สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

9 ประเด็น จากหนังสือ Buddha's Brain สมองแห่งพุทธะ

9 ประเด็น จากหนังสือ Buddha's Brain สมองแห่งพุทธะ



๑. สมองมีวิวัฒนาการมาเพื่อช่วยให้คุณเอาตัวรอดได้แต่ก็ยึดเอาตัวรอดพื้นฐาน 3 อย่างของสมองก็ทำให้คุณต้องมีความทุกข์ด้วย

- แยกสิ่งที่ในความเป็นจริงเชื่อมโยงกันอยู่ออก (แต่มันไม่มีทางแยกกันได้ขาด)
- พยายามทำสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอคงที่ (แต่ปัญหาคือทุกอย่างในโลกเปลี่ยนแปลงตลอด)
- ยึดติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว(แต่สุข/พอใจก็จะไม่ยืนยาว) และพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด (แต่มันก็จะมาอยู่เรื่อย ๆ หนีไม่พ้น)

๒. หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ ก็ได้ออกเทศนาสอนชาวอินเดีย ให้รู้วิธี
- ดับไฟแห่งความโลภความโกรธเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณธรรม
- ทำใจให้นิ่งและมีสมาธิเพื่อที่จะมองทะลุความสับสนภายในใจออกไปได้
- พัฒนาญาณอยั่งรู้ อันจะนำไปสู่ความหลุดพ้น

๓. สมองเติมสีสันให้กับประสบการณ์ของคุณด้วยลักษณะของความรู้สึกต่างๆทั้งที่น่าพอใจไม่น่าพึงพอใจหรือเฉยๆเพื่อที่จะคุณจะได้เข้าหาสิ่งที่น่าพึงพอใจหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจและก้าวต่อไปข้างหน้าจากสิ่งที่คุณอยู่เฉยๆ

๔. วิวัฒนา(สมอง)การสร้างให้เราใส่ใจกับประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเป็นพิเศษ อคติที่เอนเอียงไปในทางด้านลบเช่นนี้ทำให้เรามักมองข้ามข่าวดี เน้นย้ำข่าวร้าย และสร้างความวิตกกังวล และการมองโลกในแง่ร้าย
- เป็นที่น่าสังเกตว่าสมองมีแนวโน้มที่จะนำความทรงจำแฝงเร้นไปในทิศทางลบ(ให้เราเห็นตลอด) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่แล้วประสบการณ์ของคุณในความเป็นจริงจะเป็นเรื่องบวกก็ตาม

๕. ลูกดอกสองลูก
- ความไม่สบายกายสบายใจบางอย่างนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มันเป็นรูปดอกแรกของชีวิต
- แต่(สมองทำให้)เรามีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อลูกดอกลูกแรกด้วยยาพิษตัวใดตัวหนึ่ง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธเกลียด และความหลง ซึ่งยาพิษแต่ละตัวก็มีตัณหาความทะยานอยากเป็นหัวใจของมัน ก็เท่าเรากับว่าเราได้ปาลูกดอกที่ 2 ใส่ตัวเราเองและผู้อื่น
- คนส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาการโดนกระหน่ำโจมตีด้วยลูกดอกลูกที่ 2 อย่างต่อเนื่องเรื้อรังซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายมากมายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพวกเขา(ไม่รู้ว่ากำลังทำร้ายตัวเอง)

๖. การเจริญสติภาวนาจะไปเพิ่มเนื้อเยื่อสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความตั้งใจ ความใส่ใจ ความมีเมตตา และความเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น
นอกจากนี้ยังเป็นผลดีต่อการ(เยียวยา/บรรเทาความ)เจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆอีกมาก ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น ช่วยทำให้การทำงานทางจิตดีขึ้นด้วย

๗. แนวทางการเจริญภาวนา
- คุณฝึกการภาวนาได้ไม่ว่าจะเป็น เดิน นั่ง หรือ นอน
- สามารถเริ่มต้นด้วยเวลาสั้นๆแม้สัก 5 นาทีก็ยังดี
- หายใจเข้าลึกๆ จะหลับตาหรือไม่ก็ได้ และพยายามผ่อนคลายร่างกายให้ตระหนักรู้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับลงแล้วปล่อยให้มันเป็นไปอย่างที่มันเป็น
- สังเกตลมหายใจรู้สึกถึงอากาศเย็นที่เข้าไปในตัวเมื่อหายใจเข้าและอากาศอุ่นที่ออกจากตัวเมื่อหายใจออก ดูความเคลื่อนไหวที่หน้าอกและท้องที่พองขึ้นและยุบตัวลง
- มีสติรับรู้ได้ว่ามีอะไรผ่านเข้ามาในใจ ตระหนักรู้ถึงความคิดและความรู้สึก ความหวังและแผนการ ภาพและความทรงจำที่ระดมเข้ามา รับรู้มันและก็เข้าใจว่าทุกๆสิ่งจะเข้ามาแล้วก็ออกไป ปล่อยให้มันเป็นอย่างที่เป็น อย่ายึดติดอยู่ในความคิดความรู้สึกใดๆ อย่าพยายามไปต่อสู้หรือสงสัยตื่นเต้นกับมัน

๘. อุเบกขา หมายถึงการไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ ต่อปฏิกิริยาตอบโต้ของคุณ ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร
อุเบกขา ช่วยสร้างกันชนรอบๆความรู้สึกที่มาพร้อมกับประสบการณ์ต่างๆ เพื่อที่คุณจะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อความรู้สึกนั้นๆ ด้วยตัณหา ความทะยานอยาก
อุเบกขา เป็นเหมือนตัวตัดกระแสไฟฟ้า ที่คอยกั้นลำดับการทำงานตามปกติของใจ ที่เริ่มจากความรู้สึก ไปยังตัณหา ความทะยานอยาก ไปยังความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งนำไปสู่ความทุกข์ในที่สุด
- สร้างอุเบกขาด้วยการพยายามมีสติระลึกรู้ให้มากขึ้นถึงความรู้สึกที่มาพร้อมกับประสบการณ์ต่างๆ บอกตัวเองว่าความรู้สึกเหล่านั้นมาแล้วก็ไป และไม่คุ้มเลยที่จะคอยวิ่งตามหรือคอยต่อต้านขัดขืน

๙. สิ่งที่จะช่วยส่งเสริมการมีสติในชีวิตประจำวัน
- ทำสิ่งต่างๆให้ช้าลง
- พูดให้น้อยลง
- ให้ทำทุกสิ่งทีละอย่าง พยายามลดการทำหลายๆสิ่งพร้อมกัน
- ให้คุณตามดูลมหายใจในระหว่างที่ทำกิจวัตรประจำวัน
- ผ่อนคลายเข้าสู่ความรู้สึกของการมีความสงบสุขุม เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เสียงเรียกโทรศัพท์ การเข้าห้องน้ำ หรือ การดื่มน้ำ ให้มันทำหน้าที่เหมือนระฆังวัดคอยเตือนให้คุณกลับสู่ความรู้สึก ในการ "ตั้งศูนย์ใหม่" (มีสติ รู้ตัว กาย ใจ ใหม่)

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks