาดโดยเฉลี่ยของความเสียหายจากการตัดขาดทุนได้หลาย ๆ เท่า

ด้วยกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับรางวัลที่เป็นธุรกิจที่ดีนี่เอง

ที่ช่วยให้ผมยังคงทำเงินได้สม่ำเสมอ...แม้จะผิดพลาดบ่อยก็ตาม

- Mark Minervini

(อาจแปลไม่ตรงกับคำพูดเป๊ะ ๆ นะครับ

แต่มันน่าจะขยายความให้ท่านเข้าใจประเด็นที่แกอยากจะสื่อได้ดีขึ้น"

จากหนังสือ Think and Trade Like a Champion

.

ปล. ขอเสริมข้อเท็จจริงของแกอีกนิด

๑) ความจริงแล้วระบบเทรดของพี่มาร์ค ไม่ได้แม่นยำ 25% หรอก

ความแม่นยำโดยเฉลี่ยประมาณ 50%

๒) ที่แกยก "ความแม่นยำ 25%" มาพูดนั้น เพื่อให้เห็นภาพแตกต่างชัดเจน

๓) แกตั้งใจจะบอกกับเราว่า อย่าไปจริงจังกับความแม่นยำมาก(โดยเฉพาะถ้าคุณเลือกสไตล์สวิงเทรดแบบแกนะ) เพราะไม่มีใครควบคุมความแม่นยำได้หรอก(ขนาดแกเองที่เป็น Market Wizards ผู้ซึ่งปั้นพอร์ตโต 30,000 ยังทำไม่ได้เลย) 

๔) แกต้องการจะสื่อว่า ที่แกทำกำไรจากการเทรดได้สม่ำเสมอนั้น มันมาจากระบบเทรดที่มี "การควบคุมความเสี่ยง + บริหารความเสี่ยงต่อรางวัลที่เป็นธุรกิจ + ทบต้นกำไร" ไม่ใช่ระบบเทรดที่มีความแม่ยำสูงแต่อย่างใด

๕) เหนืออื่นใด ผมตีความว่า แกอยากให้พวกเรา "อย่าได้รังเกียจความผิดพลาดและอย่าได้หนีมัน" แต่จง "เอาความผิดพลาดมาอยู่ในการควบคุม" ให้ได้ดีที่สุดต่างหาก ก็ในเมื่อคุณไม่อาจหนีความผิดพลาดได้ - ทำไมคุณไม่เอาความผิดพลาดนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบไปเลย! นี่ต่างหากที่เป็นประเด็นสำคัญ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด