สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ

Image
สาเหตุที่ทำให้นักเทรดส่วนใหญ่ ต้องขาดทุนซ้ำซาก หรือ ไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ ๑) เทรดแบบงานอดิเรก - มาทรงนี้ จะไปไวมาก เพราะงานอดิเรกมีแต่จ่าย และจ่าย // อีกกลุ่มใหญ่ไม่แพ้กันคือ เทรดแบบการพนัน เล่นหุ้นเสี่ยงสูงทั้งๆ ที่ตนเองความรู้แทบไม่มี จำคำพูดเซียนมาใช้เป็นกลยุทธ์ ๒) ถึงแม้จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หาความรู้และฝึกฝนอย่างหนัก ก็ยังคงมีโอกาสขาดทุนหนักอยู่ เพราะ - ไปได้ข้อมูล แนวทางที่ผิด โดยเฉพาะการโฟกัสที่ผลลัพธ์ที่แม่นยำสูง + เทรดโดยไม่มีการบริหารความเสี่ยง - แต่แม้จะได้ข้อมูลที่ดี ก็ยังมีโอกาสขาดทุนยับอยู่ ถ้าคุณมีความเชื่อที่ตรงข้ามกับกลยุทธ์/กระบวนการและกฎการเทรดที่ทำเงิน -- แบบนี้เรียกว่าความขัดแย้งจากภายใน ตัวอย่างที่ชัดมากคือ กลยุทธ์ให้คุณตัดขาดทุน แต่ถ้าภายในใจของคุณไม่เชื่อ คุณก็ทำตามไม่ได้ // กลยุทธ์ให้คุณบริหารความเสี่ยง แต่ถ้าคุณอยากรวยเร็ว คุณก็ไม่ยอมทำตาม ๓) ประสบการณ์ คือ ตัวแปรสำคัญ ของการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอ ถ้าคุณมีประสบการณ์มากพอ คุณผ่านเกมมากพอ คุณจะเข้าใจหลายเรื่อง ที่มันขัดกับความเชื่อทั่วไปของมนุษย์ได้ เพราะหลายเรื่องของเกมการเทรดนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาชนะ -

เบสิค ของ Risk management



เบสิค ของ Risk management

"นักเทรดที่เก่ง คือ นักบริหารความเสี่ยงที่เก่ง"

๑. วัตถุประสงค์ คือ ปกป้อง-เลี่ยง/ลดอันตราย หรือความเจ็บปวดไม่ให้เกิดต่อตัวเรา/ทรัพย์สินของเรา

๒. ธรรมเนียมของ risk management คือ การตั้งกฎ/ข้อกำหนด เพื่อควบคุมการดำเนินการให้ถูกต้อง

๓. กฎมีไว้เพื่อพาเราให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

๔. Risk management ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า เราไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงได้ แต่จะบริหารให้ดีที่สุด

๕. ใครบริหารความเสี่ยงได้ดี จะมี performance ที่ดี




๖. การบริหารความเสี่ยง เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ที่ได้ข้อมูลจาก การวิเคราะห์ ประเมิน อันตรายและภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น

๗. การผลัก(ถ่ายโอน)ความเสี่ยง - การประกันภัย

มีลิมิตที่ยอมรับได้ หากมากกว่านั้น ทิ้ง/ผลักไปให้คนอื่น

๘. การบริหารความเสี่ยงที่ดี คือ การจัดสมดุลระหว่าง risk(ลด) กับ reward(เพิ่ม) ที่เหมาะสม

๙. องค์กรที่ดี คือ องค์กรที่จัดสมดุล risk reward ได้ดี 

โดย risk management จะไม่มีวันจบสิ้น เป็นกระบวนวนซ้ำไปตามระบบ ขั้นตอน ซึ่งมันจะช่วยให้เราสามารถปรับปรุงการตัดสินใจได้ดีขึ้น (ลดความเสี่ยงลงได้อีก) เพิ่ม performance ได้อีกเช่นกัน

๑๐. risk management ต้องการ ลิมิต กรอบ ขอบเขต วาาจะยอมได้มากที่สุดแค่ไหน ตามบริบทสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายขององค์กรนั้นด้วย

ยืดหยุ่น ให้สมดุลทั้งภายนอกและภายใน

๑๑. การวิเคราะห์ความเสี่ยง มักใช้ร่วมกับ เกณฑ์การยอมรับความเสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

๑๒. Risk management  ช่วยให้เรารับมือกับความไม่แน่นอนได้ดีขึ้น เอาตัวรอดได้ดีกว่า การไม่ทำอะไรเลย

การคำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกและลบ จะช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น อันจะเป็นข้อมูลให้เราใช้ไปวางแผนรับมือต่อไป







7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

แท่งเทียนกลับตัว - Reversal Candlesticks