การเทรดคือเกมของฮีโร่ นี่คือตัวอย่างเส้นทางของคุณ

Image
  เส้นทางของ "The Hero's Journey" แบ่งออกเป็นสองโลกคือ Known (โลกที่รู้จัก) และ Unknown (โลกที่ไม่รู้จัก) ซึ่งวีรบุรุษจะต้องเดินทางไปในโลกที่ไม่รู้จัก (Unknown) เพื่อพัฒนาตนเอง ผ่านการผจญภัยและการทดสอบต่าง ๆ ก่อนที่จะกลับมายังโลกที่เขารู้จักพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงภายใน 1. Call to Adventure! (การเรียกสู่การผจญภัย)    - จุดเริ่มต้นของเรื่องราวเมื่อ "Hero" ได้รับการกระตุ้นให้เข้าสู่การเดินทางใหม่หรือการผจญภัยที่ไม่คุ้นเคย 2. Supernatural Aid (ความช่วยเหลือเหนือธรรมชาติ)    - Hero ได้รับการช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ เช่น กำลังภายใน ความสามารถพิเศษ หรือคำแนะนำจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3. Threshold Guardian (ผู้เฝ้าประตู)    - ตัวละครหรือสิ่งที่ยืนขวาง Hero ไม่ให้เข้าสู่โลกที่ไม่รู้จัก วีรบุรุษต้องเอาชนะหรือก้าวผ่านเพื่อเดินหน้าต่อ 4. Threshold (ประตูแห่งการเปลี่ยนแปลง)    - จุดที่ Hero ก้าวเข้าสู่โลกแห่งความไม่แน่นอน จากสิ่งที่เขารู้ไปสู่สิ่งที่เขายังไม่รู้ 5. Challenges (ความท้าทาย)    - Hero เผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ที่ทดสอบทั้งร่างกายแล

งานของนักเทรด : เฝ้าติดตาม และตัดขาดทุน

 การเฝ้าติดตาม และตัดขาดทุน

เมื่อเข้าซื้อได้แล้ว งานของเรายังไม่จบนะครับ

ต้องเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นตัวนั้นต่อ ตรงนี้แหละที่เป็นเหตุผลว่าทำไมท่านต้องมีจำนวนหุ้นในการดูแลและติดตาม "ไม่เยอะเกินไป" 3-5 ตัวกำลังพอดี ถ้าเกิน 10 ตัว ผมว่ามากไป


ทำไมต้องติดตาม?

เพราะเราไม่มีทางแม่นได้ทุกตัว บางคน ใน 10 ตัว มีพลาดถึง 5 หรือมากกว่านั้น

ตลาดหุ้นมีหน้าที่ทำให้นักเทรดขาดทุน 


การขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด และการทำธุรกิจก็เช่นกัน มันคือต้นทุน ที่ท่านต้องยอมรับ 

การขาดทุนจะไม่เป็นอันตรายสำหรับนักเทรดตราบใดที่คุณบริหารมันไม่ให้เสียหายมากเกินไป 3% - 10% คือลิมิตที่ถือว่าไม่ทำร้ายนักเทรด (แต่ต้องสัมพันธ์กับจำนวนเงินที่คุณยอมเสียได้ ที่คุณวางแผนในช่วง setup แล้วนะครับ ถ้าบริหารเงินเข้าซื้อที่ดี เป็นไปตามระบบ การตัดขาดทุนในระดับนี้จะไม่มีทางทำร้ายพอร์ตของคุณได้เลย)


ปัญหาในช่วงนี้ ใหญ่มาก มีผลกระทบมาก

เพราะนักเทรดส่วนใหญ่ ไม่สามารถทำตามระบบ หรือกฎการตัดขาดทุนได้ แม้จะวางแผน ให้สัญญากับตัวเองไว้แล้วก็ตาม


ตอนวางแผนนั้น เรายังไม่ได้เจอของจริงไง จึงพูดหรือเขียน ระบุล่วงหน้ายังไงก็ได้

แต่พอเจอของจริงเข้า เกินครึ่ง "แผนแตก" กันทั่ว

เพราะในตัวมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า "ความกลัวการสูญเสีย หรือ Loss Aversion" เราทำใจยากมากที่จะขายตัดขาดทุน เพราะความคาดหวัง ว่าอยากเป็นผู้ชนะ อยากได้กำไร ไม่อยากขาดทุนอีก ฯลฯ ส่งผลให้เกิดการบิดพลิ้ว เลี่ยงกฎ ขอต่อราคา เปลี่ยนโหมดไปเป็นภาวนาให้ราคากลับมาเท่าทุนก่อน


ตรงนี้แหละที่อารมณ์เข้ามามีส่วนร่วมอีกครั้ง

เมื่อไม่ยอมขายตัดขาดทุน ความเสียหายยิ่งใหญ่โต


วิธีแก้ ก็ต้องกลับไปปรับความเชื่อใหม่ อาทิ

- การขาดทุน เป็นต้นทุนของการทำธุรกิจ

- การขาดทุน เป็นส่วนหนึ่งของการเทรด

- เราควบคุมการเคลื่อนไหวของราคาไม่ได้ 

- เราไม่สามารถควบคุมผลลัพธ์การเทรดได้

- ตลาดมีหน้าที่ทำให้นักเทรดขาดทุน

- การขาดทุนจะไม่ทำร้ายเราได้ถ้าตัดตอนไว

- ตัดขาดทุนไว เสียหายน้อย เอาคืนง่าย

- หน้าที่อันดับแรกของนักเทรด คือรักษาเงินทุน

ฯลฯ ท่านต้องติดตั้งความเชื่อนี้ให้กับตัวเองให้ได้

ถ้ามีความเชื่อนี้ ท่านตัดขาดทุนได้ง่ายขึ้นแน่



แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 

ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo


***********


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

5 Holy Grail ที่ใช้ได้ผลจริง ในการเทรด

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo