ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory) กลุ่มหุ้น True Market Leader

Image
โพสต์นี้อธิบาย "ระบบนิเวศของ HBM (High Bandwidth Memory)" ว่ามีใครบ้างที่เป็น ซัพพลายเออร์, ผู้ออกแบบชิป (ASIC), และลูกค้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่การผลิตเทคโนโลยี AI / Cloud / GPU ในยุคปัจจุบัน --- สรุปความหมายแบบง่าย ๆ: 1. HBM Suppliers (ผู้ผลิตหน่วยความจำ HBM) คือบริษัทที่ผลิต หน่วยความจำความเร็วสูง สำหรับการ์ดจอและ AI chips เช่น H100, MI300X ฯลฯ Micron ($MU) SK Hynix ($HXSCL) Samsung ($SSNLF) > ทั้ง 3 รายนี้คือผู้ผลิต HBM ที่ครองตลาดโลก และจำเป็นต่อ AI ทุกแพลตฟอร์ม --- 2. ASIC Designers (ผู้ออกแบบชิปเฉพาะงาน เช่น AI/TPU) ออกแบบชิปที่ใช้ HBM เช่นชิปของ Google, AWS, Microsoft Broadcom ($AVGO) Marvell ($MRVL) Alchip, GUC (บริษัทออกแบบชิปในเอเชีย) > ชิปพวกนี้ไม่ใช่ GPU แต่เป็นชิปเฉพาะทาง (ASIC) ที่ใช้ใน Cloud Data Center --- 3. HBM Customers (ลูกค้าที่ใช้ HBM) • กลุ่ม GPU NVIDIA ($NVDA) AMD ($AMD) Intel ($INTC) • กลุ่ม Cloud / Big Tech Google ($GOOGL) – ใช้ใน Google TPU Amazon ($AMZN) – ใช้ใน AWS Trainium / Inferentia Microsoft ($MSFT) – ใช้ใน MSFT MAIA Meta ($META) –...

วิธีเล่นหุ้นด้วยการให้ความเสี่ยงมาก่อน สไตล์พี่ Mark Minervini

จากหนังสือ Think & Trade Like a Champion: The Secrets, Rules & Blunt Truths of a Stock Market Wizard

ให้ความเสี่ยงมาก่อน ด้วยการวางแผนไว้ก่อน

๑) ระดับเริ่มขายเพื่อหยุดการขาดทุน
เมื่อราคาลงไปหลุดระดับนี้ต้องขายออกอย่างไม่มีข้อยกเว้น ขายออกไปให้หมด

เมื่อไม่มีหุ้น หัวของคุณจะโล่ง

โดยระดับที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องขาดทุนตลอดนะ คือตอนที่ราคาวิ่งขึ้น ถ้าคุณมี trailing stop ยกตามไป ก็สามารถขายเพื่อล็อกกำไรออกมาก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องรอวัดใจตอนขาดทุน(อันนี้ทำยาก เพราะเราอยากต่อราคา ต่อไปต่อมาโน่นได้ขายตัดขาดทุนทุกที)

๒) เกณฑ์การซื้อคืน
หุ้นบางตัวย่อแรงเพราะตลาดตกใจ แต่หลังจากนั้นมันก็พักตัวได้สวย น่าดึงดูดให้ซื้อคืน ซึ่งการสร้างฐานครั้งที่สองมักจะน่าเชื่อถือและแข็งกว่าครั้งแรก(ถ้ายืนได้ เวลาดีดจะไปแรง) เพราะมันได้เขย่าคนใจฝ่อออกไปอีกจำนวนมากนั่นเอง

พี่มาร์คแนะนำว่า หลังจากขายอกแล้วก็อย่าทิ้งไปเลย รอดูการสร้างฐานของมัน ถ้ามันทำดีก็ต้องเข้าใหม่อีกครั้ง บางทีแกต้องเข้าๆออกสองสามรอบกว่าจะได้กำไร แต่ต้องทำ (ถ้าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานดีจริงๆนะ) เพราะนี่คือความเป็นมืออาชีพ

๓) ขายเมื่อมีกำไร (Take Profit)
เมื่อหุ้นที่คุณซื้อมันวิ่งทำกำไรให้คุณอย่างน่าพอใจ อาทิ วิ่งไปได้เท่าตัวจากเปอร์เซ็นต์ stop loss

สมมติว่า คุณตั้งไว้ที่ 7%หากคุณมีกำไรถึง 20% แล้วไม่ควรปล่อยให้กำไรกลายเป็นขาดทุน อย่างน้อยก็ต้องยกระดับตัดขาดทุนมาอยู่ที่จุดคุ้มทุนไว้ก่อน หรือไม่ก็ใช้ trailing stop เป็นตัวช่วยล็อกกำไร คุณอาจรู้สึกโง่เมากที่ต้องขายทำกำไรเล็กน้อยที่ trailing stop เมื่อเทียบกับจุดสูงสุด หรือต้องขายที่ระดับคุ้มทุน

แต่ผมบอกเลยว่าคุณจะรู้สึกแย่กว่านั้นถ้าคุณปล่อยให้ผลกำไรที่ดีกลายเป็นต้องขายตัดขาดทุน


๔) แผนพิบัติภัย ที่อาจกลายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของคุณ
การวางแผนฉุกเฉิน เกี่ยวข้องกับปัญหาเช่นว่าจะทำอย่างไรถ้า...
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตล่มหรือไฟฟ้าขัดข้อง คุณมีแผนสำรองบ้างหรือเปล่า?
- หรือการตอบสนองของคุณจะเป็นอย่างไรถ้าคุณตื่นขึ้นในวันพรุ่งนี้ ตอนเช้าและรู้ว่าสต็อกที่คุณซื้อเมื่อวานนี้มันเปิด gap ลง เนื่องจาก บริษัทนั้นกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบโดยบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีปัญหาทุจริต คุณจะทำยังไงกับมันบ้าง?


รายละเอียดราคา + สั่งซื้อได้ที่ www.facebook.com/pg/zyobooks/shop/ 

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) แชร์หลักการหาหุ้นเล่นจาก Top Gainer แบบเม่าๆ

แนะวิธีดูกราฟหุ้นเบื้องต้น

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Volume (โวลุ่ม เทรด ซื้อขายหุ้น) คืออะไร เขาบอกอะไรเราบ้าง?

กราฟหุ้น GFPT ล่าสุด