แนะนำฟรีอีบุ๊ก "สโตอิกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลับ"

Image
  (อ่านฟรี) e-book : สโตอิกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย https://mebmarket.com/?action=book_details&book_id=327348 สโตอิกช่วยนักศึกษาได้อย่างไรบ้าง สโตอิกเป็นปรัชญาที่ช่วยให้เรารับมือกับความกดดัน ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องเจออยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การสอบ หรือการปรับตัวกับชีวิตในมหาวิทยาลัย ผมอยากอธิบายว่าทำไมสโตอิกถึงเป็นแนวคิดที่สามารถช่วยคุณได้ครับ หลักสำคัญของสโตอิกคือ การแยกแยะสิ่งที่เราควบคุมได้กับสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้  การฝึกให้เข้าใจเรื่องนี้จะช่วยลดความเครียดได้มาก ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณกังวลเกี่ยวกับการสอบ สิ่งที่คุณควบคุมได้คือการเตรียมตัวให้ดี อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน แต่ผลการสอบหรือความคิดเห็นของอาจารย์ เป็นสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ การโฟกัสเฉพาะสิ่งที่คุณทำได้จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกเครียดกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมครับ นอกจากนี้ สโตอิกยังสอนเรื่อง การควบคุมอารมณ์  และ การมองโลกอย่างเป็นกลาง  ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อคุณเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ที่ท้าทาย เช่น หากคุณเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ผลสอบไม่เป็นไปตา

ตัวตนที่แท้จริงของนักวิจารณ์ภายใน คือ ตัวตนของเราในวัยเด็ก

ตัวตนที่แท้จริงของนักวิจารณ์ภายใน คือ ตัวตนของเราในวัยเด็ก เด็กที่น่าสงสาร ที่ตัวสั่นเทาเพราะ “กลัวว่าตนเองจะถูกตำหนิและปฏิเสธ” จิต(วิญญาณหลอนของ)เด็กคนนี้แหละที่คอยกดดันเราให้รับรู้ตลอดเวลาที่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่แสนน่ากลัวมาก่อน โดยเฉพาะการถูกทิ้งขว้าง 

จากหนังสือ "ใช้สมองพลังบวก เอาชนะอารมณ์ลบ"


เราจึงต้องทำความเข้าใจและยอมรับให้ได้ว่า “เด็กคนนี้คืออดีต” อดีตได้ตายไปแล้ว มันเป็นเพียงแค่ชุดความทรงจำ ที่เป็นมโนคติเท่านั้น ตัวตนของนักวิจารณ์เด็กคนนี้ไม่ได้น่ากลัวอะไรหรอก เราไม่ควรโกรธเขาด้วยซ้ำ แต่ให้มองเขาด้วยความเอ็นดู พยายามนึกน้อนกลับไป(หรือศึกษาว่า)แท้จริงแล้ววิญญาณเด็กคนนี้เขายังคงกลัวอะไรอยู่ เพราะอะไรถึงกลัวมากขนาดนั้น

เบื้องหลังความกลัวของวิญญาณเด็ก มีประมาณนี้

ถ้าอยากได้รับความรัก ก็ต้องมีอะไรมาโชว์หน่อย

ถ้าไม่มีใครเข้าใจ แล้วจะมีประโยชน์อะไร

ถ้าไม่ทำให้เสร็จ จนใครว่าอะไรไม่ได้ เขาก็คงเห็นเป็นเรื่องตลก

คนอื่น ๆ ใช้ชีวิตอย่างบ้าคลั่ง แล้วฉันจะอยู่อย่างสบายใจแบบนี้ได้หรือ

ชีวิตจะพัง ถ้าไม่ทำตามที่วางแผนไว้

ถ้าเป็นแบบนี้ คนอื่นก็คงผิดหวังในตัวฉัน

ไม่อยากสร้างความวุ่นวาย เลยต้องเลี่ยงความขัดแย้ง


ความเชื่อของนักวิจารณ์ภายใน มักจะได้รับอิทธิพลมาจากพ่อ แม่ กลุ่มเพื่อน หรือสื่อต่าง ๆ ได้ปลูกฝังลงในใจของเราทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว จนกลายเป็นกฎเหล็กที่เราต้องทำตามโดยไม่รู้ตัว

และความเชื่อเหล่านี้จะมีอทธิพลต่อทัศนคติ ที่เรามีต่อชีวิตอยู่ในโหมดเพื่อความอยู่รอด ทุกความเชื่อที่ว่า “ต้อง…ให้ได้นะ” หรือ “ห้าม…เด็ดขาดนะ” เป็นกรอบความคิดที่น่าจะเกิดขึ้นตอนที่เรารู้สึกถูกคุกคาม ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เหมือน “ถ้าประมาท…แกตายแน่” 

ในโหมดของความอยู่รอดนั้น ความรู้สึก กังวล กลัว จะครอบงำประสาทสัมผัสทั้งหมดของเราไว้ จึงกลายเป็นปิดกั้นไม่ให้มองโลกแบบผจญภัย

อย่าได้ขับไล่ อย่าโกรธเคืองนักวิจารณ์ภายใน เพราะเขาเป็นแค่วิญญาณเด็กที่ตัวสั่นเทิ้มเพราะความกลัวเท่านั้นเอง สิ่งที่เราควรทำก็คือ “เฝ้ามอง” หรือ “รับรู้สิ่งที่เขาพยายามจะบอก” ยอมรับมัน แล้วหมั่นบอกเขาว่า “โลกนี้ไม่ได้เต็มไปด้วยสิ่งที่น่ากลัวเหมือนที่เธอคิดหรอกนะ” 

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo